‘ชพน.’โชว์นโยบาย ‘9 หน้า 9 ไกล
ไทยไร้ปัญหา’
พรรคชาติพัฒนา
(ชพน.) ได้จัดทำนโยบายในการพัฒนาประเทศให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลก
และประเทศไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีในทุกมิติให้สอดคล้องกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ครั้งที่ 4
เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-Artificial Intelligence) เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และเทคโนโลยี Blockchain หรือระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์
สอดคล้องกับด้านเศรษฐกิจ การเมือง การต่างประเทศ
ของกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ
ตลอดจนภูมิรัฐศาสตร์รอบตัวเราที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพ
ความยั่งยืนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 และกระจายรายได้
และโอกาสการได้รับการพัฒนาของประชาชนในชนบทให้ทัดเทียมกัน
เพื่อลดความเหลื่อมล้าและสร้างเศรษฐกิจรากหญ้าให้เข้มแข็ง
เพื่อเป็นรากฐานอันมั่งคงของประเทศต่อไป
ชพน.จึงได้จัดทำแนวนโยบาย
‘9 หน้า 9 ไกล ไทยไร้ปัญหา’ ดังต่อไปนี้
ก้าวที่
1 นโยบายการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
จึงต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายและหลักสูตรในด้านการศึกษา อาทิ
–
เด็กไทย 2 ภาษา
เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ 2 ภาษา หรือ 3 ภาษา (Bi-lingual School และ Digital School) และจัดให้มีการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนระบบดิจิทัล เพื่อให้เยาวชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ โดยยังคงเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยให้ได้มากที่สุด เพื่อให้พร้อมทำงานในระดับสากล
เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ 2 ภาษา หรือ 3 ภาษา (Bi-lingual School และ Digital School) และจัดให้มีการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนระบบดิจิทัล เพื่อให้เยาวชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ โดยยังคงเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยให้ได้มากที่สุด เพื่อให้พร้อมทำงานในระดับสากล
–
อุทยานการเรียนรู้และหลักสูตรออนไลน์ที่เรียนได้ด้วยตัวเอง
ทุกจังหวัดมีศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ต้นแบบอุทยานการเรียนรู้ (TK-Park Thailand Knowledge Park) ที่เป็นทั้งห้องสมุดพื้นที่ในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ด้วยหลักสูตรออนไลน์ และมีพื้นที่กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นแหล่งการเรียนรู้แห่งอนาคต พร้อมด้วยอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกระจายความรู้ และสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
ทุกจังหวัดมีศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ต้นแบบอุทยานการเรียนรู้ (TK-Park Thailand Knowledge Park) ที่เป็นทั้งห้องสมุดพื้นที่ในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ด้วยหลักสูตรออนไลน์ และมีพื้นที่กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นแหล่งการเรียนรู้แห่งอนาคต พร้อมด้วยอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกระจายความรู้ และสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้
–
ปรับโครงสร้างหนี้ครู
เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของครูและบุคลากรทางการศึกษากว่า 7 แสนคน ซึ่งจะทำให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ให้มีโครงสร้างการชำระหนี้ที่ยืดหยุ่น อัตราดอกเบี้ยต่ำ และผ่อนผัน ระยะเวลาในการชำระคืนได้ยาวขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของครูและบุคลากรทางการศึกษากว่า 7 แสนคน ซึ่งจะทำให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ให้มีโครงสร้างการชำระหนี้ที่ยืดหยุ่น อัตราดอกเบี้ยต่ำ และผ่อนผัน ระยะเวลาในการชำระคืนได้ยาวขึ้น
ก้าวที่
2 นโยบายเศรษฐกิจรากหญ้า
เนื่องจากขณะนี้ประชาชน
เกษตรกร และผู้ประกอบการในระดับรากหญ้า ประสบปัญหาความ เดือดร้อน และค่าใช้จ่าย
ตลอดจนราคาพืชพลทางการเกษตร ดังนั้น จึงต้องเร่งรัดและผลักดันมาตรการ อาทิ
–
จัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อเกษตรกร
จัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อเกษตรกร
(Agriculture
Welfare Fund หรือ AWF) เพื่อช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นสวัสดิการในครอบครัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่พืชผลผลิตมีราคาต่ำ
โดยการช่วยเหลือจะคำนึงถึงประมาณการผลผลิตและราคาพืชผลตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนแก่เกษตรกร
ก่อนเริ่มฤดูการผลิต โดยมีกองทุนเริ่มต้นในการดำเนินงาน 20,000 ล้านบาท
–
เกษตรกรทันสมัย (Smart Farmer)
พัฒนาเกษตรกรไทยให้เป็นเกษตรกรที่ทันสมัย (Smart Farmer) สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุน การผลิต เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต มีการจัดระบบชลประทานที่ทั่วถึง มีเครื่องจักรกลการเกษตรและปุ๋ย ในการทำเกษตรกรรม สามารถเข้าถึงความรู้และข้อมูลการเกษตร รวมถึงการใช้นวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนสินค้า เกษตรให้กลายเป็นสินค้านวัตกรรมได้ และจัดโซนนิ่งในภาคเกษตรกรรม
พัฒนาเกษตรกรไทยให้เป็นเกษตรกรที่ทันสมัย (Smart Farmer) สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุน การผลิต เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต มีการจัดระบบชลประทานที่ทั่วถึง มีเครื่องจักรกลการเกษตรและปุ๋ย ในการทำเกษตรกรรม สามารถเข้าถึงความรู้และข้อมูลการเกษตร รวมถึงการใช้นวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนสินค้า เกษตรให้กลายเป็นสินค้านวัตกรรมได้ และจัดโซนนิ่งในภาคเกษตรกรรม
–
ปรับปรุงกลไกตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า
ยกระดับตลาดสินค้าที่มีความผันผวนในด้านราคา เช่น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้มีประสิทธิภาพ ลดการแทรกแซงและสร้างเสถียรภาพของราคาสินค้า ประกันความเสี่ยงด้านราคาในกระบวนการซื้อขาย และพัฒนากลไกด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่งเสริมให้ไทยเป็นตลาดซื้อขายผลิตผลการเกษตรล่วงหน้าของอาเซียน ช่วยบรรเทาความเสี่ยงด้านการยกเลิกสัญญา ซื้อขายสินค้าเกษตร ด้วยการประกันราคาซื้อขายไว้ล่วงหน้าโดยอิงราคาตามตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยต้องไม่ตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาด และราคาที่รับประกันจะต้องเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย (Win-win) พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างตลาดทุนไทยและตลาดโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศในอาเซียน เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ความช่วยเหลือ และการเชื่อมโยงกับตลาดทุนอื่นๆ และขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ
ยกระดับตลาดสินค้าที่มีความผันผวนในด้านราคา เช่น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้มีประสิทธิภาพ ลดการแทรกแซงและสร้างเสถียรภาพของราคาสินค้า ประกันความเสี่ยงด้านราคาในกระบวนการซื้อขาย และพัฒนากลไกด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่งเสริมให้ไทยเป็นตลาดซื้อขายผลิตผลการเกษตรล่วงหน้าของอาเซียน ช่วยบรรเทาความเสี่ยงด้านการยกเลิกสัญญา ซื้อขายสินค้าเกษตร ด้วยการประกันราคาซื้อขายไว้ล่วงหน้าโดยอิงราคาตามตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยต้องไม่ตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาด และราคาที่รับประกันจะต้องเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย (Win-win) พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างตลาดทุนไทยและตลาดโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศในอาเซียน เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ความช่วยเหลือ และการเชื่อมโยงกับตลาดทุนอื่นๆ และขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ
–
จัดตั้งกองทุนกู้ยืมเพื่อการพัฒนาสมาร์ท เอสเอ็มอี(Smart
SMEs)
จัดตั้งกองทุนกู้ยืมในวงเงินงบประมาณ 10,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและ ขนาดย่อม (Smart SMEs Fund หรือ SSF) ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อเป็นทุนพัฒนาผู้ประกอบการ ไทยให้เก่งและเชี่ยวชาญ (Smart SMEs) สามารถพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพและแนวทางด้านการประกอบ ธุรกิจได้อย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนด้านการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต และยกระดับสินค้าโดยใช้นวัตกรรม
จัดตั้งกองทุนกู้ยืมในวงเงินงบประมาณ 10,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและ ขนาดย่อม (Smart SMEs Fund หรือ SSF) ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อเป็นทุนพัฒนาผู้ประกอบการ ไทยให้เก่งและเชี่ยวชาญ (Smart SMEs) สามารถพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพและแนวทางด้านการประกอบ ธุรกิจได้อย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนด้านการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต และยกระดับสินค้าโดยใช้นวัตกรรม
ก้าวที่
3 นโยบายสังคม
–
ขยายอายุเกษียณราชการ
โดยขยายอายุในการเกษียณจากเดิม 63 ปี เป็น 65 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ ที่ปัจจุบันมีมากกว่า 12 ล้านคน ในขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ การจัดการด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น และยังคงมีศักยภาพในการทำงาน ซึ่งจะทำให้คนในวัยทำงานของช่วงขยายอายุการเกษียณนี้มีเพิ่มขึ้นกว่า 1.2 ล้านคน เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ
โดยขยายอายุในการเกษียณจากเดิม 63 ปี เป็น 65 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ ที่ปัจจุบันมีมากกว่า 12 ล้านคน ในขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ การจัดการด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น และยังคงมีศักยภาพในการทำงาน ซึ่งจะทำให้คนในวัยทำงานของช่วงขยายอายุการเกษียณนี้มีเพิ่มขึ้นกว่า 1.2 ล้านคน เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ
–
เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เพิ่มจำนวนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากเดิมที่มีลักษณะเป็นขั้นบันได เป็นอัตราคงที่ เป็นจำนวนเดือนละหนึ่งพันบาทสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
เพิ่มจำนวนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากเดิมที่มีลักษณะเป็นขั้นบันได เป็นอัตราคงที่ เป็นจำนวนเดือนละหนึ่งพันบาทสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
–
ลดหย่อนภาษีเพื่อผู้สูงอายุ
ให้สิทธิในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุหรือบิดามารดาของผู้มีเงินได้ มาลดหย่อนภาษีเงินได้ เป็นจำนวน 60,000 บาท และในกรณีที่ภาคเอกชนจ้างผู้สูงอายุทำงานให้สิทธิในการนำค่าจ้างและเงินเดือนที่จ่ายให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มาลดหย่อนภาษีได้เป็นจำนวน 2 เท่า
ให้สิทธิในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุหรือบิดามารดาของผู้มีเงินได้ มาลดหย่อนภาษีเงินได้ เป็นจำนวน 60,000 บาท และในกรณีที่ภาคเอกชนจ้างผู้สูงอายุทำงานให้สิทธิในการนำค่าจ้างและเงินเดือนที่จ่ายให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มาลดหย่อนภาษีได้เป็นจำนวน 2 เท่า
–
ยกระดับแรงงาน
ยกระดับคุณภาพชีวิตและปรับปรุงด้านสวัสดิการ ค่าจ้างแก่แรงงานในประเทศให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ จัดให้มีการฝึกอบรมและยกระดับความสามารถให้สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้แรงงานไทยมีศักยภาพและคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
ยกระดับคุณภาพชีวิตและปรับปรุงด้านสวัสดิการ ค่าจ้างแก่แรงงานในประเทศให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ จัดให้มีการฝึกอบรมและยกระดับความสามารถให้สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้แรงงานไทยมีศักยภาพและคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
ก้าวที่
4 นโยบายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การท่องเที่ยว และการค้า
เชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมโลจิสติกส์ภายในประเทศให้ครอบคลุมตั้งแต่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) เชื่อมไปยังเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) ทั้ง 10
แห่ง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของรากฐานเศรษฐกิจ
และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งการส่งออกและการลงทุน
พร้อมทั้งสร้างเครือข่าย คมนาคมและพัฒนาความร่วมมือด้านคมนาคมเชื่อมโยงในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในพื้นที่ภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศอื่นๆ
ทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคีให้เข้มแข็ง เช่น AEC 2025 และ
เส้นทางสายไหม (One Belt One Road)
–
มอเตอร์เวย์ทั่วประเทศ
ขยายเส้นทางมอเตอร์เวย์ให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายทั้งประเทศตามแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ 20 ปี รวมระยะทางกว่า 6,000 กิโลเมตร โดยเริ่มก่อสร้างเป็นระยะๆ จากกรุงเทพฯ ไปสู่ทุกภาคในแต่ละทิศทางทั้ง 4 ภาค
ขยายเส้นทางมอเตอร์เวย์ให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายทั้งประเทศตามแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ 20 ปี รวมระยะทางกว่า 6,000 กิโลเมตร โดยเริ่มก่อสร้างเป็นระยะๆ จากกรุงเทพฯ ไปสู่ทุกภาคในแต่ละทิศทางทั้ง 4 ภาค
–
เชื่อมโยง อีอีซี-อีสาน-อินโดจีน
โดยเร่งรัดโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-โคราช ขยายต่อเพื่อเชื่อมโคราช หนองคายและกลุ่มประเทศอินโดจีน ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเชื่อมโยงระหว่าง 2 ภูมิภาค พร้อมทั้งพัฒนาระบบคมนาคม และมอเตอร์เวย์เพื่อเชื่อมอีสานและโครงการ EEC เข้าด้วยกันทั้งทางบกและทางรางตามแนวเส้นทางหลวงแผ่นดิน สาย 304
โดยเร่งรัดโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-โคราช ขยายต่อเพื่อเชื่อมโคราช หนองคายและกลุ่มประเทศอินโดจีน ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเชื่อมโยงระหว่าง 2 ภูมิภาค พร้อมทั้งพัฒนาระบบคมนาคม และมอเตอร์เวย์เพื่อเชื่อมอีสานและโครงการ EEC เข้าด้วยกันทั้งทางบกและทางรางตามแนวเส้นทางหลวงแผ่นดิน สาย 304
ก้าวที่
5 นโยบายอุตสาหกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม
–
ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลัก
ปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Thailand Power Development Plan: PDP) โดยให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ แทนที่การใช้พลังงานจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งเพื่อลดการนำเข้าและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ
ปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Thailand Power Development Plan: PDP) โดยให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ แทนที่การใช้พลังงานจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งเพื่อลดการนำเข้าและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ
พัฒนาระบบโครงข่าย SMART GRID หรือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการเก็บข้อมูลและทำการสั่งการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการไฟฟ้าและสามารถขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้ง บนหลังคาหรือ
โซลาร์รูฟท็อปกลับคืนได้ โดยจัดตั้งกองทุนแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเพื่อให้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนได้ในราคาถูกลง และใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีทุนประเดิมในวงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท
– ปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม
สร้างอุทยานพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Techno-Park) ใน 5 ภูมิภาคเพื่อเป็นศูนย์วิจัย สร้างอุตสาหกรรมต้นแบบ และพัฒนากำลังคนสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมใหม่ ตลอดจนส่งเสริมและกำกับดูแลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้ระบบการผลิตขั้นสูงภายใต้หลักธรรมาภิบาล และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (GDP) การส่งออกและการลงทุน และเพื่อเป็นการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ
ก้าวที่ 6 นโยบายการท่องเที่ยว
พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นวาระแห่งชาติและเป็นระบบเศรษฐกิจหลักของประทศ เพิ่มจำนวน นักท่องเที่ยวเป็น 65 ล้านคน ภายในระยะเวลา 5 ปี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12-15 ต่อปี) เพื่อให้อัตราส่วนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนคนไทย 1 คน ต่อนักท่องเที่ยว 1 คน และเพิ่มรายได้ให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ด้วยมาตรการ อาทิ
–
ส่งเสริมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้น (Man-Made
Destination)
พัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างสวนสนุกระดับโลก ด้วยมาตรการทางภาษี และสิทธิได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ (BOI) เพื่อเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างงานให้แก่ชุมชน และท้องถิ่น
พัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างสวนสนุกระดับโลก ด้วยมาตรการทางภาษี และสิทธิได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ (BOI) เพื่อเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างงานให้แก่ชุมชน และท้องถิ่น
-ผลักดันการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Thailand Riviera)
โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตฝั่งทะเลภาคใต้จากฝั่งอ่าวไทยสู่ฝั่งอันดามัน ตั้งแต่เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกแห่งใหม่ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและชักชวนภาคเอกชนให้มาลงทุนด้านการท่องเที่ยว
โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตฝั่งทะเลภาคใต้จากฝั่งอ่าวไทยสู่ฝั่งอันดามัน ตั้งแต่เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกแห่งใหม่ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและชักชวนภาคเอกชนให้มาลงทุนด้านการท่องเที่ยว
ก้าวที่
7 นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล
ปรับฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อรักษาขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงกำหนดนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ
–
ราชการอิเล็กทรอนิกส์
บริการของภาครัฐจะดำเนินการภายใต้ Application ของภาครัฐ บนระบบปฏิบัติของโทรศัพท์มือถือ และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ รวมทั้งผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต เช่น การต่อทะเบียน การทำธุรกรรม การขออนุมัติ อนุญาตต่างๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
บริการของภาครัฐจะดำเนินการภายใต้ Application ของภาครัฐ บนระบบปฏิบัติของโทรศัพท์มือถือ และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ รวมทั้งผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต เช่น การต่อทะเบียน การทำธุรกรรม การขออนุมัติ อนุญาตต่างๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
–
กองทุน Digital Start Up
เพื่อส่งเสริมธุรกิจด้านดิจิทัลและเพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค 5G ภายใต้นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการจัดตั้งกองทุน Digital Start Up ซึ่งจะมีทุนประเดิมเริ่มต้นในวงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้คนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่สามารถขอรับทุนสนับสนุนใช้ในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลเพื่อเป็นฐานธุรกิจใหม่ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
เพื่อส่งเสริมธุรกิจด้านดิจิทัลและเพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค 5G ภายใต้นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการจัดตั้งกองทุน Digital Start Up ซึ่งจะมีทุนประเดิมเริ่มต้นในวงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้คนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่สามารถขอรับทุนสนับสนุนใช้ในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลเพื่อเป็นฐานธุรกิจใหม่ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
ก้าวที่
8 นโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
– จัดสรรงบประมาณร้อยละ 35 ของรายได้ให้กับท้องถิ่นภายใน 1 ปี
ปัจจุบันพบว่าการบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศยังไม่มีความเข้มแข็ง โดยขาดการบริหารจัดการที่ดี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลความรู้ทั้งด้านตลาดและด้านการเงิน โดยนโยบายจะจัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นให้ได้ร้อยละ 35 (ปัจจุบันร้อยละ 29) ตามที่กฎหมายกำหนดใน 4 ปีโดยงบประมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถนำมาพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะในต่างจังหวัด
– จัดสรรงบประมาณร้อยละ 35 ของรายได้ให้กับท้องถิ่นภายใน 1 ปี
ปัจจุบันพบว่าการบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศยังไม่มีความเข้มแข็ง โดยขาดการบริหารจัดการที่ดี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลความรู้ทั้งด้านตลาดและด้านการเงิน โดยนโยบายจะจัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นให้ได้ร้อยละ 35 (ปัจจุบันร้อยละ 29) ตามที่กฎหมายกำหนดใน 4 ปีโดยงบประมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถนำมาพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะในต่างจังหวัด
–
เพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้นำท้องถิ่น
ช่วยเหลือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน อาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวก อำนวยความยุติธรรม บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้เงินช่วยค่าครองชีพผู้นำท้องถิ่นในอัตราเดือนละสองพันบาท
ช่วยเหลือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน อาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวก อำนวยความยุติธรรม บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้เงินช่วยค่าครองชีพผู้นำท้องถิ่นในอัตราเดือนละสองพันบาท
ก้าวที่
9 นโยบายกีฬา
ให้นโยบายกีฬาเป็นเครื่องมือในการสร้างคนในชาติให้มีสปิริตของนักกีฬา
รู้จักแพ้ รู้จักชนะและรู้จักให้อภัย มีวินัย เสียสละ อดทน สามัคคี
มีทีมเวิร์กเพื่อใช้กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ ใช้สปิริตของการกีฬา
ในการทำงานทางการเมือง เพื่อให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง ยุติความขัดแย้ง
สร้างสรรค์มิตรภาพทางการเมืองเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาประเทศ
และใช้การกีฬาสร้างความสุขและความภาคภูมิใจให้คนในชาติ
ที่มา : มติชนออนไลน์ 1 ก.พ. 62