ยูดีดีนิวส์ : 22 พ.ค. 62 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำเฟสบุ๊คไลฟ์วันนี้ในประเด็น "5 ปีรัฐประหาร...เกมการเมืองที่เปลี่ยนไป" ซึ่งอ.ธิดากล่าวว่า
5 ปีรัฐประหารมันอยู่บนท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างการเมืองในประเทศไทยที่ยังไม่ต้องการให้ระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริงเกิดขึ้นได้
ดังนั้นความขัดแย้งหลักที่สำคัญก็คือความขัดแย้งระหว่างระบอบอำมาตยาธิปไตยคณาธิปไตยกับระบอบประชาธิปไตย เป็นความขัดแย้งระหว่างอำนาจที่เป็นเรื่องของกลุ่มอภิชนที่มีอำนาจ ขัดแย้งกันกับประชาชนที่เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ
เราจึงเห็นการรัฐประหารที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในประเทศไทย เพราะระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงมันยังไม่ได้สถาปนาในประเทศนี้ แต่ในทุกครั้งที่มีการทำรัฐประหาร ความขัดแย้งหลักอันนั้นก็อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน
คือพอเกิดทำรัฐประหาร ฝ่ายที่ทำรัฐประหารก็จะกลายเป็นความขัดแย้งหลักใหม่ขึ้นมา ซึ่งทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยกันไม่ลงตัวเพราะอำนาจไปอยู่ที่ทหารหมด นี่จึงเป็นเหตุอันหนึ่งที่ทำให้ประวัติศาสตร์ของพรรคการเมืองเก่าแก่ เช่น พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีประวัติศาสตร์ในการต่อสู้กับทหารไม่ว่าจะเป็นยุคจอมพล ป. ยุคจอมพลถนอม จนกระทั่งถึงยุครสช. ปี 35
เมื่อย้อนกลับมาดูสถานการณ์ 10 ปีที่ผ่านมาหลังการต่อสู้ของประชาชนในปี 35 ทำให้ประหนึ่งเหมือนประเทศไทยกำลังเดินอยู่บนเส้นทางของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ทำให้หลายคนคิดว่าการเมืองนั้นเปลี่ยนไป โดยที่ไม่ได้เข้าใจว่าปัญหาระหว่างอำมาตยาธิปไตยคณาธิปไตยที่ขัดแย้งกับประชาชนนั้นยังดำรงอยู่
หลายคนคิดว่านี่เป็นระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบที่ถาวรแล้ว กลายเป็นว่าเอาความขัดแย้งในช่วง 10 ปีนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างการเมืองของทุนสามานย์กับกลุ่มคนดี อำมาตย์ขุนนาง ปัญญาชนขุนนางและคนชั้นนำอนุรักษ์นิยมจำนวนหนึ่ง
ดิฉันจำเป็นต้องพูดถึงประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย เพราะขณะนี้เป็นตัวละครสำคัญในการที่จะทำให้อนาคตการเมืองประเทศไทยต่อไปเป็นอย่างไร?
เพราะฉะนั้นความขัดแย้งในทัศนะของคนในพรรคประชาธิปัตย์, มวลชนและปัญญาชนขุนนางจำนวนหนึ่งก็มองว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างทุนสามานย์หรือพรรคไทยรักไทย ส่วนหนึ่งอ้างว่าขัดแย้งกันกับคนดีและคนจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นคนชั้นกลางบนขึ้นไป เพราะมองเห็นว่าพรรคไทยรักไทยครองใจของมวลชนรากหญ้าและได้คะแนนนำ ดังนั้นในสายตาของคนในพรรคอนุรักษ์นิยมแบบพรรคประชาธิปัตย์ ทุนสามานย์และพรรคไทยรักไทยกลายเป็นคู่ขัดแย้งจริงถาวร
เมื่อมาถึง 5 ปีรัฐประหาร เกมการเมืองที่เปลี่ยนไปในทัศนะของดิฉัน นั่นก็คือ คสช.ซึ่งอยู่มาได้จนถึง 5 ปี คสช.และคณะรัฐประหารจะไม่ใช่เครื่องมือของกลุ่มอมาตย์หรือพรรคอนุรักษ์นิยมพลเรือนอีกต่อไป เพราะคสช.เลือกจะเป็นนายกฯ เอง และตัดสินใจอยู่ต่อยาว ขณะนี้ทอดยาวถึง 20 ปี
ถามว่าฝ่ายพลเรือนอนุรักษ์นิยม (เช่น พรรคประชาธิปัตย์) ที่ไม่ได้ผลประโยชน์กับคสช.จะทำอย่างไร?
ในตอนต้นเราจะไม่รู้สึกแปลกว่าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกว่าจำนวนไม่ใช่น้อยที่สนับสนุนและทำให้เกิดการทำรัฐประหาร และสนับสนุนให้ต่อท่ออำนาจอยู่ต่อ แต่ประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่งมีประวัติศาสตร์ในการต่อสู้กับเผด็จการทหารและได้รับชัยชนะ
ทุกครั้งที่เผด็จการทหารลงไป ประชาธิปัตย์จะได้รับชัยชนะ แต่ไม่ใช่ครั้งนี้!!!
เกมการเมืองที่เปลี่ยนไปในทัศนะของดิฉันก็คือ พรรคที่ถือว่าตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย (เพื่อไทย, อนาคตใหม่, เสรีรวมไทย, เพื่อชาติ, ประชาชาติ, เศรษฐกิจใหม่) ได้กำหนดเกมการเมืองแบบเดียวกับการต่อสู้ประชาชน คือถือว่าการสืบทอดอำนาจคสช.เป็นปัญหาความขัดแย้งหลัก
คำถามว่าประชาธิปัตย์จะอยู่ตรงไหน?
ที่แล้วมามีปัญหาภายใน
มีส่วนหรือเปล่าที่ทำให้เกิดรัฐประหาร (ไปตอบเอาเอง)
มีส่วนให้เขายึดอำนาจ
มีส่วนให้เขายืด...อยู่ต่อ
แล้วนี่จะให้เขาอยู่ไปยาวนานถึง 20 ปีหรือเปล่า อันนี้ต้องถามพรรคประชาธิปัตย์
จากร้อยกว่าเหลือเพียงห้าสิบกว่า มันเป็นอะไรที่ตอบได้ว่า ถ้าคุณกำหนดเอาทุนสามานย์เป็นคู่ต่อสู้หลัก แล้วคุณคิดเกมนี้มาเพื่อรบกับทุนสามานย์ คำตอบตอนนี้คือคุณแพ้ เพราะคุณกำหนดคู่ต่อสู้ผิด!
คุณไปกำหนดเอาพรรคเพื่อไทยเป็นคู่ต่อสู้ แล้วตอนนี้ที่คุณเสียคะแนนเสียงไม่ว่าจะในกรุงเทพฯ หรือภาคใต้นั้น คุณเสียให้พรรคไหน?
คุณเสียพื้นที่ให้กับเกมจริง คือ ระหว่างสนับสนุนการสืบทอดอำนาจและไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ สามล้านเก้าแสนเสียงที่ประชาธิปัตย์ได้มา อย่างไรก็ตามก็มาจากคำพูดและความเชื่อมั่นในนนายอภิสิทธิ์ที่บอกว่า "ไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์" แต่คนที่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจเขาไปหมดแล้ว
ดังนั้นเกมการเมืองได้เปลี่ยนไปแล้วว่าคุณจะเอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ"
ประชาธิปัตย์ คุณยังเล่นเกมทุนสามานย์อยู่หรือเปล่า? มันสอดคล้องกับความเป็นจริงไหม? ถ้าคุณยังเล่นเกมทุนสามานย์ แปลว่าในเกมของเอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" คุณอยู่ขั้วของการเอาสืบทอดอำนาจ อ.ธิดาถามว่าอนาคตจะเหลือเท่าไหร่?
อ.ธิดาได้แสดงทัศนะว่า เอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" ตรงนี้เป็นความขัดแย้งหลักในช่วงปัจจุบันนี้ เป็นช่วงความขัดแย้งจริง คุณต้องเลือกว่าคุณจะอยู่ตรงไหน?
และในทัศนะของดิฉันคนที่อยู่ตรงกลางลำบากหมด และในความเป็นจริงไม่มีคำว่าเป็นกลาง!!
สำหรับพรรคภูมิใจไทยก็เคยอยู่ด้วยกันกับพรรคไทยรักไทย แล้วตอนพรรคพลังประชาชนพอมีการเลือกตั้งหลังจากนั้นในปี 54 ก็เหลือ 29 เสียง ทั้ง ๆ ที่ได้ตัวเด็ด ๆ จากไทยรักไทยมา ก็ถือว่าได้รับการลงโทษจนกระทั่งนายเนวินเขาเข็ดเขี้ยวกับการเมืองในช่วงเวลานั้น แต่ตอนหลังฟื้นขึ้นมาด้วยกีฬาฟุตบอล ขณะนี้นายเนวินและบุรีรัมย์ก็กลายเป็นกำลังสำคัญเป็นตัวหลักเป็นฐานที่มั่นสำคัญของพรรคภูมิใจไทย
ตัวนายอนุทินดูเหมือนไม่ขัดแย้งกับใครสักเท่าไหร่ แต่มันไม่ใช่นายอนุทินคนเดียว มีทั้งนายเนวินและนักการเมืองท้องถิ่นอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งขณะนี้เล่นเกมกัญชามาเป็นตัวชูโรง เพราะมองว่าถ้าไปเล่นเกมสืบทอดอำนาจไม่สืบทอดอำนาจ ตรงนั้นจะเสียเปรียบ เพราะเขาต้องการเล่นเกมเป็นรัฐบาลอย่างเดียว
ดังนั้นภูมิใจไทยจะมีลักษณะแตกต่างกับประชาธิปัตย์ ซึ่งประชาธิปัตย์ต้องคิดมาก เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เกิดขึ้นกับการต่อสู้กับการทำรัฐประหารในอดีต แล้วต่อมาผันแปรเป็นพรรคที่ต่อสู้กับทุนสามานย์
ประชาธิปัตย์ต้องเลือกว่าจะเล่นเกมเป็นศัตรูกับทุนสามานย์ต่อ หรือเล่นเกมตามความเป็นจริงว่า เอาหรือไม่เอาการสืบทอดอำนาจ
ขณะนี้เกมการเมืองที่เปลี่ยนไปเป็นเกมว่า เอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" ภูมิใจไทย-ประชาธิปัตย์-ชาติไทยพัฒนา คุณต้องวางบทบาทของคุณให้ชัดว่าเอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" ไม่ใช่ เอาเป็นรัฐบาล หรือไม่เป็นรัฐบาล
เพราะการเมืองไทยปัจจุบันนี้คุณต้องตอบประชาชน และประชาชนก็กำลังมองว่าคุณจะเอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" เพราะนั่นคืออนาคตของพรรคคุณ
ถ้าไม่ทำจุดยืนให้ชัดเจน ไม่วางอุดมการณ์ให้ชัดเจน ในอนาคตจะไม่มีที่ยืน
เมื่อย้อนกลับมาดูสถานการณ์ 10 ปีที่ผ่านมาหลังการต่อสู้ของประชาชนในปี 35 ทำให้ประหนึ่งเหมือนประเทศไทยกำลังเดินอยู่บนเส้นทางของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ทำให้หลายคนคิดว่าการเมืองนั้นเปลี่ยนไป โดยที่ไม่ได้เข้าใจว่าปัญหาระหว่างอำมาตยาธิปไตยคณาธิปไตยที่ขัดแย้งกับประชาชนนั้นยังดำรงอยู่
หลายคนคิดว่านี่เป็นระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบที่ถาวรแล้ว กลายเป็นว่าเอาความขัดแย้งในช่วง 10 ปีนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างการเมืองของทุนสามานย์กับกลุ่มคนดี อำมาตย์ขุนนาง ปัญญาชนขุนนางและคนชั้นนำอนุรักษ์นิยมจำนวนหนึ่ง
ดิฉันจำเป็นต้องพูดถึงประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย เพราะขณะนี้เป็นตัวละครสำคัญในการที่จะทำให้อนาคตการเมืองประเทศไทยต่อไปเป็นอย่างไร?
เพราะฉะนั้นความขัดแย้งในทัศนะของคนในพรรคประชาธิปัตย์, มวลชนและปัญญาชนขุนนางจำนวนหนึ่งก็มองว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างทุนสามานย์หรือพรรคไทยรักไทย ส่วนหนึ่งอ้างว่าขัดแย้งกันกับคนดีและคนจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นคนชั้นกลางบนขึ้นไป เพราะมองเห็นว่าพรรคไทยรักไทยครองใจของมวลชนรากหญ้าและได้คะแนนนำ ดังนั้นในสายตาของคนในพรรคอนุรักษ์นิยมแบบพรรคประชาธิปัตย์ ทุนสามานย์และพรรคไทยรักไทยกลายเป็นคู่ขัดแย้งจริงถาวร
เมื่อมาถึง 5 ปีรัฐประหาร เกมการเมืองที่เปลี่ยนไปในทัศนะของดิฉัน นั่นก็คือ คสช.ซึ่งอยู่มาได้จนถึง 5 ปี คสช.และคณะรัฐประหารจะไม่ใช่เครื่องมือของกลุ่มอมาตย์หรือพรรคอนุรักษ์นิยมพลเรือนอีกต่อไป เพราะคสช.เลือกจะเป็นนายกฯ เอง และตัดสินใจอยู่ต่อยาว ขณะนี้ทอดยาวถึง 20 ปี
ถามว่าฝ่ายพลเรือนอนุรักษ์นิยม (เช่น พรรคประชาธิปัตย์) ที่ไม่ได้ผลประโยชน์กับคสช.จะทำอย่างไร?
ในตอนต้นเราจะไม่รู้สึกแปลกว่าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกว่าจำนวนไม่ใช่น้อยที่สนับสนุนและทำให้เกิดการทำรัฐประหาร และสนับสนุนให้ต่อท่ออำนาจอยู่ต่อ แต่ประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่งมีประวัติศาสตร์ในการต่อสู้กับเผด็จการทหารและได้รับชัยชนะ
ทุกครั้งที่เผด็จการทหารลงไป ประชาธิปัตย์จะได้รับชัยชนะ แต่ไม่ใช่ครั้งนี้!!!
เกมการเมืองที่เปลี่ยนไปในทัศนะของดิฉันก็คือ พรรคที่ถือว่าตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย (เพื่อไทย, อนาคตใหม่, เสรีรวมไทย, เพื่อชาติ, ประชาชาติ, เศรษฐกิจใหม่) ได้กำหนดเกมการเมืองแบบเดียวกับการต่อสู้ประชาชน คือถือว่าการสืบทอดอำนาจคสช.เป็นปัญหาความขัดแย้งหลัก
คำถามว่าประชาธิปัตย์จะอยู่ตรงไหน?
ที่แล้วมามีปัญหาภายใน
มีส่วนหรือเปล่าที่ทำให้เกิดรัฐประหาร (ไปตอบเอาเอง)
มีส่วนให้เขายึดอำนาจ
มีส่วนให้เขายืด...อยู่ต่อ
แล้วนี่จะให้เขาอยู่ไปยาวนานถึง 20 ปีหรือเปล่า อันนี้ต้องถามพรรคประชาธิปัตย์
จากร้อยกว่าเหลือเพียงห้าสิบกว่า มันเป็นอะไรที่ตอบได้ว่า ถ้าคุณกำหนดเอาทุนสามานย์เป็นคู่ต่อสู้หลัก แล้วคุณคิดเกมนี้มาเพื่อรบกับทุนสามานย์ คำตอบตอนนี้คือคุณแพ้ เพราะคุณกำหนดคู่ต่อสู้ผิด!
คุณไปกำหนดเอาพรรคเพื่อไทยเป็นคู่ต่อสู้ แล้วตอนนี้ที่คุณเสียคะแนนเสียงไม่ว่าจะในกรุงเทพฯ หรือภาคใต้นั้น คุณเสียให้พรรคไหน?
คุณเสียพื้นที่ให้กับเกมจริง คือ ระหว่างสนับสนุนการสืบทอดอำนาจและไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ สามล้านเก้าแสนเสียงที่ประชาธิปัตย์ได้มา อย่างไรก็ตามก็มาจากคำพูดและความเชื่อมั่นในนนายอภิสิทธิ์ที่บอกว่า "ไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์" แต่คนที่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจเขาไปหมดแล้ว
ดังนั้นเกมการเมืองได้เปลี่ยนไปแล้วว่าคุณจะเอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ"
ประชาธิปัตย์ คุณยังเล่นเกมทุนสามานย์อยู่หรือเปล่า? มันสอดคล้องกับความเป็นจริงไหม? ถ้าคุณยังเล่นเกมทุนสามานย์ แปลว่าในเกมของเอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" คุณอยู่ขั้วของการเอาสืบทอดอำนาจ อ.ธิดาถามว่าอนาคตจะเหลือเท่าไหร่?
อ.ธิดาได้แสดงทัศนะว่า เอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" ตรงนี้เป็นความขัดแย้งหลักในช่วงปัจจุบันนี้ เป็นช่วงความขัดแย้งจริง คุณต้องเลือกว่าคุณจะอยู่ตรงไหน?
และในทัศนะของดิฉันคนที่อยู่ตรงกลางลำบากหมด และในความเป็นจริงไม่มีคำว่าเป็นกลาง!!
สำหรับพรรคภูมิใจไทยก็เคยอยู่ด้วยกันกับพรรคไทยรักไทย แล้วตอนพรรคพลังประชาชนพอมีการเลือกตั้งหลังจากนั้นในปี 54 ก็เหลือ 29 เสียง ทั้ง ๆ ที่ได้ตัวเด็ด ๆ จากไทยรักไทยมา ก็ถือว่าได้รับการลงโทษจนกระทั่งนายเนวินเขาเข็ดเขี้ยวกับการเมืองในช่วงเวลานั้น แต่ตอนหลังฟื้นขึ้นมาด้วยกีฬาฟุตบอล ขณะนี้นายเนวินและบุรีรัมย์ก็กลายเป็นกำลังสำคัญเป็นตัวหลักเป็นฐานที่มั่นสำคัญของพรรคภูมิใจไทย
ตัวนายอนุทินดูเหมือนไม่ขัดแย้งกับใครสักเท่าไหร่ แต่มันไม่ใช่นายอนุทินคนเดียว มีทั้งนายเนวินและนักการเมืองท้องถิ่นอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งขณะนี้เล่นเกมกัญชามาเป็นตัวชูโรง เพราะมองว่าถ้าไปเล่นเกมสืบทอดอำนาจไม่สืบทอดอำนาจ ตรงนั้นจะเสียเปรียบ เพราะเขาต้องการเล่นเกมเป็นรัฐบาลอย่างเดียว
ดังนั้นภูมิใจไทยจะมีลักษณะแตกต่างกับประชาธิปัตย์ ซึ่งประชาธิปัตย์ต้องคิดมาก เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เกิดขึ้นกับการต่อสู้กับการทำรัฐประหารในอดีต แล้วต่อมาผันแปรเป็นพรรคที่ต่อสู้กับทุนสามานย์
ประชาธิปัตย์ต้องเลือกว่าจะเล่นเกมเป็นศัตรูกับทุนสามานย์ต่อ หรือเล่นเกมตามความเป็นจริงว่า เอาหรือไม่เอาการสืบทอดอำนาจ
ขณะนี้เกมการเมืองที่เปลี่ยนไปเป็นเกมว่า เอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" ภูมิใจไทย-ประชาธิปัตย์-ชาติไทยพัฒนา คุณต้องวางบทบาทของคุณให้ชัดว่าเอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" ไม่ใช่ เอาเป็นรัฐบาล หรือไม่เป็นรัฐบาล
เพราะการเมืองไทยปัจจุบันนี้คุณต้องตอบประชาชน และประชาชนก็กำลังมองว่าคุณจะเอาหรือไม่เอา "การสืบทอดอำนาจ" เพราะนั่นคืออนาคตของพรรคคุณ
ถ้าไม่ทำจุดยืนให้ชัดเจน ไม่วางอุดมการณ์ให้ชัดเจน ในอนาคตจะไม่มีที่ยืน