‘ธิดา’ ชี้ หยุดซะ!!! ถ้าไม่อยากให้ประเทศไปสู่ความเลวร้ายแบบพม่า
เพราะเยาวชนก็ฉลาด ประชาชนพัฒนายกระดับแล้ว
แต่คุณยังทำแบบเดิม!
23
มี.ค. 64 ที่เฟซบุ๊คแฟนเพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ
ได้มีการสนทนาผ่านการทำเฟซบุ๊คไลฟ์
โดยอ.ธิดากล่าวว่ายังเป็นวาระที่เราต้องศึกษาเรื่องราวและต้องมาคุยกันในปัญหาเหตุการณ์ที่มีการประท้วงและการปราบปรามประชาชนในวันที่
20 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยประเด็นที่ตั้งใจจะคุยในวันนี้ก็คือ
หยุดคุกคามปราบปรามนักศึกษาประชาชน!
อ.ธิดา
กล่าวว่า แน่นอน...สำหรับคนเสื้อแดงและนปช. เราผ่านเหตุการณ์ปี 2553 ซึ่งโหดร้ายมากกว่าทุกวันนี้หลายเท่า
มีผู้เสียชีวิตนับร้อย แต่ที่สืบทราบก็คือได้ 99 คน ในนี้ก็รวมทหารอยู่จำนวนหนึ่งเพราะว่าเราถือเขาเป็นประชาชนที่ไม่สมควรเสียชีวิตด้วยเช่นกัน
แล้วก็มีคนถูกจับกุมคุมขังนับพัน ๆ คน แกนนำที่ถูกจับในครั้งนั้น
ซึ่งความจริงเขาไม่ได้ถูกจับ ก็คือไปรายงานตัว ไปมอบตัว ถึง 9
เดือนที่ไม่ได้รับการประกันตัว!
พูดง่าย
ๆ คือสถานการณ์ในปี 2553 นั้น รุนแรงที่สุดตั้งแต่ที่เคยเกิดเหตุการณ์มา ไม่ได้นับรวมถึงการอุ้มฆ่า
อุ้มหาย ซึ่งยังไม่มีหลักฐาน นี่เราพูดในสิ่งที่มีหลักฐานที่ประจักษ์และรับรู้ร่วมกัน
ยกตัวอย่างเช่น ผู้เสียชีวิต 99 คน แต่เหตุการณ์ที่ผ่าน ๆ มาและรวมทั้งในปี 2553
ศพที่ตามไม่ได้ หรือผู้ถูกจับกุมคุมขังที่ไม่ได้เข้าอยู่ในสารบบ แม้กระทั่งผู้ที่หนีไปอยู่ต่างประเทศแล้วถูกอุ้มหายไปต่าง
ๆ เหล่านี้ ก็เรียกว่าเหตุการณ์ปี 2553 นั้นรุนแรงกว่าวันที่ 20 มี.ค.
อยู่เป็นจำนวนมาก อ.ธิดาเปรียบเทียบ
อ.ธิดา
กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามทุกสิ่งทุกอย่างในการต่อสู้ประชาชนก็มีการพัฒนาขึ้น
ประชาชนที่เข้ามาสู่การต่อสู้ในรอบใหม่นี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะมวลชนพื้นฐาน
ไม่ใช่แค่คนจนชนบทและคนจนเมือง แต่ประกอบด้วยเยาวชนและปัญญาชน ชนชั้นกลาง
และรวมกระทั่งถึงผู้มีรายได้สูงอยู่จำนวนหนึ่ง
ดังนั้น
การปราบปรามจึงมีความลำบากสำหรับผู้ปราบ เพราะว่าถ้าจะไปดูตัวอย่างในประเทศพม่า
อันนั้นก็เรียกว่าสุด ๆ ไปเลย ก็ไม่รู้ว่าใครเอาอย่างใคร? แต่ถ้ามองว่าการปราบปรามการต่อสู้สุดขั้ว
เราจะเห็นในประเทศเพื่อนบ้านคือในประเทศพม่า
อ.ธิดา
ย้อนกลับมามองประเทศไทย “แต่ประเทศไทยในอดีตที่ผ่าน ๆ มาก็ไม่ได้เป็นรอง
โดยเฉพาะปี 2553 แต่ว่าพัฒนาการของการต่อสู้ในประเทศไทยนั้นเป็นพัฒนาการแบบสันติวิธี
หมายถึงพัฒนาการทางความคิดของประชาชนที่มาต่อสู้ ได้พัฒนาขึ้นจนกระทั่งทำให้ผู้ที่มาร่วมการต่อสู้ขยายจากมวลชนพื้นฐานมาสู่ชนชั้นกลาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชน นักศึกษา เยาวชนในมหาวิทยาลัย
จนกระทั่งเยาวชนอายุต่ำกว่า 16 ปี หมายถึงมัธยมในโรงเรียนก็เข้าร่วมการต่อสู้”
แต่แน่นอนวันที่
20 มี.ค. ที่ผ่านมา น้อง ๆ เด็กมัธยมไม่ได้มา เพราะว่าชุลมุนอยู่กับการสอบต่าง ๆ สอบ gat สอบ
pat ต่าง ๆ สารพัดสอบเป็นสิบ ๆ วัน ดังนั้นก็จะมีปัญญาชน
มีชนชั้นกลาง มีคนจนเมือง เป็นองค์ประกอบด้านสำคัญ อาจจะไม่มากเป็นแสน
เพราะว่าการต่อสู้มีระยะเวลายาว
เป็นการต่อสู้เป็นระลอกคลื่นซึ่งมีขึ้นมีลงเป็นเช่นนี้ อ.ธิดากล่าว
แต่ว่าการปราบปรามผู้ออกมาเรียกร้องสำหรับรัฐบาล
ไม่ว่าเป็นการปล่อยตัวเพื่อน ปัญหากฎหมาย 112 ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หรือกระทั่งให้ประยุทธ์ออกไป ซึ่งเรื่องของ 112
ก็ไปเกี่ยวข้องกับปัญหาปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตามข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของเขาเหล่านั้น
ซึ่งมีเน้นบางข้อเป็นบางช่วงเวลา บางช่วงเวลาก็เน้นประยุทธ์ออกไป
บางช่วงเวลาก็อาจจะเน้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
และบางช่วงเวลาก็อาจจะเน้นเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังอยู่ในปริมณฑลนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นแรกที่เขาเคยเรียกร้องคือ
“หยุดคุกคามประชาชน”
อ.ธิดากล่าวว่า
พัฒนาการของสังคมไทยต้องมองในแง่ดีก็คือ ในช่วงนี้เขาไม่ได้พัฒนาการต่อสู้ด้วยอาวุธ
เป็นพัฒนาการด้านบวก คือพัฒนาด้านความคิดที่หลากหลาย
พัฒนาด้านที่มีกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ เข้ามาร่วมขบวนในการต่อสู้หลากหลาย
คนที่เคยเป็นสลิ่ม คนที่เคยเกลียดคนเสื้อแดง
หรือปัญญาชนที่รังเกียจไม่ชอบใจคุณทักษิณหรือไม่ชอบพรรคไทยรักไทย ก็มีจำนวนหนึ่งซึ่งหันมาร่วมส่วนกับเยาวชนเรียกร้องรัฐบาลนี้ในความล้มเหลวงทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม ดิฉันมองในด้านบวกสำหรับฝ่ายประชาธิปไตย คือมีคนมามากขึ้น มีปัญญาชน
มีคนในระดับเศรษฐกิจด้านบน มีคนที่เป็นสลิ่มมามากขึ้นเข้ามาร่วมในการต่อสู้ นี่คือด้านที่เป็นด้านขยายตัวด้านคน
อันที่สองคือด้านความคิด
คือมีความลึกซึ้ง มีความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่ว่าแกนนำสั่งอย่างเดียว
มีพัฒนาการในการโหวต มีทั้งพัฒนาการในการไม่มีแกนนำ มีแกนนำที่หลากหลาย หลายแบบ
มีทั้งกลุ่ม LGBT
กลุ่มสตรี สารพัดกลุ่ม อันนี้ในแง่ว่าทางความคิดมีความหลากหลายและมีความลึกซึ้ง
มีการอ้างอิงหนังสือต่าง ๆ จนเป็นเหตุให้มีวิวาทะ ซึ่งดิฉันยังอยากจะคุย
ยกตัวอย่างเช่น หนังสือของอาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ
ที่มีการโต้แย้งกันเป็นจำนวนมาก อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่ามีการตีความประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนวิทยานิพนธ์และผู้เขียนหนังสือจะตีความประวัติศาสตร์แบบไหน
อ.ธิดากล่าว
ดังนั้น
ความหมายของดิฉันก็คือ ขบวนการต่อสู้ประชาชนมันใช้องค์ความรู้ยกระดับขึ้น
และมีชนชั้นต่าง ๆ มีกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาร่วมที่หลากหลาย และที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ
มีการเน้น “สันติวิธี”
ความจริงนปช.ก็พูดสันติวิธีมาตลอด
แต่ไม่ว่าด้วยอะไรก็ตามคือฝ่ายที่ปราบปรามก็จะพยายามที่จะหาเหตุว่าพวกนี้มันไม่ใช่พวกสันติวิธี
มีกองกำลังอาวุธ 500 คน แล้วก็ไปยกเอาเสธ.แดงเป็นผู้บัญชาการทหารของนปช.
ซึ่งความจริงไม่ใช่เลย
เสธ.แดงก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยกับฝ่ายอำนาจรัฐแบบนั้น หมายถึงวิธีคิดแบบของฝ่ายอนุรักษ์นิยม
แล้วเขาก็ถูกฟ้องร้องด้วยเหมือนกัน ก็เข้ามาอยู่ด้วย
แต่ถ้าจะบอกว่าเป็นผู้บัญชาการทหาร ไม่ใช่!!! เพราะว่านปช.ยึดหลักสันติวิธี
แน่นอน!
ก็มีคนไม่เห็นด้วย เพราะว่าในการชุมนุมก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
บางคนก็อาจจะไม่มีประสบการณ์ หรือไม่ได้คำนึงถึงหลักทฤษฎีในการต่อสู้ ในเมื่อประชาชนไม่มีอะไรเลยในมือ
เพราะฉะนั้น ความจริง “สันติวิธี” ถูกเสนอมาตั้งแต่ ในนปช. อ.ธิดากล่าว
อ.ธิดากล่าวต่อไปว่า
“ดิฉันมองว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนครั้งนี้เขาชูสันติวิธีเด่นชัด
ไม่ว่าจะเป็นคำพูดของ “รุ้ง” ของ “เพนกวิน”
และบอกอธิบายเหตุผลด้วยว่าทำไมต้องสู้สันติวิธี เพื่อต้องการสร้างความชอบธรรม
ถ้าพูดแล้ว มันก็เป็นการสืบต่อการต่อสู้ที่มีการยกระดับอย่างน่าชื่นชม
และมีการเรียกร้องแม้กระทั่งไม่ให้เอาอะไรไปเลยในการประท้วง ดิฉันยังชื่นชม
มีคำแถลงอะไรต่าง ๆ ออกมาเมื่อครั้งที่ไปหน้ารัฐสภา ก็มีคำแถลงเป็นข้อ ๆ
ว่าทำไมต้องใช้สันติวิธี”
แล้วจากการพูดคุยกัน
เขาชัดเจนว่า “สันติวิธี” ดังนั้นหมายความว่ามีการยกระดับในด้านบวกเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการต่อสู้
เพื่อขยายกำลังของคนที่เห็นด้วย
เพื่อปิดจุดอ่อนในการที่จะถูกเงื่อนไขในการปราบปราม อันนี้คือด้านบวก
ทั้ง
ๆ ที่เขามีด้านบวกขนาดนี้ และที่ด้านบวกมาก ๆ เลยก็คือ เขาเป็นเยาวชน
ไม่มีผลประโยชน์ คุณจะหาว่าเขาเป็นนักการเมือง เป็นพวกคอรัปชั่น มาหาผลประโยชน์
ผูกขาดประเทศอะไรต่าง ๆ พูดอย่างนี้ไม่ได้เลย ความพยายามที่จะบอกว่าเขาทำเพื่อพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งก็ล้มเหลว
นี่คือข้อด้านบวกที่มีแต่จะเติบโตขึ้น อ.ธิดาย้ำ
ในขณะเดียวกัน
การปราบปราม คุณก็เลยไม่สามารถทำได้เหมือนกับการปราบปรามปี 2553
ที่คุณใช้กำลังทหารผิดมติครม.ตั้งแต่ยุคคุณอานันท์ ปันยารชุน
ซึ่งเขาไม่ให้ใช้ทหารในการปราบปรามประชาชน แต่คุณใช้อาวุธจริง มีเขตกระสุนจริง
มีพลซุ่มยิงซึ่งใช้ปืนติดลำกล้องและปืนสไนเปอร์ ชัดเจน! คุณกระโดดข้ามเลย
ทิ้งบอมมาเป็นแก๊สน้ำตา แล้วก็ใช้วิธีเหมือน “รุมยิงนกในกรง” เอาล่ะนั่นปี 2553
ในการปราบปรามครั้งนี้
อ.ธิดาตั้งข้อสังเกตเรื่องการใช้กระสุนยาง!!!
โดย
อ.ธิดา กล่าวว่า บางคนอาจจะบอกว่า ใช้กระสุนยางจิ๊บจ๊อย ขนาดว่าต่างประเทศจับตามองปัญหาองค์กรสิทธิมนุษยชน
คือเขาจับตามอง ดังที่ดิฉันบอกแล้วว่า
ผู้ชุมนุมและผู้ประท้วงในครั้งนี้มีข้อที่ถูกกล่าวหาไม่ได้เลยเรื่องอาวุธ
เรื่องความรุนแรง แต่ว่าการปราบปรามที่มีการใช้กระสุนยาง อาจจะมองว่าดีมากแล้ว
ถามว่ามันสมเหตุสมผลหรือเปล่า? ในการใช้กระสุนยาง
ซึ่งจริง
ๆ การยิงในระยะประชั้นชิด และหลายคนเขาก็บอกแล้วว่ากระสุนยางก็สามารถทำร้ายได้
อาจจะไม่ถึงแก่ชีวิต แต่ถ้าเกิดเข้าตามันก็ตาบอดได้ หรือไปถูกอวัยวะที่มันอ่อนไหว
ดังที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHR) ซึ่งได้พูดถึงแนวปฏิบัติการ
ซึ่งที่จริงเขามี Code of conduct แต่เราไม่มีเวลา เราพูดย่อ
ๆ ก็คือว่า กระสุนยางใช้เฉพาะเห็นว่ากำลังจะเกิดอันตรายกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือสาธารณชน
คือมองเห็นเลยว่าคนนั้นกำลังจะทำความรุนแรง
หรือกำลังจะมาจัดการกับตำรวจ คือใช้ป้องกันตัว ใช้เฉพาะคน
ไม่ใช่ยิงแบบบ้าบอคอแตกแบบที่เราเห็นบริเวณถนนข้าวสารเกลื่อนไปหมดเลย
ดิฉันถามว่าวิธีคิด วิธีอบรมเป็นอย่างไร ใช้กระสุนยางแบบไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม
จนกระทั่งไม่ว่าจะเป็นผู้สื่อข่าว
แล้วนายกฯ
ยังมาบอกว่า แล้วผู้สื่อข่าวไปอยู่ทำไมตรงนั้น?
อ.ธิดา
ให้ความเห็นว่า “ผู้สื่อข่าว” มีหน้าที่นำความจริงมาสู่สังคม คุณจะให้ผู้สื่อข่าวไปแอบอยู่ข้างหลังทหารตำรวจอย่างนั้นหรือ?
นั่นไม่ใช่แล้ว! นั่นเขาเรียกว่าเป็นผู้ทำหน้าที่เฉพาะประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาล
แต่ถ้าเป็นผู้สื่อข่าวที่มีลักษณะเหมือนฐานันดรที่ 4 จริง ๆ
จะต้องสามารถสะท้อนความจริงให้กับสังคมทราบ ผู้ตัดสินคือสังคม
แต่ภาพมันจะบอกความจริงทุกอย่าง
ดังนั้น
ที่นายกฯ พูดนั้น ดิฉันบอกตรง ๆ ว่า มันก็เหมือนกับที่นายกฯ
เอาแอลกอฮอล์ไปเที่ยวฉีดผู้สื่อข่าวนั่นแหละ
คือหมายถึงว่ายังขาดวุฒิภาวะในการที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแบบที่ควรจะเป็น
ความจริงท่านมีปัญหาที่สำคัญที่สุดคือเรื่องสืบทอดอำนาจ เรื่องฉีดแอลกอฮอล์
หรือเรื่องพูดจาไม่ดี รวมทั้งโจมตี นี่มันเป็นเรื่องเล็ก
แต่ยังไงก็ต้องพูดว่ามันสะท้อนวิธีคิดและวิธีที่จะสั่งการของคุณ
เพราะว่าคุณเป็นนายกรัฐมนตรี คุณบอกว่าผู้สื่อข่าวไปอยู่ตรงนั้นทำไม
ก็เขาเป็นผู้สื่อข่าว เขาไม่ใช่ลูกน้องของท่านที่บอกให้ไปแอบ
ทีเวลากับส.ส.บางคนคุณบอกไปแอบหลังม็อบ คุณจะให้ผู้สื่อข่าวไปแอบหลังตำรวจกับทหารหรือ?
อย่างนั้นใช่ไหม?
ผู้สื่อข่าวเขาก็ต้องมีภาพทุกแง่ทุกมุม
ในแง่ของมวลชนซึ่งบางส่วนเป็นฮาร์ดคอร์เขาก็มีภาพเสนอ
แต่ในส่วนที่ตำรวจใช้กระบองตีและพอดีได้ภาพมุมสูงจากประชาชน เหมือนกับภาพมุมสูงจากตึกรพ.ตำรวจที่เห็นทหารที่อยู่บนรางรถไฟฟ้ายิงคนในวัดปทุมวาราม
เหตุการณ์ปี 2553 อ.ธิดากล่าว
คำถามว่าคุณอบรมกันอย่างไร?
ไปจับคน กดเขานอน แล้วทำไมจะต้องไปเอากระบองฟาด แล้วกระทืบ กระทืบ กระทืบ
ดิฉันเคยเห็นภาพนี้ในกรณีเหตุการณ์ปี 2535 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์
(อันนั้นเป็นทหาร) วิธีการอย่างนี้เขาเรียกว่าปฏิบัติการกับข้าศึก
ไม่ใช่ปฏิบัติกับประชาชน แล้วประชาชนล้ม ไม่มีทางสู้แล้ว ยังไปตีและไปกระทืบ
ถามว่าอบรมกันอย่างไร? ต่อให้คุณเป็นข้าศึก เขาไม่มีอาวุธ หมดทางสู้
คุณก็ไปทำอย่างนั้นกับเขาไม่ได้ ดิฉันไม่รู้ว่าคุณไปอบรมมาจากไหน?
แล้วทำไมถึงเป็นแบบนี้มาตลอดทั้งทหารและตำรวจ คือมองเป็นประชาชนเป็นข้าศึก
แล้วก็กระทืบ กระทืบ กระทืบ นี่ขนาดคำสั่งไม่ให้ใช้อาวุธจริงนะ
แล้วคุณลองคิดดูว่าเมื่อตอนปี 2553 นั้น คำสั่งที่ให้สามารถใช้อาวุธจริงได้
มันจึงเกิด 100 ศพไง!!!
เพราะเริ่มต้นคือวิธีคิดว่าประชาชนและเยาวชนเหล่านี้คิดเป็นข้าศึก
คิดเป็นศัตรู คือมีความแค้น ต้องทำให้มันสมความแค้นหรืออย่างไร?
ถามว่าคิดอย่างนี้ได้อย่างไร ก็เพราะคิดอย่างนี้...จึงใช้กระสุนยางแบบไม่บันยะบันยัง
นี่ถ้าเขาให้ใช้กระสุนจริง ดิฉันว่ามีคนตายแล้ว นี่คือเหตุผลที่เขาไม่ให้ใช้
และกระสุนยางเขาให้ยิงต่ำ
คือยิงเป้าหมายที่เป็นอันตรายเท่านั้น และยิงต่ำกว่าสะโพกด้วยซ้ำ
แต่ว่าคนเสื้อแดงปี 2553 (10 เมษา) เขาเพียงแต่ถือธง สมองกระจุยเลย คุณทำได้ยังไง?
อ.ธิดา ตั้งคำถาม
ก็เพราะวิธีการอบรมสั่งสอนให้มีทั้งใช้อาวุธจริงและมองคนเหล่านี้เป็นพวกอันตรายต่อความมั่นคง
เป็นอริราชศัตรู ถ้าเป็นเช่นนี้ก็มีสิทธิที่จะกระทืบ แต่ในความเป็นจริงดิฉันคิดว่า
“สังคมไทย” นอกจากการเมืองซึ่งมันเสียหายเลวร้ายจนมองไม่เห็นว่า
ระบอบเผด็จการ
หนึ่ง
ระบอบศักดินา
หนึ่ง
เป็นตัวฉุดรั้งความก้าวหน้าของประเทศ
กระทั่งการศึกษาของเจ้าหน้าที่ ของข้าราชการทั้งหลายมันต้องเปลี่ยนหมด
ที่จริงเรื่องในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะคณะวิจิตรศิลป์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดิฉันต้องขอชื่นชม อ.ทัศนัย เศรษฐเสรี มาก ที่บอกว่า ศิลปะไม่เป็นเจ้านายใคร
และไม่เป็นขี้ข้าใคร” มันต้องมีเสรีภาพ
เสรีภาพของประชาชนที่เขาต้องออกมาแสดงความคิดเห็น
กับเสรีภาพในมหาวิทยาลัย ทั้งหมดนี้จะทำให้ประเทศพัฒนาไปได้ ก็คือ
คุณต้องเห็นแตกต่างกันได้ คุณต้องมีสิทธิเสรีภาพ อย่างศิลปินจะทำอะไรก็ได้
วาดรูปแบบไหนก็ได้ ไม่อย่างนั้นคุณจะมีพัฒนาภาพวาดจากภาพเสมือนจริง จนมาเป็นภาพแอบสแตรกต์
ภาพคิวบิสม์ ภาพอิมเพรสชั่นนิส
ไล่มาเป็นลำดับเป็นยุค ๆ ไม่อย่างนั้นเขาก็วาดภาพเหมือนอย่างเดียว
หรือคุณจะให้วาดภาพลายกนก ภาพลากกนกเขาก็เริ่มต้นจากภาพสมมุติ ภาพพญานาค
ภาพอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ มันก็ยังมีพัฒนา
อ.ธิดา
สรุปว่า “ดังนั้น สังคมจะพัฒนาไปได้ การศึกษาจะพัฒนาไปได้ การเมืองจะพัฒนาไปได้ และประเทศชาติจะพัฒนาไปได้
ก็คือ มนุษย์ต้องมีเสรีภาพ ไม่ได้อยู่ใต้ตีน
ไม่ใช่เอาเท้าไปเหยียบหัวเขาว่าห้ามคิดแตกต่าง ห้ามเผยอหน้าขึ้นมา
คุณจะอยู่คนเดียวหรืออยู่คณะเดียวไปตลอด แล้วปล่อยให้ประเทศจมปลักอยู่เช่นนี้
มันไม่มีทางไปได้”
อ.ธิดา
ยกตัวอย่างว่า “คุณดูตัวอย่างพม่า ภายใต้ระบอบเผด็จการยาวนานแล้วว่าเป็นอย่างไร
คนพม่ามาเห็นประเทศไทยเมื่อ 10-20 ปีก่อนยังร้องไห้เลย
แต่มาบัดนี้เขาก็มาอยู่ในประเทศไทยกันเต็มไปหมด เขาไม่สามารถจะอยู่แบบเดิมได้
เขาต้องลุกขึ้นสู้ แม้จะเสียชีวิต ตอนนี้สองร้อยกว่าคนแล้ว ถูกจับสองพันกว่าคนแล้ว”
“คุณจะให้ประเทศไทยเหมือนพม่าหรือ?
จะเอาอย่างพม่าที่เป็นเผด็จการแล้วปราบปรามประชาชนอย่างโหดร้าย แล้วคุณไม่นึกหรือว่าอนาคตประเทศชาติจะเป็นอย่างไร?
ดูพม่าเป็นตัวอย่าง อยากเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า? เราไม่ควรจะเป็นอย่างนั้นนะ”
ผู้ประท้วงก็พัฒนาขึ้นแล้ว
แต่ว่ากลุ่มชนชั้นนำจารีต คุณยังปราบปรามประชาชนแบบเดิม
คุณบอกว่าจะใช้เครื่องมือพิเศษยิง คุณใช้กระสุนยางแบบส่งเดชไม่ต้องสนใจเลยว่ากติการะหว่างประเทศและสิทธิมนุษยชนเขาสั่งห้ามเอาไว้อย่างไร
คุณอาจจะบอกว่านี่ดีแล้วนะที่ไม่ใช้กระสุนจริงเหมือนที่ทำกับคนเสื้อแดงปี 2553
แต่ดิฉันคิดว่ามันเปลี่ยนไปแล้วนะ
คุณทำแบบเดิมไม่ได้ แต่อย่างน้อยที่สุด ถ้าคุณมีจิตสำนึกและมีสมองเสียหน่อย
(ให้มันมากกว่า 84,000 เซลล์) คุณจะคิดได้ว่าคุณอย่าเอาอย่าง “มินอ่องหล่าย”
ชีวิตคนนั้นมันสั้น อยู่ไม่นาน อ.ธิดาก็แก่แล้วเหมือนกัน ทุกคนก็เหมือนกัน
จะตายเมื่อไหร่ก็ได้ อ.ธิดา กล่าว
สุดท้ายอ.ธิดากล่าวว่า
“อย่างที่บอกว่า เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกจะตายแบบไหน เลือกได้
แล้วอย่าคิดว่าเป็นผู้ปกครองแล้วจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าคุณมีจิตสำนึก
ไม่อยากให้ประเทศชาติไปสู่ความเลวร้ายแบบพม่า ดิฉันคิดว่าหยุดซะนะ
เพราะว่าประชาชนเขาก็พัฒนายกระดับ เยาวชนก็ฉลาดยกระดับ แต่คุณยังทำแบบเดิม
และรวมทั้งไปจัดตั้งกลุ่มอาชีวะ กลุ่มมวลชนฝ่ายขวามาจัดการกับประชาชนแบบเดิม
คุณยังทำแบบเดิม ๆ ในขณะที่ประชาชนเขายกระดับ เขาทำแบบใหม่”
แล้วดูกันไปว่าใครชนะ! อ.ธิดากล่าวในที่สุด.