บทสรุปอันแตกต่าง คดีการเมืองคู่ขนาน จาก นปช.บุกบ้านป๋า ถึง
พธม.ยึดทำเนียบ
อีกหนึ่งบทสรุปทางการเมือง
สำหรับคดีแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
นำมวลชนบุกปิดล้อมบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ เรียกร้องกดดันให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อปี 2550
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อ 16 กันยายน 2558 จำคุกนายนพรุจ หรือนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน ฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่
ส่วนนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ 4 แกนนำ นปช. ถูกตัดสินจำคุกคนละ 4 ปี 4 เดือน
ฐานทั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย และใช้ให้ผู้อื่นขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ส่วนนายวีีระศักดิ์ เหมะธุลิน นายวันชัย นาพุทธา พิพากษายกฟ้อง
ต่อมาวันที่ 10 มกราคม 2560 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า พวกจำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุ ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ให้จำคุกคนละ 1 ปี มีความผิดฐานมั่วสุดตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายโดยเป็นหัวหน้าสั่งการ ให้จำคุกคนละ 3 ปี
รวมจำคุกนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ คนละ 4 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน
ส่วนนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา
และยกฟ้อง นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน และนายวันชัย นาพุทธา
เมื่อคดีดำเนินมาถึงชั้นศาลฎีกา และนัดอ่านคำพิพากษา 26 มิถุนายน 2563
4 แกนนำ นปช. เดินทางมารับฟังคำตัดสินพร้อมเพรียง
ก่อนหน้านี้ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ ยื่นฎีกาแก้ไขคำให้การเป็นรับสารภาพ
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วชี้ว่า ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากต้องทำก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ในการอ่านคำพิพากษา เริ่มจากนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางทำร้ายเจ้าพนักงานหรือไม่ หลังขว้างอิฐใส่ตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่
ศาลเห็นว่าตำรวจเป็นประจักษ์พยานโดยตรง เบิกความไม่มีพิรุธ เหตุแห่งการจับกุมเป็นความผิดซึ่งหน้า
เห็นว่าพฤติการณ์เป็นการก่อเหตุร้ายแก่เจ้าพนักงาน ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ไม่สมควรรอการลงโทษ ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ส่วนนายวีระกานต์ นายณัฐวุฒิ นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง ชุมนุมฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่นั้น
รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติคุ้มครองการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ
แต่การชุมนุมครั้งนั้นไม่ได้ขออนุญาตเคลื่อนขบวน ตำรวจจึงวางแผนรักษาความสงบเรียบร้อย โดยจำเลยยังยืนยันที่จะผ่านจุดสกัดของเจ้าหน้าที่
ก่อนเผชิญหน้ากับตำรวจและฝ่าแนวกีดขวาง จนไปปักหลักชุมนุมหน้าบ้านพักของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
แถมผู้ชุมนุมยังขว้างอิฐ ไม้ และขวดน้ำใส่เจ้าหน้าที่
จึงมีมติให้จับกุมแกนนำและสลายการชุมนุมด้วยกระบอง แก๊สน้ำตา
รวมทั้งการปราศรัยของจำเลยยังใช้เสรีภาพเกินขอบเขตและละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของ พล.อ.เปรม
ทั้งหมดเป็นหลักฐานประจักษ์ตอกย้ำว่า ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิเสรีภาพของ พล.อ.เปรม
ไม่เป็นการชุมนุมโดยสงบ มั่วสุมชุมนุมโดยใช้กำลังประทุษร้าย กีดขวางการจราจรไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนจุดสกัด
ส่งเสียงดังรบกวนไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเครื่องขยายเสียง ประชาชนไม่สามารถใช้ถนนได้
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษนั้น
ศาลเห็นว่าการกระทำเป็นลักษณะเตรียมวางแผนล่วงหน้าในการนำมวลชนจำนวนมากไปมั่วสุม ใช้กำลังประทุษร้าย ทำลายทรัพย์สินราชการ ต่อสู้ขัดขวางตำรวจ
จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
ฎีกาทุกข้อของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน จำคุกนายนพรุจ นายวีระกานต์ นายณัฐวุฒิ นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง คนละ 2 ปี 8 เดือน
หลังสิ้นคำพิพากษา เจ้าหน้าที่คุมตัวแกนนำ นปช. ไปคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
เมื่อนำมาวางเทียบกับคดีทางการเมืองอื่น ๆ จะเห็นถึงความแตกต่าง
โดยเฉพาะกรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ พธม. บุกยึดทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551
ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 โดยพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายพิภพ ธงไชย, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และนายสุริยะใส กตะศิลา อดีตผู้ประสานงาน พธม.
เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุก โดยกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปและร่วมกันทำให้เสียทรัพย์
ทั้งนี้ แกนนำพันธมิตรฯ ชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดยนำมวลชนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลทำให้เสียทรัพย์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยคนละ 2 ปี ไม่รอลงอาญา
ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษเหลือจำคุกจำเลยคนละ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา
ในชั้นศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ได้เป็นการชุมนุมโดยสงบตามที่จำเลยอ้าง เพราะพฤติการณ์จำเลยและผู้ชุมนุมปืนรั้วเข้าทำเนียบรัฐบาลที่ล็อกไว้และอยู่ต่อเนื่อง ทำลายทรัพย์สินเสียหาย
ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 6 ฐานร่วมกันบุกรุกทำให้เสียทรัพย์นั้น ชอบแล้ว ฎีกาจำเลยทั้ง 6 ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ส่วนคดีกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ศาลอาญาพิพากษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2562 สั่งยกฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำอีก 21 คน
กรณีเคลื่อนการชุมนุมจากทำเนียบรัฐบาลไปปิดล้อมรอบอาคารรัฐสภา ช่วงวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์-จำเลย นำสืบหักล้างกันแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1-3, 6-7 ซ้ำกับคดียึดทำเนียบรัฐบาลและชุมนุมดาวกระจายหรือไม่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องข้อหายุยงปลุกปั่นและข้อหาอื่น เป็นพฤติการณ์ในวันที่ 5-7 ตุลาคม 2551
แม้เหตุการณ์จะต่อเนื่องกัน แต่เจตนาในการชุมนุมแตกต่างกัน เป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระ ไม่เป็นหารฟ้องซ้ำ
โดยระบุว่า จากข้อเท็จจริงเป็นไปได้ว่าผู้ชุมนุมมีความคับแค้นจากสถานการณ์พาไป เกิดขึ้นทันด่วนยากที่แกนนำจะควบคุม
ซึ่งไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งหมดมีส่วนยุยงปลุกปั่นตามฟ้อง มีเพียงการกระทำเฉพาะตัวเฉพาะรายของผู้ชุมนุมเอง
พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง พิพากษายกฟ้อง
สำหรับคดีชุมนุมดาวกระจายเมื่อปี 2551
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 ระบุ
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องจำเลยทั้ง 9 คน โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นกรณีจำเลยที่ 1-6 เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีบุกรุกทำเนียบรัฐบาล
ส่วนจำเลยที่ 7-9 ไม่มีความผิดฐานก่อความวุ่นวายตามมาตรา 215
แม้โจทก์จะยกกรณีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการรื้อถอนเวทีและเต็นท์ของผู้ชุมนุม
ศาลเห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่ได้เริ่มจากผู้ชุมนุม และการตรวจค้นพบเหล็กแป๊ปและขวานในพื้นที่หลังผู้ชุมนุมถอยออกไป ก็ไม่ได้ค้นจากตัวผู้ชุมนุม มีข้อสงสัยว่าไม่ใช่ของผู้ชุมนุม
จึงเป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ
ตัดมาที่ภาพของอดีตแกนนำ นปช. ที่โชควาสนาแตกต่างจากอดีตผู้ร่วมอุดมการณ์คนอื่น ๆ หลังเข้าร่วมงานกับรัฐบาล พลงอ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
"แรมโบ้อีสาน" นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ก่อนหน้านี้เป็นอดีตแกนนำ นปช.ที่รอดพ้นจากคดีล้มประชมผู้นำอาเซียนปี 2552 เพียงคนเดียว
เนื่องจากอัยการนำตัวฟ้องศาลไม่ทัน ทำให้คดีขาดอายุความ
ขณะที่แกนนำคนอื่นในเหตุการณ์เดียวกันโดนยื่นฟ้องถ้วนหน้า
ล่าสุดเมื่อ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา นายสุภรณ์จัดงานรับคืนป้ายหมู่บ้านเสื้อแดงภาคอีสาน 20 จังหวัด
พร้อมมอบป้ายเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนคนท้องถิ่น เรารักประเทศไทย ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ เป็นการทดแทนให้ชาวบ้าน
ทั้งหมดเป็นคดีจากสองกลุ่มฟากฝั่งที่มีอุดมการณ์แนวคิดทางการเมืองในลักษณะคู่ขนาน
และมีบทสรุปจากคดีการชุมนุมทางการเมืองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2563
ส่วนนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ 4 แกนนำ นปช. ถูกตัดสินจำคุกคนละ 4 ปี 4 เดือน
ฐานทั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย และใช้ให้ผู้อื่นขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ส่วนนายวีีระศักดิ์ เหมะธุลิน นายวันชัย นาพุทธา พิพากษายกฟ้อง
ต่อมาวันที่ 10 มกราคม 2560 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า พวกจำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุ ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ให้จำคุกคนละ 1 ปี มีความผิดฐานมั่วสุดตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายโดยเป็นหัวหน้าสั่งการ ให้จำคุกคนละ 3 ปี
รวมจำคุกนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ คนละ 4 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน
ส่วนนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา
และยกฟ้อง นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน และนายวันชัย นาพุทธา
เมื่อคดีดำเนินมาถึงชั้นศาลฎีกา และนัดอ่านคำพิพากษา 26 มิถุนายน 2563
4 แกนนำ นปช. เดินทางมารับฟังคำตัดสินพร้อมเพรียง
ก่อนหน้านี้ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ ยื่นฎีกาแก้ไขคำให้การเป็นรับสารภาพ
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วชี้ว่า ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากต้องทำก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ในการอ่านคำพิพากษา เริ่มจากนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางทำร้ายเจ้าพนักงานหรือไม่ หลังขว้างอิฐใส่ตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่
ศาลเห็นว่าตำรวจเป็นประจักษ์พยานโดยตรง เบิกความไม่มีพิรุธ เหตุแห่งการจับกุมเป็นความผิดซึ่งหน้า
เห็นว่าพฤติการณ์เป็นการก่อเหตุร้ายแก่เจ้าพนักงาน ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ไม่สมควรรอการลงโทษ ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ส่วนนายวีระกานต์ นายณัฐวุฒิ นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง ชุมนุมฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่นั้น
รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติคุ้มครองการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ
แต่การชุมนุมครั้งนั้นไม่ได้ขออนุญาตเคลื่อนขบวน ตำรวจจึงวางแผนรักษาความสงบเรียบร้อย โดยจำเลยยังยืนยันที่จะผ่านจุดสกัดของเจ้าหน้าที่
ก่อนเผชิญหน้ากับตำรวจและฝ่าแนวกีดขวาง จนไปปักหลักชุมนุมหน้าบ้านพักของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
แถมผู้ชุมนุมยังขว้างอิฐ ไม้ และขวดน้ำใส่เจ้าหน้าที่
จึงมีมติให้จับกุมแกนนำและสลายการชุมนุมด้วยกระบอง แก๊สน้ำตา
รวมทั้งการปราศรัยของจำเลยยังใช้เสรีภาพเกินขอบเขตและละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของ พล.อ.เปรม
ทั้งหมดเป็นหลักฐานประจักษ์ตอกย้ำว่า ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิเสรีภาพของ พล.อ.เปรม
ไม่เป็นการชุมนุมโดยสงบ มั่วสุมชุมนุมโดยใช้กำลังประทุษร้าย กีดขวางการจราจรไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนจุดสกัด
ส่งเสียงดังรบกวนไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเครื่องขยายเสียง ประชาชนไม่สามารถใช้ถนนได้
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษนั้น
ศาลเห็นว่าการกระทำเป็นลักษณะเตรียมวางแผนล่วงหน้าในการนำมวลชนจำนวนมากไปมั่วสุม ใช้กำลังประทุษร้าย ทำลายทรัพย์สินราชการ ต่อสู้ขัดขวางตำรวจ
จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
ฎีกาทุกข้อของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน จำคุกนายนพรุจ นายวีระกานต์ นายณัฐวุฒิ นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง คนละ 2 ปี 8 เดือน
หลังสิ้นคำพิพากษา เจ้าหน้าที่คุมตัวแกนนำ นปช. ไปคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
เมื่อนำมาวางเทียบกับคดีทางการเมืองอื่น ๆ จะเห็นถึงความแตกต่าง
โดยเฉพาะกรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ พธม. บุกยึดทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551
ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 โดยพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายพิภพ ธงไชย, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และนายสุริยะใส กตะศิลา อดีตผู้ประสานงาน พธม.
เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุก โดยกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปและร่วมกันทำให้เสียทรัพย์
ทั้งนี้ แกนนำพันธมิตรฯ ชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดยนำมวลชนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลทำให้เสียทรัพย์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยคนละ 2 ปี ไม่รอลงอาญา
ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษเหลือจำคุกจำเลยคนละ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา
ในชั้นศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ได้เป็นการชุมนุมโดยสงบตามที่จำเลยอ้าง เพราะพฤติการณ์จำเลยและผู้ชุมนุมปืนรั้วเข้าทำเนียบรัฐบาลที่ล็อกไว้และอยู่ต่อเนื่อง ทำลายทรัพย์สินเสียหาย
ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 6 ฐานร่วมกันบุกรุกทำให้เสียทรัพย์นั้น ชอบแล้ว ฎีกาจำเลยทั้ง 6 ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ส่วนคดีกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ศาลอาญาพิพากษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2562 สั่งยกฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำอีก 21 คน
กรณีเคลื่อนการชุมนุมจากทำเนียบรัฐบาลไปปิดล้อมรอบอาคารรัฐสภา ช่วงวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์-จำเลย นำสืบหักล้างกันแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1-3, 6-7 ซ้ำกับคดียึดทำเนียบรัฐบาลและชุมนุมดาวกระจายหรือไม่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องข้อหายุยงปลุกปั่นและข้อหาอื่น เป็นพฤติการณ์ในวันที่ 5-7 ตุลาคม 2551
แม้เหตุการณ์จะต่อเนื่องกัน แต่เจตนาในการชุมนุมแตกต่างกัน เป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระ ไม่เป็นหารฟ้องซ้ำ
โดยระบุว่า จากข้อเท็จจริงเป็นไปได้ว่าผู้ชุมนุมมีความคับแค้นจากสถานการณ์พาไป เกิดขึ้นทันด่วนยากที่แกนนำจะควบคุม
ซึ่งไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งหมดมีส่วนยุยงปลุกปั่นตามฟ้อง มีเพียงการกระทำเฉพาะตัวเฉพาะรายของผู้ชุมนุมเอง
พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง พิพากษายกฟ้อง
สำหรับคดีชุมนุมดาวกระจายเมื่อปี 2551
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 ระบุ
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องจำเลยทั้ง 9 คน โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นกรณีจำเลยที่ 1-6 เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีบุกรุกทำเนียบรัฐบาล
ส่วนจำเลยที่ 7-9 ไม่มีความผิดฐานก่อความวุ่นวายตามมาตรา 215
แม้โจทก์จะยกกรณีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการรื้อถอนเวทีและเต็นท์ของผู้ชุมนุม
ศาลเห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่ได้เริ่มจากผู้ชุมนุม และการตรวจค้นพบเหล็กแป๊ปและขวานในพื้นที่หลังผู้ชุมนุมถอยออกไป ก็ไม่ได้ค้นจากตัวผู้ชุมนุม มีข้อสงสัยว่าไม่ใช่ของผู้ชุมนุม
จึงเป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ
ตัดมาที่ภาพของอดีตแกนนำ นปช. ที่โชควาสนาแตกต่างจากอดีตผู้ร่วมอุดมการณ์คนอื่น ๆ หลังเข้าร่วมงานกับรัฐบาล พลงอ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
"แรมโบ้อีสาน" นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ก่อนหน้านี้เป็นอดีตแกนนำ นปช.ที่รอดพ้นจากคดีล้มประชมผู้นำอาเซียนปี 2552 เพียงคนเดียว
เนื่องจากอัยการนำตัวฟ้องศาลไม่ทัน ทำให้คดีขาดอายุความ
ขณะที่แกนนำคนอื่นในเหตุการณ์เดียวกันโดนยื่นฟ้องถ้วนหน้า
ล่าสุดเมื่อ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา นายสุภรณ์จัดงานรับคืนป้ายหมู่บ้านเสื้อแดงภาคอีสาน 20 จังหวัด
พร้อมมอบป้ายเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนคนท้องถิ่น เรารักประเทศไทย ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ เป็นการทดแทนให้ชาวบ้าน
ทั้งหมดเป็นคดีจากสองกลุ่มฟากฝั่งที่มีอุดมการณ์แนวคิดทางการเมืองในลักษณะคู่ขนาน
และมีบทสรุปจากคดีการชุมนุมทางการเมืองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2563