"นปช." ติวเข้มคนเสื้อแดงตรวจโกงเลือกตั้ง
“ธิดา” เผยแกนนำนปช.ใน "ทษช." ยังปกติดี ชี้ผู้ท้าชิงนายกฯ
ยังอยู่ในกระบวนการกฎหมาย ซัด “บิ๊กตู่” ทำทุกทางเพื่อสืบทอดอำนาจ
เมื่อวันที่ 9 ก.พ.
ที่ศูนย์ข่าว ยูดีดีนิวส์-UDD NEWS อาคารเอเวอรี่มอลล์
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานที่ปรึกษาแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
(นปช.) แถลงถึงบทบาท นปช.ภาคประชาชนในช่วงเวลาหาเสียงจึงถึงวันประกาศผลเลือกตั้ง
โดยนางธิดา กล่าวว่า เนื่องจาก นปช. มีการขับเคลื่อนใน 2 ขา
ทั้งภาคส่วนการต่อสู้ในเวทีรัฐสภาในฐานะสมาชิกพรรคการเมือง
มีสมาชิกกระจายอยู่ตามพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติ
พรรคเพื่อชาติ พรรคอนาคตใหม่ เป็นต้น และภาคส่วนประชาชนที่แสดงออกในบทบาทการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยตรง
จากวันนี้จนถึงวันที่ 24 มี.ค.
เวทีรัฐสภาเป็นเวทีหลักของการต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตย
แต่บทบาทการต่อสู้ของภาคประชาชนไม่ได้หยุดนิ่งหรือหมดไป
ตรงกันข้ามควรจะมีบทบาทหนุนช่วยเวทีการต่อสู้โดยวิถีทางรัฐสภาในฤดูกาลเลือกตั้ง
ให้เป็นการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรม
ปราศจากการแทรกแซงการใช้อำนาจรัฐหรือการใช้เงินและอิทธิพลอื่นใดเพื่อเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง
ดังนั้น นปช. ภาคประชาชนจึงใช้ศูนย์ข่าวยูดีดีนิวส์-UDD NEWS และช่องทางออนไลน์ ตลอดจนสื่ออื่นๆ สร้างโครงข่ายเพื่อตรวจสอบการทุจริตเลือกตั้ง
ดังที่ นปช. เคยทำมาเมื่อปี 2554 ในการเลือกตั้งใหญ่
และการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2 ครั้งที่ผ่านมา
เพื่อกระตุ้นให้ภาคประชาชนตื่นตัวร่วมกันไปใช้สิทธิ์
และทำหน้าที่พลเมืองดีในการตรวจสอบการทุจริตเลือกตั้งอย่างกว้างขวางทั่วถึง
และมีประสิทธิภาพ
นางธิดา กล่าวว่า โดยกระบวนการมีดังนี้ คือ ให้มีคณะกรรมการฝ่ายข่าวยูดีดีนิวส์ฯ ทุก 350 เขตๆ ละ 5-9 คนประมาณ 2,000-3,000 คนทั่วประเทศ เราไม่เน้นกระบวนการรายงานคะแนน แต่เน้นหนักในการรายงานการทุจริตและผิดกฎหมาย ในเขตต่างๆ ทั้งก่อนเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และปัญหาการฟ้องร้องหลังเลือกตั้ง พร้อมทั้งยินดีสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนส่วนอื่นๆ และส่วนนิสิตนักศึกษา และให้ความร่วมมือกับ กกต. ปฏิบัติการทุกอย่างจะเป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้งและระเบียบ กกต. และจะแจ้งโครงการนี้ไปยังกกต. เพื่อขออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สื่อข่าวอาสา ของ นปช. ให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ถูกขัดขวาง ซึ่งเบื้องต้นได้หารือกับประธาน กกต.แล้ว โดยวันนี้ได้มีการอบรมและสนับสนุนอาสาสมัครตรวจสอบการเลือกตั้งของศูนย์ข่าวยูดีดีนิวส์ฯ จากเกือบทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการต่อไป
จากนั้น นางธิดา ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้เป็นการต่อสู้ของฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตยแบบสากลกับฝ่ายที่ต้องการรักษาอำนาจและยืดอำนาจของคณะรัฐประหาร คสช. คำขวัญการเลือกตั้งนี้ประชาชนจะต้องเลือกว่าจะเอาการสืบทอดอำนาจ หรือจะเอาประชาธิปไตยแบบสากล ถ้าเราเข้าใจคำขวัญนี้ก็จะไม่สับสนกับเรื่องต่างๆ เราไม่ใช้คำขวัญว่าจะเอาหรือไม่เอานายกฯ คนนอกแบบปี 2535 ไม่เช่นนั้นจะไขว้เขวว่าบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติเป็นคนนอกหรือไม่ ซึ่งหากยึดตามนี้บัญชีรายชื่อนายกฯ ของหลายพรรคที่เสนอก็ไม่ได้ลง ส.ส.ทั้งนั้น รวมทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งหากเข้าใจว่าในเรื่องการสืบทอดอำนาจประชาชนก็จะตัดสินใจได้ง่าย ส่วนการที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ตัดสินใจเข้าสู่การเมืองก็ถือว่าเป็นความเสียสละอย่างยิ่งและอาจจะคิดว่าการมาอยู่พรรคนี้อาจจะช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นก็ได้ แต่ในสถานการณ์ฯนี้เราก็จะเห็นว่ามีฝ่ายที่ไม่ได้มองเป็นเรื่องการเลือกตั้งหรือความจงรักภักดีแล้ว แต่เป็นเรื่องของความเกลียดชังนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แฟร์ต่อทูลกระหม่อมฯ เพราะพระองค์ท่านเสียสละมา คนดูก็รู้ว่าพระองค์ท่านต้องการให้เกิดความปรองดอง และประเทศชาติเดินหน้า
ประธานที่ปรึกษา นปช. กล่าวว่า ทั้งนี้การที่ พล.อ.ประยุทธ์ลงเป็นแคนดิเดตนายกฯ นั้น สะท้อนว่าอะไรๆ ก็หยุดยั้งความต้องการในการสืบทอดอำนาจไม่ได้ แม้กระทั่งคนในราชวงศ์เข้ามาเพื่อต้องการให้เกิดความปรองดองก็หยุดยั้งไม่ได้ จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะถูกแทรกแซงกดดัน และอาจจะมีการทำลายพรรคการเมืองคู่แข่งเป็นสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ ซึ่งต้องรอดูว่า กกต.จะมีท่าทีอย่างไร ส่วนกระแสข่าวว่าแกนนำ นปช. ที่อยู่ในพรรคไทยรักษาชาติติดต่อไม่ได้นั้น เป็นเรื่องไม่จริง ไม่มีอะไรทุกคนยังติดต่อได้เป็นปกติ ไม่มีปัญหา และทุกอย่างยังอยู่ ณ ที่เดิม มีพระบรมราชโองการไทยรักษาชาติก็ออกแถลงการณ์ยอมรับ แต่เงื่อนไขของการเป็แคนดิเดตยังต้องขับเคลื่อนตามกฎหมาย และต้องรอดูที่ กกต.เพราะเป็นเรื่องของกฎหมายแล้ว เราก็จะจับตาดูต่อว่าอำนาจรัฐและรัฏฐาธิปัตย์จะดำเนินการอย่างไรต่อ เพราะที่ผ่านมาก็เท่ากับว่าพล.อ.ประยุทธ์สู้และเท่ากับเป็นคู่แข่ง จึงต้องดูว่าจะใช้อำนาจอะไรต่อไปอีก.
นางธิดา กล่าวว่า โดยกระบวนการมีดังนี้ คือ ให้มีคณะกรรมการฝ่ายข่าวยูดีดีนิวส์ฯ ทุก 350 เขตๆ ละ 5-9 คนประมาณ 2,000-3,000 คนทั่วประเทศ เราไม่เน้นกระบวนการรายงานคะแนน แต่เน้นหนักในการรายงานการทุจริตและผิดกฎหมาย ในเขตต่างๆ ทั้งก่อนเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และปัญหาการฟ้องร้องหลังเลือกตั้ง พร้อมทั้งยินดีสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนส่วนอื่นๆ และส่วนนิสิตนักศึกษา และให้ความร่วมมือกับ กกต. ปฏิบัติการทุกอย่างจะเป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้งและระเบียบ กกต. และจะแจ้งโครงการนี้ไปยังกกต. เพื่อขออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สื่อข่าวอาสา ของ นปช. ให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ถูกขัดขวาง ซึ่งเบื้องต้นได้หารือกับประธาน กกต.แล้ว โดยวันนี้ได้มีการอบรมและสนับสนุนอาสาสมัครตรวจสอบการเลือกตั้งของศูนย์ข่าวยูดีดีนิวส์ฯ จากเกือบทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการต่อไป
จากนั้น นางธิดา ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้เป็นการต่อสู้ของฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตยแบบสากลกับฝ่ายที่ต้องการรักษาอำนาจและยืดอำนาจของคณะรัฐประหาร คสช. คำขวัญการเลือกตั้งนี้ประชาชนจะต้องเลือกว่าจะเอาการสืบทอดอำนาจ หรือจะเอาประชาธิปไตยแบบสากล ถ้าเราเข้าใจคำขวัญนี้ก็จะไม่สับสนกับเรื่องต่างๆ เราไม่ใช้คำขวัญว่าจะเอาหรือไม่เอานายกฯ คนนอกแบบปี 2535 ไม่เช่นนั้นจะไขว้เขวว่าบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติเป็นคนนอกหรือไม่ ซึ่งหากยึดตามนี้บัญชีรายชื่อนายกฯ ของหลายพรรคที่เสนอก็ไม่ได้ลง ส.ส.ทั้งนั้น รวมทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งหากเข้าใจว่าในเรื่องการสืบทอดอำนาจประชาชนก็จะตัดสินใจได้ง่าย ส่วนการที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ตัดสินใจเข้าสู่การเมืองก็ถือว่าเป็นความเสียสละอย่างยิ่งและอาจจะคิดว่าการมาอยู่พรรคนี้อาจจะช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นก็ได้ แต่ในสถานการณ์ฯนี้เราก็จะเห็นว่ามีฝ่ายที่ไม่ได้มองเป็นเรื่องการเลือกตั้งหรือความจงรักภักดีแล้ว แต่เป็นเรื่องของความเกลียดชังนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แฟร์ต่อทูลกระหม่อมฯ เพราะพระองค์ท่านเสียสละมา คนดูก็รู้ว่าพระองค์ท่านต้องการให้เกิดความปรองดอง และประเทศชาติเดินหน้า
ประธานที่ปรึกษา นปช. กล่าวว่า ทั้งนี้การที่ พล.อ.ประยุทธ์ลงเป็นแคนดิเดตนายกฯ นั้น สะท้อนว่าอะไรๆ ก็หยุดยั้งความต้องการในการสืบทอดอำนาจไม่ได้ แม้กระทั่งคนในราชวงศ์เข้ามาเพื่อต้องการให้เกิดความปรองดองก็หยุดยั้งไม่ได้ จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะถูกแทรกแซงกดดัน และอาจจะมีการทำลายพรรคการเมืองคู่แข่งเป็นสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ ซึ่งต้องรอดูว่า กกต.จะมีท่าทีอย่างไร ส่วนกระแสข่าวว่าแกนนำ นปช. ที่อยู่ในพรรคไทยรักษาชาติติดต่อไม่ได้นั้น เป็นเรื่องไม่จริง ไม่มีอะไรทุกคนยังติดต่อได้เป็นปกติ ไม่มีปัญหา และทุกอย่างยังอยู่ ณ ที่เดิม มีพระบรมราชโองการไทยรักษาชาติก็ออกแถลงการณ์ยอมรับ แต่เงื่อนไขของการเป็แคนดิเดตยังต้องขับเคลื่อนตามกฎหมาย และต้องรอดูที่ กกต.เพราะเป็นเรื่องของกฎหมายแล้ว เราก็จะจับตาดูต่อว่าอำนาจรัฐและรัฏฐาธิปัตย์จะดำเนินการอย่างไรต่อ เพราะที่ผ่านมาก็เท่ากับว่าพล.อ.ประยุทธ์สู้และเท่ากับเป็นคู่แข่ง จึงต้องดูว่าจะใช้อำนาจอะไรต่อไปอีก.
ที่มา : ข่าวการเมือง เดลินิวส์ 10 ก.พ. 62