วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ธิดา ถาวรเศรษฐ : เปรียบเทียบเผด็จการทหารไทย-พม่า! [“เผด็จการจารีตชาตินิยม” กับ “เผด็จการชาตินิยม”]

 

เพราะฉะนั้น “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” แต่พม่าไม่มีพระมหากษัตริย์ จึงมีแต่ปัญหาชนชาติกับศาสนาเป็นหลัก ของเรา “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” มาตั้งแต่สมัย ร.6 ซึ่งความจริงมันก็ไม่น่าจะเสียหายถ้าเราปรับให้เห็นว่า ชาติ หมายถึงประชาชนด้วย ชาติก็ไม่ใช่จารีตนิยม ศาสนาก็ต้องไม่ใช่จารีตนิยม คือคุณเปลี่ยนอย่างอื่นไม่ได้เลย คุณไม่สามารถปรับความเข้าใจในเรื่องศาสนา คุณไม่สามารถปรับให้ลัทธิเสรีนิยมคือคนต่างความคิดได้ ต่างความเชื่อได้ ตีความศาสนาแตกต่างกันได้ อันนี้ถ้าเป็นจารีตนิยมก็จะไม่ยอมรับ

 

ถ้าคุณเป็นเถรวาท ต้องเป็นเถรวาทแบบโบราณ ตีความพระไตรปิฏกก็ต้องแปลตรง ๆ อย่างเดียว ไม่สามารถที่จะตีความแตกต่างไปจากอาจารย์รุ่นก่อนได้ นี่ยกตัวอย่างเป็นต้น

 

แล้วในกรณีของพระมหากษัตริย์ ถ้าคุณคิดแบบจารีตนิยม มันก็เหมือนสมัยราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คุณไม่ได้ปรับให้เข้ามาสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจจริง คุณไม่ได้ปรับให้มาสู่ระบอบประชาธิปไตยและแนวความคิดเสรีนิยม ซึ่งอนุญาตให้คนคิดแตกต่างกันได้แล้วอยู่ด้วยกันได้ คุณไม่ได้ปรับให้เข้ากับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือแม้กระทั่งกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางศาสนา สังคม ไม่มีปรับเลย จะอยู่แบบโบราณ นี่คือลักษณะจารีตนิยมของทหารไทยและของคนไทยจำนวนหนึ่ง

 

ดังนั้น ทหารไทย เผด็จการไทย จึงต่างกับเผด็จการพม่าตรงที่ว่า พ่วงจารีตนิยมเข้ามาเป็นข้ออ้างมากมาย ดิฉันไม่อยากพูดเรื่องผลประโยชน์นะ เพราะว่าดิฉันก็ข้องใจเหมือนกันว่านายทหารจำนวนมากทำไมถึงมีทรัพย์สินมากมาย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกิจใด ๆ เรื่องนี้พักเอาไว้ก่อน!

 

ของทหารพม่า ผลประโยชน์มีชัดเจน เห็นชัดเพราะว่าเขาเพิ่งทำรัฐประหารมา 2 ครั้ง นี่เป็นครั้งที่ 3 ดังนั้นโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจมันชัดเจน แต่ของเราโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจอาจไม่ชัด แต่จะอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า? อันนั้นเป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้าต่อไป

 

สิ่งที่แตกต่างนั่นก็คือ ทหารไทย เผด็จการไทยนั้น ได้พ่วงเอาความคิดจารีตนิยม พ่วงเอาเครือข่ายของจารีตนิยมเข้ามา ทั้งสนับสนุนตัวเอง ทั้งอ้างเป็นเหตุผลในการที่จะยังคงรักษาอำนาจนี้อยู่ เพื่อทั้งเครือข่ายจารีตนิยมและเพื่อทั้งตนเองหรือเปล่า?

นี่จึงเป็นเรื่องที่ว่าเป็นความแตกต่างระหว่างทหารไทยกับทหารพม่า บางคนบอกทหารพม่าไม่ซับซ้อน ทหารไทยซับซ้อนกว่า ความจริงความซับซ้อนไม่ได้อยู่ตรงไหน ก็อยู่ตรงที่ว่า อ้างสถาบัน อ้างความคิดจารีตนิยมว่าตัวเองทำเพื่อสิ่งนั้น หรือที่แท้จริงจะอ้างเอาสิ่งนั้นเพื่อมาค้ำจุนตัวเองหรือเปล่า? อันนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องพิจารณาต่อไป

 

แต่ด้วยความแตกต่างระหว่างทหารสองประเทศนี้ เราจึงเห็นว่าผู้สนับสนุนของทหารไทยนั้น ถ้าเป็นพวกจารีตนิยม (สลิ่มทั้งหลาย) ก็จะเป็นผู้สนับสนุนทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชน เอ็นจีโอ ชนชั้นกลาง และชนชั้นนำ ดังนั้น ทหารไทยจึงไม่ธรรมดา เพราะจะมีองค์ประกอบมากมาย

 

แต่ทหารพม่าไม่ต้องมีองค์ประกอบ  เป็นทหารล้วน ๆ เลย นี่คือความแตกต่างระหว่างทหารไทยกับทหารพม่า แล้วเรามาพบกันเรื่องของประชาชนไทยกับประชาชนพม่าในคราวต่อไปค่ะ อ.ธิดากล่าวในที่สุด