มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
และเครือข่ายฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ หยุดค่ารถไฟฟ้า 104 บาท
สวนทางค่าแรงขั้นต่ำ ย้ำขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้
วันนี้
(8 ก.พ. 64) เวลา 10.00 น.
ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 1
อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กทม.
นางสาวกชนุช
แสงแถลง ผู้อำนวยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค
ยื่นหนังสือผ่านผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี และนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ขอให้มีคำสั่งชะลอแผนการขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
และให้กรุงเทพมหานครหยุดเรียกเก็บค่าโดยสารกับผู้บริโภคในวันที่ 16 กุมภาพันธ์
64 โดยทันที
ทางมูลนิธิผู้บริโภคให้เหตุผลของการยื่นหนังสือวันนี้ว่า
เนื่องจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะขึ้นราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็น ไม่เกิน 104 บาทตลอดสาย
ตั้งแต่ 16 ก.พ. 64 ซึ่งเป็นราคาที่สูงสวนทางกับรายได้ขั้นต่ำของคนไทย
รวมถึงจะทำให้ผู้ใช้บริการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีเสียงคัดค้านจากทั้งภาครัฐ อาทิ กระทรวงคมนาคม กมธ.คมนาคม
นักวิชาการ รวมถึงภาคประชาชน ที่ขอให้ กทม. หยุดการขึ้นราคาค่าโดยสารและนำสัญญาสัมปทานแต่ละฉบับมาพิจารณาก่อน
เพื่อความเป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ
โดยกิจกรรมวันนี้มีการปราศรัย
โดยผู้ปราศรัยกล่าวว่า การขึ้นราคาค่ารถไฟฟ้ามีผลกระทบกับประชาชน คนที่อยู่สมุทรปราการก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
ในการที่จะคัดค้านการขึ้น 104
บาท และตั้งคำถามถึงหลักการคิดคำนวณราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS
ในราคา 104 บาท ว่าคิดมาตรฐานคืออะไร
รวมทั้งยืนยันว่ารถไฟฟ้าต้องเป็นขนส่งมวลชนที่ทุกคนต้องขึ้นได้ทั้งด้านกายภาพและด้านราคา
เพราะฉะนั้นการขึ้นราคารถไฟฟ้า
104 บาท จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐต้องให้ความสนใจ
รวมทั้งประเด็นการสร้างรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ผู้ปราศรัยมีข้อกังวลว่า
หากสร้างต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงจุดคุ้มทุน
ทำให้อาจจะได้รับผลกระทบในเรื่องขาดทุนของผลประกอบการได้
ทั้งนี้
ข้อเรียกร้องของมูลนิธิและเครือข่ายฯ เสนอถึงนายกรัฐมนตรี 5 ข้อ
ดังนี้
1.
รถไฟฟ้าต้องได้รับการพัฒนาและประชาชนสามารถใช้บริการได้เพิ่มขึ้นจากราคาที่ถูกลงเนื่องจากตอนนี้มีภาวะวิกฤติมลพิษทางอากาศ
PM 2.5 รัฐการที่ควรจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้รถไฟฟ้าเพื่อลดปัญหามลภาวะไปในตัว
2.
ให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดสัมปทานต่อสาธารณะนะคะเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรผู้บริโภคจากนักวิชาการและภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตสุขภาพอนามัยจากการดำเนินการของรัฐตามมาตรา
58 และมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2560 ตอนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ความเห็นชอบ
3.
ให้ทบทวนสัญญาสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าทุกเส้นทางในปัจจุบันและสัญญาที่จะทำในอนาคตเพื่อศึกษาผลกระทบและกำหนดแนวทางให้เกิดความเป็นธรรมเรื่องราคากับผู้บริโภคที่จะทำให้เกิดการใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้นและเป็นบริการขนส่งมวลชนสำหรับทุกคนรวมถึงยกเว้นค่าแรกเข้ากรณีโดยสารรถไฟฟ้าข้ามสายพัฒนาระบบตั๋วร่วมและระบบบริการเชื่อมโยงบริการขนส่งมวลชนทุกประเภทเพื่อความสะดวกปลอดภัยของผู้บริโภคที่ใช้บริการ
4.
ส่งเสริมให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มเข้าถึงและใช้บริการได้
5.
ขอให้รัฐบาลประกาศนโยบายให้รถไฟฟ้าเป็นบริการขนส่งมวลชนที่ทุกคนต้องขึ้นได้ไม่ใช่เป็นบริการทางเลือกแต่ต้องเป็นบริการขนส่งสาธารณะโดยแท้จริง
#Uddnews #ยูดีดีนิวส์
#หยุด104บาท #หยุดกทม #รถไฟฟ้า #บีทีเอส #มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ประมวลภาพ