ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
เพลงกล่อมพ่อของ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ดิฉันฟังเพลงนี้ด้วยความรู้สึกหลายอย่าง
เป็นเพลงโศกกินใจ
โดดเด่นที่นำเพลงกล่อมลูกภาคใต้มาเป็นเพลงกล่อมพ่อที่ไม่เหมือนใคร
ชื่นชมและประทับใจในเพลงนี้ ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง ลีลา การร้องของผู้ขับร้อง
และแนวเพลง
แต่พิเศษสุดคือ
การกลั่นความรู้สึกของลูกผู้ชายคนหนึ่งที่เผชิญความทุกข์หนักทางร่างกาย จิตใจ
และยืนหยัดอยู่แข็งกล้า
ถูกท้าทายด้วยข่าวร้ายที่ผู้เป็นลูกอาจไม่มีโอกาสไปส่งพ่อในวันสุดท้าย
การใช้เพลงกล่อมลูกภาคใต้มากล่อมพ่อ
ที่พิเศษสุดสำหรับดิฉันที่เห็นเขาเขียนเพลงในศาลและใต้ถุนศาลที่คุมขังใหญ่ ในเวลาสั้น
ๆ เมื่อรับรู้ข่าวร้าย
- คิดได้ไง
เอาเพลงกล่อมลูกมากล่อมพ่อ
- ทั้งเป็นพ่อที่จากไปเมื่อณัฐวุฒิอายุเพียง
2 เดือน เท่ากับว่าลูกไม่เคยได้ยินเพลงกล่อมลูกจากพ่อ แต่น่าจะได้ยินจากแม่และวิถีชีวิตชนบทภาคใต้
ดิฉันคิดว่าไม่เคยมีใครทำอย่างณัฐวุฒิ
เขียนเพลงกล่อมพ่อที่เสียชีวิตในลีลาแบบเพลงกล่อมลูกพื้นฐาน
มีทั้งคำรำพันและทอดเสียง เช่น ฮาเห้อ ฮาเอ้อ ไก่เถื่อนเห้อ เหม็ด (หมด)
แรงขันแล้ว ไปไหนแล้วพ่อไก่ หลับแล้ว หลับให้บาย (สบาย) นะพ่อไก่เถื่อนเอย
หนังลุงเก็บจอ โนราห์เลิกโรง ลูกขอกล่อมพ่อ ด้วยเพลงกล่อมนอน
สำหรับดิฉัน เพลงนี้สุดยอด!!! ที่ทำให้ เพลงกล่อมลูกพื้นบ้าน ถูกนำมาเชิดชูในท่วงทำนองที่นำมาใช้กล่อมพ่อที่เสียชีวิต ด้วยความอาลัยและแสดงความเคารพจากผู้ที่หมดอิสรภาพ
ที่ดิฉันอาจซาบซึ้งมากด้วยเป็นคนภาคใต้
แต่ชีวิตที่อยู่ในตลาด ในอำเภอเมือง
ไม่ได้สัมผัสวิถีชีวิตวัฒนะธรรมชาวใต้ในชนบทจริง ๆ
ไม่เคยได้ยินเพลงกล่อมลูกแบบชาวใต้อย่างที่ “ณัฐวุฒิ”ได้ยิน
และเมื่อดิฉันร้องเพลงกล่อมลูก ก็ร้องเพลงไทยเดิมภาคกลาง เช่น ลาวดวงเดือน, เขมรไทรโยค,
ลาวคำหอม ฯลฯ
ที่รู้จักผู้ให้คุณค่าเพลงกล่อมลูกของชาวใต้ในชนบทคือ
ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านพูดถึงเพลงกล่อมเด็กภาคใต้
ที่แสดงถึงความเข้าใจลึกซึ้งในพุทธศาสนาและนิพพาน คือเพลง “มะพร้าวนาฬิเกร์”
มะพร้าว
นาฬิเกร์
ต้นเดียวโนเน
กลางเล (ทะเล) ขี้ผึ้ง
ฝนตกไม่ต้อง
ฟ้าร้องไม่ถึง
กลางเท
(ทะเล) ขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย
ดิฉันว่าของดี
ๆ เหล่านี้ที่เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของประชาชนทุกภูมิภาคจะหายไปหมด
เพราะคนไปรับวัฒนธรรมเองหลวง ส่วนกลาง เพลงกล่อมเด็กพื้นบ้าน ดิฉันก็ร้องไม่เป็น
กลับมากล่อมลูกด้วยเพลงขุนนางเมืองหลวง
อะไร
ๆ ที่เป็นพื้นบ้าน เป็นศิลปวัฒนธรรม ประชาชนที่ถูกลบล้างหายไปต้องช่วยกันรักษา
เชิดชู นำมาเสนอใหม่ให้เป็นที่รู้จัก
การเมืองที่ก้าวหน้าคือการเมืองที่อำนาจเป็นของประชาชน ศิลปวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าก็ต้องเป็นศิลปวัฒนธรรมประชาชน
ไม่ใช่มีแต่ของชนชั้นนำ
อ่านแล้วลองฟังเพลงซ้ำอีกที
แล้วคงเห็นด้วยกับดิฉันค่ะ
ธิดา
ถาวรเศรษฐ
23 ก.ค. 63