ฟื้นความทรงจำ รำลึกขบวนการประชาชน เมษา-พฤษภา 2553 ตอน 1
[ที่มาของความขัดแย้งในรัฐสภามาสู่ท้องถนนปี 2553
และวิเคราะห์ข้อเรียกร้องของประชาชนในเวลานั้น]
การย้อนทวงถามความยุติธรรมสำหรับผู้ถูกกระทำในปี
2553 ไม่ว่าจะเป็นการถูกปราบปราม เสียชีวิต บาดเจ็บทันที
เจ็บป่วยล้มตายในเวลาต่อมา จนถึงการถูกจับกุมคุมขัง ลงโทษ ไม่ให้ประกันตัว
การหลอกล่อให้สารภาพผิด การสร้างพยานเท็จ การสร้างข่าวลวงปฏิบัติการ IO เพื่อความชอบธรรมในการใช้กำลังอาวุธและกระบวนการยุติธรรมที่ผิดรูปผิดร่าง เกิดคดีแพ่ง, คดีอาญา มากมายตามมา จนถึงบัดนี้
ก็ต้องยอ้นกลับไปตั้งแต่สาเหตุที่พรรคการเมืองใหม่ (ในเวลานั้น)
ได้รับชัยชนะถล่มทลายติดต่อกัน เอาชนะพรรคของฝ่ายจารีตนิยมตามรัฐธรรมนูญ 40
แบบที่ว่าน่าจะแพ้ไปอีกยาวนาน (จนถึงบัดนี้)
เป็นที่มาของรัฐประหาร
2549 เมื่อพบว่า นี่จะเป็นภัยคุกคามฝ่ายจารีตนิยม เพราะประชาชนนิยมผู้นำใหม่
พรรคการเมืองใหม่ (ดร.ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำพรรคไทยรักไทย) แบบถล่มทลาย (19
ล้านเสียงในเวลานั้น) ฝ่ายจารีตนิยม, อำนาจนิยม ก็ต้องจัดการ reset
การเมืองการปกครองใหม่โดยการทำรัฐประหาร แล้วเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ (2550) แต่ถึงกระนั้นยังแก้ปัญหาไม่ได้
ผลการเลือกตั้งหลักรัฐธรรมนูญของฝ่ายจารีต 2550 “พรรคพลังประชาชน” ที่มาจาก
“พรรคไทยรักไทย” ก็ยังได้รับชัยชนะ จัดตั้งรัฐบาลได้
ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีชื่อ สมัคร สุนทรเวช ก็แปลว่า
การทำรัฐประหารครั้งนั้นในปี 2549 ไม่สัมฤทธิ์ผลสำหรับฝ่ายจารีตนิยม
ซึ่งยังมีเครือข่ายโครงสร้างทั้งทางการเมืองการปกครอง ทางเศรษฐกิจ สังคม
ในประเทศไทยอย่างแข็งแรง เป็นเครือข่ายอำนาจนอกระบบ
นอกระบอบการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
และโดยธาตุแท้คอยควบคุมการเมืองในเวทีรัฐสภาอีกที ดิฉันได้นำเสนอโครงสร้างเครือข่ายฝ่ายจารีตนิยมมานานแล้วตั้งแต่ปี
2549 หลังรัฐประหารไปตรงกับที่ ดันแคน
แมคคาร์โก (Duncan McCargo) เสนอเรื่องเครือข่ายสถาบันกษัตริย์
Network Monarchy และได้เผยแพร่ในการประชุมแนวร่วมต่อต้านรัฐประหารมาจนถึงโรงเรียนผู้ปฏิบัติงาน
นปช. มาเป็นลำดับ เพราะเครือข่ายจารีตนิยมได้ขยับตัว แผ่ขยายด้านกว้าง
ด้านลึกไปเรื่อย ๆ มานับจากรัฐประหาร พ.ศ. 2490, พ.ศ. 2500, พ.ศ. 2516
มาจนถึงปัจจุบัน ถือว่าแข็งแรง มีพละกำลังมาก แต่ก็มีจุดอ่อนมากขึ้นเช่นกัน
ทั้งถูกท้าทายจากคนรุ่นใหม่ที่ข้อเรียกร้อง 3 ข้อ
ล้วนพุ่งเป้าโดยตรงไปยังเครือข่ายและการนำของจารีตนิยม อำนาจนิยม
ความพยายามทำลายพรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
เท่ากับการทำลายระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน
แม้เพียงส่วนเสี้ยวของอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร
เป็นที่มาของการตั้งรัฐบาลใหม่จากค่ายทหาร
และจากคำสั่งลับส่วนใดของเครือข่ายจารีตนิยมก็ตาม และจากการหักหลังประชาชนผู้เลือกตั้งไปเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์
โหวตให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
นี่เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนที่เลือกส.ส.มาเพื่อหวังให้ได้พรรคที่สังกัดอยู่ขณะนั้นเป็นรัฐบาล
ดู ๆ ก็มีส่วนคล้ายพฤติกรรมของส.ส.ในรัฐสภาปัจจุบันนั่นเอง ที่ย้ายพรรคระหว่างสมัย
และมีการยุบพรรคบางพรรคเพื่อขัดขวางการเข้าสู่เวทีรัฐสภาของพรรคใหม่ ๆ ที่น่ากลัวยิ่งกว่าเดิม
นี่จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันมีการออกมาเรียกร้องขับไล่การสืบทอดอำนาจ
ความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลปัจจุบัน และนำไปสู่ข้อเรียกร้อง 3 ข้อ
แต่ในปี
2553 นั้น ข้อเรียกร้องของเรามีเพียงการยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ให้มีการเลือกตั้งใหม่
ให้เป็นไปตามต้องการของประชาชนในการเลือกตั้ง มีข้อเดียวเท่านั้น ไม่ถึงกับ 3
ข้ออย่างปัจจุบัน ถามว่าข้อเรียกร้องสมเหตุสมผลไหม? เกินไปไหม? ลองพิจารณาดู
แน่นอนว่ากองเชียร์พรรคประชาธิปัตย์ กองเชียร์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เครือข่ายพลังจารีตนิยมทั้งหลาย ก็ไม่พอใจอย่างหนักในการออกมาประท้วงเรียกร้องครั้งนั้น
อย่างนี้พอสรุปได้ไหมว่า พลังจารีตแท้จริงแล้วไม่ต้องการระบอบประชาธิปไตย
ที่แท้เป็นพวกต้องการระบอบเก่า “ระบอบราชาธิปไตย” ที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ผ่านไป
12 ปีแล้ว ยังเป็นสคริปท์เดิม ๆ โดยมีผู้ถูกกระทำชุดใหม่
เป็นเยาวชนที่ถูกกระทำหนักกว่าเดิม และมีข้อเรียกร้องรุนแรงกว่าเดิม
สรุปว่าจะหยุดการต่อสู้ของประชาชนได้หรือ?
ธิดา
ถาวรเศรษฐ
17
มีนาคม 2565
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์