เวลามองดูการบริหารงานเรื่องโควิด19 ท่านกำลังมองดูผลจากการรัฐประหาร 2557 และรัฐธรรมนูญ 2560
ผู้นำรัฐบาลที่ไม่ว่าจะทำแบบไหนก็ยังสามารถดำรงตำแหน่งได้ เพราะถ้ายุบสภาเลือกตั้งใหม่แล้วโหวตเลือกผู้นำรัฐบาล 2-3 ปีนี้ วุฒิสมาชิกที่คนใกล้ชิดผู้นำรัฐบาลเป็นผู้เลือกก็ยังมีส่วนโหวตเลือก ซึ่งมาจากรัฐธรรมนูญ 2560
รัฐมนตรีที่ทำพลาดจุดใดก็ไม่จำเป็นต้องกลัวว่าจะถูกบังคับให้ลาออก เพราะมีอำนาจต่อรองผ่านส.ส.ในมือ เนื่องจากการเกิดรัฐบาลผสมเสียงแตก รัฐมนตรีบางคนสามารถดึงส.ส.ที่ไม่ได้อยู่ในพรรคตนเองมาสนับสนุนตนเองได้ ทั้งที่ส.ส.เหล่านั้นในตอนแรกได้รับเลือกเป็นส.ส.โดยบอกผู้ลงคะแนนว่าอยู่พรรคที่ไม่ได้สนับสนุนรัฐมนตรีคนนั้น ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560
การทำงานระหว่างหน่วยงานราชการต่าง ๆ เต็มไปด้วยการทำแบบตัวใครตัวมัน ทำเฉพาะในกรอบแคบ ๆ ของตนเอง ก็เพราะฝ่ายการเมืองไม่สามารถทำตัวเป็นผู้นำที่รวมหน่วยงานต่าง ๆ ให้ไปตามนโยบายร่วมกันเพื่อหวังสัมฤทธิ์ผลเป็นหลัก เพราะถ้าทำอะไรเกินกรอบก็อาจถูกองค์กรอิสระและกระบวนการต่าง ๆ จัดการในฐานะ "นักการเมืองเลว" หรือ "ข้าราชการเลว" โดยเฉพาะหากยืนคนละฝั่งกับผู้มีอำนาจตัวจริง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ยิ่งเข้มข้นขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560
และในขณะเดียวกันการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระและกระบวนการต่าง ๆ ต่อผู้มีอำนาจตัวจริงในกรณีการจัดการโรคโควิด19 เช่น ตรวจสอบเรื่องการจัดหาวัคซีนยิ่งทำได้ยาก อย่าลืมว่า
- ผู้มีอำนาจเป็นผู้เลือกส.ว.
- ส.ว.เลือกผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระต่าง ๆ
- องค์กรอิสระต่าง ๆ มาตรวจสอบผู้มีอำนาจอีกทอด
ถ้าเป็นแบบนี้จะตรวจสอบ "คนกันเอง" ได้แค่ไหน แล้วจะมั่นใจในความถูกต้องของการตรวจสอบคนที่ผู้มีอำนาจตัวจริงมองเป็นปฏิปักษ์ได้แค่ไหน?
ฉะนั้นหากท่านไม่ชอบใจการบริหารงานในยุคโควิด19 นอกจากเรียกร้องให้รัฐมนตรีและผู้นำรัฐบาลแสดงความรับผิดชอบแล้ว ยังต้องเรียกร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปรับเปลี่ยนระบบพิกลพิการเหล่านี้ออกไป เพื่อให้ผู้นำกับรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบเมื่อทำพลาด ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายราชการที่ตั้งใจแก้ไขปัญหาสามารถทำงานโดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง และผู้ตรวจสอบกับผู้มีอำนาจตัวจริงไม่เกี่ยวข้องกันจนมั่นใจได้ว่าการตรวจสอบไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไปครับ
ที่มา : fb.สลักธรรม โตจิราการ
#COVID19 #โควิด19
#แก้รัฐธรรมนูญ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์