“อ.ธิดา”
เชิญทำกิจกรรมเขียนจดหมายถ่ายภาพหน้าเรือนจำ / แกนนำมีนัดหมายขึ้นศาลเดือนนี้ 4
นัด / จตุพรก็มีคดีเดียวกัน แต่แยกฟ้อง สุดท้ายชะตากรรมคงไม่หนีกัน /
การเยียวยาผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการชุมนุม หลายฝ่ายช่วยกันผลักดันจนเป็นผล แต่ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จะยังมีการฟ้องร้องอีกหรือเปล่า? / หมู่บ้านเสื้อแดงสลายไม่ต้องตื่นเต้นเสียใจ
เป็นเพียงกลุ่มอิสระ มีมา มีไป ขึ้นอยู่กับกระแส
1
ก.ค. 63 เวลา 11.45 น. อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้ทำเฟสบุ๊คไลฟ์ เพื่อเล่าข่าวหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพเป็นวันที่สอง
อ.ธิดากล่าวว่า
วันนี้ที่อยากจะพูดต่อจากเมื่อวานก็คือ เนื่องจากอยู่ในระหว่างกักตัว
โอกาสที่จะได้เยี่ยมนั้นยากลำบาก จึงมีแต่ทนายที่สามารถเข้าไปเยี่ยม พูดคุยกันได้
เราก็ใช้วิธีที่พูดไปเมื่อวานนี้ว่าให้ทำจดหมาย
วันนี้ดิฉันก็จะให้ดูตัวอย่าง
เช่น มีภาพถ่ายหน้าเรือนจำ แล้วก็มาเขียนชื่อแต่ละคน (ชื่อจิต ชื่อน้อย ชื่อจิ๋ม)
ด้านล่างก็เขียนเป็นจดหมาย แล้วก็มาหย่อนตู้ไปรษณีย์ที่นี่เลย
(เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ) วันนี้เดี๋ยวเขาก็จะไปหย่อน
อย่างอันนี้ก็คือ
จากฉันถึงเธอ นี่ยกตัวอย่าง อันนี้เขียน 3 คน ที่มีไฮไลท์สีส้มอยู่ เช่น คุณอำนวย
คุณสมบัติ คุณจุ๋ม อันนี้ก็เป็นจดหมายซึ่งไม่ต้องเขียนครั้งเดียวนะ เขียนบ่อย ๆ
ก็ได้
อันนี้ก็คุณรุ่งอรุณคนเดียวเลย
นี่ยกตัวอย่าง ก็เขียนยาวเลย แต่ในนี้ที่น่ารักก็คือ เขียนถึงคุณวีระกานต์
ถึงคุณหมอเหวง คือไล่เขียนเป็นบุคคลในฉบับเดียว บางคนก็เขียนรวม บางคนก็เขียนแยก
อย่างคนนี้ก็มาจากบางบัวทอง
อันนี้พอดีทีมงานทำหัวเอาไว้ว่าจากฉันถึงเธอ แต่บางทีเราก็จะเปลี่ยน
หรือพวกเราพิมพ์เองมาก็ได้ มีภาพตัวเองแล้วก็เขียนเป็นจดหมาย
อย่างที่เราพูดเมื่อวานก็คือ ไม่ให้เกิน 15 บรรทัด ภาษาสุภาพ ไม่หยาบคาย
อ.ธิดากล่าวต่อว่า
ถึงแม้จะไม่ได้เข้าเยี่ยม
แต่ดิฉันมองว่าอย่างนี้ดีกว่าเพราะว่าแกนนำจำได้และได้อ่าน ยังดีกว่าเมื่อตอนปี 53
ตอนนั้นเขาให้มวลชนเข้าเยี่ยมเยอะครั้งละเป็นร้อย ๆ ได้แต่โบกมือ
จำไม่ได้ว่าใครเป็นใคร แต่ดิฉันว่าอย่างนี้อาจจะน้อยแต่หนักแน่นและเป็นประโยชน์
... นี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่อยากจะแจ้ง
แล้วที่นัดกันก็คือวันศุกร์ตอนบ่าย
อาจจะมานั่งทำกิจกรรมอย่างนี้ คือถ่ายภาพ เขียนจดหมายถึงแกนนำ
ประมาณเหมือนกับมากินของว่าง น้ำชา ตอนบ่ายวันศุกร์
บริเวณข้างหน้าที่ไม่เกี่ยวกับเรือนจำ เพราะว่าถ้าเรามาส่งที่นี่จะถึงเร็ว
พอแกนนำเขาได้อ่านแล้วอาจจะเขียนเป็นจดหมายออกมา เราจะได้มาเล่าสู่กันฟัง
ดิฉันว่าก็ใช้วิธีโบราณแบบนี้
เพราะเราติดคุกกันแบบโบราณ ๆ วิธีการเยี่ยมก็แบบโบราณ ๆ ก็คือเขียนจดหมาย
ยุคนี้ความจริงไม่มีแล้ว แต่เข้าใจว่าหลังจากนี้ต่อไปน่าจะมีการสื่อสารออนไลน์ได้ในระดับหนึ่ง
แต่ตอนนี้เราก็คิดว่าประเทศนี้มันยังโบราณ
ประเด็นที่สอง
ดิฉันก็อยากจะเรียนว่าทางทนายบอกว่าสุขภาพทุกคนแข็งแรงดี
เนื่องจากยังอยู่ในแดนกักกัน ดังนั้นห้องขังก็ยังไม่หนาแน่นมาก
และดังที่ได้เรียนไปแล้วว่า วันที่ 15, 16, 17 และ 31 ก.ค. นี้ (4 นัด) ที่แกนนำเขาจะมาศาล
ดังนั้นถ้าแม้นว่าไม่ได้เข้าเยี่ยมที่เรือนจำ ก็ไปพบที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ประมาณ
09.00 น. ส่วนวันธรรมดาถ้าว่าง ๆ ก็พิมพ์ภาพตัวเองพริ้นมาหรือมาทำกิจกรรมที่นี่
วันศุกร์ถ้าสะดวกก็เชิญนะคะ เนื่องจากมันมีวันหยุด
เดือนต่อไปก็ค่อยว่ากันอีกทีว่าวันศุกร์สะดวกไหม เพราะเสาร์อาทิตย์เรือนจำปิด
แต่ถ้าหากว่าพวกเราสะดวกเสาร์อาทิตย์ อาจจะนัดเสาร์อาทิตย์ก็ได้ เพราะว่าถึงอย่างไรก็ไม่ได้เข้าเยี่ยมพบเจออยู่ดี
เพียงแต่ว่ามาเขียนจดหมายที่นี่แล้วมาหย่อนตู้ไปรษณีย์ที่นี่
นี่ก็เป็นกิจกรรมซึ่งเราทำได้
เรื่องที่สามคือมันมีปัญหาที่ถกเถียงกันในเรื่องของการที่แกนนำเข้าเรือนจำ
แล้วบางส่วนทำไมไม่ได้เข้า ก็ต้องพูดกันอย่างตรงไปตรงมาจริง ๆ ว่า คดีนี้ในปี 51
มีการฟ้องหลายคนก็จริง แต่ว่าเนื่องจากบางคนไม่อยู่ ไปต่างประเทศ (คุณจักรภพ,
คุณจรัล) บางคนก็เสียชีวิต (พ.อ.อภิวันท์) แต่ว่าอย่างคุณจตุพรก็ถูกฟ้อง
แต่ว่าเป็นคดีติดตามมา ดิฉันก็ไม่อยากจะให้มีการเข้าใจผิดกันเกิดขึ้นว่า
คุณจตุพรไม่ได้ถูกฟ้อง ซึ่งอันที่จริงคุณจตุพรก็ได้พูดแล้ว
แต่ว่าดิฉันก็ช่วยพูดอีกแรงหนึ่ง เพราะว่าเราต้องเป็นคนตรงไปตรงมานะ อยู่กับความจริง
ใครจะรักจะชอบใครมันก็เป็นสิทธิ์
แต่ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับพวกเรากันเอง หรือแม้กระทั่งคนที่เราไม่ชอบ
ลักษณะของพวกประชาธิปไตยอย่างหนึ่งก็คือเราต้องอยู่กับความเป็นจริง
ต้องพูดความจริง เพราะฉะนั้นก็คือคุณจตุพรในคดีนี้ก็จะเป็นอีกคดีหนึ่งซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี
แต่ว่าก็คงไม่แคล้ว น่าจะประมาณ ๆ กัน ดิฉันคิดว่าอย่างนั้น
อีกเรื่องหนึ่งก็มีการถกเถียงกันเรื่องเยียวยาผู้คน
ดิฉันก็อยากจะเรียนว่าทางคุณณัฐวุฒิซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาล
และเป็นแกนนำคนเดียวที่เป็นรัฐมนตรี ก็มีส่วนผลักดันมากในปัญหาการเยียวยา
โดยประสงค์จะเยียวยาคนที่บาดเจ็บ ล้มตาย
ดังนั้นดิฉันคิดว่ามันไม่ใช่แต่เพียงคุณณัฐวุฒิคนเดียว คนในรัฐบาลและโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีก็ผลักดัน
แล้วตามข่าวเขาจะฟ้องคณะรัฐมนตรีชุดนั้นด้วยซ้ำในปัญหานี้
ในส่วนของคนที่เรียกร้อง
สำหรับนปช.นั้น โดยนปช.ทั้งหมด และโดยคุณจตุพรด้วย (ในช่วงเวลาที่นปช.ว่างประธาน
แล้วมา อ.ธิดา มาเป็นประธาน แล้วคุณจตุพรมาเป็นประธาน)
คือในช่วงผลักดันตอนนั้นคุณจตุพรเป็นส.ส.ที่ไม่ถูกดำเนินคดี (เพราะเป็นส.ส.)
คุณจตุพรก็ได้พูดเรื่องว่าเยียวยา 10 ล้าน นปช.และคุณณัฐวุฒิก็พูด อ.ธิดาก็พูดตรงกันก็คือว่า
อยากจะให้ผู้เสียชีวิตได้ 10 ล้าน แต่ว่าคณะกรรมการที่ทางรัฐบาลตั้งขึ้น
เขาก็ไปคิดคำนวณ มันก็ต้องหาวิธีทำที่มีเหตุผลว่าควรจะได้เท่าไร
เท่าที่ดิฉันจำได้คือ
เขาใช้ค่า GDP ต่อหัวของประเทศไทย และคำนวณอายุเฉลี่ยของผู้เสียชีวิต และเวลาที่เขาไม่ตายเขาควรจะอยู่ต่อเท่าไรแล้วก็คูณ
มันก็ออกมาเป็นตัวเลขประมาณ 7 ล้าน ดังนั้นมันก็ไม่ใช่ 10 ล้าน
ดิฉันก็คิดว่าในปัญหานี้
รัฐบาลในขณะนั้นทุกคน รวมทั้งรัฐมนตรีที่ไปจากแกนนำนปช.คือคุณณัฐวุฒิ
มีส่วนที่จะช่วยกันทำ เพราะฉะนั้นก็คงมีหลายส่วน คณะทำงานจากศปช.บ้าง
คณะทำงานจากนปช.บ้าง จากรัฐบาลบ้าง แต่สุดท้ายก็คือคณะกรรมการของรัฐบาล
แล้วดิฉันก็ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จะยังมีการฟ้องร้องอีกหรือเปล่า?
เพราะอันที่จริงแล้วก็คือคนที่ได้อานิสงส์มีทั้งฝ่ายกลุ่มทุกสี
ประชาชนที่เสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมืองได้หมด รวมทั้งทหารด้วย
รวมทั้งญาติของทหารที่เสียชีวิตไปจำนวนหนึ่งด้วย และกลุ่มเสื้อเหลืองด้วย (ที่เสียชีวิตวันที่
7 ต.ค.) อันนั้นก็ได้ด้วยตามความเข้าใจของดิฉัน
แต่ดิฉันก็ไม่รู้ว่าความพยายามที่จะเล่นงานรัฐบาล
หรือครม.ชุดคุณยิ่งลักษณ์จะยังมีในประเด็นเรื่องการเยียวยาอีกหรือเปล่า
แต่ดิฉันก็พูดในความจริงว่าได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายในรัฐบาล จากนักวิชาการ
จากนปช. เพราะคนที่เสียใจมากที่สุดและมีความรู้สึกต้องรับผิดชอบมากก็คือ แกนนำ
ดังนั้น
มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่แกนนำจะไม่สนใจ การพูด ประกาศเรื่องขอให้มีการเยีย วยา 10
ล้านจากแกนนำนปช. จากคุณจตุพร อ.ธิดา และคุณณัฐวุฒิ
ก็เป็นการพูดทำนองเดียวกันทั้งหมด
นี่ก็เป็นอีกเรื่องซึ่งดิฉันอยากจะให้มีความเข้าใจ
เราต้องพูดความจริงในแต่ละเรื่อง
เราต้องแฟร์ สำหรับดิฉันจะรัก จะชอบ จะโกรธ จะเกลียด ไม่มีปัญหา แต่ต้องพูดความจริง
ไม่มีการบิดเบือน ไม่มีการใช้เฮดสปีช
ดิฉันอยากจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นอยู่กับพวกเราทั้งหมดว่า
วิถีของนักต่อสู้ประชาธิปไตย และในฐานะผู้ถูกกระทำ เราต้องอยู่ด้วยความจริง
คือเราอย่าไปเอาวิธีคิดวิธีทำงานแบบของพวกคณาธิปไตย พวกที่ไม่ต้องการคืนอำนาจให้ประชาชน
พวกนั้นเขาจะทำทุกอย่างเลย ใช้ IO ที่จะเล่นงานฝั่งประชาชน
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีคนถามมากก็ถือโอกาสพูดเลย
เรื่องหมู่บ้านเสื้อแดง ถ้าใครมีหนังสือของอ.ธิดากลับไปอ่านดู คือ “หมู่บ้านเสื้อแดง”
ก็คล้าย ๆ ความพยายามจะเป็นกลุ่มอิสระอีกกลุ่มหนึ่งต่างหาก โดยในช่วงเวลาปี 54
นั้นเป็นเวลาที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล ดังนั้นก็มีกิจกรรมของกลุ่มอิสระหลายรูปแบบ
หมู่บ้านเสื้อแดงก็เป็นกิจกรรมรูปแบบหนึ่งซึ่งไม่ได้ขึ้นกับนปช. มีชื่อต่าง ๆ เช่น
คุณอานนท์ แสนน่าน มีหลายชื่อนะคะ ไม่ใช่ชุดเดียว
แล้วก็ในกระแสเสื้อแดงที่สูงนั้น
กลุ่มอิสระต่าง ๆ เหล่านี้ก็ทำกิจกรรมในชื่อต่าง ๆ
แล้วก็ได้รับความร่วมมือจากมวลชน แต่ว่ามันไม่ใช่ทิศทางที่นปช.ลงไปทำ
แต่เราไม่ได้ห้ามปราบ ไม่ได้ขัดข้อง ให้เป็นความสมัครใจของแต่ละพื้นที่
เพราะเราอยู่กับกลุ่มอิสระด้วยความคิดแบบแนวร่วม ก็คือ “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง”
ดังนั้นเราก็ปล่อยให้เขาทำไปก็ไม่ได้ว่าอะไร
เพราะว่าในช่วงเวลานั้นกระแสเสื้อแดงสูง
ก็มีคนอยากทำงานเพื่อไปส่งการบ้านทางการเมืองก็มี หรือสร้างเครดิตของแต่ละกลุ่ม
เราก็ไม่ได้มีปัญหา แล้วบางส่วนก็ดิสเครดิตนปช.ด้วย ก็ไม่ได้มีปัญหาอีกเหมือนกัน
การที่มีกลุ่มคนออกมาแล้วบอกว่า
“หมู่บ้านเสื้อแดง” สลาย ดิฉันอยากจะให้เข้าใจว่า ก็เป็นคนบางส่วน
แต่จะเป็นเสื้อแดงจริงหรือเปล่า? ไม่รู้!!! ไม่ว่าจะเป็นคนไหน
เพราะถ้าเป็นเสื้อแดงแท้เราผูกพันกันด้วยอุดมการณ์ ไม่ได้ผูกพันด้วยผลประโยชน์
ดังนั้นผลประโยชน์ใด ๆ ก็ไม่สามารถซื้อคนที่มีอุดมการณ์ได้ แต่ถ้าผูกพันกันด้วยผลประโยชน์
เสื้อแดงกำลังรุ่ง หรือว่ามีโอกาสจะได้รับโน่น รับนี่ มันก็ง่ายที่จะเปลี่ยน
ดังนั้นไม่ต้องรู้สึกตื่นเต้นหรือเสียใจ
เพราะว่าการเกิดขึ้นของกลุ่มอิสระมันเกิดขึ้นอยู่แล้ว เพียงแต่ชื่อนี้มันประทับใจ
แต่ความจริงก็คือเป็นกลุ่มอิสระที่ทำกันหลากหลาย มีมา มีไป
เพราะอาจารย์อยู่กับพี่น้องมวลชนก็รู้ว่าแกนนำในท้องถิ่นหรือแกนนำส่วนหลางก็ตาม
มันก็มีขึ้น มีลง มีมา แล้วก็มีไป แล้วก็มีใหม่มาแทนเก่า เพราะฉะนั้นไม่ต้องเสียใจนะคะ
อ.ธิดากล่าวในที่สุด