ธิดา
ถาวรเศรษฐ : ผลการโหวตแก้รธน. บอกอะไรกับสังคมไทย!
วานนี้
(25 มิ.ย. 64) อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กลับมาสนทนากับท่านผู้ชมผ่านการทำเฟซบุ๊กไลฟ์ที่
โดยอ.ธิดากล่าวว่า ผลงานเมื่อวานนี้น่าตื่นเต้นเร้าใจ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่
24 มิถุนายน มีทั้งเหตุการณ์ในเวทีรัฐสภา นอกรัฐสภาหน้าทำเนียบ
แล้วก็รวมทั้งการที่มีกลุ่มคนที่เคยเป็นอดีตแกนนำก็มีการนำม็อบมา
กรณีนั้นก็คือขับไล่นายกรัฐมนตรี รวมทั้งกรณีม็อบของเยาวชนในนามของคณะราษฎร
ซึ่งเป็นคณะราษฎรยุคใหม่ ก็ได้มีการจัดงานตั้งแต่ย่ำรุ่งจนกระทั่งถึงกลางคืน ดังนั้นเมื่อวานจึงมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นมากมาย
ดิฉันก็อดไม่ได้ที่ว่าวันนี้ก็มาพบกับท่านผู้ชมอีกครั้งหนึ่ง
ในบรรดาสามเรื่องนี้
มันก็จะเป็นเรื่องที่มันจะต้องมีเหตุการณ์ลำดับต่อไปข้างหน้าแต่ดิฉันคิดว่าจะขอเริ่มด้วยเรื่องในรัฐสภา
ฉะนั้นประเด็นวันนี้ที่จะคุยก็คือ
ผลการโหวตแก้รัฐธรรมนูญ
บอกอะไรกับสังคมไทย!
เมื่อวานนี้เราก็พอจะแบ่งเรื่องราวในรัฐสภาเป็นกลุ่มคนอยู่
3-4 กลุ่ม กลุ่มแรกที่มีความสำคัญสูงสุดคือวุฒิสมาชิก
วุฒิสมาชิกจะมีบทบาทสำคัญสูงสุด ซึ่งเรารู้ได้เลยก็คือการแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรานี้
อย่างต่ำต้องมีวุฒิสมาชิก 84 คน หมายความว่าถ้าวุฒิสมาชิกสนับสนุนร่างไหน
แล้วเสียงส.ส.ก็ได้มากพอ ร่างนั้นก็ผ่าน
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ
เมื่อคืนวานนี้ผ่านร่างเดียว คือร่างของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นร่างลำดับที่ 13
ซึ่งมีหลักการเดียวก็คือแก้ระบบเลือกตั้งบัตรสองใบ เรื่องราวตั้งแต่ต้นของพปชร.,
พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้านในการนำเสนอทั้ง 13 ร่าง
ดิฉันเชื่อว่าท่านผู้ชมก็คงทราบแล้ว
ดิฉันก็อยากจะมาสรุป
มาวิเคราะห์ว่าปรากฏการณ์นี้บอกอะไรกับสังคมไทยบ้าง?
กลุ่มแรกที่ดิฉันอยากจะพูดถึงก็คือวุฒิสมาชิก เราจะเห็นบทบาทของวุฒิสมาชิกซึ่งในทัศนะของดิฉันนั้น น่าขำเจือสมเพชด้วย ดิฉันก็ต้องขอพูดตรง ๆ ไม่ใช่เรื่องหยาบคาย มันน่าขบขันที่มีการถกเถียง อย่างหนึ่งทำให้ดิฉันทราบว่าวุฒิสมาชิกซึ่งเราคิดว่าเขาควรจะมีความรู้สึก พูดกันตรง ๆ ว่าในจิตใจมันควรจะมีปมด้อยอยู่ว่า ตัวเองไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แล้วมาจากการแต่งตั้งของการทำรัฐประหาร แล้วก็มีการสืบทอดอำนาจ แล้วก็เข้ามาอยู่ในรัฐสภาโดยที่มีตัวเลขรายได้รวมทั้งผู้ช่วยอะไรต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นเงินภาษีประชาชน แต่ตัวเองไม่ได้มาจากประชาชน ดิฉันนึกเอาว่าเขาควรจะต้องมีปมด้อยตัวนี้อยู่
แต่ว่าปรากฏการณ์ทีเกิดขึ้นเมื่อวานนี้แสดงว่าไม่มีปมด้อย
กลับมีปมเขื่อง นั่นก็คือในท่ามกลางเวทีการพูดนั้น
สิ่งที่พูดก็คือมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองมาจากรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านประชามติ ดังนั้นจะมาขับไล่หนึ่ง จะมาเหยียดหยามหนึ่ง
หรือว่าจะมาลดอำนาจในการเลือกนายกฯ
ดิฉันก็ขออภัยสำหรับส.ว.บางท่านซึ่งคิดว่ายอมลดอำนาจตรงนี้ส่วนหนึ่ง แต่ก็ไม่มากพอ
เพราะฉะนั้นการปิดสวิตช์ส.ว.จึงเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะว่าส.ว.มองว่าทำไมต้องมาปิดสวิตช์ผม? พวกคุณก็ส.ส.ปัดเศษ อะไรอย่างนี้
ไม่หนำซ้ำก็คือเป็นครั้งแรกที่วุฒิสมาชิกชูประเด็นที่คัดค้านกับพรรครัฐบาลเต็มที่
ในกรณีที่มีการขอแก้ไขมาตรา 144 กับมาตรา 185
ซึ่งเขามองว่าอันนี้เป็นการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง
ดังนั้นก็คือปัดตกทั้งยวง
เมื่อแพ็ครวมมาทั้งยวงก็ปัดตกตั้งยวง
ดังนั้นจึงเป็นการแสดงออกถึงการท้าทายระหว่างวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง
กับพรรคของรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจ พูดตรง ๆ ว่าหัวของรัฐบาล
(หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าพรรค) ก็คือผู้ที่แต่งตั้งวุฒิสมาชิกขึ้นมา
เพราะฉะนั้นพรรคพปชร.ก็อาจจะรู้สึกย่ามใจว่ามันก็นายเดียวกัน นายก็สั่งได้
ดังนั้นกระทั่งคนที่เป็นพวกสุดโต่งที่เอามาใช้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ย่ามใจ
ก็จับมามัดรวมกันทั้งหมดเพราะเกรงว่าบางร่างอาจจะถูกปัดตก ดังนั้นก็มามัดรวม
ก็กะว่าได้หมด อันนี้ก็เรียกว่าเป็นความประมาทของพปชร.
แต่ก็เป็นการที่วุฒิสมาชิกแสดงตัวว่าฉันไม่ได้ขึ้นกับคุณนะ ฉันเป็นตัวของตัวเอง
คุณจะมาลดอำนาจฉัน ปิดสวิตช์ฉัน ฉันไม่เอา! แต่ว่าไปหนุนร่างของพรรคประชาธิปัตย์แทน
ซึ่งเขียนไว้นิดเดียว แล้วคุณสมชัย ศรีสุทธิยากรก็มีความเห็นต่อไปว่า
ร่างของประชาธิปัตย์ที่เตรียมไว้เป็นร่างหนุน ไม่ใช่เป็นร่างหลัก
ก็เขียนไว้แค่นิดเดียว น่าจะไปต่อไม่ได้
เพราะว่าถ้าคุณจะแก้ไขระบบการเลือกตั้งต้องแก้มาตราอื่น ๆ เติมเข้าไปด้วย
อันนั้นก็เป็นเรื่องของเขา
แต่ที่ดิฉันอยากจะพูดในที่นี้ว่า
การแสดงออกของวุฒิสมาชิกในการประชุมนี้ เป็นการแสดงออกที่ห้าวหาญ
แล้วก็รู้สึกว่าผยอง รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับใคร ไม่รู้ว่ามีการพูดคุยกันหรือเปล่ากับพรรคประชาธิปัตย์
จึงสนับสนุนร่างเดียวค่อนข้างเป็นเอกภาพ ดูเหมือนจะเป็น 210 เสียงเลย ว่า
ส.ว.โหวตคว่ำร่างของพปชร.แทบ ไม่แตกแถว คือคว่ำแบบหมดเลย
แต่ว่ามาสนับสนุนร่างของพรรคประชาธิปัตย์เต็มที่ นี่คือการแสดงของส.ว.
นั่นหมายความว่าความหวังที่คิดว่าส.ว.ชุดนี้จะยอมลดอำนาจตัวเองแบบที่ส.ว.จำนวนหนึ่งพูด
ซึ่งมีสักประมาณ 20 คนที่ยอมปิดสวิตช์ ก็คือยังเป็นส.ว.อยู่นะ
แต่ว่ายอมสละอำนาจในการเลือกนายกฯ ความหวังนี้ไม่น่าจะมีอีกแล้ว พูดง่าย ๆ ว่า
ส.ว.ไม่ถอยเลย แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองภาคภูมิใจ มาจากรัฐธรรมนูญที่ลงประชามติ หลายคนก็ท้าด้วยว่าไปทำประชามติว่า
เอา/ไม่เอา ส.ว.มั้ย? ประมาณนั้น ก็คือถือว่าตัวเองมาจากประชามติ
ส.ส.ต่างหากที่หลายคนเป็นส.ส.ปัดเศษหรือส.ส.ที่มาจากเรื่องอะไรก็ตาม
ก็คือเป็นการบลั๊ฟกัน
ดังนั้นเราพอจะสรุปได้ว่า
คุณจะไปโจมตีในหน้าสื่อ ในออนไลน์ หรือในเวทีรัฐสภา ไม่สะดุ้งสะเทือนเลยค่ะ
ไม่ยอมลดอำนาจ แล้วไม่ลาไปไหน จะอยู่จนครบ 5 ปีนั่นแหละ ก็คือภายใน 5 ปีนี้
ถ้ามีการเลือกนายกฯ อีก ก็จะเป็นพลังในการยกมือเลือกนายกฯ นี้อีก
และได้ทอดไมตรีกับพรรคประชาธิปัตย์เอาไว้ด้วย
เลือกที่จะมาสนับสนุนร่างของพรรคประชาธิปัตย์เฉพาะแก้บัตรสองใบ
เพราะในขณะนี้ก็มองแล้วว่าพรรคที่หนุนรัฐบาลนี้ พรรคที่หนุนระบอบ 3ป นอกจากพปชร.
ก็ถือว่าประชาธิปัตย์เป็นตัวสำคัญ เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรคอนุรักษ์นิยมดั้งเดิม
และเป็นพรรคที่ต่อต้านกับพรรคใหม่ที่มีนายทุนที่ถูกโจมตีเป็นทุนสามานย์ หรือแม้กระทั่งทุนไหน
ๆ ทุนใหม่ก็ตาม
พูดง่าย
ๆ ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมที่ไว้ใจได้ ไม่ใช่มีแต่พปชร.ของ 3ป
เท่านั้น ก็แปลว่ามี 2 พรรค นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดยืน ความรู้สึก แล้วก็ไม่ถอยแน่
อันนี้ก็คือส.ว. เพราะฉะนั้นไอ้ที่เราคิดว่าจะพูดกันอย่างโน้นอย่างนี้แล้วก็จะทำให้เขามีความละอายแก่ใจ
ยอมลดอำนาจนั้นน้อยมาก เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับส.ว.
แต่ในทัศนะของดิฉันก็คือ
เราก็ต้องทำต่อไป ก็คือคุณอาจจะอยู่ได้ทางกฎหมาย แต่ว่าคุณอยู่ไม่ได้ในหัวใจประชาชน
ในวิกฤตแบบนี้ก็เป็นโอกาสที่ให้ทุกคนหันมาโจมตีวุฒิสมาชิกชุดนี้เต็มที่เลย
เพราะว่าเวทีรัฐสภาก็ยังทำอะไรไม่ได้
ก็ยังเหลือแต่เวทีของประชาชนนอกรัฐสภาที่จะจัดการกับวุฒิสมาชิกนี้
จัดการนั้นคงจะไม่มีใครไปทำอะไรในทางผิดกฎหมาย
ก็คือให้หาวิธีทุกอย่างในการที่จะรณรงค์ให้ประชาชนทั้งประเทศเข้าใจว่าส.ว.ชุดนี้จะมีปัญหากับพัฒนาการการเมืองการปกครองประเทศไทยต่อไปอย่างไร
ส่วนปัญหาอีกอันของวุฒิสมาชิกก็คือ
วุฒิสมาชิกต้องการจะแสดงออกว่าต่อให้คุณเป็นพรรคการเมืองที่มาจากนายเดียวกัน
ฉันก็ไม่สนคุณก็ได้ อันนี้เป็นปรากฏการณ์ซึ่งมันไม่เคยเกิดขึ้น ปรากฏการณ์นี้ก็แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของวุฒิสมาชิกว่ายิ่งใหญ่แค่ไหน
หันมามองพปชร.
ประมาท! แล้วก็คิดเอาว่าน่าจะเป็นพวกเดียวกัน แล้วก็หวังสูงเกินไป
ก็เลยเป็นที่มาว่าร่างของพปชร. พูดง่าย ๆ ว่าวุฒิสมาชิกต้องการสั่งสอน
อีกอย่างหนึ่งก็คือนายกรัฐมนตรีก็ส่งสัญญาณมาว่าไม่พอใจทั้งมาตรา 144 กับมาตรา 185
ที่จะขอแก้ด้วย
อีกอันซึ่งเป็นฝั่งรัฐบาลสุดกู่คือพรรครวมพลังประชาชาติไทย
พรรครวมพลังประชาชาติไทยนั้นไม่รับเลยสักร่าง
คือไม่เอาเลย ไม่แก้ไขเลย
เพราะถือว่ารัฐธรรมนูญนี้ล้ำเลิศประเสริฐศรีดีหมดเลยเหมือนที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ
เคยบอกมา พูดง่าย ๆ ว่าพรรคนี้ยังอยู่ในอุดมการณ์ของการสนับสนุนรัฐบาล 3ป
สนันสนุนระบอบประยุทธ์ สนับสนุนการสืบทอดอำนาจอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
ไม่สนใจเรื่องแก้เก้ออะไร เอาตามนี้หมด นี่เป็นพรรคที่เรียกว่าสุดขั้วยิ่งกว่า เป็นพรรคที่ยิ่งกว่า
3ปอีก พรรคที่เชียร์ 3ป ที่เป็นยิ่งกว่า 3ป ก็ไม่รู้จะใช้คำว่าเป็นพวกอุลตร้าฟาสซิสต์
อุลตร้ารอยัลลิสต์ หรือยังไง? นี่ก็คือฝั่งที่เรียกว่าสนับสนุนรัฐบาล 3ป
แต่วุฒิสมาชิกสั่งสอนพรรคพปชร.ว่าอย่ามาทำอย่างนี้นะ และก็ไม่เห็นด้วย
สำหรับพรรคฝ่ายค้าน
ในปรากฏการณ์ร่วมอันหนึ่ง คือเราจะเห็นว่าระบบบัตรสองใบที่จากรัฐธรรมนูญ 40
จะมีพรรค 3 พรรคที่สนับสนุน ก็คือ พปชร. ประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย นอกนั้นพรรคอื่น ภูมิใจไทยก็ไม่โอเค ก้าวไกลแน่นอนก็ไม่โอเค
เพราะก้าวไกลเขาบอกแล้วว่าเขาสนับสนุนอย่างเดียวก็คือให้แก้ ตัดอำนาจของวุฒิสมาชิก
ก็มีกองเชียร์เพื่อไทยจำนวนหนึ่งก็ตั้งข้อสงสัยเหมือนกันว่าทำไมหมวดอื่น ๆ
ไม่ยกมือ เพราะว่าเป็นหมวดที่สำหรับฝ่ายประชาชน ซึ่งอันนี้ดิฉันก็ไม่เข้าใจ อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องไปถามพรรคก้าวไกลเอง
เช่นปัญหาเรื่องการประกันตัว เรื่องสิทธิเสรีภาพ
คือพรรคก้าวไกลอาจจะเอาประเด็นสำคัญ ก็คือประเด็น 272 ซึ่งประเด็น 272
ดิฉันเห็นด้วยว่าสำคัญ
แต่ว่านาทีนี้ทุกคนจะได้รู้เลยว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มันเขียนมาให้แก้ไม่ได้ ถ้าส.ว.ไม่เห็นด้วย
ไม่มีทางผ่าน ยังไงก็ไม่มีทางผ่าน
เพราะฉะนั้นก็จะสามารถแก้ได้เฉพาะอันที่วุฒิสมาชิกเห็นด้วยเท่านั้น เพราะตั้ง 84
เสียง
นี่คือรัฐธรรมนูญฉบับที่แก้ไม่ได้
ที่หลายคนบอกว่า “ฉีกได้” แต่ “แก้ไม่ได้” มันก็เป็นอย่างนี้
เพราะนั้นพรรคใหญ่
3 พรรค ถามว่าทำไมพปชร.ถึงอยากได้
เพราะว่าก่อนหน้านี้พปชร.ก็น่าจะหนุนแบบในรัฐธรรมนูญ 60
แต่ดิฉันคิดว่าท่ามกลางเวลาที่ผ่านมา จากการใช้รัฐธรรมนูญมา พปชร.
ได้เติบใหญ่ด้วยการล่าส.ส.เขต และในการเลือกตั้งในพื้นที่ที่มีการเลือกตั้งซ่อม
พปชร.ก็ชนะเป็นส่วนใหญ่ แล้วการที่เอา “ธรรมนัส”
ไม่รู้ว่าจะเรียกตำแหน่งยศว่าอะไรดี มาเป็นเลขาธิการพรรค
ตัวนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการที่จะล่าส.ส.
คือสามารถไปชนะในนครศรีธรรมราชได้ แล้วก็ไปประชุมที่ขอนแก่น
ดิฉันเชื่อว่าความหวังของพปชร. หวังเป็นพรรคใหญ่ หนึ่งล่าส.ส.เขตมาได้ จากนั้นค่อยมีไม้ประดับสวย
ๆ มาอยู่ในบัญชีรายชื่อ แล้วก็เชื่อมั่นว่าฝีมือของ “ธรรมนัส”
ไม่จำเป็นต้องง้อกลุ่มสามมิตรแล้ว สามารถที่จะทำให้พรรคนี้เติบโตขึ้นมาได้
โดยเฉพาะหัวหน้าพรรคแบบพล.อ.ประวิตร ซึ่งเรียกว่าเป็นหัวหน้าที่ดี
ให้การสนับสนุนเต็มที่ไม่ว่าจะเอาอะไร ทำอะไร ก็ได้หมด อาจจะไม่เกี่ยวกับคุณประยุทธ์
แต่ว่าเป็นหัวหน้าพรรคที่ดีก็แล้วกัน เหมาะสม พล.อ.ประวิตรเป็นหัวหน้าพรรค
แล้วก็คุณธรรมนัสเป็นเลขาธิการพรรค มันโอ้โหเลยแหละ ก็คือช่างเป็นพรรคที่ดูดีมาก ๆ
สำหรับส.ส.ที่ต้องการเข้ามาพึ่งใบบุญ ซึ่งแม้กระทั่งวุฒิสมาชิกยังไม่ค่อยสบายใจ
แล้วก็พรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะประชาธิปัตย์ ก็แน่นอน
คนของประชาธิปัตย์ถูกพปชร.ล่าไปเป็นจำนวนมาก เหมือนกับพรรคเพื่อไทย
เพราะฉะนั้นพปชร.หวังว่าเติบใหญ่แน่
“ประชาธิปัตย์”
หวังว่าจะฟื้นคืนชีพด้วยบัตรสองใบ
“พรรคเพื่อไทย”
ก็หวังว่าจะกลับมายิ่งใหญ่แบบเดิม เพราะว่าคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อมีเป็นจำนวนมาก
ไม่ได้เลย ได้แต่ส.ส.เขต จากเสียง 200 กว่าเสียงก็เหลือ 100 กว่าเสียง
แล้วก็วางแผนผิดในเรื่องไทยรักษาชาติไปด้วย
ดังนั้น
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ขณะนี้ก็คือพรรคที่คิดว่าตัวเองจะเป็นพรรคใหญ่ก็หนุนสองใบ
แล้วพรรคที่เป็นพรรคขนาดกลางหรือเล็กก็ไม่อยากได้ แต่ในทัศนะดิฉัน สองใบ
พรรคเล็กก็มีโอกาสที่จะเป็นพรรคที่เติบโตได้ คือคุณต้องมีส.ส.เขตอยู่ในมือแน่นอนอยู่จำนวนหนึ่ง
แล้วก็มีบัญชีรายชื่อตัวเด็ด ๆ อยู่จำนวนหนึ่ง ดิฉันคิดว่ามันแน่นอนกว่านะ
เพราะว่าคุณสามารถสร้างแรงดึงดูดที่บัญชีรายชื่อก็ได้
ในขณะเดียวกันคุณสามารถที่โฟกัสลงไปในพื้นที่ที่มีโอกาสได้แน่นอนอยู่จำนวนหนึ่ง
คุณสามารถใช้ทั้งสองทาง ในขณะที่บัตรใบเดียวนั้นเรียกว่าพรรคไหนเน้นส.ส.เขตก็เน้นไป
พรรคไหนที่เน้นเฉพาะบัญชีรายชื่อก็เน้นไป
อย่างครั้งที่แล้วพรรคอนาคตใหม่ไปเน้นที่บัญชีรายชื่อมีเสน่ห์ ส.ส.เขตมีน้อย
แต่ในกรณีนี้คุณสามารถที่จะเน้นได้ทั้งสองทาง โฟกัสไปที่เขตจำนวนหนึ่ง แล้วก็เอาตัวเด็ด
ๆ มาอยู่ที่บัญชีรายชื่อ
เพราะฉะนั้นพรรคกลาง
พรรคเล็ก ก็ไม่จำเป็นต้องผิดหวัง พรรคใหญ่เสียอีก ถ้าไม่มีหัวหน้าพรรคที่มีเสน่ห์
ไม่มีบัญชีรายชื่อที่มีเสน่ห์ 100 เสียงก็อาจจะไม่ได้ก็ได้ นี่สำหรับพรรคใหญ่
คุณได้แต่ส.ส.เขต แต่บัญชีรายชื่อคุณอาจจะปิ๋วเลยก็ได้ มันไม่เหมือนกับยุคก่อนที่ประชาธิปัตย์แข่งกับเพื่อไทยหรือไทยรักไทย
เพราะว่าไทยรักไทยเขามีเสน่ห์ทั้งสองทาง ส.ส.เขตเขาก็มีเพียบ
บัญชีรายชื่อเขามีก็เพียบ ดังนั้นมาถึงวาระนี้พวกหัว ๆ กระเด็นนี่
ใช้ภาษาแรงหน่อยก็ถูกถีบออกไปจากวงการการเมือง
ถูกให้ยุติบทบาทแล้วก็หลบลี้หนีหายไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นมันมีโอกาสที่เท่า ๆ กัน
อันนี้ไม่ใช่คำปลอบใจสำหรับพรรคเล็กนะ แต่ว่ามันเป็นความจริงอย่างนั้น
เพราะว่าสำหรับดิฉันก็อยากได้พรรคการเมืองหลายพรรค
ไม่ได้อยากให้มีพรรคใหญ่พรรคเดียว เพราะว่าถ้ามีพรรคใหญ่ฝ่ายประชาธิปไตยพรรคเดียว
บางทีก็ไม่เห็นหัวประชาชน ก็คือทุกอย่างก็ทำไปตามที่ตัวเองคิด ไม่ได้ฟังเสียง ประชาชน
เหมือนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เรามีประสบการณ์แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 สองรอบ
รอบหลังดิฉันเป็นคนรวบรวมเองได้เกือบแสนรายชื่อ
กองอยู่ที่บ้านก็มีหลังจากที่เขาเอาคืนมา คือต้องหาเอาไว้เกิน เขาบอก 5 หมื่น
คุณต้องหาเอาไว้เกินเพราะว่าบางทีเขาจะคัดออกเวลาเขาเอาไปตรวจสอบ ก็ต้องเตรียมไว้เกินไว้หน่อย
เหมือนกับที่ตอนที่พวกคุณเสนอเดี๋ยวนี้แหละ คือให้สสร.แก้ทุกมาตรา ให้สสรร.มาจากการเลือกตั้ง
แก้ได้ทุกมาตรา ไม่ผ่าน! พรรคการเมืองไม่เห็นด้วย
พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลที่ร่วมต่อสู้กับเราไม่เห็นด้วย
เพราะเขาก็ต้องการรัฐธรรมนูญแบบที่รัฐบาลตอนนี้อยากจะทำ คือมีคณะร่างฯ
แต่ว่าในที่สุดจากการพูดคุยเขาก็จะรู้แล้วว่าคณะร่างฯ
ถ้ารัฐบาลเป็นคนตั้งยังไงก็ถูกด่า ต้องถูกด่าแน่นอน สู้โยนไปให้สสร. แล้วเอาคนไปแข่งขันกันที่โน่น
แล้วสสร.เขามาเลือก สสร.มาเลือกคณะกรรมการร่างฯ เขาไม่ถูกด่า
แต่ถ้ารัฐบาลตั้งคณะกรรมการร่างฯ ถูกด่าแน่นอน
เลิศประเสริฐศรียังไงก็ต้องมีข้อตำหนิให้ด่า แต่ว่ารัฐบาลยุคนั้นก็ไม่ได้ฟังเรา
นี่เล่าให้ฟังว่า แล้วมาบัดนี้นี่เหมือนกันเลย
ขณะนี้พรรคเพื่อไทยก็เสนอแบบเดียวกัน แต่ว่าของอาจารย์ไม่ได้เว้นหมวด 1 หมวด 2 นะ
ก็คือถ้าให้สสร.เขาร่างก็ต้องปล่อยให้เขาร่างทั้งหมด
เพราะฉะนั้นเรามีความเจ็บปวดกับการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาหลายรอบ
แม้กระทั่งการทำประชามติของรัฐธรรมนูญ 60 อาจารย์ก็ออกมารณรงค์ด้วยกัน
แล้วก็ยังเข้าไปนั่งอยู่ในเรือนจำหญิงอยู่ 8 ชม. ก่อนที่เขาจะให้ปล่อยตัวออกมา
เพราะว่าไปรณรงค์ประชามติ อยากให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งกับประชาชน
เราก็ตั้งเป็นศูนย์ปราบโกงก็มีปัญหา
ดังนั้น
ในความเป็นจริงขณะนี้ยังไม่รู้ว่าระบบบัตรสองใบจะไปรอดหรือเปล่า อาจจะไปไม่รอด
เพราะว่าอันที่หนึ่งคุณไม่ได้เขียนแก้มาตราอื่น (ของฉบับประชาธิปัตย์)
อย่างที่คุณสมชัยบอก ของเพื่อไทยเขาเขียนแก้มาตราอื่น ๆ ไว้ด้วย
เพราะว่ามันต้องแก้มาเพื่อรองรับ
คุณจะแก้ให้ใช้ระบบบัตรสองใบโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ได้
มันจะไปแค่ไหนก็ยังไม่รู้ อนาคตก็ยังไม่รู้
ดิฉันก็อยากจะเสนอแนะมาว่าพรรคฝ่ายค้านที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องกินแหนงแคลงใจด้วยเรื่องบัตรสองใบ
บัตรใบเดียว แน่นอน พรรคใหญ่ไม่ว่าค้านหรือรัฐบาล
หรือว่าพรรคที่คิดว่าตัวเองจะเติบใหญ่ คิดว่าบัตรสองใบน่าจะดีกว่า
จะมีทั้งคนในบัญชีรายชื่อ จะมีทั้งส.ส.เขต อันนี้ก็เป็นอย่างนั้น แต่มันก็ไม่แน่ ๆ
ดังนั้นพรรคที่เป็นขนาดกลางหรือขนาดเล็ก
ถ้าสามารถสร้างกระแสดึงดูดในเรื่องของบัญชีรายชื่อ (นี่พูดอย่างที่เขาทำได้นะ
ซึ่งไม่รู้จะทำได้หรือเปล่า?) แล้วก็มีส.ส.เขตที่มีการคัดสรรแน่นอน
ในทัศนะของดิฉัน พรรคเล็กก็เกิดขึ้นได้ เป็นขนาดกลางก็ได้ แต่ถ้าคุณทำเป็น MMP เขาอาจจะตัดว่าเสียงไม่ถึง
5% เข้าสภาไม่ได้ ก็ได้ เพราะมันอาจจะเกิด Overhang
Mandate อย่างที่ดิฉันเคยพูดมาแล้ว
เพราะฉะนั้น
ผลอันนี้ ส.ส. ทั้งหลายควรจะได้เข้าใจตรงกันว่าวุฒิสมาชิกและการสืบทอดอำนาจของ 3ป
เป็นอุปสรรคร้ายแรงของสังคมไทย และด้วยกฎหมายและด้วยรัฐธรรมนูญฉบับนี้
วุฒิสมาชิกที่คาอยู่ไม่ยอมออก ไม่ยอมลดอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ก็แปลว่าก็จะอยู่อย่างนี้แหละจนกระทั่ง
5 ปี ถ้ายุบสภาก่อนกำหนดก็มีโอกาสเลือกนายกฯ ได้อีกหลายรอบ
แต่ถ้ายุบสภาเมื่อครบกำหนด 4 ปี ก็แปลว่าเลือกนายกฯ ได้อีกครั้งหนึ่ง
จริง
ๆ ต้องไปเตรียมตรงนั้นว่า ส.ส.ทั้งหลายก็ต้องเห็นด้วยว่าทุกวันนี้เราพบวิกฤตสังคม
วิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตการเมืองอย่างหนัก และรัฐบาลนี้แก้ปัญหาไม่ได้ วิกฤตโควิด เมื่อมีคนมาโจมตีว่าทำไมหมอถึงไม่ไปด่ารัฐบาล
คุณหมอบางคนก็บอกว่าคือเขาไม่อยากด่าแล้ว อันนี้ก็เป็นเหตุผลของเขาซึ่งจริง ๆ โจมตีได้
เขาบอกว่าเขาไม่เคยหวัง เขาไม่ผิดหวังเพราะเขาไม่เคยหวัง
เพราะว่าประมาณจะเอาปลาไปบิน หรือเอาไก่ไปว่ายน้ำ มันไม่ได้ เขาก็พูดแรงอยู่
แต่จริง ๆ ประชาชนทุกคน บุคลากรการแพทย์ทุกคนสามารถที่จะออกมาพูดโจมตีทั้งรัฐบาล
โจมตีทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้
ความผิดไม่ได้เป็นของประชาชน
ประชาชนร่วมมือเต็มที่ บุคลากรการแพทย์ที่ทำงานก็ทำงานเต็มที่ แต่ปัญหาคือคนวางแผน
ดังนั้นเอาเฉพาะปัญหาโควิดมันพิสูจน์ให้เห็นฝีมือของรัฐบาลนี้แล้วว่ามันแก้ปัญหานี้ไม่ได้
แล้วยังไม่ต้องพูดเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ประเทศเล็ก ๆ เขามีผู้นำที่ฉลาด
ที่รักประชาชน ที่ต้องการให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า เขาไม่ต้องการให้ประชาชนตาย
สูญเสีย “เงิน” แทนที่กู้มาแล้วเอามาแจกเฉย ๆ เขาทุ่มไปในสิ่งที่ควรทุ่มเต็มที่
เพราะฉะนั้นดิฉันมองแล้วว่าการแก้ปัญหาวิกฤตโควิดครั้งนี้มันพิสูจน์ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาลนี้อย่างเต็มที่
ดังนั้น ถ้าหากว่ายังอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ คณะยุทธศาสตร์ก็เป็นยุทธศาสตร์เดิม หน่วยงานความมั่นคงซึ่งทำผิดพลาดมาทั้งหมด
ป้องกันชายแดนก็ไม่ได้ ป้องกันการนำเข้ามาทางเครื่องบินก็ไม่ได้ ทางบก
ทางน้ำก็ไม่ได้ ไม่รู้เรื่องปัญหาแรงงาน ไม่รู้ปัญหาเรี่องโครงสร้าง
ไปไม่รอดแน่นอนค่ะ
เพราะฉะนั้น
ส.ส.ทั้งหลาย ไม่ว่าคุณจะเป็นพรรครัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้าน
คุณไม่จำเป็นที่จะต้องมาเห็นด้วยกับม็อบของราษฎร
ไม่ต้องมาเห็นด้วยกับฝ่ายค้านแบบก้าวไกลหรือเพื่อไทยทั้งหมด
แต่ขอให้เห็นแก่ประเทศชาติว่าถ้าขืนให้อยู่สืบทอดอำนาจต่อ
แล้วถ้าขืนว่ารัฐธรรมนูญนี้แก้ไม่ได้
ประเทศชาติจะเสียหายยับเยินอย่างมากเลยทีเดียว
เมื่อคืนนี้มันเป็นอะไรที่ควรจะทำให้สังคมไทยเข้าใจว่า
ขนาดส.ส. ขนาดคุณไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งเป็นพวกสุดโต่ง พวกอนุรักษ์นิยม แต่ว่าเผอิญเข้ามาอยู่ในพรรคการเมือง
มาเจอวุฒิสมาชิกแบบนี้ก็ยังไปไม่เป็นเลยเหมือนกัน
ดิฉันคิดว่าเวทีรัฐสภาควรจะมีความเห็นเป็นเอกภาพว่าจะทำอย่างไรประเทศไทยถึงจะไปรอด
เพราะขณะนี้ทั้งตัวรัฐบาล ตัวนายกฯ 3ป และวุฒิสมาชิก
เป็นเหมือนกลไกที่สำคัญที่ขัดขวางการเจริญเติบโตและความสุขของประชาชนค่ะ
แทนที่จะมานั่งจับผิดกันว่าใครเอาสองใบ ใครเอาใบเดียว เดินหน้าลดอำนาจแก้ปัญหาส.ว.
แก้ปัญหาประเทศชาติร่วมกันดีกว่าค่ะ อ.ธิดากล่าวในที่สุด
#แก้ไขรัฐธรรมนูญ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์