อธิบดีปศุสัตว์และคณะทำงานด้านวิชาการฯ อัดคลิปแถลงพบ ASF ในสุกรจากโรงฆ่า จ.นครปฐม เร่งสอบหาแหล่งที่มาพร้อมประสานหารือภาคีเครือข่ายเพื่อควบคุมโรคให้สงบโดยเร็วแล้ว
วอนประชาชนอย่าตระหนก เป็นโรคติดต่อเฉพาะในสุกรเท่านั้น
วันนี้
(11 ม.ค. 65) นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ และคณะทำงานฯ ได้บันทึกวีดีโอแถลง
กรณีเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) โดย นายนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต
อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านวิชาการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค ASF
ในสุกร กล่าวว่า
จากการที่มีการนำเสนอข่าวในสื่อสังคมออนไลน์เผยข้อมูลว่าพบรายงานสถานการณ์การเกิดโรค
African
Swine Fever หรือ ASF ในสุกร
ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญและห่วงใยในเรื่องดังกล่าวฯ จึงได้สั่งการเร่งด่วนให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานโดยเร็ว
ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตรวจสอบไประยะหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม
การดำเนินการตรวจสอบต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากลเพื่อได้ขั้นตอนครบถ้วนละเอียดรอบคอบ
รอบด้าน เป็นไปตามข้อกฎหมายและระเบียบ เมื่อรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลจะรายงานให้สาธารณชนทราบ
โดยจะไม่มีการปกปิดหรือปิดบังใด ๆ
โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ไม่ได้นิ่งนอนใจได้สั่งการด่วนจัดชุดเฉพาะกิจลงตรวจสอบสภาวะโรคในพื้นที่เสี่ยง
ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น ในวันที่ 8-9 มกราคม 2565 รวมทั้งหมด 10 ฟาร์ม
305 ตัวอย่าง และโรงฆ่าสัตว์ 2 แห่ง 4 ตัวอย่าง โดยในวันที่ 8 มกราคม 2565
สุ่มดำเนินการในจังหวัดราชบุรี ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างจำนวน 6 ฟาร์ม รวม 196
ตัวอย่าง และวันที่ 9 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
เฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 4 ฟาร์ม 109 ตัวอย่างและ 2 โรงฆ่า 4 ตัวอย่าง รวม
113 ตัวอย่าง
เพื่อเข้าไปสำรวจโรคและเก็บตัวอย่างจากเลือดสุกรจากฟาร์ม
(blood
sampling) และจากบนพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์ (surface
swab) นำไปตรวจหาโรควิเคราะห์ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์
ซึ่งผลการวิเคราะห์ตัวอย่างในเบื้องต้นจากจำนวนทั้งหมด 309 ตัวอย่าง
พบผลวิเคราะห์เป็นลบจำนวน 308 ตัวอย่างและพบผลบวกเชื้อ ASF จำนวน
1
ตัวอย่างจากตัวอย่างพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งที่มาจากจังหวัดนครปฐม
ชุดเฉพาะกิจได้ลงพื้นที่เข้าสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาถึงแหล่งที่มาของสุกรและสาเหตุเพื่อควบคุมโรคโดยเร็วต่อไป
การดำเนินการดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการในการดำเนินการในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรค
ASF ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ มาตั้งแต่ต้น
โดยล่าสุดได้ประสานหารือและทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคีคณบดี
คณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมโรคดังกล่าว
ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
.
สำหรับการดำเนินงานกรณีตรวจเมื่อพบโรคในประเทศ กรมปศุสัตว์จะต้องดำเนินการประกาศให้มีผลกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้น้อยที่สุด
ขอยืนยันว่าโรคนี้เป็นโรคสัตว์ที่ไม่ติดคน สัตว์ที่ป่วยเป็นโรค
เชื้อจะตายได้ในการปรุงสุก
ในการดำเนินการประกาศเขตโรคระบาดและการเคลื่อนย้ายสัตว์
จะร่วมกันพิจารณาในเรื่องของข้อมูลการระบาดวิทยาเพื่อดำเนินการว่าจะชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย
ซึ่งตอนนี้รัฐบาลก็ได้ดำเนินการในการลดความเสี่ยงมาแล้ว
ในเรื่องการนำสุกรมาเลี้ยงใหม่จะต้องประเมินความเสี่ยงในกรณีที่บริเวณตรงนั้นมีการเกิดโรค
ซึ่งตรงนี้ขอยืนยันว่าเรายังไม่มีการพบว่าระบาด พบเป็นเฉพาะจุด
ฉะนั้นเราต้องควบคุม ตามกฎหมายพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ 2558
เราดำเนินการเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการควบคุม
เพื่อให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของเราเป็นไปได้ต่อไปในอนาคต และเราสามารถจะควบคุมโรคให้อยู่ในวงจำกัดได้อย่างรวดเร็วที่สุดจากความร่วมมือของทุกคนที่นั่งอยู่ตรงนี้
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว
มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดที่พบโรค
ร่วมกับจะต้องพิจารณาทำลายสุกรที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค
หรือมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับฟาร์มที่เป็นโรคและจ่ายค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย
สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่อื่น
ๆ
ที่ไม่อยู่ในรัศมีการควบคุมโรคการเคลื่อนย้ายสุกรทุกวัตถุประสงค์จะต้องได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์
โดยคำนึงถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด รวมทั้ง
การขออนุญาตนำสุกรเข้ามาเลี้ยงต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ในขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์จะต้องแจ้งการพบโรคไปยังองค์การสุขภาพสัตว์โลก
(OIE) เพื่อแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทราบ
ล่าสุดได้มีการประชุมคณะกรรมการวิชาการป้องกันควบคุมโรค
ASF แล้ว เพื่อทราบผลการตรวจพบเชื้อ ASF จาก 1
ตัวอย่างที่เก็บมาจากโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
จากตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บมา 309 ตัวอย่าง
โดยยืนยันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ทั้งนี้
เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว กรมปศุสัตว์เห็นควรประกาศประเทศไทยพบโรค ASF
และรายงานไป OIE ต่อไป
ท้ายที่สุดนี้
กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรในการดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์โดยเคร่งครัด
เพื่อควบคุมโรคให้สงบได้โดยเร็วเหมือนดังที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการควบคุมโรคอย่างเช่น
โรคไข้หวัดนก และขอเรียนพี่น้องประชาชนให้ทราบว่าสุกรที่เป็นโรค ASF เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คนหรือสัตว์ชนิดอื่น
ผู้บริโภคยังสามารถรับประทานเนื้อสุกรได้อย่างปลอดภัย
โดยจะต้องให้ความร้อนปรุงสุกที่อุณหภูมิสูงกว่า
70 องศาเซลเซียส หากพี่น้องประชาชนมีข้อสงสัยหรือพบสุกรป่วยตายผิดปกติ
หรือสัตว์ป่วยตายผิดปกติ หรือต้องการความช่วยเหลือจากกรมปศุสัตว์
สามารถแจ้งกรมปศุสัตว์ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ
หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา
24 ชั่วโมง
#AFS
#หมูแพง
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์