วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรียื่นหนังสือนายกฯ เรียกร้องรัฐเยียวยาผลกระทบโควิดถ้วนหน้า

 


กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรียื่นหนังสือนายกฯ เรียกร้องรัฐเยียวยาผลกระทบโควิดถ้วนหน้า 


วันนี้ ( 1 ก.พ. 64 ) เวลา 10.20 น. ที่หน้าทำเนียบ นำโดย น.ส.ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี พร้อมตัวแทนจากอีกหลากหลายกลุ่ม เดินทางมายังบริเวณด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก แขวงและเขตดุสิต กรุงเทพฯ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล


เพื่อทวงถามมาตรการเยียวยา เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการความผิดพลาดของรัฐบาลที่ไม่สามารถเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการควบคุมโรคระบาด พร้อมกับพยุงความเป็นอยู่และปากท้องของประชาชนเอาไว้ได้


โดยเฉพาะกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ เรียกร้องปัญหาเวลาการทำงาน,จัดหาชุดอุปกรณ์ป้องกันโรค,ค่าตอบแทน,เงินเยียวยา ขณะที่กลุ่มสหพันธ์แรงงานนอกระบบ สะท้อนปัญหาโครงการคนละครึ่ง 

.

นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาอื่น เช่น ต้องจัดให้มีเงินอุดหนุนเด็กถ้วนหน้า 0-6 ปี, แก้ไขปัญหาการสั่งปิดศูนย์เลี้ยงเด็กในช่วง Covid-19, ยกเลิกกฎหมายเอาผิดผู้หญิงที่ทำแท้ง

.

น.ส.ธนพร ระบุว่า รัฐบาลกลับมีมาตรการเยียวยาผู้เดือดร้อนเพียงบางส่วน เหมือนกับให้ประชาชนชิงโชค แย่งกันรับสวัสดิการ โดยไม่พิจารณาข้อเท็จจริงจากผู้ที่มีความเดือดร้อน โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาลหญิงที่ต้องทำงานหนักโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน รวมไปถึงกรณีที่ไม่มีสามีและลูก จึงถูกขอร้องให้ทำงานล่วงเวลาในช่วงโรคระบาดโควิด-19


โดยทางกลุ่มฯ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาประชาชนอย่างถ้วนหน้า โดยจ่ายเป็นเงินสด เพื่อให้สะดวกต่อการเข้าถึงสำหรับประชาชนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนหรืออินเทอร์เน็ต และรัฐต้องจัดหางบประมาณแผ่นดินส่วนอื่นมาเยียวยาประชาชน โดยไม่นำเงินจากกองทุนประกันสังคมมาใช้เด็ดขาด เพราะเงินประกันสังคมเป็นกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการใช้อยู่แล้ว รัฐต้องจัดให้มีศูนย์ลี้ยงเด็กลูกคนงานในย่านอุตสาหกรรม และชุมชน โดยไม่ต้องคำนึงถึงการมีทะเบียนบ้านในพื้นที่ พร้อมกับรัฐต้องจ่ายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า 0-6 ปี เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 นอกจากนี้ รัฐต้องมีมาตรการเรื่องการแก้ไขละเมิดสิทธิแรงงานโดยอ้างเหตุโควิด-19 เพราะที่ผ่านมา มีการเลิกจ้างผู้นำแรงงานหญิง โดยอ้างเหตุโรคระบาด เพื่อปิดบังเจตนาที่แท้จริงของนายจ้างที่ต้องการขัดขวางกระบวนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ขณะเดียวกัน รัฐต้องมีมาตรการแก้ไข ปราบปราม ป้องกันการละเมิดสิทธิแรงงานอย่างเร่งด่วน สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ ให้แรงงานทุกกลุ่มอาชีพให้ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม


ส่วนด้านกลุ่มสหพันธ์แรงงานนอกระบบประเทศไทย ตัวแทนที่ออกมาพูดทำอาชีพหาบเร่แผงลอยกล่าวถึงปัญหา ที่รัฐบาลให้ทำโครงการคนละครึ่ง โดยร้านของตนไม่สามารถขายได้เลยเพราะไม่ได้เข้าร่วมโครงการ แต่ตนก็ได้เข้าไปขอความช่วยเหลือให้ธนาคารช่วยเข้าร่วมโครงการให้ แต่เมื่อเข้าร่วมแล้วคนมาซื้อคนตนก็ไม่สามารถขายได้เพราะว่าทำไม่เป็นสุดท้ายก็ไม่ได้ขาย จึงอยากถามนายกฯว่ายุคนี้ยุคไหนยุคตาสีตาสา


นอกจากนี้ทางกลุ่มบูรณการฯ ได้แจ้งว่าจะมาตามความคืบหน้าหลังจากการยื่นหนังสือครั้งนี้และหวังว่าเรื่องที่มาร้องในวันนี้จะเขาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (อังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 )


ต่อมาทางนายประทีป กีรติเรขา ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมคณะเดินทางมารับหนังสือไว้ พร้อมรับฟังปัญหา และยืนยันจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมพิจารณาตามขั้นตอน จากนั่นทางกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีประกาศเสร็จกิจกรรม ก่อนที่ทั้งหมดจะแยกย้าย


ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องทั้งหมดในวันนี้เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องที่จะยื่นอีกครั้งในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2564


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ 


#ม็อบ1กุมภา #เยียวยาถ้วนหน้า #ราษฎร #TheRatsadon


#ไวรัสโคโรนา #ไวรัสโควิด19  #โควิด19 #COVID19 #CORONAVIRUS #เราจะฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน


ประมวลภาพ