อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มรดกคณะราษฎร 2475
สัมภาษณ์
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ในวาระ 89 ปี 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรปฏิวัติสยาม
เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (สัมภาษณ์โดย The 101 world เมื่อ 24 มิ.ย. 63)
ตอนที่ 2 : การเกิดขึ้นของนปก./นปช. และคนเสื้อแดง
ถ้าเราสนใจว่าแล้วนปช.
หนึ่งเกิดขึ้นจากการต่อต้านรัฐประหาร แล้วก็มีชนชั้นกลาง/ปัญญาชนบางกลุ่มที่เป็น 2
ไม่ พอเกิดขึ้นมา แน่นอนมันก็มีคนส่วนที่รักทักษิณด้วย
หรือคนที่มาจากพรรคไทยรักไทยด้วยที่เข้ามาร่วม คนที่ไม่เอาทักษิณก็เลยค่อย ๆ
ออกไปจำนวนหนึ่ง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าขบวนนี้มีแต่คนรักทักษิณ คนเฉย ๆ ก็มี
บางคนก็อาจจะไม่ค่อยชอบก็มี แต่ว่าไม่ได้ยึดเป็นเรื่องสำคัญ
ถือเอาเป้าหมายของแนวร่วมที่ต่อต้านรัฐประหารเป็นสำคัญ ขบวนนี้มันก็เติบโต
แต่ว่าพื้นที่ของสมาชิกพรรคการเมืองก็เข้ามามีบทบาท
เพราะอย่าลืมว่าการต่อต้านรัฐประหารมันก็คือการต่อต้านคนที่โค่นล้มรัฐบาลไทยรักไทยขณะนั้นนั่นเอง
สองอย่างนี้มันก็เลยร่วมกัน
แต่วาทกรรมที่ว่านี้มันได้ทำลายความชอบธรรมของการต่อต้านรัฐประหารซึ่งมีพละกำลังมากที่สุด
อาจารย์อยู่มาตั้งแต่
14 ตุลา, 6 ตุลา อันนี้เป็นสิ่งที่ดีใจมากตอนที่ว่า
การออกมาต่อต้านรัฐประหารครั้งนี้ มันเป็นการออกมาของมวลชน ของประชาชน พูดง่าย ๆ
ว่าคนชั้นกลางล่างกับมวลชนพื้นฐานเป็นองค์ประกอบใหญ่ของคนเสื้อแดงและนปช.
ซึ่งต่างกันกับในอดีต อย่าง 14 ตุลา หรือแม้กระทั่ง พฤษภา 35 ก็ยังมีบทบาทปัญญาชนมากเป็นแกนนำ
แต่ว่าในส่วนของกลุ่มคนเสื้อแดงและนปช. มวลชนพื้นฐานจะเป็นกำลังหลัก
และแม้กระทั่งกลุ่มแกนนำก็ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญญาชน
อย่างมีแบบอาจารย์หลงเข้าไปบ้างเป็นบางคน (ถ้าคิดว่ามาจากในส่วนของปัญญาชน)
เพราะว่ากลุ่มแกนนำจำนวนหนึ่งก็มาจากพรรคการเมืองก็ได้ มาจากตัวตลกก็มี มาจากนักดนตรีก็มี
หรืออะไร แต่ท่วงทำนองเขาจะเป็นแกนนำที่ใกล้ชิดกับมวลชนพื้นฐาน เข้าใจ
สามารถที่จะผูกมิตรและได้รับความนิยมชมชื่นได้ พูดภาษาง่าย ๆ เข้าใจกันง่าย ๆ
ไม่ต้องพูดภาษาที่ต้องปีนบันไดฟัง
เพราะฉะนั้น การขับเคลื่อนของนปก. นปช. มันก็เลยมีการขยายตัวทั้งของพรรคการเมืองและของมวลชนพื้นฐานซึ่งเติบใหญ่มาก (ในความคิดของอาจารย์นะ) และมันไม่ได้อยู่เฉพาะบนถนนราชดำเนิน หรือเฉพาะตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่มันไปทั่วประเทศไทย เวลาเราไปทำโรงเรียนการเมืองทุกที่ แต่ละที่คนอยากเรียนมากกว่าที่เราจะรับได้ เราบอกสองพัน มาสามพัน เราบอกทำได้พันเดียว มาสองพัน อะไรอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่บทเรียนของเราก็คล้าย ๆ เดิม แต่เขาต้องการได้ชื่อว่าเขามาผ่านหลักสูตร นี่ก็คือความเติบใหญ่ของขบวนการที่มุ่งจะยกระดับให้เขา ไม่ใช่แต่เพียงคิดว่าเป็นพรรคการเมืองนี้หรือว่าตามแกนนำนี้ พูดง่าย ๆ ว่าเราต้องการสร้างโรงเรียนผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศ คนไหนที่ยกระดับขึ้นมาได้
เพราะฉะนั้น
คุณจะไปฆ่าแกนนำ หรือจับแกนนำเสื้อแดง คุณจะจับได้ยังไง?
เพราะว่าเราสร้างมาแล้วเป็นแสนเป็นล้านคน คนนี้ไป คนอื่นก็มี
แม้กระทั่งแกนนำส่วนกลางก็เหมือนกัน แกนนำชนบทต่าง ๆ มันมีอยู่มากมาย
และพร้อมกันนั้น ไม่ใช่ว่าเขาจะต้องมาฟังโรงเรียนการเมืองของเราอย่างเดียว
แต่เราทำให้เขากระตือรือร้นที่จะรับข้อมูล มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์
สามารถสื่อสารทั้งสองทาง สิ่งเหล่านี้ก็จะสร้างคุณสมบัติแกนนำ
ดังนั้น นปช. มันมากกว่าม็อบ ไม่ได้ว่าเอาม็อบมาบีบรัฐบาล คือจริง ๆ เราต้องการที่จะให้ไปถึงเป้าหมายอย่างที่คณะราษฎรอยากจะทำนั่นแหละ คือเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นระบอบประชาธิปไตย
แต่ว่าจริง ๆ ก็คือ ในทัศนะของอาจารย์นั้น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอยู่ตรงราชดำเนิน แต่เราต้องทำให้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปอยู่ในหัวใจของประชาชนทั้งหมด เพราะฉะนั้น “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงราชดำเนิน เวลาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอยู่ตรงไหนก็ได้ แต่ว่าสัญลักษณ์ตัวนี้มันอยู่ในสมองเขา อยู่ในใจเขา อาจารย์ว่าตรงนี้สำคัญกว่า” ไม่ต้องไปทำม็อบอยู่ตรงอนุสาวรีย์นั้นแหละ แล้วบางทีอาจารย์เห็นเขาเอาอะไรมาล้อมไว้ไม่รู้ ใครจะถ่ายรูปยังถ่ายไม่ได้เลย แต่เขาหารู้ไม่ว่ามันเข้าไปอยู่ในสมองกับในใจอยู่แล้ว แล้วต่อให้คุณทุบทิ้งเหมือน “หมุดคณะราษฎร” หายไป มันไม่มีประโยชน์อะไร เพราะว่ายิ่งหายไป มันยิ่งเข้าไปอยู่ในใจ อยู่ในสมองของคน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็เหมือนกัน ความพยายามที่จะทำให้มันพัง แล้วเปลี่ยนเป็นอนุสาวรีย์อย่างอื่นหรืออะไรก็ตาม สุดท้ายก็รู้ว่าไม่มีประโยชน์ มีแต่ความโกรธแค้น
อาจารย์ยังชอบคำพูดที่ว่า
ถ้าเราเคารพความจริงหลายคนเราก็ไม่ได้คิดเหมือนกันซะทีเดียวนะ แต่อย่างในอังกฤษ
อนุสาวรีย์ครอมเวลล์ยังตั้งอยู่เลย ก็ไม่เห็นเขาไปทุบอนุสาวรีย์นั้น
เพราะมันเป็นประวัติศาสตร์
ดังนั้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไม่รู้ในกาลข้างหน้าใครจะไปจัดการยังไง? แต่ว่าจริง ๆ
แล้วมันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทำให้มันหายไป
สิ่งอะไรที่มันก้าวหน้าแล้วคนได้รับรู้แล้วเขาจะไม่ทิ้งมันนะ อาจารย์ว่านะ
เพราะมนุษย์มันไม่ได้อยู่ด้วยความโง่นะ คือนอกจากเมาหรือกินยาบ้า
แต่มนุษย์มันต้องไปสู่สิ่งที่ดีกว่าทั้งนั้น อาจารย์คิดอย่างนั้นนะ
ถ้าเขาได้สัมผัสและเข้าใจสิ่งที่ก้าวหน้าแล้ว เขาจะไม่ถอยหลัง
ดังนั้น
การชุมนุมของเราส่วนใหญ่ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ไม่ได้เป็นจุดของการชุมนุมใหญ่
ถ้าจะใช้ก็จะเป็นงานรำลึก 10 เมษา 53 แต่ว่ามันเข้าไปอยู่ในใจ
และเรากล้ายืนยันเพราะเราพูดในทุกเวทีว่าเราจะสืบต่อคณะราษฎร สิ่งที่คณะราษฎรทำ
แล้วก็ยังมีจุดอ่อนและทำไม่สำเร็จ ก็เลยเป็นแบบนี้ประเทศไทย
เราอาจจะไม่สำเร็จในยุคของเราหรือแม้กระทั่งคนเสื้อแดง
แต่อาจารย์คิดว่าความคิดที่ก้าวหน้ามันได้แผ่ขยายไปในหมู่มวลชนมากมาย ทั้ง ๆ
ที่เขาเป็นมวลชนพื้นฐาน คนยากคนจน
ถ้าถามว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับคนเสื้อแดง
อาจารย์ว่าที่สำคัญมันอยู่ในใจ อยู่ในสมอง และไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
เขาอาจจะไปรับเงินสวัสดิการ รับเงิน 5,000 รับเงิน 15,000 นะ
แต่เขาไม่ลืมว่าภารกิจของเขาจะต้องสร้างให้ประเทศนี้ให้อำนาจเป็นของประชาชนให้ได้
อาจารย์เชื่อว่าอย่างนั้น นี่พูดถึงในเชิงความหมาย!
#89ปีปฏิวัติสยาม
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์