วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2567

วงเสวนาในหัวข้อ “เดือนตุลานอกกระแส : บางแง่มุมของขบวนการเดือนตุลาที่ไม่เคยเห็น” วาระ 48 ปี 6 ตุลา


 วงเสวนาในหัวข้อ “เดือนตุลานอกกระแส : บางแง่มุมของขบวนการเดือนตุลาที่ไม่เคยเห็น” วาระ 48 ปี 6 ตุลา 


เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ เครือข่ายนักศึกษาจัดงานรำลึกครบรอบ 48 ปี 6 ตุลาฯ 2519 ร่วมกับ ชมรมโดมรวมใจ จัดงานรำลึกครอบรอบ “6 ตุลาฯ กระจกส่องสังคมไทย” ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคมนี้


บรรยากาศเวลา 13.00 น. มีการเสวนาในหัวข้อ “เดือนตุลานอกกระแส : บางแง่มุมของขบวนการเดือนตุลาที่ไม่เคยเห็น” โดย นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน และผู้ริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย, นพ.เหวง โตจิราการ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), และนางพรพิมล โรจนโพธิ์ นักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา ดำเนินรายการโดย ธีรภพ เต็งประวัติ


ในช่วงท้าย นพ.เหวงกล่าวว่า ในการเคลื่อนไหวเราต้องค้นหาความขัดแย้งของสังคมให้เจอ และต้องรู้ว่าใครคือ มิตรและศัตรู อย่าผลักมิตร แต่ต้องรู้เป้าหมายและปฏิปักษ์


วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ไม่มีสงครามเย็น ค่ายสหภาพโซเวียด หรือค่ายเสรีนิยมแล้ว จักพรรดินิยมหายไปแล้ว หลัง 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมา ฝ่ายขวาจัด ยึดครองอำนาจรัฐมาตลอด บางครั้งใช้อำนาจในรัฐสภา บ้างก็ทหารโดยตรง


นพ.เหวงกล่าวว่า พรรคเพื่อไทย อ้างว่า มีความจำเป็นในการข้ามขั้ว เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ตุลาคม 2567 ค่าไฟยังแพงหูฉี่ ดิจิทัลวอลเล็ต ไม่รู้ว่ารายต่อไปจะแจกได้หรือเปล่า เท่ากับว่าตอนนี้บริหารโดย ‘รัฐบาลฝ่ายขวา’


“ดังนั้น ที่คุณบอกจะแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย สำหรับผมไม่เชื่อ ประเด็นสุดท้าย สำหรับผม ความขัดแย้งตอนนี้ เกิดขึ้นเพราะความต้องการอำนาจอธิปไตยให้กลับมาเป็นของประชาชนจริงๆ” นพ.เหวงกล่าว


นพ.เหวงกล่าวต่อว่า เรารำลึกมา 48 ปีแล้ว อยากเชิญชวนพี่น้องทั้งประเทศ ช่วยกันคิดว่า จะทำอย่างไรถึงจะ ‘หยุดทหารไม่ให้ฆ่าประชาชนกลางเมืองอีกต่อไป’


“พรรคเพื่อไทยทำได้เลย ตอนนี้ศาลรับฟ้องแล้ว คดีตากใบ ออกหมายจับ 7 คนแล้ว ผมชี้ทางสว่างให้คุณ พรรคเพื่อไทย ถ้าเอา 7 คนไปมอบตัวต่อศาล ประชาชนทั้งประเทศจะให้อภัยคุณ เรื่องตากใบมีเวลา 20 วัน แต่เรื่องที่จะมีเวลาอีก 6 ปี คือ วีรชนเสื้อแดง 99 ศพ


กรณี 6 ศพวัดปทุมวนาราม มีรายชื่อชัด ว่าใครยิง กรม, กองไหน มีพี่น้องเราจำนวนหนึ่งยื่นฟ้องศาลพลเรือน ปรากฏว่าให้ไปเดินเรื่องศาลทหาร ถ้าอัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้อง เรื่องก็จบเลย ดังนั้น เดินไปแบบนี้ไม่ได้ ต้องแก้กฎหมายก่อน ให้ทหารที่ฆ่าประชาชนต้องขึ้นศาลพลเรือน รวมทั้งคนสั่งด้วย นักการเมืองทั้งหลาย ต้องไม่ขึ้นศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


มี 62 ศพ ยังไม่ได้ไต่สวน รัฐบาลเพื่อไทย จะไปยากอะไร ตั้งคณะกรรมการไต่สวนอีก 62 ศพ ไม่เห็นยาก


อยากให้ เพื่อไทยกล้าๆ หน่อย เชิญคณะก่อการ ที่ยึดอำนาจสำเร็จมาดำเนินคดี ม.113 ข้อหากบฏ คมช คปค. มาดำเนินคดี ทบทวนคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ว่ายึดอำนาจสำเร็จเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ปฏิรูปโครงสร้างทหาร ห้ามใช้ทหารจัดการการชุมนุมเด็ดขาด จึงจะหยุดรัฐประหารได้โดยสิ้นเชิง ถ้าทำได้ เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะได้คะแนนอื้อซ่า ยิ่งกว่าพรรคประชาชนแน่นอน” นพ.เหวงกล่าว


ด้านนางพรพิมล กล่าวช่วงท้ายว่า “แรงงานหญิง ควรเป็นประเด็นหนึ่งที่นักกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ควรให้ความสนใจ สวัสดิการ ค่าแรง เพื่อขับเคลื่อนสวัสดิการของเด็กเล็ก และสังคม ต้องพึ่งพวกเราอีกมาก


อีกเรื่องที่น่าเข้าไปมีส่วนร่วม คือ จัดทำรายงานอนุสัญญาสตรี (ทุก 4 ปี) ซึ่งเราได้ให้การรับรองกับสหประชาชาติ ช่วงปี 2004 ก่อนทำรายงาน ได้เข้าไปหาผู้หญิงกลุ่มต่างๆ แรงงานหญิงนอกระบบ, ข้ามชาติ, ชาวเขา ที่เป็นกลุ่มรากหญ้า นอกวงความสนใจของสังคม เราไปศึกษาปัญหา ความต้องการ ทำรายงานเสนอภาครัฐ 


ขณะเดียวกัน มันก็เหมือนกับการให้คำมั่นสัญญาว่ารัฐ ต้องแก้ไขปัญหาของผู้หญิงเหล่านี้ ให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ โลกเปลี่ยนแปลงด้วยคนส่วนน้อย ที่มีความชัดเจน” 


ขณะที่นายศักดินา กล่าวโดยสรุปได้ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีการพยายามใช้ความรุนแรง แกนนำของขบวนถูกลอบยิงหลายคน หลายอย่างที่พยายามทำ ก็ถูกสกัด ผู้นำขบวนก็ถูกลอบทำร้าย ต้องตัดสินใจเข้าป่า รัฐบาลออก กฎหมาย ‘พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ปี 2518’ ที่จำกัดไม่ให้มีอำนาจต่อรอง การรวมตัวกันไม่เป็นอิสระอย่างที่เคย คนอย่าง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ก็เป็นส่วนหนึ่งของขบวน แต่กฎหมายนี้กันเขาออก ไม่สามารถเป็นสมาชิกได้ ถ้าไม่ได้เป็นลูกจ้าง


เกิดการแยกออก เป็นสถานประกอบการของใครของมัน จากแต่ก่อน รวมตัวได้หลากหลาย แม้แต่นักศึกษา ก็เข้าไปมีส่วนร่วมได้


“บทบาทหลัง 14 ตุลาฯ ไม่ใช่แค่เรื่องแรงงาน แต่ต่อสู้ประเด็นอื่นๆ ด้วย ทั้งสิ่งแวดล้อม ชาวไร่ ชาวนา แต่กฎหมายนั้นไม่อนุญาตให้ทำได้อีกแล้ว ต้องเป็นเรื่องสภาพการจ้างงานเท่านั้น คือการสกัดกั้น พอเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เกือบหลายส่วน เกือบทั้งหมด ตัดสินใจเข้าป่าเยอะ”


“สิ่งที่เราอยากส่งต่อ มรดกที่หมายมั้นปั้นมือ ไปต่อไม่ได้ เพราะถูกสกัดกั้นหลายอย่าง ตั้งเป็น ‘ไตรภาคี’ เจรจา 3 ฝ่าย ให้เข้าไปทะเลาะกัน ขบวนการหลัง 6 ตุลาฯ รัฐกำกับได้ ทำให้เล็กและไม่มีอำนาจต่อรอง ซึ่งมีน้อยมากราว 1.3 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ในสหภาพแรงงาน อำนาจต่อรองไม่มี ไม่ได้อยู่กับคนส่วนใหญ่ จึงทำให้ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น” 


  #48ปี6ตุลา ณ หอประชุมศรีบูรพา มธ.ท่าพระจันทร์


รับชมรับฟังทั้งหมดได้ที่ https://www.facebook.com/share/v/boqWC3zPeCzzJXok/


https://www.youtube.com/live/h80TxRNz-Rk?si=RuTylL68-PffadKL


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #รำลึก48ปี6ตุลา

#6ตุลากระจกส่องสังคมไทย #6ตุลา19







เครือข่ายนักศึกษา จัดงาน 48 ปี 6 ตุลาฯ คนเดือนตุลา-นักศึกษา-ปชช. ร่วมฟังเสวนา ‘หมอเหวง’ ชวนคิดทำอย่างไรถึงจะ‘หยุดทหารไม่ให้ฆ่าปชช.กลางเมืองอีกต่อไป’ ‘จาตุรนต์-สุชาติ’ ร่วมล้อมวงเล่าประสบการณ์ ก่อนรำลึกพรุ่งนี้(6 ต.ค.)

 


เครือข่ายนักศึกษา จัดงาน 48 ปี 6 ตุลาฯ คนเดือนตุลา-นักศึกษา-ปชช. ร่วมฟังเสวนา ‘หมอเหวง’ ชวนคิดทำอย่างไรถึงจะ‘หยุดทหารไม่ให้ฆ่าปชช.กลางเมืองอีกต่อไป’ ‘จาตุรนต์-สุชาติ’ ร่วมล้อมวงเล่าประสบการณ์ ก่อนรำลึกพรุ่งนี้(6 ต.ค.)


เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์เครือข่ายนักศึกษาจัดงานรำลึกครบรอบ 48 ปี 6 ตุลาฯ 2519 ร่วมกับ ชมรมโดมรวมใจ จัดงานรำลึกครอบรอบ “6 ตุลาฯ กระจกส่องสังคมไทย” ระหว่างวันที่ 5 – 6 ตุลาคมนี้ ที่หอประชุมศรีบูรพา


ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน บริเวณโถงทางขึ้นหอประชุมศรีบูรพา มีการจัดนิทรรศการ ชุดที่ 1 ‘ต่างความคิดผิดถึงตาย : บอกเล่าเรื่องราวภาพถ่ายในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มีป้ายขนาดใหญ่ที่เขียนรายชื่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ ตลอดจนหนังสือพิมพ์ และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง และสินค้าสนับสนุนการเคลื่อนไหว ขององค์กรภาคประชาสังคม ร่วมวางจำหน่ายภายในงาน


นอกจากนี้ ยังมีนักกิจกรรมจากกลุ่มต่างๆ ร่วมด้วย อาทิ กลุ่มทะลุแก๊ส ทะลุวัง ได้แก่ นายคทาธร ดาป้อม หรือ ต๊ะ, นายจิรภาส กอรัมย์ หรือ แก๊ป ทะลุแก๊ส เป็นต้น โดยติดภาพ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง กลุ่มทะลุวัง ซึ่งอดอาหารเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทางการเมือง และปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม พร้อมภาพจดหมายจากผู้ต้องหาในเรือนจำ ซึ่งขณะนี้มีผู้ต้องหาทางการเมือง ที่ไม่ได้รับสิทธิประกันตัวกว่า 40 ราย ซึ่งในปีนี้ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติให้ 'เนติพร เสน่ห์สังคม' ได้รับรางวัลจารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อประชาธิปไตย ประจำปี 2567 โดยจะมีพิธีมอบรางวัลในวันพรุ่งนี้ (6 ต.ค.67)


โดยเมื่อเวลา 12.20 น. ที่หอประชุมศรีบูรพา มีการฉายภาพยนตร์สารคดี “ต่างความคิดผิดถึงตาย” เนื้อหากล่าวถึงและไทม์ไลน์ของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519


ต่อเวลา 13.00 น. ที่หอประชุมศรีบูรพา มีการเสวนา ในหัวข้อ “เดือนตุลานอกกระแส : บางแง่มุมของขบวนการเดือนตุลาที่ไม่เคยเห็น” โดย นพ.เหวง โตจิราการ อดีตแกนนำ นปช. นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน และผู้ริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และ นางพรพิมล โรจนโพธิ์ นักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ


โดยนพ.เหวง กล่าวในช่วงท้ายของการเสวนาว่า เรารำลึกกันมา 48 ปีแล้ว อยากเชิญชวนพี่น้องทั้งประเทศ ช่วยกันคิดว่า จะทำอย่างไรถึงจะ ‘หยุดทหารไม่ให้ฆ่าประชาชนกลางเมืองอีกต่อไป’


“พรรคเพื่อไทยทำได้เลย ตอนนี้ศาลรับฟ้องแล้ว คดีตากใบ ออกหมายจับ 7 คนแล้ว ผมชี้ทางสว่างให้คุณ พรรคเพื่อไทย ถ้าเอา 7 คนไปมอบตัวต่อศาล ประชาชนทั้งประเทศจะให้อภัยคุณ เรื่องตากใบมีเวลา 20 วัน แต่เรื่องที่จะมีเวลาอีก 6 ปี คือ วีรชนเสื้อแดง 99 ศพ


กรณี 6 ศพวัดปทุมวนาราม มีรายชื่อชัด ว่าใครยิง กรม, กองไหน มีพี่น้องเราจำนวนหนึ่งยื่นฟ้องศาลพลเรือน ปรากฏว่าให้ไปเดินเรื่องศาลทหาร ถ้าอัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้อง เรื่องก็จบเลย ดังนั้น เดินไปแบบนี้ไม่ได้ ต้องแก้กฎหมายก่อน ให้ทหารที่ฆ่าประชาชนต้องขึ้นศาลพลเรือน รวมทั้งคนสั่งด้วย นักการเมืองทั้งหลาย ต้องไม่ขึ้นศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


มี 62 ศพ ยังไม่ได้ไต่สวน รัฐบาลเพื่อไทย จะไปยากอะไร ตั้งคณะกรรมการไต่สวนอีก 62 ศพ ไม่เห็นยาก


อยากให้ เพื่อไทยกล้า ๆ หน่อย เชิญคณะก่อการ ที่ยึดอำนาจสำเร็จมาดำเนินคดี ม.113 ข้อหากบฏ คมช คปค. มาดำเนินคดี ทบทวนคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ว่ายึดอำนาจสำเร็จเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ปฏิรูปโครงสร้างทหาร ห้ามใช้ทหารจัดการการชุมนุมเด็ดขาด จึงจะหยุดรัฐประหารได้โดยสิ้นเชิง ถ้าทำได้ เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะได้คะแนน ยิ่งกว่าพรรคประชาชนแน่นอน” 


ต่อมาเวลา 15.00 น. มีการฉายภาพยนตร์สารคดีด้วยความนับถือ (Respectfully yours) หนังสารคดี “ด้วยความนับถือ” (Respectfully Yours) ถูกจัดทำขึ้นในโอกาสครบรอบ 40 ปี 6 ตุลา ต่อมาเวลา 15.30 น. มีการฉายภาพยนตร์สารคดีอย่าลืมฉัน (Don’t Forget Me) หนังสั้นที่ได้รางวัลรัตน์ เปสตันยีในปี 2546


ต่อมาเวลา 16.00 - 17.00 น. มีการแสดงดนตรีโดยรวมพลคนเพลง 6 ตุลาฯ โดย วงดาวเหนือ กับมิตรสหาย และวงริมทาง 


ทั้งนี้เวลา 15.00 น. ที่โถงชั้นล่าง มีการเปิดวงร่วมพูดคุยและฟังเรื่องราวของผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในกิจกรรม Human Library ท่ามกลางบุคคลที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวในช่วงเวลานั้น มาร่วมล้อมวงบอกเล่าและพูดคุยประสบการณ์ของตัวเอง โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มต่างๆ ตามหัวข้อ ดังนี้


กลุ่มที่ 1 นักเรียน นำโดย มนัส จินตนะดิลกกุล นักเรียนสวนกุหลาบฯ ผู้ก่อตั้งยุวชนสยาม (2515), พลากร จิรโสภณ เลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย (ปลายปี 2516-เมษายน 2517)


กลุ่มที่ 2 นิสิตนักศึกษา นำโดย สิตา การย์เกรียงไกร ประธานสภาตุลาการองค์การมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2519, จาตุรนต์ ฉายแสง นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2519, ชูศิลป์ วะนา ประธานพรรคสัจจธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 2519


กลุ่มที่ 3 ผู้ทำงานด้านดนตรี/ศิลปะ นำโดย นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ นักดนตรีวงต้นกล้า


กลุ่มที่ 4 พรรคการเมือง นำโดย ประยงค์ มูลสาร สส.พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย (2518)


กลุ่มที่ 5 ผู้ผลักดันสิทธิสตรี นำโดย สุนี ไชยรส, เนตรนภา ขุมทอง นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยพยาบาลเพื่อมวลชนในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ


กลุ่มที่ 6 คนทำงานหนังสือ นำโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี นักเขียนชมรมพระจันทร์เสี้ยว บรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์, กมล กมลตระกูล สมาชิกสภาหน้าโดม กองบรรณาธิการวารสารวรรณกรรมเพื่อชีวิตและวารสารชาวบ้าน


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #รำลึก48ปี6ตุลา #6ตุลากระจกส่องสังคมไทย #6ตุลา19




ศปช.ส่วนหน้า เร่งระดมกำลังจนท.พร้อมเครื่องจักรกล ช่วยเหลือประชาชน นักท่องเที่ยว และสัตว์ต่าง ๆ

 


ศปช.ส่วนหน้า เร่งระดมกำลังจนท.พร้อมเครื่องจักรกล ช่วยเหลือประชาชน นักท่องเที่ยว และสัตว์ต่าง ๆ


เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 เวลา 12.00 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ได้สั่งการให้ นางสาว ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผอ. ศปช.(ส่วนหน้า) และพลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ปรึกษา ศปช. (ส่วนหน้า) เร่งเดินทางไปยังพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อบัญชาการเหตุการณ์สถานการณ์อุทกภัยในหมู่บ้านปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 


ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์อยู่ในภาวะวิฤต โดย ผอ. ศปช.(ส่วนหน้า) และที่ปรึกษา ศปช. (ส่วนหน้า) ได้สั่งการให้หน่วยทหาร ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระดมกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย เข้าเผชิญเหตุทันที เพื่อช่วยเหลือประชาชน นักท่องเที่ยว และช้าง ที่ประสบภัยภายในมูลนิธิช้างและสิ่งแวดล้อมแม่แตง 


โดยได้เคลื่อนย้ายช้างขึ้นที่สูงแล้ว เหลือเพียงบ้างส่วนที่ยังเคลื่อนย้ายออกมาไม่ได้ เนื่องจากเป็นช้างที่มีความดุ ซึ่งได้ประสานผู้เชียวชาญด้านช้างเข้าให้การช่วยเหลือ พร้อมทั้งสั่งการให้ ปภ. จัดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ เพื่ออำนวยการ สั่งการ และประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย รวมถึงให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอำเภอแม่แตง จำนวน 2 จุด ได้ แก่ บริเวณวัดแม่ตะมาน และวัดเมืองกื้ด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามพยากรณ์


สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ คาดการณ์ว่าคืนนี้เวลาประมาณ 01.00-02.00 น. ระดับน้ำ ณ สะพานนวรัฐ (P1) จะสูงขึ้นอยู่ที่ระดับประมาณ 5.20 เมตร (ซึ่งระบบป้องกันน้ำท่วมสามารถป้องกันได้อยู่ที่ 4.20 ม. เกิน 1 เมตร) โดยได้ประสานการปฏิบัติร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ยกระดับการเผชิญเหตุ ขั้นสูงสุดของจังหวัดตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย และให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ที่ได้จัดเตรียมไว้ และให้ประชาชนเคลื่อนย้ายรถยนต์ จักรยายนต์ ไปจอดในที่ปลอดภัย และให้ยกของขึ้นสู่ที่สูง


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #น้ำท่วม67 #น้ำท่วมเชียงใหม่





วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2567

“กัณวีร์” จี้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงถึง ใบลาประชุมสภาฯยาว “พล.อ.พิศาล” หลังศาลรับฟ้องคดีตากใบเพียง 3 วัน ถามคนอนุญาติให้ลารู้เห็นเป็นใจหรือไม่ !!

 


“กัณวีร์” จี้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงถึง ใบลาประชุมสภาฯยาว “พล.อ.พิศาล” หลังศาลรับฟ้องคดีตากใบเพียง 3 วัน ถามคนอนุญาติให้ลารู้เห็นเป็นใจหรือไม่ !!


วันที่ 4 ตุลาคม 2567 นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม โพสขอความผ่านเพจเฟสบุ๊ค เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลออกหมายจับ พล.อ.พิศาล วัฒนวงศ์คีรี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในคดีตากใบ ที่จะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ โดยตั้งคำถามถึงใบลาการประชุมสภาฯยาว วันที่ 26 ส.ค. - 30 ต.ค. 67 หลังศาลรับฟ้องคดีตากใบเพียง 3 วัน ว่าคนลา-คนอนุญาติ รู้เห็นเป็นใจหรือไม่ !! โดยมีใจความทั้งหมดว่า 


ตกใจมากสำหรับกรณี พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตเม่ทัพภาค 4 ที่ ณ ปัจจุบันถูกออกหมายจับโดยศาลนราธิวาสเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 67 เรื่องมันเริ่มคลี่คลายจากภาพที่ดูซับซ้อนของการหายตัวไปของ พล.อ.พิศาลฯ จำเลยที่ 1 คดีตากใบ !!


ดู timeline แล้วคงต้องมีคนรับผิดชอบในกรณีดังกล่าว และหากเป็นคนที่อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติแล้วจะไม่สามารถแก้ตัวได้เพราะมันเป็นเรื่องของกฎหมายที่พวกเราต้องเคารพและเทิดทูนในการทำงาน


เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 67 ศาลจังหวัดนราธิวาส มีคำสั่งรับฟ้องคดีอาญาตากใบ จำเลยรวม 7 คน และ 1 ในนั้นคือ พล.อ.พิศาลฯ ในข้อหา ฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่าผู้อื่นและร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว ซึ่งครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ 48 ราย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส


พล.อ.พิศาลฯ ขอลาช่วงสมัยการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรระหว่างวันที่ 26 ส.ค. - 30 ต.ค. 67 ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพที่ต้องไปรักษาในต่างประเทศ หมอไทยเอาไม่อยู่ ?!?!


จึงถึงบางอ้อว่าทำไมหา พล.อ.พิศาลฯ ไม่เจอ !! ไปตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค.67 แล้ว คำถามว่าไปไหนคงไม่สำคัญ แต่คำถามที่สำคัญที่สุด คือ “ใครให้ไป ใครอนุญาตให้ไป เพราะถือว่ายังเป็น สส. ที่ต้องทำหน้าที่รับใช้ประชาชน ??” การอ้างเหตุผลด้านการแพทย์ และต้องออกนอกประเทศหลังศาลนราธิวาสรับฟ้อง 3 วัน มันฟังขึ้นมั้ย ?? ก่อนหน้าที่ศาลจะรับฟ้อง ทำไมท่านยังอยู๋ในสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ปกติ?? 


คดีจะหมดอายุความวันที่ 25 ต.ค.67 นี้ ชั้นแรกของความยากในการดำเนินคดีพวก สส.คือมีเอกสิทธิ์ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในช่วงเปิดสมัยประชุมสภา แต่ก็มีคำชี้แจงจากท่านเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่าจาก รธน.ปี 60 สามารถดำเนินคดีได้ไม่มีเอกสิทธิ์ใดๆ งั้นสามารถจับกุมดำเนินคดีได้ !!


ตอนนี้มีการอนุญาตให้พักไปรักษาตัว ได้ข่าวว่าไปต่างประเทศ และอนุญาตหลังศาลรับฟ้องเพียงสามวัน และยาวไปถึง 30 ต.ค.67 หลังคดีหมดอายุความ ?!?!


คำถามของสังคม คือ ผู้อนุญาตให้ไปต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ เพราะเป็นคดีสำคัญที่ญาติผู้ได้รับความเสียหายรอคอยมา 20 ปี สังคมสาธารณะทั้งในและต่างประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะถือว่าเป็นเสมือนการฆาตรกรรมหมู่ !!


การอนุมัติการลาสมัยประชุมสภาฯ นั้นทางปฏิบัติคือ ท่านรองประธานสภาคนที่ 1 โดยการมอบหมายของท่านประธานสภาฯ เรื่องนี้ทั้งขึ้นทั้งร่องครับ ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าเรื่องใหญ่ขนาดนี้ปล่อยไปได้ยังไง?? เต็มที่ก็ต้องให้ พล.อ.พิศาลฯ ลาออกไปก่อนหากจะปล่อยไปอย่างนี้ ไม่งั้นหลัง 25 ต.ค.67 คดีหมดอายุความ ก็สามารถกลับมาทั้งเป็นผู้แทนตามเดิม เข้าประชุมตามเดิม และที่สำคัญญาติผู้เสียชีวิตก็เจ็บปวดรวดร้าวตามเดิมและสร้างรอยแผลให้บาดลึกลงไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการกระทำครั้งนี้ของฝ่ายนิติบัญญัติ


บาดแผลครั้งนี้ถูกเปิดให้กว้างโดยฝ่ายปฏิบัติ ละเลงความเจ็บปวดโดยฝ่ายบริหาร และทำให้บาดแผลมันไม่มีทางสมานได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติ !!


ทุกท่านที่เกี่ยวข้องต้องออกมาชี้แจงและรับผิดชอบต่อการกระทำครับ


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #กัณวีร์ #พรรคเป็นธรรม #คดีตากใบ #พลเอกพิศาล

จม.จากแดน 4 "อานนท์" เขียนถึงลูก "การเกรงใจ เกรงกลัวศาล พ่อไม่เรียกว่าเป็นการเคารพต่อศาล การต่อสู้อย่างเต็มที่ โต้เถียงอย่างเต็มที่ต่างหาก ที่เรียกว่าการเคารพศาล เคารพต่อวิชาชีพที่แท้จริง ชีวิตที่เหลือของพ่อก็ขออุทิศให้กับสิ่งนี้ สิ่งที่เรียกว่า ทนายความ"

 


จม.จากแดน 4 "อานนท์" เขียนถึงลูก "การเกรงใจ เกรงกลัวศาล พ่อไม่เรียกว่าเป็นการเคารพต่อศาล การต่อสู้อย่างเต็มที่ โต้เถียงอย่างเต็มที่ต่างหาก ที่เรียกว่าการเคารพศาล เคารพต่อวิชาชีพที่แท้จริง ชีวิตที่เหลือของพ่อก็ขออุทิศให้กับสิ่งนี้ สิ่งที่เรียกว่า ทนายความ"


วันนี้ (4 ตุลาคม 2567) เพจเฟสบุ๊ค “อานนท์ นำภา” โพส ข้อความจดหมายฉบับวันที่ 2 ต.ค. 67 โดยมีใจความว่า


2 ตุลาคม 2567 ถึงเรือนจำค่ำมืดกว่าจะได้อาบน้ำก็สองทุ่ม นั่งเขียนจดหมายถึงลูกทั้งสอง ด้วยกำลังเฮือกสุดท้ายของวัน เช้าวันนี้เป็นเช้าที่พ่อดีใจมากที่ได้เจอ ปราณที่ศาลธัญญะบุรี เจ้าปราณปิดเทอมแล้ว เลยมีเวลามาเจอพ่อที่ศาล ร้านดูสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ยังผอมเหมือนเดิมท่าทางดูโตขึ้นตามวัย ส่วนเจ้าขาล ได้ครับ ยังคงวิ่งเล่นในศาลไม่กลัวใคร ก่อนกลับปราณวิ่งมากอดพ่อ เจ้าขาลก็วิ่งมากอด แย่งกันกอด น่ารักดี


วันนี้พ่อต้องทำหน้าที่เป็นทั้งจำเลยและเป็นทนายให้น้อง ๆ ในคดี เสียงโซ่ตรวนที่เท้าเวลามันลากในห้องพิจารณาที่เงียบ ๆ ฟังดูแปลกดี วันนี้ต้องยืนถามค้านถึง 5 โมงเย็น ร่างกายอ่อนเพลียจากรถขังที่เขย่าทั้งขาไปขากลับ แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี ช่วงแรกต้องโต้เถียงกับศาลเรื่องว่าพ่อยังเป็นทนายได้หรือไม่ในชุดนักโทษ สุดท้ายศาลเจ้าของสำนวนไปปรึกษาหัวหน้าศาล ปรากฎว่าให้ว่าความแก้ต่างได้หรือไม่ในชุดนักโทษ สุดท้ายเจ้าของสำนวนไปปรึกษาหัวหน้าศาลปรากฎว่าให้ว่าความแก้ต่างได้เหมือนในทุก ๆ ศาลที่ผ่านมา


เนื้อหาคดีมันอยู่ในสมองพ่อหมดแล้ว ที่เหลือก็แค่เค้นมันออกมาผ่านการขบคิดและตั้งคำถาม บางทีบางคำถามที่อ่อนไหว ก็อาจต้องเป็นพ่อที่ต้องถามมันออกมา วันนี้โต้เถียงกับศาลหลายครั้ง สำหรับพ่อ การหงอ การเกรงใจ เกรงกลัวศาล พ่อไม่เรียกว่าเป็นการเคารพต่อศาล การต่อสู้อย่างเต็มที่โต้เถียงอย่างเต็มที่ต่างหาก ที่เรียกว่าการเคารพศาล เคารพต่อวิชาชีพที่แท้จริง ชีวิตที่เหลือของพ่อนอกจากความหวังที่จะได้กลับไปอยู่กับครอบครัว พ่อก็ขออุทิศให้กับสิ่งนี้ สิ่งที่เรียกว่า “ทนายความ“


กอดกันมิทันอุ่นก็ต้องจาก ร่ำลามิทันสุดคำก็ต้องจร โอบกอดกันและกันในความฝัน จนกว่าเราจะพบกันอีก รักและคิดถึงลูกทั้งสอง


สำหรับ อานนท์ นำภา ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ภายหลังศาลอาญาพิพากษาจำคุก 4 ปี ปรับเป็นเงิน 20,000 บาท โดยไม่รอลงอาญา ในคดี #มาตรา112 คดีแรก เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 เหตุจากการขึ้นปราศรัยใน #ม็อบ14ตุลา63


จากนั้น 17 ม.ค. 67 ศาลอาญาสั่งจำคุก "อานนท์ นำภา" เพิ่มอีก 4 ปี จากคดีมาตรา 112 (เป็นคดีที่ 2) กรณีโพสต์เฟซบุ๊กปี 2564 โดยให้บวกโทษเก่าอีก 4 ปี ทำให้อานนท์มีโทษจำคุกรวมแล้ว 8 ปี


ต่อมา เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2567 ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดฟังคำพิพากษาคดีของ อานนท์ นำภา หลังถูกฟ้องใน 4 ข้อกล่าวหา ได้แก่ หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เหตุมาจากการปราศรัยถึงข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในกิจกรรม ‘เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาชน’ หรือ #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์2 ที่ลานหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2564 โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดทุกข้อหาตามฟ้อง พิพากษาจำคุกรวม 3 ปี 1 เดือน ปรับ 150 บาท ก่อนลดเพราะให้การเป็นประโยชน์ เหลือจำคุก 2 ปี 20 วัน และปรับ 100 บาท


ต่อมา 25 ก.ค. 67 ศาลอาญา นัดฟังคำพิพากษาในคดี #ม112 คดีที่ 4 ของ “อานนท์ นำภา” เหตุโพสต์ 2 ข้อความบนเฟซบุ๊ก ในช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2564 วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 10


ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1), (3) ให้ลงโทษฐาน 112 จำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี


ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสาม คงจำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ


ทั้งนี้หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีของอานนท์ไปแล้ว 4 คดี ทำให้อานนท์ถูกลงโทษจำคุกรวม 14 ปี 20 วัน และยังมีโทษในคดีตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากกรณีชุมนุม #ม็อบ27พฤศจิกา2563 ที่ถูกจำคุกอีก 2 เดือน รวมเป็น 14 ปี 2 เดือน 20 วัน

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม #อานนท์นำภา #คืนสิทธิประกันตัวประชาชน

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ConforAll “เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ” ยื่นหนังสือประธานรัฐสภา เร่งบรรจุวาระร่างรัฐธรรมนูญใหม่หวั่นกระบวนการล่าช้าไม่ทันลต.ปี70

 


ConforAll “เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ” ยื่นหนังสือประธานรัฐสภา เร่งบรรจุวาระร่างรัฐธรรมนูญใหม่หวั่นกระบวนการล่าช้าไม่ทันลต.ปี70


วันที่ 3 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 น.ที่รัฐสภา เครือข่ายภาคประชาชน ในนามกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All) เข้ายื่นหนังสือต่อนายวันมูหะมัดนอ์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาเร่งดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด ซึ่งมี นายมุข สุไลมาน เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร, นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร, นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับแทน


เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน เหลือเวลาดำรงตำแหน่งในวาระอีกเพียง 2 ปี 8 เดือนเท่านั้น หากกระบวนการนี้ เนิ่นช้าไป และไม่ได้เริ่ม ก็กลัวว่าจะไม่เสร็จในรัฐสภาชุดนี้ หรือกลัวว่าจะไม่เสร็จเลย เราจึงมาติดตามสถานการณ์ เพราะทราบอยู่ตลอดว่าพรรคเพื่อไทย โดยคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี มีแนวทางที่ประกาศออกมาแล้วว่า จะมีกระบวนการไปสู่รัฐธรรมนูญใหม่ โดยการทำประชามติ 3 ครั้ง ซึ่งเรากำลังรอการเริ่มครั้งแรกอยู่ แต่ สว.ก็ยังไม่ให้พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติผ่าน แต่กว่าจะรอ พ.ร.บ.ประชามติเสร็จ และกว่าจะได้ทำประชามติครั้งแรก แล้วค่อยเริ่มกระบวนการ ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ก็น่าจะชัวร์แล้วว่า จะไม่ทันภายในรัฐสภาชุดนี้ หรือภายในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย


“เราจึงขอเสนอและยืนยันว่า เราไม่ได้คัดค้านการทำประชามติครั้งแรก แต่ถ้าไทม์ไลน์เป็นเช่นนี้ ไม่ต้องทำจะดีกว่า เพราะในปัจจุบัน การทำประชามติครั้งแรก ไม่ได้มีกฎหมายฉบับบังคับให้ทำ และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้บอกว่าต้องทำ ดังนั้น เราควรจะเริ่มกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ได้โดยการเปิดสภา เพื่อบรรจุวาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อพิจารณาจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แล้วเดินหน้าต่อไป ซึ่งสามารถทำได้เลยตั้งแต่วันนี้ โดยไม่จำเป็นต้องรอ พ.ร.บ.ประชามติก่อน เพราะนี่จะเป็นหนทางเดียวที่มีอยู่ ที่จะทำให้มีโอกาสได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในรัฐสภา และรัฐบาลชุดนี้ ทั้งนี้ คาดหวังว่า การแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา จะต้องคำนึงถึงสิทธิของประชาชนด้านต่าง ๆ ด้วย”


ด้านนายมุข กล่าวว่า ประธานสภาฯ เห็นด้วย และยินดีให้ความร่วมมือ 1000% จะรีบบรรจุกฎหมายฉบับนี้ให้เร็วที่สุด เพราะรัฐสภาก็อยากให้เรื่องนี้ประสบความสำเร็จ พร้อมขอความร่วมมือจากประชาชนว่า หากอยากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นอย่างที่ทุกคนมีความประสงค์ ก็ต้องช่วยกันผลักดันทำให้สภาสูงและสภาล่างมีความเห็นเหมือนที่ประชาชนต้องการ เนื่องจากขณะนี้ยังมีบางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย


ขณะที่นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ขอบคุณประชาชนที่มาในวันนี้ เหมือนเป็นการให้กำลังใจพวกเราในการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่หลายพรรคการเมืองให้สัญญาประชาคมเอาไว้ ทั้งการแก้ทั้งฉบับ และการแก้ไขรายมาตรา ถือเป็น กฎหมายแรกที่ทางรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้านเห็นพ้องต้องกันตั้งแต่ต้น ยอมรับว่าขณะนี้มีอุปสรรค ทุกอย่างไม่ได้รวดเร็วเป็นไปตามที่เราหวังไว้ แต่ทางวุฒิสภาก็จะส่งร่างกลับมา เพื่อตั้งกรรมาธิการร่วมกันว่า สุดท้ายแล้วจะเอาอย่างไรกันแน่


นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนเป็นตัวแทนของพรรคฝ่ายค้านซึ่งให้คำมั่นสัญญาประชาชน ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าจุดยืนของพรรคประชาชนในฐานะแกนนำพรรคฝ่ายค้าน เรายืนยันมาตลอดว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 มีปัญหา และเห็นด้วยว่าต้องมีการเดินคู่ขนานกัน โดยหนทางที่หนึ่งซึ่งเราเห็นว่าดีที่สุดในการที่จะทำให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันการเลือกตั้งปี 2570 คือการต้องลดขั้นตอนทำประชามติจาก 3 ครั้งเหลือ 2 ครั้ง แต่ก็อยู่ที่การตัดสินใจของประธานสภาฯ ว่าจะบรรจุวาระหรือไม่ ทั้งนี้ พรรคประชาชนได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา 7 แพ็คเก็จแล้ว 


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #conforall #เขียนรัฐธรรมนูญใหม่




ACD มั่นใจวิสัยทัศน์นายกฯของคนไทย ย้ำบทบาทไทยในเวที ACD จะสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคและส่งเสริมสันติภาพ พร้อมผลักดันวาระ “ศตวรรษแห่งเอเชีย” ในช่วงการเป็นประธานฯ 1 ม.ค. 68 นี้

 


ACD มั่นใจวิสัยทัศน์นายกฯของคนไทย ย้ำบทบาทไทยในเวที ACD จะสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคและส่งเสริมสันติภาพ พร้อมผลักดันวาระ “ศตวรรษแห่งเอเชีย” ในช่วงการเป็นประธานฯ 1 ม.ค. 68 นี้


วันนี้ (3 ตุลาคม 2567) เวลา 10.30 น. เวลาท้องถิ่นกรุงโดฮา หรือเวลา 14.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย ณ โรงแรม Ritz-Carlton Doha กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue : ACD) ครั้งที่ 3 และขึ้นกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ ท่ามกลางผู้นำประเทศสมาชิก 35 ประเทศ


นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณ เจ้าภาพกาตาร์ ที่ต้อนรับอย่างอบอุ่น และกล่าวถึงความสำเร็จของการจัดการประชุม ACD ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ "การทูตผ่านกีฬา" (Sports Diplomacy) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการใช้การกีฬา ที่สามารถเชื่อมความแตกต่างและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของโลก ซึ่งความสำเร็จจากการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของกาตาร์ เมื่อปี 2022 เป็นตัวอย่างที่สำคัญและแนวคิดนี้สอดคล้องกับจุดยืนของประเทศไทยที่จะะส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก


ส่วนในประเด็นสถานการณ์ความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นในภูมิภาค ประเทศไทยมีความกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายลง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์ และด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับประชาคมระหว่างประเทศ ไทยขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งใช้ความระมัดระวังอย่างที่สุด และขอให้ยุติการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ทั้งหมดโดยทันที เพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือน และปฏิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ


นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของ ACD ท่ามกลางสถานการณ์โลกปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนและต้องการการแก้ไข เช่นความขัดแย้งทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในฐานะผู้นำของประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่นำพาและสร้างความร่วมมือเพื่อเสถียรภาพและการเติบโตของประเทศ และในภูมิภาคอาเซียน ขณะเดียวกัน ศตวรรษที่ 21 นี้ได้ถูกกล่าวขานว่าเป็น "ศตวรรษแห่งเอเชีย" และเอเชียมีประชาชนกว่าร้อยละ 60 ของประชากรโลกอีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจ พลังงาน และความมั่นคงทางอาหารของโลก เปรียบเสมือน “แหล่งพลังงาน” และ “ครัวของโลก“


นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไป ว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งด้านการเกษตรและอาหาร ซึ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจและการตอบสนอง ต่อความต้องการอาหารทั่วโลก และประเทศไทยเห็นว่าการประชุมในครั้งนี้สมาชิก ACD จะได้ร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายทางการค้า และปรับมาตรฐานให้สอดคล้องกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในห่วงโซ่อุปทานอาหารโลก โดยประเทศไทยอยู่ในภูมิศาสตร์ที่สำคัญ สามารถเป็นประตูสู่การเชื่อมต่อในโลกตะวันออก กับโลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี รัฐบาลไทยจึงได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการคมนาคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการขนส่งทางบก การขนส่งทางราง และทางน้ำให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และยังพร้อมเพิ่มสนามบินใหม่ ๆ และพัฒนาศักยภาพสนามบินที่มีอยู่เพื่อรองรับทั้งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าต่าง ๆ ทั้งนี้ประเทศไทยขอเชิญชวน ประเทศสมาชิก ACD มาร่วมกันพัฒนาเส้นทางการค้าใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมต่อและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วทั้งเอเชียในฐานะที่เอเชียเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก


ปัจจุบันบทบาทของ ACD มีความสำคัญมากขึ้น โดยเป็นกรอบความร่วมมือระดับทวีปแห่งแรกและแห่งเดียวของเอเชีย ซึ่งรวมภูมิภาคต่าง ๆ ที่หลากหลายเข้าด้วยกัน นายกรัฐมนตรีมุ่งหวังที่จะสานต่อแนวคิดนี้ในการดำรงตำแหน่งประธาน ACD ในวันที่ 1 มกราคม 2568 นี้โดยเล็งเห็นว่า ACD จะเป็น "เวทีหารือของเอเชีย" (converging forum of Asia) และเน้นย้ำว่า ไทยในฐานะผู้เป็นสะพานเชื่อม ACD มุ่งหวังที่จะทำงานร่วมกับทุกประเทศสมาชิก เพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ทั้งนี้ ในการเป็นประธาน ACD ของไทยในต้นปีหน้านี้ ประเทศไทยจะขับเคลื่อการทำงานภายใต้การขับเคลื่อนในกรอบ 6 เสาความร่วมมือ (pillar of cooperation ) กันอย่างมียุทธศาสตร์ ผนวกกับความร่วมมือของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอื่น ได้แก่ ASEAN GCC (Gulf Cooperation Council: GCC) BRICS CICA และ SCO เพื่อร่วมกันสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจโลก 


นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงความสำคัญของการทบทวน สถาปัตยกรรมทางการเงิน โดยบทเรียนจากประสบการณ์ในอดีตจากวิกฤตการเงิน ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการมีระบบการเงินที่มีความสมดุลและยืดหยุ่น ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะสร้าง “สถาปัตยกรรมการเงินที่สมดุล” ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งภายใต้การเป็นประธาน ACD ในปีหน้า ประเทศไทยจะจัดการประชุมเพื่อพิจารณาการพัฒนาสถาปัตยกรรมทางการเงิน 


ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณรัฐกาตาร์ที่เป็นเจ้าภาพการประชุม และสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในการทำหน้าที่อย่างแข็งขันในฐานะประธานการประชุมปีนี้ พร้อมแสดงความยินดีที่ได้ร่วมงานกับเลขาธิการ ACD คนใหม่ โดยการประชุมนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของ ACD ที่พร้อมร่วมมือกัน มากกว่าการแข่งขันและความขัดแย้ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศของสมาชิก ACD และยกระดับชีวิตประชาชนหลายล้านคน นำไปสู่การฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ 


นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า ในฐานะที่ประเทศไทยจะเป็นประธานในปีหน้า ไทยมุ่งมั่นที่จะผลักดันวาระของ ACD เพื่อสร้างเอเชียที่แข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น พร้อมกับเน้นความร่วมมือเพื่อทำให้ศตวรรษนี้เป็น "ศตวรรษแห่งเอเชีย" อย่างแท้จริง โดยมี ACD เป็น "เวทีหารือแห่งเอเชีย"(Forum of Asia) ที่พร้อมจะร่วมกันผลักดัน “วาระของเอเชีย” (Asia’s agenda) ต่อไปให้ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาที่สำคัญของประเทศสมาชิกต่อไปนายจิรายุกล่าว


อนึ่ง กรอบ ACD มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อน 6 เสาความร่วมมือ (pillar of cooperation) ได้แก่ (1) ตุรกีและรัสเซีย เป็นประธานร่วมคณะทำงานด้านความเชื่อมโยง (2) อินเดียเป็นประธานคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (3) อิหร่านเป็นประธานคณะทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (4) จีนเป็นประธานคณะทำงานด้านความเชื่อมโยงระหว่างความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และน้ำ (5) อิหร่านเป็นประธานคณะทำงานด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (6) ไทยเป็นประธานคณะทำงานด้านการส่งเสริมแนวทางไปสู่การพัฒนาอย่างทั่วถึงและยั่งยืน โดยประธานของแต่ละคณะทำงานมีภารกิจในการจัดประชุมเพื่อหารือ และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือโดยประธานคณะทำงานดังกล่าวมีวาระ 1 ปี และต้องสรรหาใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนประธาน ACD ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก ACD อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดตั้งเสาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #นายกฯแพทองธาร #AsiaCooperationDialogue #ACD







“ภัทรพงษ์” ถามรัฐบาลแนวทางแก้ไขระบบแจ้งเตือนน้ำท่วม หลังพบปัญหาไม่บอกแนวปฏิบัติประชาชน หอเตือนภัยแทบไม่ใช้งาน แนะกระจายอำนาจ สนับสนุนเงิน-คนให้ท้องถิ่น รับมือภัยพิบัติ

 


ภัทรพงษ์” ถามรัฐบาลแนวทางแก้ไขระบบแจ้งเตือนน้ำท่วม หลังพบปัญหาไม่บอกแนวปฏิบัติประชาชน หอเตือนภัยแทบไม่ใช้งาน แนะกระจายอำนาจ สนับสนุนเงิน-คนให้ท้องถิ่น รับมือภัยพิบัติ


วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส.เชียงใหม่ เขต 8 พรรคประชาชน ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อนุทิน ชาญวีรกูล โดย รมว.มหาดไทย มอบหมาย ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยตอบแทน กรณีเหตุอุทกภัยที่จังหวัดเชียงใหม่ที่จนถึงปัจจุบันยังไม่คลี่คลาย และกำลังเผชิญกับอุทกภัยรอบใหม่ในวันนี้


โดยภัทรพงษ์กล่าวว่า ตนลงพื้นที่ทุกวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ ประสานทุกหน่วยงานตั้งแต่เอกชน ท้องถิ่นไปจนถึงรัฐส่วนกลางเพื่อบรรเทาผลกระทบกับประชาชนให้ได้มากที่สุด ได้รับรู้ถึงความเดือดร้อนและความลำบากของประชาชนที่น้ำท่วมบ้าน เห็นเจ้าหน้าที่และกู้ภัยอาสาที่ทำงานอย่างเต็มที่สุดกำลังแทบไม่ได้หลับนอน และตนก็เห็นช่องโหว่ในการบริหารจัดการ เป็นที่มาของการตั้งกระทู้สดวันนี้ เพื่อเสนอและหาทางออกร่วมกับรัฐมนตรี โดยจะแบ่ง 3 คำถาม ออกเป็น 3 ช่วงเวลาการรับมือภัยพิบัติ นั่นคือ ช่วงก่อนเกิด ช่วงเผชิญเหตุ และช่วงหลังเกิดเหตุภัยพิบัติ


เริ่มที่ “การเตือนภัย” หรือก่อนเกิดน้ำท่วม ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า น้ำท่วมที่เชียงใหม่มีทั้งน้ำป่าไหลหลาก น้ำเอ่อล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ซึ่งคนทั่วไปอาจได้ยินจุดอ้างอิงระดับน้ำที่จุด P.1 ใกล้สะพานนวรัตน์ และแผนที่ความเสี่ยงน้ำท่วม 7 เขต ในเมืองเชียงใหม่ ที่อ้างอิงกับระดับน้ำที่จุด P.1 แต่นั่นเป็นการแจ้งเตือนภัยเพียงแบบเดียวคือ น้ำท่วมแบบเอ่อล้นตลิ่งจากแม่น้ำปิง


แต่สำหรับน้ำท่วมไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ระบบการเตือนภัยที่มีอยู่ของรัฐบาลกลับไม่ได้มีระบบเตือนภัยที่ดีพอ และแทบไม่มีการเตือนภัยกับประชาชนในพื้นที่ ที่ประสบกับน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังเลย จนพี่น้องประชาชนในหลายพื้นที่ต้องประสบเหตุน้ำป่าไหลหลากโดยไม่สามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้อย่างทันการณ์ และประสบความเสียหายเป็นอย่างมากในหลายพื้นที่ และที่ผ่านมา สส. พรรคประชาชน ในพื้นที่จึงต้องแจ้งเตือนประชาชนกันเอง แม้กระทั่งน้ำที่เข้าท่วมในพื้นที่หางดง สันป่าตอง เมื่อเช้านี้ (3 ตุลาคม 2567)


ส่วน SMS ที่รัฐบาลส่งให้พี่น้องประชาชนกลับมีเนื้อหาที่คลุมเครือ ไม่ทราบระดับน้ำที่จะท่วม (เทียบกับระดับอ้างอิง) ไม่บอกแนวปฏิบัติ ยิ่งพอกล่าวถึงหอเตือนภัยด้วยแล้ว กลับแทบไม่มีการใช้งาน หลายหอออกแบบใช้ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ แต่พอฝนตกไม่มีแดด ก็ไม่มีระบบสำรองไฟฟ้าที่เพียงพอ รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลเตือนภัยน้ำท่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เราก็แทบไม่ได้เตรียมการอะไร แม้ว่าอาเซียนจะมีข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติ (ค.ศ. 2021) ในมาตรา 7 อยู่แล้ว แต่รัฐบาลกลับไม่ได้เตรียมช่องทางการแบ่งปันข้อมูลตามที่ตกลง


ภัทรพงษ์จึงสอบถามรัฐบาลถึง ระบบเตือนภัยสำหรับน้ำป่าไหลหลาก และข้อมูลเตือนภัยที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงสำหรับพี่น้องประชาชน เพราะอุทกภัยจากน้ำยังอาจมีต่อเนื่อง อย่างน้อยในช่วงเดือนตุลาคม 2567


โดยได้ยกตัวอย่างการแจ้งเตือนที่ตนได้ใช้ในเขตพื้นที่อำเภอหางดงและสันป่าตอง ที่เริ่มตั้งแต่ Early warning เฝ้าระวังเตรียมรับน้ำท่วมฉับพลันล่วงหน้า 16 ชั่วโมงตั้งแต่วานนี้ ระบุพื้นที่เสี่ยงและเวลาคาดการณ์น้ำท่วมชัดเจน และได้แจ้งเตือน Emergency alert อีกครั้งหนึ่ง 4 ชั่วโมงล่วงหน้าในช่วงตี 2 เมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนหลายครัวเรือนสามารถขนย้ายรถ สิ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทัน แต่มีเพียงตนเท่านั้นที่แจ้งเตือน ไม่มีการแจ้งเตือนจากหน่วยงานของรัฐเลย


ภัทรพงษ์ถามต่อในคำถามที่ 2 ว่าเมื่อเกิดเหตุอุทกภัยขึ้นแล้ว สิ่งที่เราต้องดำเนินการคือ เรื่องเผชิญเหตุ ซึ่งการเผชิญเหตุก็แบ่งเป็นสองส่วนใหญ่คือ หนึ่ง การจัดการที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัย ให้ผู้ที่มีความจำเป็นต้องอพยพสามารถอพยพโยกย้ายไปสู่ที่ปลอดภัยได้ และผู้ที่อยู่ในบ้านเรือนของตน สามารถอยู่ได้โดยปลอดภัย และได้รับอาหาร น้ำ และสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต และ สอง คือการเผชิญเหตุหรือการจัดการกับโคลนที่เข้ามาทับถม หรือน้ำที่เข้าท่วมขังแช่อยู่ในพื้นที่ให้ได้


ที่ผ่านมาเวลาเราได้ยินทางราชการกล่าวคำว่า “แผนเผชิญเหตุ” เรามักจะนึกถึงการเผชิญเหตุส่วนแรกคือ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบการณ์ที่ทีม สส. เชียงใหม่ พรรคประชาชน พบเจอกันมาคือ การกระจุกตัวอยู่บางพื้นที่เท่านั้น แต่ในหลายพื้นที่เช่น อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี อำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง แทบไม่ได้รับความช่วยเหลือเลย


แม้กระทั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ก็ประกาศเมื่อคืนวันที่ 22 กันยายนว่า คืนนี้คนเชียงใหม่นอนหลับสบาย น้ำไม่ท่วมแน่นอน แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน คนเชียงใหม่ที่สันป่าตอง กลับต้องเผชิญน้ำท่วมในระดับอก และหลายพื้นที่ยังไม่มีการตั้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้วยซ้ำ


ยิ่งพอมาถึงการเผชิญเหตุส่วนที่สองหรือ การจัดการน้ำ/จัดการโคลน ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะในแผนเผชิญเหตุส่วนใหญ่แทบไม่ได้กล่าวถึงไว้เลยว่า เมื่อน้ำท่วมแล้ว เราจะระบายน้ำกันอย่างไร? ตัวอย่างในโซนสันกำแพงและตำบลไชยสถาน อ.สารภี ซึ่งไม่ได้ติดริมน้ำปิงที่มีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง แต่เป็นน้ำท่วมที่เอ่อล้นมาจากลำน้ำสาขาต่างๆ เช่น แม่กวง แม่ออน แม่โฮม และมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชนหลายหมู่บ้าน พื้นที่บริเวณนี้ในอดีตเป็นพื้นที่เกษตรชลประทาน พื้นที่นี้จึงมีระบบลำน้ำ ทั้งลำน้ำธรรมชาติ ลำเหมืองส่งน้ำเข้าพื้นที่นา และระบบชลประทานโครงการแม่กวง เชื่อมต่อกัน แต่เมื่อมีการตัดถนนเข้าไปในพื้นที่ ทำให้ลำน้ำถูกตัดขาด/ตีบตันในหลายจุด โดยเฉพาะในจุดที่มีถนนสายใหญ่มาตัดผ่าน และวางเพียงท่อระบายน้ำขนาดเล็กเอาไว้เท่านั้น ทำให้น้ำท่วมขังจำนวนมาก หมู่บ้านสันป่าค่า และหมู่บ้านจรรยาลักษณ์ อำเภอสันกำแพง


สส. และฝ่ายต่างๆ ในพื้นที่จึงตัดสินใจช่วยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำการเดินเผชิญสืบ ค้นหาลำเหมืองและจุดติดขัดต่างๆ และมาจัดทำผังเส้นทางน้ำต้นเปา สันกำแพง ปักหมุดบน Google Maps เพื่อทำให้เห็น “ผังน้ำ” ทั้งระบบ และเมื่อเห็นภาพผังน้ำทั้งหมด เราก็มองทิศทางในการดึงน้ำออกจากพื้นที่ แล้วจึงประสานกับทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายปกครอง ฝ่ายท้องถิ่น ฝ่าย อบจ. และสามารถวางแผนจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดต่างๆ ได้ และใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน น้ำจึงลดลงจนแห้ง จริงๆ แล้วการระบายน้ำจะทำได้เร็วกว่านี้ ถ้าเรามี “แผนเผชิญเหตุ” ที่ระบุผังน้ำและจุดสูบน้ำ/ระบายน้ำไว้ล่วงหน้า


ภัทรพงษ์ยังเสนอให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยส่งทีมลงประเมินความรุนแรงของภัย เพื่อยกระดับภัยพิบัติจากระดับเล็ก และระดับกลาง ที่จังหวัดจัดการกันเอง เป็นระดับใหญ่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะลงมาดำเนินการด้วยตนเอง และทำให้ระดมทรัพยากรและการสั่งการในการเผชิญเหตุ และฟื้นฟูเยียวยาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงสอบถามถึงแนวทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับมือกับภัยพิบัติ ทั้งในด้านงบประมาณ เครื่องจักร/เครื่องมือ และบุคลากร


ส่วนคำถามสุดท้าย ภัทรพงษ์สอบถามถึงวงเงินทดรองราชการ ซึ่งในกรณีจังหวัดเชียงใหม่ได้รับการขยายเป็น 100 ล้านบาทไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ขณะนี้ได้ใช้ไปแล้วกว่า 65 ล้านบาท แต่ยังมีพื้นที่ที่ประสบภัยและไม่ได้รับการฟื้นฟูเยียวยาอีกหลายพื้นที่ทั้ง เชียงดาว แม่ริม แม่แตง สันทราย เมือง สันกำแพง สารภี หางดง สันป่าตอง หางดง แถมอุทกภัยรอบใหม่กำลังลงมา (วันที่ 2-3 ตุลาคม 2567) ซึ่งน่าจะมีผลให้เงินทดรองราชการไม่เพียงพอ


ภัทรพงษ์ จึงสอบถามถึงแนวทางที่จะขยายวงเงินทดรองราชการสำหรับเชียงใหม่ และจังหวัดที่ประสบภัยขนาดใหญ่ รวมถึงอยากได้รับความยืนยันจากรัฐบาลว่า ประชาชนผู้ประสบภัยจำนวนมากที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน จะไม่ถูกกีดกันจากการได้รับความช่วยเหลือ และเงินเยียวยาจากรัฐบาล


ด้าน รมช. มหาดไทย ตอบคำถามโดยสรุปว่า เรื่องการแจ้งเตือนนั้น หน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายคือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่ต้องนำข้อมูลจากหลายหน่วยงานมาประมวลก่อนแจ้งเตือนผ่านหน่วยงานที่เป็นหน่วยปฏิบัติ เช่น อำเภอ จังหวัด ปภ.จังหวัด ส่วนที่เราเห็นหลายหน่วยงานดำเนินการ รวมถึงที่ สส. ส่งข้อความให้ประชาชน ไม่ถือเป็นการแจ้งเตือนตามกฎหมาย แต่เป็นการรายงานข้อมูล อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเครื่องมือที่ต้องใช้ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ กำลังทำเรื่องขอใช้งบประมาณจาก กสทช. เพื่อทำให้มีเครื่องมือในการสังเคราะห์ข้อมูล นำไปสู่การแจ้งเตือนประชาชนให้เกิดความถูกต้อง


เรื่องการประเมินสถานการณ์ จะมีการติดตามอยู่แล้วในระดับจังหวัดโดยผู้ว่าฯ มีหลายหน่วยงานประชุมร่วมกัน ไม่ใช่คิดคนเดียว และคาดว่าในปี 2568 การดำเนินการเรื่องการแจ้งเตือนจะเป็นไปตามที่ สส.ภัทรพงษ์ ได้ส่งความกังวลให้รัฐบาลดำเนินการ


สำหรับงบประมาณของท้องถิ่นในการนำไปใช้ดูแลเหตุภัยพิบัติ ต้องยอมรับมีจำกัด อาจเกินกำลังของ อปท. จำเป็นต้องมีหน่วยงานอื่นเข้ามาโดยเฉพาะ ปภ. ซึ่งที่ จ.เชียงใหม่ ขยายไปวงเงินทดรองราชการ 100 ล้านบาทนั้น ไม่ได้แปลว่าใช้ครบแล้วเงินจะหมด ยังขยายได้อีกเรื่อย ๆ ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องเยียวยาตามกรอบหลักเกณฑ์กฎหมาย


นอกจากนี้ ครม. ได้มีมติเรื่องการดูแลเยียวยาครัวเรือนที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งครัวเรือนหมายถึงคนที่เป็นผู้อาศัย อยู่บ้านเช่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดิน โดยให้ ปภ. เสนอแนวทางปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการเยียวยาให้ ครม. พิจารณา เบื้องต้นมีตัวเลขเดียวคือประมาณ 9,000 บาท


ส่วนเรื่องการส่งเสริมศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วันนี้หลายคนบอกว่าส่วนกลางไปเพิ่มภารกิจแต่ไม่ให้เงิน จึงกำลังคิดว่าจะทำอย่างไรให้ 3 ส่วนนี้ ภารกิจ งบประมาณ และบุคลากร มีความสมดุล ให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ทำงานให้ประชาชนได้เต็มที่

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #น้ำท่วม68 #ประชุมสภา

กระทู้ตากใบเดือด ! “รังสิมันต์” จี้ถามอีก 22 วันหมดอายุความรัฐบาลจะไม่ทำอะไรเลยหรือ-อยากให้หมดอายุความไปเองหรือไม่? “ภูมิธรรม” แจงเรื่องตากใบต้องมองให้รอบด้าน ใช้อารมณ์อย่างเดียวไม่ได้ ชี้ไม่มีใครตั้งใจให้คนตาย-การเอาผิดให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม


กระทู้ตากใบเดือด ! “รังสิมันต์” จี้ถามอีก 22 วันหมดอายุความรัฐบาลจะไม่ทำอะไรเลยหรือ-อยากให้หมดอายุความไปเองหรือไม่? “ภูมิธรรม” แจงเรื่องตากใบต้องมองให้รอบด้าน ใช้อารมณ์อย่างเดียวไม่ได้ ชี้ไม่มีใครตั้งใจให้คนตาย-การเอาผิดให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม


วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ได้ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา ต่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภูมิธรรม เวชยชัย ถึงกรณีคดีตากใบ ที่มีความเสี่ยงจะหมดอายุความลง เนื่องจากจำเลยซึ่งมี สส.เพื่อไทย ด้วยยังไม่ไปปรากฏตัวต่อศาลตามกำหนดที่จะครบในวันที่ 25 ตุลาคม 2567


โดยรังสิมันต์ได้เริ่มต้นการอภิปรายโดยระบุว่า เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 มีการสลายการชุมนุมบริเวณหน้า สภ.ตากใบ จนมีผู้เสียชีวตจากการสลายการชุมนุม 7 คน ในจำนวนนั้นถูกยิงที่ศีรษะ 5 คน และมีการควบคุมตัวขนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี 1,300 คน โดยให้นอนทับกันเป็นชั้นบนรถบรรทุก จนมีผู้เสียชีวิตระหว่างการขนย้ายถึง 78 คน รวมเป็นผู้เสียชีวิตมากถึง 85 คน ภายหลังรัฐบาลในเวลานั้นได้สั่งให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงขึ้นมา โดยรายงานดังกล่าวชี้ว่า การสูญเสียเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐที่ควบคุมเหตุการณ์ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกลืมไปโดยผู้มีอำนาจมาเป็นเวลาหลายปี


ต่อมาประชาชนผู้สูญเสียได้ลุกขึ้นมาฟ้องเอาผิดเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ และหวังว่ากระบวนการยุติธรรมจะให้ความยุติธรรมกับพวกเขาได้ บางคนถึงขั้นกล่าวว่า อย่างน้อยก็ขอให้ได้รู้ว่า มีผู้ใดบ้างที่มีส่วนพรากชีวิตของคนเหล่านั้นแม้บทลงโทษจะเบาก็ตาม


เหตุการณ์ตากใบได้ทำลายความไว้วางใจของประชาชนต่อรัฐอย่างสิ้นเชิง ผมเป็นห่วงว่า ในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 จะเป็นการฝังกลบความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อรัฐจนยากจะฟื้นคืนกลับมาได้ จนทำให้สันติภาพชายแดนใต้กลายเป็นเพียงภาพฝัน” รังสิมันต์ กล่าว


แม้หลังเหตุการณ์ตากใบมีอดีตนายกรัฐมนตรีสองคนที่ขอโทษต่อเหตุการณ์ตากใบ คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อปี 2549 และ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2565 แต่คำถาม คือ รองนายกรัฐมนตรีจะทำอย่างไรเพื่อฟื้นความไว้วางใจของประชาชนในพื้นที่ สร้างความรู้สึกของประชาชนให้กลับมาดีให้ได้สมกับที่อดีตนายกรัฐมนตรีเคยขอโทษ คดีที่กำลังเดินอยู่เป็นผลงานของประชาชน เมื่อนักข่าวถามเรื่องนี้รองนายกรัฐมนตรีก็มีอารมณ์แล้วบอกให้ไปสนใจเรื่องอื่น จนสุดท้ายนำไปสู่การเกิดเหตุระเบิดอีกครั้งในพื้นที่ อ.ตากใบ


รังสิมันต์ กล่าวต่อไปว่า ดูเหมือนการให้สัมภาษณ์ของรองนายกรัฐมนตรีจะสุมไฟมากกว่าการถอนฟืนจากกองไฟ ความสูญเสียที่นำไปสู่การเยียวยาโดยใช้เงินภาษีเป็นสิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศต้องได้รับความเป็นธรรมเช่นเดียวกันว่า ผู้เกี่ยวข้องจะถูกลงโทษอย่างไร ประชาชนต้องจ่ายเงินให้ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ คดีก็กำลังจะขาดอายุความ รองนายกรัฐมนตรีจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้


ในส่วนของภูมิธรรม ได้ตอบคำถามโดยระบุว่า การแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ต้องเริ่มต้นจากความพยายามใช้เหตุผล ดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างครบทุกมิติ ไม่ใช่เริ่มจากการมองเพียงด้านลบ เหตุการณ์นี้มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายเรื่อง วันที่ผู้สื่อข่าวถามนั้นตนกำลังแถลงข่าวเรื่องความเสียหายกรณีน้ำท่วม ผู้สื่อข่าวพยายามถามเรื่องนี้ตนก็บอกขอคุยเรื่องน้ำท่วมให้จบก่อน ผู้สื่อข่าวก็ยังพยายามถาม ไม่ได้หมายความว่าเรื่องตากใบรัฐบาลจะไม่สนใจ ทุกเรื่องมีความสำคัญแต่รัฐบาลต้องทำเรื่องเร่งด่วน คือ กรณีน้ำท่วมก่อน โปรดเข้าใจว่า ไม่ได้มีความรู้สึกโกรธแต่อย่างไร


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกคนเสียใจ ไม่มีใครอยากเห็นเหตุการณ์ที่มีประชาชนตายมากขนาดนี้ เหตุการณ์ตากใบมีความจริงหลายมิติที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มีรายละเอียดอีกมาก รายงานนั้นสรุปว่าทุกคนที่อยู่บนรถเกิดการเสียชีวิตเพราะการขาดอากาศหายใจเป็นหลัก เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีการลำเลียงคนไปที่ค่าย ไม่เกี่ยวกับการตายเพราะอาวุธซึ่งยังหาผู้ผิดจริงไม่ได้เพราะเกิดความสับสนวุ่นวาย มีรายงานด้วยว่าเมื่อแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เห็นว่ามีการลำเลียงคนขึ้นไปในลักษณะนั้นก็ได้พยายามยับยั้งไว้ เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความว่ามีเจตนาหวังเอาคนไปทับให้ตาย เหตุการณ์นี้ไม่พึงประสงค์แต่ก็ควรให้ความเป็นธรรมด้วย ไม่ใช่เรื่องความตั้งใจจะฆ่ากัน ไม่ได้เป็นความเจตนา แต่เป็นความสับสนอลหม่าน


ภูมิธรรมกล่าวต่อไปว่า การที่ผู้ถามระบุว่า การดำเนินการเรื่องตากใบของประชาชนเป็นเรื่องที่ต้องการความกล้าหาญ ตนไม่เห็นว่า จะเป็นเรื่องที่ถึงขนาดต้องเสี่ยงชีวิตจึงจะร้องขอได้แต่อย่างไร ผู้ถามต้องมองตามความเป็นจริงด้วย อีกทั้งที่ผ่านมายังมีกระบวนการเยียวยาแล้วในสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจำนวนเงินถึง 7 ล้านบาทต่อผู้เสียชีวิต ทั้งหมดคือความพยายามให้ทุกฝ่ายเห็นว่า เรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้น และควรใช้เป็นอุทธาหรณ์มากกว่าในการใช้เป็นเครื่องมืออธิบายว่ารัฐบาลตั้งใจจะฆ่าหรือไม่ใส่ใจไม่เห็นคุณค่าชีวิต ในกระบวนการทางกฎหมายก็ว่ากันไป


ผู้ที่ถูกกล่าวหาทั้งหมดตอนนี้ยังหาตัวไม่ได้ตำรวจก็ต้องดำเนินการตามหมายจับ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้ารู้ก็จับได้แล้ว ตอนนี้ก็ต้องให้กระบวนการยุติธรรมทำหน้าที่เดินไป ผู้ถูกกล่าวหายังถือว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ เมื่อยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการต่อสู้ กระบวนการยุติธรรมก็ต้องดำเนินการให้บรรลุผลให้เร็วที่สุด” ภูมิธรรม ชี้แจง


ทั้งนี้ รัฐบาลปัจจุบันได้พยายามปรับวิธีการทำงานกับประชาชนใน 4 จังหวัดภาคใต้ ทั้งความพยายามปรับวิธีคิด นโยบาย และวิธีการทำงานเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นอีก รวมทั้งการปรับนโยบายต่าง ๆ ให้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นลดลงด้วยการเจรจา ปรับวิธีการในการเดินหน้าสู่สันติสุข มีตัวแทนคณะทำงานไปเจรจากับกลุ่มผู้ก่อการใน 4 จังหวัดภาคใต้ มีการคุยกันหลายครั้งแต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีปัญหาหลายมิติที่ต้องแก้ไข


ภูมิธรรม กล่าวต่อไปว่า วันนี้ถ้าอยากมีการแก้ไขปัญหาเรื่องคดีก็ว่ากันไป ตอนนั้นเคยมีการถามผู้สูญเสียแล้วว่า จะฟ้องคดีหรือไม่ มีเวลา 15 วันก็ไม่มีใครฟ้อง ตนก็นึกว่า ยุติไปแล้ว ทั้งนี้ตนไม่อยากให้เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่ความแตกแยก ที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามปรับนโยบายและลดภาวะความรุนแรงให้มากที่สุด ทำให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กอ.รมน., ศอ.บต. และหน่วยราชการยอมรับในความแตกต่างในสังคมพหุวัฒนธรรม หาทางออกทำงานร่วมกันต่อไป รวมทั้งความพยายามลดการใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ที่มีความสงบมากขึ้น


ด้านรังสิมันต์ ได้ถามกระทู้ต่อ โดยระบุว่า การที่รองนายกรัฐมนตรีแสดงความเสียใจในโอกาสนี้เป็นเรื่องที่ดี แต่ที่รองนายกรัฐมนตรีระบุว่าการเสียชีวิตของคน 78 คนเป็นเพราะขาดอากาศหายใจ คำถาม คือ อยู่ ๆ คนเหล่านั้นก็ขาดอกาาศหายใจเลยหรือ จะทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติโดยไม่ต้องมีผู้รับผิดเลยหรือ


ถ้าวันนี้รัฐบาลยังไม่สามารถมอบความจริงใจให้ผู้สูญเสียในเหตุการณ์ตากใบได้ จะเรียกว่า รัฐบาลมีความจริงใจได้อย่างไร ความจริงใจไม่ได้สะท้อนผ่านคำพูดแต่ต้องสะท้อนการกระทำ ถ้าวันนี้รัฐบาลยังไม่สามารถแสดงให้คนในพื้นที่รู้สึกถึงความจริงใจได้แล้วรัฐบาลจะแก้เรื่องนี้ได้อย่างไร”


คดีเรื่องนี้มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ประชาชนฟ้องตามที่ตนได้กล่าวถึงไป และส่วนที่มีการดำเนินการโดยตำรวจมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งปรากฏว่าตำรวจมีความเห็นไม่ควรสั่งฟ้อง รวมไปถึงมีการส่งเรื่องไปที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีก็เห็นพ้องด้วย ต่อมาเมื่อปี 2567 กรรมาธิการกฎหมายฯ ริเริ่มเพื่อให้มีการรื้อคดีในส่วนนี้ใหม่อีกรอบ แต่น่าเสียดายว่า เมื่อเดือนเมษายนตำรวจก็ยังคงมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องเหมือนเดิม แต่โชคยังดีที่เมื่อส่งไปที่อัยการสูงสุด มีความเห็นแย้งและสั่งให้มีการแจ้งข้อหาใหม่


รังสิมันต์อภิปรายต่อไปว่า คำถาม คือ รัฐบาลรับรู้ถึงความเจ็บปวดและความโกรธของประชาชนในพื้นที่ ที่รับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อนหรือไม่ คนตายขนาดนี้รัฐบาลจะอยู่เฉย บอกว่า ตายเองเพราะขาดออกซิเจนแบบนั้นหรือ เหลือเวลาเหลือแค่ 22 วัน กระบวนการชั้นตำรวจที่ต้องแจ้งข้อหาใหม่ก็เช่นกัน


วันนี้รองนายกรัฐมนตรีเป็นคนดูแลกำกับตำรวจจะบอกแค่ว่า ต้องมองอย่างสร้างสรรค์โดยไม่รู้สึกอะไรอย่างนั้นหรือ นึกไม่ออกว่า “สหายใหญ่” ที่เคยผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มา ที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมเช่นเดียวกัน จะทำให้เหตุการณ์ตากใบจบแบบเดียวกันหรือ

 

คำถามสำคัญ คือ วันนี้มีความพยายามในการเป่าคดีช่วยกันโดยหนึ่งในนั้น คือ ตำรวจ รองนายกรัฐมนตรีซึ่งดูแลตำรวจจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร”


ด้านภูมิธรรมได้ตอบคำถามในรอบที่สอง โดยระบุว่า ตนรู้สึกกับความเจ็บปวดของประชาชนไม่ต่างกัน แต่ก็มีความรู้สึกอื่นที่ต้องคำนึงถึงด้วย อาจเพราะประสบการณ์มากถึงไม่ได้มองเรื่องนี้จุดเดียว เรื่องนี้ต้องมองอย่างเป็นธรรมถึงจะแก้ปัญหาได้ ตนเข้าใจดีว่า ความรู้สึกที่ออกมารุนแรง แต่ที่ผู้ถามพูดออกมาไม่ช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดได้

 

ปัญหาภาคใต้จะดีขึ้นต้องใช้สติ ไม่ใช่อารมณ์ ตนบอกไปแล้วว่า ยอมรับและเสียใจ ที่ผ่านมารัฐบาลก็ดูแลเยียวยาด้วยจำนวนเงินส่วนหนึ่งแล้ว” รองนายกฯ ชี้แจง


ทั้งนี้ กระบวนการทั้งหมดในคดีไม่ใช่เรื่องของตำรวจอย่างเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามกระบวนการทั้งหมด รายงานฉบับแรกสถาบันนิติเวชได้พิจารณาแล้วมีผลออกมาอย่างนั้นจริง ๆ รัฐบาลไม่สามารถไปกำหนดให้แพทย์นิติเวชกำหนดได้ สะท้อนให้เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ได้มีใครตั้งใจ แต่ความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย จะจัดการตามอารมณ์ไม่ได้ ขอให้ผู้ถามใจเย็นดูว่า เรื่องนี้จะคลี่ลายให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้สูญเสียและผู้ถูกกล่าวหาได้อย่างไร


จากนั้น รังสิมันต์ได้ถามต่อเป็นรอบสุดท้าย โดยระบุว่า เงินเยียวยา คือภาษีของประชาชนทั้งประเทศ ตนสนับสนุนให้มีการเยียวยา แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า วันนี้สถานะความเจ็บปวดของผู้สูญเสียกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศต้องมาช่วยกันแบกรับ จ่ายเงินแทนให้กับความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่คณะกรรมการไต่สวนอิสระฯ ก็ระบุอย่างชัดเจนว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่


อยากฝากว่า วันนี้ประชาชนเริ่มคิดว่า จริง ๆ แล้วท่านและพรรคการเมืองรัฐบาลของท่านก็ต้องการให้เรื่องจบแบบนี้โดยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเมื่อไหร่ที่ขาดอายุความ จะไม่มีการสืบพยาน ไม่มีคำให้การ เพราะถ้ามีกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสืบพยานและคำให้การ สุดท้ายจะชี้ไปที่บุคคลที่ใหญ่กว่านั้นหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรีว่า อยากให้คดีจบแบบนี้ใช่หรือไม่” รังสิมันต์กล่าว


ด้านภูมิธรรมได้กล่าวตอบสั้น ๆ ในช่วงสุดท้ายว่า รัฐบาลจะจริงใจหรือไม่จริงใจนั้น ไม่ได้ดูจากการอภิปรายแต่ต้องดูที่การทำงาน เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ทั้งตำรวจ อัยการ ศาล ขณะนี้อยู่ในชั้นศาล รัฐบาลทำอย่างดีทีุ่สดก็คือเร่งรัดให้เกิดการจับตัวมาให้ได้ บางคดีทำได้บางคดีก็ทำไม่ได้ ถ้ามีหลักฐานว่า ตำรวจดึงคดีก็ขอให้ผู้ถามว่ามา แต่อย่าไปคิดเองว่า ใครเป็นอย่างไร ควรเอาเรื่องที่เป็นสาระจริง ๆ มาคุยกันดีกว่า

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ประชุมสภา #คดีตากใบ

จม.จากเรือนจำ “ขนุน-สิรภพ” เขียนยินดีกับพี่แฟรงค์ “เนติวิทย์” ที่คว้ารางวัลสุพรรณหงส์ จากสารคดี The Last Breath of Sam Yan การต่อสู้-เรียกร้อง ของคนในพื้นที่ เพื่อปกป้อง “ศาลเจ้าแม่ทับทิม”

 


จม.จากเรือนจำ “ขนุน-สิรภพ” เขียนยินดีกับพี่แฟรงค์ เนติวิทย์” ที่คว้ารางวัลสุพรรณหงส์ จากสารคดี The Last Breath of Sam Yan การต่อสู้-เรียกร้อง ของคนในพื้นที่ เพื่อปกป้อง “ศาลเจ้าแม่ทับทิม”


วันนี้ (3 ตุลาคม 2567) เฟสบุ๊ค panusaya sithijirawattanakul โพสข้อความจดหมายจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ 'ขนุน สิรภพ' เขียน โดยมีใจความระบุว่า


บ้าน รางวัล ชุมชน”


02/10/2024 สวัสดีครับแม่ วันที่ 191 ของการถูกจองจำ หนุนยังสบายดี ขาดเพียงอิสรภาพในชีวิต หนุนยังคงรู้สึกไม่ดีต่อผลการประกันที่ผ่านมา ในทุกนาทีหนุนจะคิดถึงว่าจะทำอย่างไรต่อ ถึงจะมีใครบอกว่า ทำไรไปเขาก็ไม่สนหรอก แต่หนุนไม่สนใจ เพราะหนุนยังเชื่อในกระบวนการยุติธรรม หนุนยังจะไม่บอกว่าจะทำอะไร แต่ภาพต่าง ๆ ที่หนุนปูทางไว้น่าจะใกล้เห็นผลแล้ว คงอีกอึดใจเดียว


หนุนพึ่งทราบว่าพี่แฟรงค์-เนติวิทย์ ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 32 จากสารคดีเรื่อง The last breath of Sam Yan ที่เป็นหนึ่งในหลายสิ่งที่พี่แฟรงค์ขับเคลื่อนเพื่อปกป้องชุมชนและวัฒนธรรมบริเวณสามย่าน ศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง ตลอดหลายปีที่ผ่านมาพี่แฟรงค์ เพื่อนนิสิตและอาจารย์ รวมถึงคนในชุมชน (ที่เหลือจากการโดนไล่ที่) ผมที่เคยได้ร่วมปกป้องศาลเจ้าแม่นับแต่พี่แฟรงค์เริ่มขับเคลื่อนเรื่องนี้ น่าจะมีภาพอยู่นานละ หนุนคงทำได้เพียงแสดงความยินดีกับพี่แฟรงค์ที่ขับเคลื่อนคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชน และคงขอให้ศาลเจ้าแม่ยังคงถูกอนุรักษ์ไว้ แม้จะถูกโอบล้อมไปด้วยตึกสูง คุณค่าสมัยใหม่และทุนนิยม แต่เราไม่ควรหลงลืมรากเหง้าของสถานที่ที่เรายืนอยู่ว่ามีเรื่องราวความเป็นมาเช่นไร แม้ในยามนี้ผมไม่อาจมีอิสรภาพในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกป้องร่วมกับพี่แฟรงค์และทุกคน แต่หนุนขอส่งกำลังใจและพลังให้เดินหน้าต่อไป


เรื่องนี้ชวนหนุนคิดเรื่องบ้านของครอบครัวเราอย่างดอนเมือง แต่ก่อนดอนเมืองมีชื่อว่า ดอนอีเหยี่ยว เพราะมีเหยี่ยวเยอะในสมัยก่อน พร้อมเป็นพื้นที่ดอน น้ำท่วมได้ยาก (ครูที่ ห.ว.น. [หอวังนนท์] เล่าให้ฟัง) ซึ่งนำมาสู่ความน่าสนใจที่ว่าอย่าง มีเรื่องราวอะไรที่เรายังไม่รู้อีกบ้าง


สุดท้าย ผมเป็นคนดอนเมือง หนุนมีพ่อมีแม่ มันไม่มีเรื่องอะไรที่หนุนต้องละทิ้งบ้านหลังนี้ที่อยู่ตลอด 24 ปี แม้ 6 เดือนหนุนก็ไกลบ้าน ไกลครอบครัว ไกลคนที่รัก หนุนขอเพียงได้กลับบ้าน หนุนเชื่อในกระบวนการว่าหนุนจะต้องได้รับความเป็นธรรมในวันหนึ่ง


ปล. EM มีไว้ติดตามตัวทั้งการอยู่บ้าน 24 ชม. ก็ยากจะหลบหนี หากไม่เชื่อมั่นใน EM และกระบวนการติดตามแล้ว คงไม่มีใครในประเทศที่ได้ประกันตัวแล้ว

ขอให้หนุนได้กลับบ้าน

(สิรภพ พุ่มพึงพุทธ)

ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ


สำหรับ สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ หรือขนุน เคยจัดกิจกรรมกลุ่ม ‘มศว คนรุ่นเปลี่ยน’ ปัจจุบันอายุ 23 ปี จบการศึกษาจาก ภาควิชารัฐศาสตร์สาขาการเมืองการปกครอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2567 ในคดีมาตรา 112 ซึ่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก 2 ปี จากกรณีปราศรัยในการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563


การไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว ส่งผลให้ 'ขนุน สิรภพ' ขาดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #จดหมายนักโทษการเมือง #ขนุนสิรภพ #ปล่อยเพื่อนเรา #ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม