ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
การเริ่มสงครามโลกแบบใหม่!
[การแบ่งฝ่าย-ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี-ผลกระทบกับไทย]
วันนี้เราจะมาคุยในเรื่องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญสำหรับประเทศไทย
ความจริงดิฉันก็อยากจะคุยตามกระแสเหมือนกัน เรื่องของคุณแตงโม แต่เราเอาเรื่องที่มันจะส่งผลสะเทือนถึงโลก
ส่งผลสะเทือนถึงประเทศไทยและอนาคตของโลก มันเป็นเรื่องสำคัญ
ดิฉันก็คิดว่าจะคุยเรื่อง
การเริ่มสงครามโลกแบบใหม่
โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็น ก็คือ
ประเด็นที่
1) การแบ่งฝ่าย นั่นก็คือ การแบ่งฝ่ายของประชาคมโลก
ประเด็นที่
2) ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี หมายถึง
ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ของในสงครามโลกที่กำลังเริ่มต้น
ดิฉันใช้คำว่าเริ่มต้นเพราะมันยังไม่เต็มรูปแบบอยู่ ณ เวลานี้ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี
ของแต่ละฝ่ายมีอะไรบ้าง
ประเด็นที่
3) ผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ดิฉันจะพูดประเด็นแรกก่อนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะสำคัญมาก
นั่นก็คือการแบ่งฝ่าย คือผลจากการที่รัสเซียบุกยูเครนครั้งนี้
ผลที่เกิดขึ้นโดยการใช้เวทีสหประชาชาติ โดยการใช้เวทีสหภาพยุโรป กระทั่งการกีฬา
หรือเรื่องของการค้าขาย และแม้กระทั่งเรื่องการเงินโลก มันได้ขยับหมดและมันก็ทำให้เราพอจะเข้าใจว่ามันมีการแบ่งฝ่ายต่าง
ๆ เกิดขึ้น
การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ UNGA เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 |
ดิฉันก็อยากจะให้ท่านผู้ชมได้ดูไปพร้อม ๆ กับดิฉัน ก็คือผังของประเทศเทศในโลกนี้ ในการประชุมเมื่อวันพุธ ก็คือสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ UNGA ก็มีการลงมติ และในการลงมติมีการแบ่งเป็นสีเขียว, สีแดง, สีเหลือง “สีเขียว” ก็คือสนับสนุนมติที่ว่าให้ประณามการบุกรุกยูเครนของรัสเซีย และเรียกร้องให้รัสเซียถอนกองกำลังออกจากยูเครนทั้งหมดโดยทันที ผู้ที่สนับสนุนมตินี้ในการประณามการบุกยูเครนของรัสเซียก็เป็น “สีเขียว” ถ้าคนไม่เห็นด้วย คัดค้านมตินี้ก็เป็นสี “แดง” แล้วก็ที่งดออกเสียงก็จะเป็น “สีเหลือง”
มติที่ประชุมจากสมาชิก 181 ประเทศ |
ปรากฏว่าสมาชิก
UN 141 ประเทศ รวมทั้งไทย จากทั้งหมด 181 ประเทศที่เข้าร่วมลงคะแนนครั้งนี้
141 ประเทศ สนับสนุนลงมติประณามรัสเซีย โดยมีเพียงรัสเซียและประเทศพันธมิตร
ซึ่งประกอบด้วยเบลารุส ซีเรีย เกาหลีเหนือและเอริเทเรีย คือกลุ่มที่เป็น “สีแดง” นั้นมีอยู่จำนวนหนึ่ง
กลุ่ม
“สีแดง” เราจะเห็นถ้าเรียงไปก็เริ่มต้นตั้งแต่ เกาหลีเหนือ แล้วก็เอริเทเรีย
ซึ่งดิฉันเองก็ไม่คุ้นเคย แล้วก็ประเทศรัสเซีย ซีเรีย แล้วน่าจะเป็นเบลารุสด้วย
เหล่านี้ก็เป็นประเทศที่เรียกว่าเป็นพันธมิตรที่แนบแน่น
การเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับรัสเซียมันก็เป็นการ เรียกว่า ในขณะที่มีปัญหา จาก
181 ประเทศ 141 ประเทศเขาลงมติให้ประณาม
แต่ประเทศเหล่านี้ก็เรียกว่าเป็นพันธมิตรสุดขั้วเลย ก็เริ่มต้นจากตัว B
เบลารุส แล้วก็มาถึงเกาหลีเหนือ แล้วก็เอริเทเรีย ซึ่งต้องดูในแผนที่อีกทีหนึ่ง
น่าจะเป็นประเทศในอาณัติของรัสเซีย แล้วก็ประเทศรัสเซียเอง แล้วก็เกาหลีเหนือ
คืออันนี้ต้องเรียกว่าอยู่ข้างรัสเซียชัดเจน รวม 5 ประเทศ
แล้วประเทศที่
“งดออกเสียง” ก็น่าสนใจ เรานึกว่าเดิมจะแบ่งเป็นสองข้าง ซึ่งในความเป็นจริงของดิฉันมันก็มีลักษณะการแบ่งฝ่ายอยู่ระดับหนึ่ง
แต่ว่าการเกิดสีเหลืองคืองดออกเสียงขึ้นมา มันก็ทำให้เห็นว่า ก่อนหน้านี้ในยุคก่อน
ในยุคสงครามเย็นเขาจะเรียกว่าประเทศโลกที่สาม คือถ้ามีโลกที่หนึ่ง โลกที่สอง
ขัดแย้งกัน ก็มีโลกที่สาม ซึ่งจีนพยายามทำตัวเป็นหัวหน้าของประเทศโลกที่สาม
ครั้งนี้ก็เกือบจะคล้าย ๆ กัน คือจีน เรียกว่าจะเป็นสีเขียวก็ไม่ได้
จะเป็นสีแดงก็ไม่ได้ แต่ว่าถืองดออกเสียง
ความเป็นจริงก็เท่ากับว่าสนับสนุนอยู่ระดับหนึ่ง แต่ต้องการแสดงออกว่าก็ไม่เห็นด้วยในการที่บุกเข้าไป
เพราะว่ามันจะมีผลเสียมากกว่าผลดี
ซึ่งถ้าใครได้เห็นที่ดิฉันได้เคยแชร์ในกรณีของสมเด็จฮุนเซ็น แต่แปลกนะ คือสมเด็จฮุนเซ็นนี่อยู่สีเขียวนะ
ก็คือประณามการบุก เพราะสมเด็จฮุนเซ็นเขาบอกเลยว่า จะไม่มีใครชนะ จะแพ้หมด
เพราะว่ารัสเซียก็ไม่ชนะในยูเครน ยูเครนก็ยังต้องรบ ก็ไม่สามารถเอาชนะรัสเซียได้
แล้วมันก็คือเสียหายทั้งหมด เพราะฉะนั้นจีนมาอยู่ในกลุ่มฝั่งนี้ (สีเหลือง)
ในนี้มีจีน
อินเดีย ถ้าไล่มาก็มีประเทศเล็ก ๆ จำนวนมาก แอลจีเรีย แองโกลา คือประเทศที่พูดตรง
ๆ ว่าเป็นค่ายที่จีนสนับสนุนนั่นแหละ รวมทั้งประเทศจีน คองโก คิวบา
คิวบาก็ปกติก็สนับสนุนรัสเซียเต็มที่
แต่ว่าเที่ยวนี้คิวบาก็อยู่ในสถานะที่เคยเกิดเหตุการณ์คล้าย ๆ ยูเครน
เมื่อครั้งที่รัสเซียในยุคเคนเนดี้ ก็ส่งจรวดไป
แล้วก็ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากประธานาธิบดีเคนเนดี้ แล้วก็ต้องถอนกลับ
ก็คือเป็นประเทศที่อยู่ชิดสหรัฐฯ ดังนั้น
ถ้าเอาขีปนาวุธนิวเคลียร์ไปตั้งอยู่ที่คิวบา อเมริกาก็ถือว่าเป็นการคุกคามโดยตรง
ถ้าถือว่าเป็นการคุกคามโดยตรง มันก็ต้องมีการปะทะกัน
เพราะฉะนั้นเที่ยวนี้คิวบาก็งดออกเสียง อินเดีย อิรัก อิหร่าน คาซัคสถาน
ซึ่งดิฉันก็แปลก ลาว แน่นอนลาวก็ไปทางเดียวกัน เวียดนาม ประเทศมองโกเลีย
มองโกเลียจริง ๆ ก็อยู่ชิดรัสเซียมาก นามิเบีย คือจะมีประเทศในอัฟริกาส่วนหนึ่ง
ในเอเชียส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่เห็นด้วย ฉะนั้น อินเดีย ปากีสถาน ก็งดออกเสียงเหมือนกัน
ถ้ามองในประเด็นแรกของการแบ่งฝ่าย
ชัดเจนก็คือรัสเซียก็มีพันธมิตรที่แนบแน่นอยู่ เช่น เกาหลีเหนือ
ต้องเรียกว่าพันธมิตรที่แนบแน่นมีน้อยมาก มี เบลารุสซึ่งก็อยู่ในอาณัติของรัสเซีย
หรือว่าซีเรีย ต้องถือว่าน้อย น้อยมาก เพราะจีนและก็พันธมิตรที่อยู่ในเอเชีย
ในอัฟริกา เลือกที่จะงดออกเสียง ก็คือแสดงถึงสัมพันธภาพที่ยังดีอยู่กับโซเวียต
แต่ถือว่ามีสัมพันธภาพที่ดี ไม่ต้องการประณาม
แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนการบุกเข้าไปในยูเครน
คิดว่าต้องใช้อย่างอื่นมากกว่า
ก็อย่างที่ดิฉันได้กล่าวไปแล้วว่าทำให้ดิฉันนึกถึงเหตุการณ์สมัยก่อน
ในยุคสงครามเย็น ก็คือมีจีนทำตัวเป็นหัวหน้าของโลกที่สาม ในท่ามกลางความขัดแย้ง ก็คือจีนก็ชิ่ง
ถือว่าไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกับรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตในยุคนั้น
เพราะฉะนั้น
การแบ่งฝ่ายในเวลานี้ ดิฉันก็มองว่ามันจะเข้าคล้าย ๆ ประเด็นโลกสามขั้ว
แล้วพูดกันจริง ๆ ในฝ่าย “สีเขียว” ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาอยากจะประณามนะ
แต่ว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศมากกว่า คือให้เลือกระหว่างขั้วของสหรัฐอเมริกา
สหภาพยุโรป กับขั้วของรัสเซีย พลังที่มีประโยชน์ต่อประเทศเหล่านั้น
คือสหภาพยุโรปกับพันธมิตร โดยเฉพาะสหรัฐฯ มีผลประโยชน์ต่อประเทศเขามากกว่า
ดูง่าย
ๆ ผู้นำประเทศเรา อ้อมแอ้มมากตั้งแต่ตอนต้น ไม่เลือกที่จะประณาม
ไม่เลือกที่จะออกมาพูดอย่างในกรณีของเซาท์อีสเอเชีย จะเป็นสิงคโปร์ อินโดนีเซีย
ออกมาเลย ไม่เห็นด้วย เราก็ทำตัวว่าเป็นกลาง ไหลไปตามน้ำ
ในที่สุดก็ไหลไปตามมติสหประชาชาติ คือไหลตามกระแสและมติของคนส่วนใหญ่ ไม่ได้มีจุดยืนจริง
ๆ ของตัวเอง ไหลไปตามเพื่อน
เพราะฉะนั้น
ในฝั่ง “สีเขียว” ที่ออกมาว่าให้ประณาม จริง ๆ จำนวนหนึ่งก็ไม่ได้อยากประณาม
แต่ว่าเรามองเขาว่า สหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปนั้นแนบแน่น
แล้วครั้งนี้เป็นครั้งที่ปฏิกิริยารุนแรง
แล้วความสามัคคีระหว่างประเทศในยุโรปกับสหรัฐฯ และแม้กระทั่วในเอเชีย พูดตรง ๆ
ว่าในค่ายเสรีประชาธิปไตยยังผนึกกำลังยิ่งกว่ายุคสงครามเย็นด้วยซ้ำ
ซึ่งเป็นเรียกที่เรียกว่าน่าสนใจมาก
ซึ่งดิฉันจะพูดในประเด็นต่อไปคือเรื่องยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี
แต่ตอนนี้เราพูดเรื่องการแบ่งฝ่าย ดังที่พูดแล้วว่ามี 3 ฝ่าย แต่ละฝ่ายมีหัวหน้า
ฝั่งนี้จะเรียกว่าหัวหน้าทีเดียวก็ได้ คือจีน แต่อินเดีย ปากีสถาน
เขาก็ไม่ใช่ลูกน้องจีน ก็ถือเลือกข้างว่าไม่ต้องการประณาม
แต่ว่าก็ไม่ได้สนับสนุนเต็มที่
นี่คือภาพใหญ่
ๆ ซึ่งถามว่าภาพการแบ่งฝ่ายนี้ มันจะเกี่ยวข้องกับระบอบการเมืองไหม? อันนี้น่าสนใจ!
มันเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีประวัติศาสตร์มาต่อเนื่อง
มาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งฝ่ายเสรีประชาธิปไตยและผู้ชนะ
ผู้ชนะนั้นมีทั้งค่ายสังคมนิยม เช่นจีนกับรัสเซีย
แล้วก็ค่ายสัมพันธมิตรที่เป็นผู้ชนะฝ่ายเสรีประชาธิปไตย จากสงครามโลกครั้งที่ 2
มาสู่สงครามเย็น เมื่อมาสู่สงครามเย็น
แต่ว่าบทบาทรัสเซียในฐานะสมาชิกสำคัญในสหประชาชาติยังดำรงอยู่ ดังนั้น
รัสเซียกับจีนจึงใช้ตำแหน่งของตัวเองวีโต้ได้ในมติสำคัญตลอด ในฐานะสมาชิกสำคัญใน UN
ถามว่ามันเกี่ยวข้องกับระบอบไหม?
ถ้าว่าไป “ปูติน” ขณะนี้ไม่ใช่พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต
พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตเป็นอีกพรรคหนึ่งซึ่งแพ้การเลือกตั้ง ความจริง “ปูติน”
นั้นก็เปรียบเสมือน ถ้าในประเทศที่มี เขาก็มีการเลือกตั้ง เขาก็ชนะ แล้ว “ปูติน”
ขึ้นมา ก็เพราะว่าฝั่งยุโรปโดยเฉพาะสหรัฐฯ สนับสนุนพรรคของ “เยลต์ซิน”
แล้วก็สนับสนุนให้มีการพังทลายของสหภาพโซเวียต คืนประเทศ
จนกระทั่งแผ่นดินรัสเซียเหลือเท่ากับตอนหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยซ้ำ
แต่ว่าเมื่อเป็นสหภาพโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
สหภาพโซเวียตก็มีขนาดประเทศใหญ่ แล้วก็ลดลงมาอีกดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
แล้วมันก็เกิดสงครามกับรัฐกันชนทั้งหลายซึ่งอยู่ล้อมรอบ
ดิฉันดูแล้ว่านี่เป็นความขัดแย้งเชิงอำนาจแบบใหม่ซึ่งสืบทอดมาจากประวัติศาสตร์
แต่มันไม่มีความชัดเจน แน่นอน! จะเป็นเกาหลีเหนือ หรือประเทศจีน
ซึ่งถือว่าเป็นประเทศสังคมนิยม ประเทศเวียดนาม ลาว คิวบา เหล่านี้คือเป็นประเทศสังคมนิยมในอดีต
แต่แม้ว่ารัสเซียปัจจุบันไม่ใช่ประเทศสังคมนิยมแล้วก็ตาม
อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า การแบ่งฝ่ายมันยังไม่มีความชัดเจนของระบอบ
แต่มันเป็นการแบ่งฝ่ายเชิงอำนาจของจักรวรรดิและประวัติศาสตร์ที่เคยมีมาดั้งเดิม
เพราะฉะนั้นสัมพันธภาพจากประวัติศาสตร์อันใกล้มาจนถึงปัจจุบัน
เพราะว่าขณะนี้จะพูดว่าเป็นสัมพันธภาพของสังคมนิยมกับเสรีประชาธิปไตยก็ไม่ใช่
เพราะฉะนั้น เส้นแบ่งตรงนี้เป็นเส้นแบ่งเชิงอำนาจและประวัติศาสตร์ด้วยมากกว่า
เชิงอำนาจในความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งพื้นที่พรมแดนด้วย
เพราะฉะนั้นดิฉันก็จะคุยเบื้องต้นในเรื่องการแบ่งฝ่าย
แต่เราอาจจะมีเวลาไม่มากที่ดิฉันอยากจะพูดถึงเรื่องยุทธศาสตร์
เราจะเห็นว่าในการรบครั้งนี้ที่รัสเซียบุกยูเครน
มันก็เป็นความต่อเนื่องของประวัติศาสตร์ ซึ่งเมื่อให้ยูเครนเป็นเอกราช
แต่ว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจนั้น ของรัสเซีย บทบาทในเชิงอำนาจนั้นลดลงจนกระทั่งมองยูเครนเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของประเทศรัสเซีย
ก็คือยังมีภาพของความขัดแย้งแบบเดิมในเชิงอำนาจ ซึ่งไม่สอดคล้องกัน
ไม่ใช่ในเชิงระบอบการเมืองการปกครองเสียทีเดียว
ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่ามันจะต้องออกมาเป็นทฤษฎีใหม่ว่าเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเชิงอำนาจครอบงำประวัติศาสตร์และเอกราชของภาวะเปลี่ยนแปลงของโลก
นำมาสู่หัวข้อที่สองก็คือ
มันก็เกิดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ของการสู้รบเมื่อแบ่งเป็นขั้ว
การผนึกกำลังขั้วของพันธมิตร สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา
และประเทศในโลกเสรีที่สนับสนุนการดำรงอยู่ของยูเครน ไม่สนับสนุนการบุกเข้ามา
การรุกราน เพราะว่าเราจะเห็นได้ว่าประเทศ “สีเขียว” มีอยู่เป็นจำนวนมาก
ไม่ได้หมายความว่าเขาจะยกอเมริกากับสหภาพยุโรปเป็นหัวหน้าเสียทีเดียว
แต่เราจะเห็นว่า ในทัศนะของดิฉัน มันเป็นสงครามโลกแบบใหม่ เพราะว่ามันใช้ยุทธศาสตร์
มันเป็นสงครามโลกแบบใหม่เพราะมันเป็นความขัดแย้งแบบใหม่ ในสถานการณ์ใหม่
และใช้ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีแบบใหม่ ในขณะที่รัสเซียใช้การบุก
ซึ่งถ้าเราจะมองเห็นว่าเป็นการรบตามแบบฉบับแบบเดิมเลย มีการบุกโดยที่ยึดพื้นที่ Luhansk
ตอนแรก แล้วก็ยึด Crimea แล้วก็ Kherson ซึ่งในภาพเพื่อที่จะรุกไปสู่ Kyiv และเมือง Kharkiv ซึ่งเป็นเมืองใหญ่
แปลว่าจุดยุทธศาสตร์สำคัญรัสเซียเขาได้ดูเอาไว้แล้วตั้งแต่ Crimea และแคว้นที่มีการพูดภาษารัสเซีย คือคนเชื้อสายรัสเซียอยู่เป็นจำนวนมาก
แปลว่ามีความแน่วแน่ในการใช้อาวุธในสงครามครั้งนี้ นี่คือยุทธศาสตร์ของรัสเซีย
ซึ่งต้องการจะยึดยูเครนเพื่อความมั่นคงของรัสเซีย ไม่ต้องการให้ยูเครนไปเข้านาโต้
ไม่ต้องการให้ไปเข้าสหภาพยุโรป เพราะถ้าไปเข้านาโต้, สหภาพยุโรป ขีปนาวุธต่าง ๆ
ทั้งหลายก็สามารถมาอยู่ประจัญหน้าได้กับรัสเซีย
เพราะฉะนั้นตามภาพซึ่งก็คงจะขึ้นให้ดูว่าเพื่อเข้าสู่เมือง Kyiv กับ Kharkiv ก็มีการบุกหลายสาย บุกทั้งตอนเหนือ
ตอนตะวันออก ตอนใต้ ซึ่งตอนใต้ก็บุกมาจาก Crimea เยอะมาก
อันนี้ก็แปลว่าเป็นยุทธศาสตร์
มีการใช้รถถัง ใช้ขีปนาวุธ ซึ่งมันก็ไม่ง่าย
เพราะว่าเขาก็ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้พลเรือนเสียชีวิตมาก
มิฉะนั้นจะยิ่งถูกต่อต้านจากสังคมโลก
แต่ว่าสงครามนี้มันเป็นสงครามที่รัสเซียบุกรุกประเทศซึ่งเขาเป็นเอกราช
ถ้าในทัศนะเรื่องของการยุทธ ถือว่าเป็นสงครามที่ไม่ชอบธรรม ไม่ชอบธรรมในสายตาชาวโลก
141 ประเทศ แต่ว่าชอบธรรมสำหรับ 5-6 ประเทศ แล้วก็อีก 35 ประเทศรวมทั้งจีน
ก็ไม่ถือว่าชอบธรรมเหมือนกันนะ ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่เรียกว่ารัสเซียพ่ายแพ้ในสายตาชาวโลก
ไม่ว่าจะเป็นมติในสหประชาชาติ หรือว่ามองสัมพันธภาพอยู่ หรือในความเป็นจริงก็ตาม
เพราะมันเป็นสงครามรุกราน ซึ่งสงครามรุกรานคุณชนะได้ แต่คุณจะครองอำนาจอยู่
มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะประชาชนต้องต่อต้าน สงครามที่ไม่ชอบธรรม
สงครามที่เป็นลักษณะรุกราน การต่อต้านจากประชาชนจะมีพลานุภาพมาก ดังนั้น
ในทัศนะของดิฉัน สายตาชาวโลกและความคิดของประชาชนยูเครน รัสเซียอาจจะยึดได้
แต่ว่าจะมีปัญหามากและจะครองอำนาจยากมาก นี่คือยุทธศาสตร์การใช้อาวุธ
แต่ว่ายุทธศาสตร์ของฝั่งพันธมิตรของสหรัฐฯ
และสหภาพยุโรปนั้น เป็นยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ที่ใช้เศรษฐกิจ ใช้การเงิน
เป็นเครื่องมือในการจัดการ แล้วดูว่าได้ผล
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของการตัดอำนาจเครือข่ายทางการเงินของ SWIFT
รวมทั้งการแซงชั่นทางเศรษฐกิจทุกอย่าง มติสหประชาชาตินี้กับสหภาพยุโรป
จะนำมาซึ่งการแซงชั่นทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม และเมื่อยูเครนรับสมัครทหารอาสา
มันก็จะกลายเป็นความชอบธรรมที่ประเทศเหล่านี้ก็อาจจะส่งอาวุธไปให้ ส่งเงินไปให้
หรือว่ามีทหารอาสาของแต่ละประเทศไป คือจะไม่ใช่ยุทธศาสตร์แบบการใช้อาวุธอย่างเดียว
อาจจะเป็นการหนุนช่วยการต่อสู้ของคนยูเครน
แต่ว่าอานุภาพที่สำคัญกว่าในการเริ่มต้นสงครามโลกแบบใหม่
ดิฉันมองว่าเป็นการเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นนะในสงครามโลกแบบใหม่นี้
ก็คือใช้อาวุธทางเศรษฐกิจ
แน่นอน!
รัสเซียอาจจะมีความสำคัญในฐานะที่ตัวเองเป็นแหล่งพลังงาน เป็นแหล่งของแร่ธาตุ
โดยเฉพาะทั้งยูเครน รัสเซียด้วย
ก็เรื่องของผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นอาหารสัตว์หรืออะไรต่าง ๆ
ซึ่งจะมีผลต่อประเทศไทยอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงนั้น รัสเซียก็คงคิดแล้ว
ก็ต้องยอม เพราะฉะนั้นก็ต้องการใช้อาวุธเผด็จศึก เพราะฉะนั้นเราจะเห็นความแตกต่าง
รัสเซียจะเผชิญปัญหานอกจากความไม่ชอบธรรม การต่อต้านจากคนยูเครนอย่างสุดชีวิต
แล้วก็การต่อต้านจากประเทศต่าง ๆ ในโลก แต่การแซงชั่นทางเศรษฐกิจ ในทัศนะดิฉันเป็นอาวุธที่สำคัญมาก
เพราะขณะนี้ธนาคารของรัสเซียในยุโรปก็อยู่ไม่ได้แล้ว
ก็ขนาดเศรษฐีรัสเซียเจ้าของสโมสรฟุตบอลเชลซี ก็ต้องขาย ก็เพราะถูกต่อต้าน
การทำธุรกรรมการเงิน การยึดทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ การรับเงินจ่ายเงิน
อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ถูกขัดขวางหมด เพราะฉะนั้นเรียกว่า หุ้นบางธนาคารก็ตกลงไป 94%
เลย
ดิฉันมองว่าในเรื่องที่เป็นการใช้อาวุธทางเศรษฐกิจนี้
ในทัศนะดิฉัน สำคัญและมีพลังยิ่งกว่าพลังทางการใช้อาวุธ
แต่รัสเซียก็ขู่ว่าอาจจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ดิฉันก็มองว่า อันนี้เขาก็มีสิทธิ์ที่จะพูด
แต่ลำพังการใช้ขีปนาวุธแบบพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นแบบสุญญากาศ
หรือเป็นแบบแตกตัวเป็นคลัสเตอร์ ซึ่งถือว่าเป็นขีปนาวุธแบบตัวพ่อ
ก็ยังจะถูกประณามแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้ามีการใช้อาวุธนิวเคลียร์
การตระเตรียมของเวทีสหประชาชาติของฝั่งนี้ก็เพื่อเตรียมในทุกรูปแบบ
แต่ที่เริ่มไปแล้วก็คือเศรษฐกิจ แซงชั่น แล้วก็เทคโนโลยี
สำหรับประเทศไทย
ก็คือเราจะโดนปัญหาทั้งผลกระทบในเฉพาะหน้าก็คือเรื่องราคาน้ำมัน
ซึ่งตอนนี้เรียกว่าสูงมากในรอบ 40-50 ปี มีปัญหาที่บอกว่าข้าวสาลี
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เศรษฐกิจมูลค่าการค้าที่เราทำอยู่กับรัสเซียและยูเครน อาจจะรวม
ๆ แล้วประมาณแสนล้าน แต่ว่ามันจะส่งผลเมื่อข้าวโพด อาหารสัตว์แพง
มันก็จะเป็นวัฏจักร น้ำมันแพงมันก็จะเป็นวรจร เพราะฉะนั้น
ผลกระทบต่อเราในเชิงเศรษฐกิจโลกมันมีมาก
รัฐบาลไทยครั้งนี้ตามน้ำ
ก็ไปประณามด้วย ก็โอเค ก็ยังดีกว่าก่อนหน้านี้ แต่ใช้คำพูดที่ไม่มีศักดิ์ศรีเลย
บอกว่าเราจะตามน้ำ ตามกระแสเขาไป แล้วแต่สหประชาชาติเขามีมติแบบไหนก็เอาตามนั้น
ไม่มีศักดิ์ศรี ไม่มีจุดยืนของตัวเอง ก็มันแน่นอน ตัวเองที่มาอย่างไม่ชอบธรรม
และเป็นระบบเผด็จการล้าหลัง ก็จะไม่รังเกียจระบบเผด็จการทุกรูปแบบ
แต่ผู้ที่มีจุดยืน รัฐบาลที่มีจุดยืนเสรีประชาธิปไตย ให้คนเท่าเทียมกัน
เขารังเกียจเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการในประเทศหรือเผด็จการต่างประเทศ
เขารังเกียจทั้งนั้น
ดังนั้น
รัฐบาลไทยโปรดเข้าใจด้วย ขนาดรัสเซียเขาเป็นประเทศใหญ่ มีอานุภาพ พลานุภาพสูงมาก
คนยังแสดงความรังเกียจอย่างเต็มที่ เผด็จการไม่มีใครชอบ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ
ต่างประเทศ หรือในระดับโลก ถ้าคุณทำประชาธิปไตยจอมปลอม
แล้วความเป็นเผด็จการมีลักษณะที่แม้จะอยู่ข้างหลัง อยู่ในคราบรัฐประชาธิปไตย
แต่เนื้อแท้ก็รู้ คุณดูรัสเซียซิ เขามีการเลือกตั้งนะ แต่ความเป็นเผด็จการของระบอบที่
“ปูติน” ครองอยู่ ของพรรคของ “ปูติน” ก็เป็นที่ชัดเจน
ดังนั้น
อย่าคิดว่าการเลือกตั้งจะสามารถทำลายภาพของเผด็จการได้
เผด็จการในประเทศมันก็ยังจะแสดงออกให้เห็น แล้วลึก ๆ ประเทศต่าง ๆ เขาไม่นับถือ
อย่าว่าแต่คนในประเทศเลย!
#ธิดาถาวรเศรษฐ
#สงครามรัสเซียยูเครน
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์
ภาพประกอบ
: BBC
NEWS, AP
แผนที่แสดงการเข้ายึดพื้นที่ได้ของรัสเซีย |
แผนที่แสดงจุดการปะทะที่รุนแรง |
แผนที่แสดงการรุกของรัสเซียทางตอนเหนือ |
แผนที่แสดงการรุกของรัสเซียทางตะวันออก |
แผนที่แสดงการรุกของรัสเซียทางตอนใต้ |