ยูดีดีนิวส์
: เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 63 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำเฟซบุ๊กไลฟ์ว่า ท่ามกลางกระแสของการที่มีความพยายามในการทำ
IO เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือหรือสร้างความน่าเชื่อถือ
ที่ดิฉันค่อนข้างผิดหวังมากก็คือ เมื่อวันที่ 30 พ.ย.
ดิฉันได้คุยแล้วว่าในทัศนะของดิฉันนั้น ดีที่สุดก็คือเอาความจริงเอาความรู้ออกมาแล้วให้คนตัดสินใจว่าจะเป็นอย่างไร?
เรามองในแง่ดีว่าปรากฏการณ์การขับเคลื่อนของเยาวชน
บางคนอาจจะดูว่าไม่เห็นด้วย บางคนอาจจะดูว่าเหลวไหล
แต่สิ่งหนึ่งซึ่งมากับการขับเคลื่อนของเยาวชนก็คือควรที่จะมีการรับฟังและตั้งคำถามว่า
-
ทำไมเขาคิดอย่างนั้น?
-
ทำไมเขาทำอย่างนั้น?
-
แล้วเรื่องจริงเป็นอย่างไร?
-
ทำไมเขาจึงปฏิเสธความเชื่อที่มีมาก่อน?
-
เขามีความเชื่อชุดใหม่หรือเปล่า?
อย่าไปมองว่ามีใครครอบงำหรือมีใครเป็นศาสดา
เพราะว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำเยาวชนทั้งประเทศและคนจำนวนมากออกมาขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยจากแง่มุมความมืดต่าง
ๆ ออกมา เพราะฉะนั้นดิฉันขอเรียนอีกครั้งว่าดิฉันผิดหวังกับสิ่งที่มีการทำขบวนการทวิตเตอร์หรือในเฟซบุ๊กที่มีการอวตารหรือมีการพยายามที่จะสร้างกระแสของความเกลียดชัง
หรือกระแสแห่งความเชื่อถืออย่างผิด ๆ
อย่างที่ดิฉันจะพูดวันนี้ดิฉันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการที่จะทำให้ความจริงและความรู้ปรากฎในสังคมไทยเนื่องจากการถกเถียงกัน
ดิฉันจะพูดในแง่วิชาการ และจากพื้นฐานของงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์
ไม่ใช่จากอารมณ์ความรู้สึกของคน แล้วเราก็เอามาตัดสินกันเอง
วันนี้ที่ดิฉันจะคุยก็คือ
ประเด็น
พัฒนาการของทุนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการเมืองไทย
คนที่อธิบายเรื่องพัฒนาการทุนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็อธิบาย
1-2-3-4-5 ไล่มาตั้งแต่
-
ก่อน 2475 ชุดหนึ่ง
-
หลัง 2475 มาถึง 2490 หรือ 2491 ชุดหนึ่ง
-
แล้วหลัง 2491 เป็นต้นมา อันนั้นอีกชุดหนึ่ง
-
ตอนนี้ต้องมาชุดที่ 4 ก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2560 และ 2561 มีการเปลี่ยนแปลง
เพราะฉะนั้นในงานวิจัยหรืองานวิทยานิพนธ์ส่วนหนึ่งก็จะเป็นการบรรยายเรื่องราวว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับสำนักงานทรัพย์สิน
ที่มาที่ไปอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่เพื่อที่จะไปได้เร็วดิฉันก็จะนำสิ่งที่ดิฉันได้พิจารณาข้อมูล
ดิฉันตกผลึกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นและพัฒนาการของสำนักงานทรัพย์สินนั้นเกี่ยวพันแนบแน่นแยกไม่ออกกับพัฒนาการการเมืองไทยตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
แม้กระทั่งในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์เอง
ในแต่ละรัชสมัยก็ทำให้ทุนสำนักงานทรัพย์สิน
ใช้คำว่าทุนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีขึ้นมีลงมีเปลี่ยนแปลง
มาถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ก็มีการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานและการจัดการแบบหนึ่ง รวมทั้งมีพ.ร.บ.ออกมา
หลังการทำรัฐประหาร
2490 ก็มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เฉกเช่นเดียวกับการเมืองไทย
จึงทำให้การบริหารจัดการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีปัญหาของความคลุมเครือไม่ชัดเจนนับตั้งแต่บัดนั้นมาจนบัดนี้
บัดนี้ก็ชัดเจนไปอีกแบบว่าทุกอย่างรวมไปอยู่ในก้อนเดียว
อ.ธิดากล่าวว่า
เราไม่สามารถที่จะเล่าประวัติศาสตร์ที่มาที่ไปของทุนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้โดยละเอียด
แต่ดิฉันอยากจะฝากแนะนำเอกสาร 3 ชุด ที่มีประโยชน์และอยากให้ได้อ่านกันก็คือ
ชุดแรกคือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ โดย รศ.ดร.พอพันธุ์ อุยยานนท์
https://drive.google.com/file/d/17WZW0jeGZK72SS3TIZEHqnipkYofS8pS/view?usp=drivesdk
ชุดที่สองคือ Crown Property and Constitutional Monarchy in Thailand 1932 – 1948 by Prakan Klinfoong วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
https://drive.google.com/file/d/17RjcLp30XeRVwk2wNKudL-p-ZZP6WLa0/view?usp=drivesdk
ชุดที่สามคือ รายได้พระคลังข้างที่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พ.ศ.2433 – พ.ศ. 2475) โดย ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรค มหาสารคาม
https://drive.google.com/file/d/17Zbjwq8UNMd4GNjA_xpyGMh0J-UiXOat/view?usp=drivesdk
ดิฉันเอาเอกสารสามชุดนี้ขึ้นก่อน
เพราะว่าดิฉันต้องการให้คนที่รับฟังและสนใจเรื่องนี้ สนใจอย่างที่มีเหตุผล
ไม่ได้ใช้อารมณ์หรือเอาความคิดการเมืองของตัวเองไปกำหนดความเชื่อ
แล้วพยายามทำให้คนอื่นเชื่อตามโดยไม่ได้คำนึงว่าข้อมูลเป็นอย่างไร
ดิฉันก็จะพูดย่อ
ๆ แต่ก็นำมาสู่ผลึกก็คือในผลึกทางความคิดเราตอบได้เลยว่าพัฒนาการของทุน
ซึ่งอันนี้เป็นทุนขนาดใหญ่ ในสังคมไทยพัฒนาการทุนนิยมเราขาดการสะสมทุน
ดิฉันพูดในภาษาทางเศรษฐศาสตร์ คือก่อนที่จะเป็นทุนนิยมได้เต็มที่มันต้องผ่านยุคสะสมทุน
แต่ว่าคนไทยมันต้องมีเจ้า มีไพร่ มีทาส ในสมัย ร.5 พระองค์ได้ปลดปล่อยไพร่
ปลดปล่อยทาส เกิดแรงงานอิสระ และเนื่องจากเราผ่านการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
เรามีรายได้หลักของการขายข้าว แทนที่จะเป็นอย่างในสมัย ร.3
ซึ่งเป็นการผูกขาดการขายสินค้าโดยพระมหากษัตริย์และขุนนางเป็นคนกลางขายไปต่างประเทศ
แต่หลังมีสนธิสัญญาเบาว์ริงเราไม่สามารถผูกขาดได้ต่อไป
เพราะฉะนั้นรายได้ของเราก็มาจากภาษีอากรของประชาชนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ่อน
เรื่องฝิ่น เรื่องหวย เรื่องสัมปทาน ที่สุดก็คือภาษีอากร และในสมัย ร.5
รายได้เรากระโดดฮวบมาก ซึ่งเรื่องนี้ท่านอาจจะไปหาอ่านจากหนังสือของ อ.ผาสุก
พงษ์ไพจิตร ก็ได้
เพราะฉะนั้นรายได้ของรัฐขึ้นมากในสมัย
ร.5 เพราะการปลดปล่อยแรงงานก็เกิดแรงงานเสรี เราได้อากรค่านามาเป็นจำนวนมาก เมื่อประกอบกับในยุค
ร.5 ท่านได้พยายามทำทุกอย่างโดยที่เลียนแบบจากต่างประเทศในการปฏิรูป
นั่นเป็นการปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง มีการรวมศูนย์เก็บภาษีอากร
รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย พูดตรง ๆ ว่าในสมัย ร.5 ตอนหลังนี้มั่งคั่ง
พระองค์ท่านมีการแบ่งในส่วนของพระคลังมหาสมบัติ
ซึ่งเป็นการใช้จ่ายของราชการการเมืองการปกครอง แล้วก็มีพระคลังข้างที่ขึ้นมา
ซึ่งมีพัฒนาการในเริ่มต้นนั้นพระองค์ท่านต้องการนำมาใช้จ่ายในส่วนที่ไม่ใช่เป็นส่วนของบริหารราชการแผ่นดิน
แต่เป็นส่วนที่พระองค์ท่านสามารถที่จะเอามาใช้จ่ายให้กับราชวงศ์ ให้กับฝ่ายใน
ให้กับพระโอรสในการศึกษาหรือพระราชทานให้กับขุนนาง
แล้วพระองค์ท่านก็มีความพยายามในการที่จะทำให้มีรายได้โดยได้ที่ดินมา
บางครั้งก็ได้ริบมา บางครั้งก็ได้ซื้อมา
อย่าลืมว่าสังคมไทยนั้นพระมหากษัตริย์ก็คือพระเจ้าแผ่นดิน
หมายความว่าแผ่นดินนี้เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว โฉนดต่าง ๆ
ก็เพิ่งออกมาทีหลัง
ดังนั้น
ในพระคลังข้างที่ก็สามารถที่จะเป็นที่ที่รวมทรัพย์สินที่มีประโยชน์ให้กับพระมหากษัตริย์ไทยในการที่จะสามารถใช้ทรัพย์สินอันนี้ในส่วนอื่นที่ไม่ใช่งานราชการแผ่นดิน
และเป็นแยกทรัพย์สินออกมาต่างหาก
ดิฉันพูดอย่างนี้เป็นการให้รู้ที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร
แต่อย่างไรก็ตามถามว่าเริ่มต้นของส่วนพระคลังข้างที่มาจากไหน? ก็มาจากการเก็บภาษีอากร
บางส่วนก็บอกว่าได้มาตั้งแต่รายได้ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ร.3 มีเงินถุงแดง
นั่นก็คือการทำมาค้าขาย แต่ว่าหลัก ๆ หลังจากที่มีการปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัย
ร.5 แล้ว ต้องรับรายได้หลักจากภาษีอากร
ถามว่าเงินของพระคลังข้างที่จนกระทั่งพัฒนามาเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ล้วนมาจากภาษีอากรและรายได้ของประเทศซึ่งมีการแบ่งให้ ดังในตารางที่ 1 ของงานวิจัยของ รศ.ดร.พอพันธุ์ ก็บอกได้เลยว่าในยุคแรกกรมพระคลังข้างที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจาก 2435 – 2478 (อย่าลืมว่า 2475 เรามีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) จากปี 2435 = 1 ล้านกว่าบาท มา 2445 = 6 ล้านกว่าบาท ถัดมา 2455 = 8 ล้านกว่าบาท จนมา 2465 = 9 ล้าน อันนี้แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของพระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พูดง่าย ๆ ว่าจาก 15% ของรายได้ของประเทศ มาเป็น 25% หรือแบ่งมา 1 ใน 4 เอามาใส่ไว้ในพระคลังข้างที่
ถามว่าทำไมเพิ่มขึ้น
เพราะรายได้เพิ่มขึ้นมาก ดังนั้นก็เลยมาเพิ่มให้กับพระคลังข้างที่มาก
แล้วอย่าลืมว่าในสมัยนั้น พระองค์ท่านมีพระราชโอรส มีฝ่ายในจำนวนมาก
มีรายจ่ายค่อนข้างสูง แล้วพอมา 2475 เปลี่ยนแปลงการปกครอง
ก็กลายเป็นว่าเหลือประมาณ 4 ล้าน แต่มีบางคนบอกว่าเหลือ 4 แสน อันนี้ไม่น่าจะจริง
ดังนั้นการจัดการสำนักงานทรัพย์สินฯ
ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็เป็นพระราชอำนาจในการจัดการทั้งหมด
มีการแต่งตั้งคนมาดูแลแยกต่างหาก และใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย เพราะสมัยก่อนไม่มีการแยก
ได้ภาษีมาเท่าไหร่ก็แล้วแต่พระราชอัธยาศัย แต่พระองค์ท่านก็มีการมาปรับปรุงแบ่งเพื่อให้มีคนดูแล
ให้เป็นระบบในการใช้จ่าย
ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมากเพราะเป็นเงินก้อนใหญ่เกินไป
พัฒนาการจากเงินรายได้ที่ได้จากภาษีอากรและจากที่ดินที่ยึดมาหรือซื้อมานั้นเป็นพัฒนาการของขนาดของทุน
มาในสมัย ร.6 ทุนก็ติดลบ มีการพูดว่าพระองค์ท่านใช้จ่ายมากเกินไป ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นมาตอนนั้นก็ขาดทุน
ดังนั้นพัฒนาการขนาดของทุนค่อย ๆ ลดลงจาก ร.5 มาจนถึง ร.7
เพราะมีการจัดสรรเงินให้น้อย
แต่พอมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ซึ่งดิฉันไม่แน่ใจว่าตอนนั้นเปลี่ยนชื่อจากพระคลังข้างที่ไปแล้วหรือยัง
แต่เข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลง) มีการดูแลโดยรัฐ เพราะฉะนั้นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในส่วนนี้แยกมาจากส่วนพระองค์ชัดเจน
เพราะในสมัย ร.6 บอกว่าให้แยก ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องจ่ายภาษี เพราะ ร.6
ท่านประสงค์จะให้ขุนนางต่าง ๆ จ่ายภาษี พระองค์ท่านบอกว่าพระองค์ท่านต้องเป็นตัวอย่าง
แต่ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หรือพระคลังข้างที่ถือว่าเป็นของแผ่นดิน
ทำเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน และเป็นของรัฐ อันนี้เป็นพัฒนาการที่หลังจาก ร.5 มาสู่
ร.6 รายละเอียดก็ให้ไปอ่านดู แต่ดิฉันจะบอกคร่าว ๆ ว่ามันเกิดคำว่าเป็นของใคร เป็นของรัฐ
หรือ เป็นของส่วนพระองค์ มีการแบ่งแยกชัดในสมัย ร.6
มีเหตุการณ์หนึ่งที่ดิฉันคิดว่าเราไปตัดสินเอาว่าเป็นอย่างไร
ก็คือเนื่องจากพระคลังข้างที่ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พอมาปี 2480
ก็มีการจัดตั้งโดยพ.ร.บ. เมื่อ 2479 ปรากฏว่ามีการตรวจสอบบัญชีกรมพระคลังข้างที่พบว่า
ร.7 มีการเบิกจ่ายไปก่อนที่จะสละราชสมบัติ (2475 – 2477) ต่อมาปี 2482 กระทรวงการคลังได้ฟ้อง
ร.7 ว่าโอนไปเป็นส่วนพระองค์ไม่ได้ ปรากฏว่าศาลตัดสินให้พระองค์แพ้คดี จากเบิกไป 4.19
ล้าน ก็ต้องจ่ายคืนให้กับรัฐบาล 6.2 ล้าน
ตรงนี้ก็เห็นชัดว่าในยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระคลังข้างที่ ซึ่งได้เปลี่ยนเป็น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ผู้บริหารอยู่ในมือของรัฐบาล แปลว่ามันเป็นทรัพย์สินของรัฐ และเมื่อเป็นทรัพย์สินของรัฐ
ผู้เป็นเจ้าของก็คือ “ประชาชน” อันนี้เป็นการให้คำอธิบายว่า “ส่วนพระมหากษัตริย์”
ไม่ใช่ “ส่วนพระองค์” ไม่ต้องเสียภาษี ดูแลโดยรัฐ
ตรวจสอบแล้วถ้ามีการเอาไปใช้ผิดก็มีการฟ้องร้อง นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น
แต่ทั้งหมดนี้ที่ทำให้เกิดความคลุมเครือส่วนสำคัญที่สุดก็คือ
เมื่อการเมืองไทยเปลี่ยนจาก 2475 มามีการทำรัฐประหาร 2490 และจาก 2490
สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่แต่เพียงการเมืองการปกครองเปลี่ยนเป็นล้าหลัง
เรามีรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญที่แย่ รัฐธรรมนูญเฮงซวย เรามีวุฒิสมาชิกที่เดิม
(2489) เกี่ยวข้องกับประชาชนก็ไม่ใช่แล้ว ทุกอย่างล้าหลังหมด
แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเมื่อนายควง อภัยวงศ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ มาเป็นรัฐบาลได้ไม่กี่เดือนก่อนจะถูกจี้ออก
มีการเปลี่ยนแปลงจาก พ.ร.บ. 2479 เป็น 91 ตรงนี้เป็นจุดหักเหที่สำคัญที่สุดเลย
นั่นก็คือทำให้การบริหารและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หลุดจากมือของรัฐบาล
-
หนึ่ง กลายเป็นนิติบุคคล จะว่าไปก็คล้ายเป็นองค์กรที่เป็นอิสระจากรัฐบาลประมาณนั้น
แต่ยังใช้ชื่อ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
-
สอง จากเดิมที่ขึ้นต่อรัฐบาลทั้งหมด ก็ให้ รมว.คลัง เป็นประธาน
และมีการแต่งตั้งกรรมการโดยพระมหากษัตริย์ แล้วต้องมีพระบรมราชานุมัติ
แต่ว่าไปในทางปฏิบัติก็แปลว่าพระราชอำนาจได้กลับคืนมาดูแล
หลุดจากการดูแลของรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามจากวันนั้นมันยังอยู่ในรัชสมัยของ ร.9
หลาย ๆ อย่างก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่มีใครนำขึ้นมาเปิดเผย เพราะยังไม่มีประเด็นอะไรมากมาย
มีแต่การฟ้องร้องคณะราษฎรว่าบางคนในยุคที่ดูแลสำนักงานทรัพย์สินฯ
นั้นมีการนำทรัพย์สินไปขายในทางไม่ถูกไม่ควร
เพราะฉะนั้นจาก
2491 ทุนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็กลายเป็นอิสระ สามารถกระทำการในการสะสมทุน
ขยายทุนมากขึ้น โดยมีอำนาจเหนือรัฐ มีคดีความต่าง ๆ
ในการที่จะตัดสินว่าแล้วตกลงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นอะไร
เป็นราชการ เป็นหน่วยงานรัฐ เป็นเอกชน เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน
แต่ทางกฤษฎีกาได้ตีความออกมาหลังสุดก็คือ ให้ถือเป็นหน่วยงานรัฐด้วยเหตุผลที่มีการอ้างกันอยู่บ่อย
ๆ แต่มันไม่น่าจะเป็นเหตุผลเดียว ก็คือไม่ต้องจ่ายภาษี
อีกอย่างหนึ่งก็คือการได้เปรียบของการที่สามารถเอาที่ดิน
พูดตรง ๆ ว่าสำนักงานทรัพย์สินนั้นมีทั้งช่วงเติบโตและตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง
“ต้มยำกุ้ง” ก็สามารถใช้พลังอำนาจเอาที่ดินไปแลก ได้หุ้นธนาคารไทยพาณิชย์คืนมา
จากที่สำนักงานทรัพย์สินไม่มีหุ้นแล้ว และก็สามารถใช้พลังอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น
ได้หุ้น ปตท. เป็นต้น
นั่นแปลว่าสำนักงานทรัพย์สินมีลักษณะพิเศษ
ดูประหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้เปรียบในการใช้ความสัมพันธ์รัฐต่อรัฐ
ใช้ความสัมพันธ์กับเอกชนในลักษณะที่เหนือกว่าหน่วยงานอื่น อันนี้เป็นความได้เปรียบของการขยายทุน
ยกระดับ หรือสะสมทุน
โดยคร่าว
ๆ เพื่อให้เราเข้าใจว่าจากรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่รัฐมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย
สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็กลับมาอยู่ที่รัฐ แต่พอมีการทำรัฐประหารตั้งแต่ 2490
เป็นต้นมา สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็กลับคืนมาสู่พระราชอำนาจ
แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายที่ทำให้มีการขับเคลื่อนของเยาวชน
นั่นก็คือใน พ.ร.บ. 60 และ 61 ซึ่งในที่สุดก็มีการรวมเป็นหนึ่งเดียว
และมีการเปลี่ยนชื่อ ก่อนหน้านี้เปลี่ยนชื่อจากกรมพระคลังข้างที่มาเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
แต่ทุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และหุ้น ณ
บัดนี้ก็เป็นชื่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.10 ดังนี้เป็นต้น
รายละเอียดดิฉันไม่สามารถจะพูดทั้งหมดได้ ดังที่ดิฉันบอกแล้วว่าดิฉันอ้างเอกสาร 3
ชุดข้างต้น ควรจะไปอ่านกัน
ในประชาไทได้อ้างถึงว่า
ข้อโต้แย้งว่าตกลงสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นของใคร? หลังจากมีเปเปอร์ของ อ.พอพันธุ์ ออกมา
ฟอร์บส์ (Forbes) ได้จัดอันดับว่าในหลวงของเราพระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยอันดับที่
1 ก็ได้มีการโต้หลายครั้งจากกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานทรัพย์สินฯ ว่า
ที่ฟอร์บส์เอาข้อมูล เอาเงินหรือทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินฯ
เอาไปจัดอันดับแล้วทำให้ดูประหนึ่งว่าในหลวงของเราเป็นพระมหากษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลกนั้นไม่จริง! เพราะสำนักงานทรัพย์สินฯและทุนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นเป็นของรัฐ
ไม่ใช่ส่วนพระองค์ และส่วนใหญ่ก็เป็นที่ดิน ไม่ได้มีรายได้มากมาย
เนื่องจากงานวิจัยมันได้เปิดเผยไม่ว่าเรื่องหุ้น
แม้กระทั่งการตั้งกองทุนลดาวัลย์ขึ้นมา พูดง่าย ๆ ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ
เล่นหุ้นโดยตรง โดยผ่านกองทุนลดาวัลย์ ความมั่งคั่งต่าง ๆ เหล่านี้จึงถูกปรากฏในบันทึกที่เปิดเผย
แต่ดังที่บอกแล้วว่าเมื่อมีการกล่าวอ้างว่าในหลวงของเราเป็นพระมหากษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก
ก็มีการโต้แย้งว่าไม่ใช่ มันเป็นของรัฐ
แต่มาตอนนี้จะอธิบายอย่างนั้นก็คงไม่ได้
เพราะบัดนี้เท่าที่ทราบมันกลายเป็นก้อนเดียวกันกับทรัพย์สินส่วนพระองค์และการบริหารอันเดียวกัน
หลายคนบอกว่าเป็นของพระองค์มาตั้งนาน ฉะนั้นการที่กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานทรัพย์สินฯ
ที่โต้แย้งไปก่อนหน้านั้นหมายความว่าอะไร?
หรือความจริงก็คือปัจจุบันซึ่งจะนำไปสู่ข้อโต้แย้งว่าจะมีปัญหาในอนาคตหรือเปล่า?
เพราะเมื่อกลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ทั้งหมด แน่นอนข้อแรกก็คือต้องมีการจ่ายภาษี,
ภาษีมรดก, ที่ดินที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนั้นพระองค์ต้องจ่ายภาษีเองหรือเปล่า?
อันนี้ดิฉันตั้งคำถามขึ้นมา เพราะว่าพวกเรามีเล็กมีน้อยยังกังวล ต้องไปทำการเกษตร
ซึ่งเกณฑ์ของการที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องจ่ายภาษีเป็นเกณฑ์ที่ตั้งมาจาก ร.6
ดิฉันไม่รู้ว่าจะมีการยกเลิกหรือเปล่า
นอกจากนั้นปัญหาคดีความต่าง
ๆ ซึ่งมักเกิดขึ้น เราได้มีการสืบค้นคดีความต่าง ๆ
ศาลก็ปวดหัวเหมือนกันว่าในอดีตสำนักงานทรัพย์สินฯ จะถือเป็นอะไร ดังที่ดิฉันเล่าให้ฟังว่ากฤษฎีกาต้องไปตีความกันตั้ง
4 ครั้ง ว่าตกลงเป็นอะไรกันแน่ สุดท้ายบอกว่าเป็นของรัฐ แต่มาบัดนี้ก็คงไม่ใช่ คือเรามีการออก
พ.ร.บ. ใหม่ในปี 60 และ 61 ซึ่งต้องไปศึกษารายละเอียด
วันนี้ดิฉันก็คงพูดไม่ได้หมด
เพียงแต่จะสรุปว่า ถ้าการเมืองเป็นระบอบประชาธิปไตย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถูกตัดสินว่าเป็นของรัฐ
เป็นของแผ่นดิน ต้องขึ้นกับรัฐบาล
พระเจ้าแผ่นดินเอาไปใช้ส่วนพระองค์ไม่ได้ดังมีคำตัดสินของศาล แต่เมื่อการเมืองไทยถอยหลัง
มีการเขียนกฎหมายใหม่
ก็เปลี่ยนแปลงทำให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กลับมาอยู่ในพระราชอำนาจเป็นขั้น ๆ
ตามลำดับ
ดังนั้น
สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่ว่า การเมืองการปกครองนั้นเป็นอย่างไร เรื่องต่าง ๆ
ก็จะเป็นไปตามการเมืองการปกครอง ถ้าการเมืองการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นอำนาจของประชาชน เป็นอำนาจของรัฐบาล
เป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร นิติบัญญัติ และสุดท้ายเป็นอำนาจของตุลาการ
แต่ถ้ามันไม่ใช่
ถ้ามันเป็นการรัฐประหาร เป็นการยึดอำนาจโดยเผด็จการ ก็เขียนกฎหมายอะไรมาก็ได้
แล้วก็สามารถบังคับคนเหมือนเช่นทุกวันนี้ จับเด็กแม้กระทั่งเยาวชน เด็กนักเรียน
บอกว่าผิดกฎหมาย ถ้าเราดูให้ดีกฎหมายมันขึ้นอยู่กับว่าใครเขียน เขียนเพื่อใคร เพราะฉะนั้นเรื่องการโต้แย้งมันไม่ใช่เรื่องความจริงสัมบูรณ์
มันขึ้นอยู่กับว่าการเมืองการปกครองเป็นอย่างไร เขียนกฎหมายมาเป็นอย่างไร
มันก็จะเป็นเช่นนั้น
ณ
บัดนี้ ก็ตอบได้ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็กลายเป็นของส่วนพระองค์โดยสิ้นเชิง
หรืออยู่ในพระราชอำนาจที่จะใช้ทุกอย่างตามพระราชอัธยาศัย
แต่ก็ต้องไปเผชิญปัญหาต่อไปว่า
ถ้าเป็นส่วนพระองค์ทั้งหมดแล้วจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น
ที่ดิฉันพูดนี้ไม่ได้พูดด้วยความเชื่อด้านหนึ่งด้านใด
แต่พูดด้วยข้อมูลที่สัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของทุนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการเมือง
เมื่อการเมืองไทยในขณะนี้เป็นการเมืองแบบนี้ ก็จะไปเทียบกับสมัย 2476-2477 ไม่ได้
มันจะคนละอย่างกัน ในขณะเดียวกันหลายคนก็จะเลยเถิดไปถึงสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะบอกว่าเป็นทรัพย์สินของราชวงศ์
ซึ่งต้องเข้าความเป็นจริงว่าทรัพย์สินทั้งหมดมาจากภาษีอากรของราษฎร
แต่กาลข้างหน้าจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องที่คนทั้งหลายจะไตร่ตรอง และมีการแก้ปัญหา
เมื่อแก้ปัญหาหนึ่งก็จะเกิดปัญหาหนึ่ง
ดิฉันก็พูดได้เพียงแค่นี้ว่า "ทั้งหมดขอให้เป็นความจริง ไม่ใช่เรื่องของการประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่เรื่องของการบิดเบือน ให้เข้าใจความเป็นจริงว่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ ขึ้นอยู่กับการเมืองการปกครอง การถกเถียงกันในเรื่องทุนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต้องเข้าใจว่ากำลังอยู่ในยุคสมัยใด" อ.ธิดา กล่าวในที่สุด