สนทนาความหมายของคำว่า
“คนดี” พ.ศ.นี้ยังใช้ได้ผลอยู่หรือ?
มติชนสุดสัปดาห์
คุยกับ ธิดา ถาวรเศรษฐ
(เผยแพร่เมื่อ
11 ส.ค. 64)
คิดยังไงกับคำว่า
“คนดี”
คำว่าคนดีมันมีแต่ในประเทศไทย
แล้วก็พวกจารีต พวกอนุรักษ์นิยมสุดโต่งเท่านั้นที่เอามาใช้
แล้วเชื่อมั้ยว่านักวิชาการไทยกับปัญญาชนเขาได้แบ่งคนสองขั้วนะ
อย่างเช่นสถาบันพระปกเกล้า เขาทำงานวิจัยออกมานะ เขาบอกว่าในประเทศที่มีคนแบ่งออกเป็นสองขั้ว
ขั้วหนึ่งก็คือเลือกคนดี ต้องการคนดีเป็นผู้ปกครอง แต่อีกพวกหนึ่งต้องการคนที่คนส่วนใหญ่ยอมรับเป็นผู้ปกครอง
นี่สถาบันวิจัยของพระปกเกล้านะ
เพราะฉะนั้นคำว่า
“คนดี” เป็นอาวุธชิ้นเดียวของฝั่งอนุรักษ์นิยมที่เอามาอ้าง
เพราะเขาไม่มีความชอบธรรมอะไรเลย
มันจึงไม่แปลกที่เยาวชนปัจจุบันเห็นเป็นเรื่องตลกหัวเราะเยาะ
เชื่อหรือเปล่าว่ามันเป็นอาวุธที่พวกคนรุ่น Baby Boom และรุ่น X กระทั่งรุ่น Y แม้กระทั่งรุ่นตอนเสื้อแดง เอามาใช้
ก็พูดง่าย ๆ ว่า ทักษิณทุนสามานย์ เลวร้าย พวกเขาคนดี
แล้วคนดีแล้วไง?
อย่างนี้ที่บอก คุณต้องการคนดี คนซื่อสัตย์ แล้วตอนนี้
มีคนดีทั้งนั้นเลยที่ปกครองประเทศ แล้วเป็นไง?
มันจึงเป็นเรื่องที่ตลกร้าย
แต่ว่าในเชิงความคิด, ทางปรัชญา และทางการเมือง คำว่า “คนดี” มันเป็นนิยายหลอก
มันก็เหมือนกับเรื่องเทพกับมารในเรื่องกำลังภายใน ในที่สุดคนที่เป็นหัวหน้าเทพ ที่แท้เป็นมารตัวเอ้เลย
สำคัญที่สุด จริง ๆ มันก็คืออย่างนั้นนั่นแหละ
คือคนที่บอกว่าตัวเองเป็น
“คนดี” มันจะเป็นคนดีได้ไง แล้วคุณเอามาตรอะไรมาวัดว่าเป็นคนดี
คนดีมันต้องคนอื่นเห็นกันทั้งหมด สถาบันพระปกเกล้ายังอุตส่าห์เอาตัวนี้มาเป็นเส้นแบ่ง
คือเขาคล้าย ๆ เขาไม่ต้องการด่าใคร ต้องการทำตัวว่าฝั่งเหลืองก็จะได้ไม่ด่าเขา
แล้วเขาก็เลยบอกว่าพวกนี้เป็นเสื้อเหลืองก็เพราะว่าเขายึดเอาคำว่า “คนดี” เป็นสรณะ
แต่ว่าฝั่งเสื้อแดง
ฝั่งที่เรียกร้องประชาธิปไตย บอกว่าต้องการคนที่ “คนส่วนใหญ่ยอมรับ” เป็นสรณะ
อาจารย์อยากจะถามว่าระบอบคนดีของคุณเอามาจากไหน?
มันมีอยู่ในตำราเล่มไหนในโลกนี้ ในทางการเรียนการสอนเรื่องรัฐศาสตร์
แม้กระทั่งในปรัชญาของการเมืองการปกครอง คำว่า “คนดี” ของคุณ
คุณจะเอาตัวอะไรมาเป็นตัววัด พูดสั้น ๆ ง่าย ๆ ถ้าอาจารย์ถามก็คือ คนดีของใคร?
คนดีของชนชั้นไหน? คนดีของคนส่วนน้อย หรือ คนดีของคนส่วนใหญ่
คุณกล้ามั้ยให้คนส่วนใหญ่ตัดสินว่า
ดี หรือ ไม่ดี
แล้วคุณกล้าที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงมั้ยว่าเขาอาจจะเปลี่ยนก็ได้
แล้วคนที่ว่าดี มันจะดีไปจนตายหรือไง เพราะงั้นนี่มันเป็นเรื่องน่าหัวเราะ
และอาจารย์ก็รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลกมากที่สถาบันพระปกเกล้าสรุปอย่างนั้น คือใช้เงินของนักวิจัยมากมายเลย
แล้วไม่ใช่สถาบันพระปกเกล้าอย่างเดียว
ถ้าไปดูโดยหลักการเวลาเขาเอาไปเขียน กระทั่งไปลงในงานเขียนและงานวิทยานิพนธ์
และก็ลงในวิกิพีเดีย กลุ่มพันธมิตรฯ อะไรก็ตาม เขาจะเขียนทั้งหมดเลยว่า หลักของเขา
ปรัชญาของเขาก็คือ “คนดี” แต่ว่าตรงข้ามกับฝั่งพวกคนเสื้อแดง ฝั่งกลุ่มทุนสามานย์อะไรต่าง
ๆ เหล่านี้
เพราะฉะนั้นอาจารย์ว่า
คำว่า “คนดี” ตอนนี้เด็ก ๆ มันก็ฉีกคำว่า “ดี” ทิ้งได้
อาจารย์ถามสั้น
ๆ เท่านั้น “ดี” ของใคร?
คุณกล้าที่จะเป็น
“คนดี” ของคนส่วนใหญ่มั้ยล่ะ คุณกล้าที่จะให้คนส่วนใหญ่ตัดสินมั้ย เพราะฉะนั้น
คำว่า “คนดี” มันเป็นคาถาบทเดียวที่เขาอ้างความชอบธรรมในการเป็นผู้ปกครอง ไม่มีอย่างอื่นเลย
แล้วมันเป็นเรื่องตลกที่สุด
ถ้ามันเป็นเรื่องตลกของเยาวชนนะ อาจารย์ก็จะชื่นชมมาก ว่าดีกว่าปัญญาชนในอดีต พูดตรง ๆ ว่าคนรุ่น X รุ่น Y รุ่น Baby Boom จำนวนมากที่หลงไปกับคำว่า "คนดี" เพราะถ้าด่าทักษิณ ด่าเสื้อแดง ก็เป็นคนดีแล้ว ไม่ต้องทำอะไรเลย.