ยูดีดีนิวส์ : 25 ก.พ. 63 ถอดคำพูดของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ในการทำ Facebook Live เมื่อวานนี้ (24 ก.พ.) โดย อ.ธิดา ได้กล่าวว่า วันนี้อย่างไรเสียเราหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่เราจะต้องคุยในเรื่องสำคัญทางการเมือง เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ คือกรณียุบพรรคอนาคตใหม่ มันจะเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์และเป็นเรื่องที่เราจะต้องพิจารณา วิเคราะห์ ในฐานะของฝ่ายประชาชน ว่าเหตุการที่เกิดขึ้นนี้มันบ่งชี้อะไร กี่อย่าง โดยวันนี้จะพูดในประเด็น
ข้อสังเกตกรณี "ยุบพรรคอนาคตใหม่"
"ในข้อสังเกตนี้ดิฉันจะพูดประเด็นทางข้อกฎหมาย ทั้งประเด็นของรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 ประเด็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 66, มาตรา 72, มาตรา 92, มาตรา 124 และมาตรา 125 ฟังแล้วดูเหมือนเป็นเรื่องกฏหมายยาว แต่ดิฉันคิดว่ามาถึงวันนี้ หลาย ๆ คนโดยเฉพาะคนที่ติดตาม Facebook Live ของ อ.ธิดา ก็คงจะรู้แล้วว่า กฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่มีการอ้างถึงเป็นเหตุให้ยุบพรรคก็มีคนออกมาโต้แย้งมากมาย ดิฉันจะตั้งข้อสังเกตเพื่อให้ส่วนต่าง ๆ นำไปใคร่ครวญและนำไปต่อยอด แม้กระทั่งในวงการตุลาการและศาลรัฐธรรมนูญเอง"
อ.ธิดาออกตัวว่า ดิฉันไม่ได้จบนิติศาสตร์ หลายคนก็คงทราบ ดิฉันมาจากสายวิทยาศาสตร์ เรียนปริญญาตรีก็มาทางเภสัชศาสตร์ แล้วมาต่อทางจุลชีววิทยา (Microbiology) แต่ในฐานะที่เรามาทำงานภาคประชาชน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เมื่อกี้ที่เราพูดถึงกฎหมายมาตราต่าง ๆ นั้นก็เพื่อมองให้เห็นว่า ในคำพิพากษาได้มีการอ้างมาตราต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 อ้างกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และความเชื่อมโยงในการเอามาตรา 66 กับ 72 มาพิจารณาด้วยกันแล้วก็เกิดวาทกรรมศัพท์ใหม่ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น
"พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลมหาชน" ซึ่งก็มีคนโต้แย้ง
ปัญหาเงินกู้เป็นเงินบริจาคหรือไม่...มีคนโต้แย้ง
ถือเป็นรายรับหรือประโยชน์อื่นใด...ก็มีคนเห็นแย้ง
แล้วมันเป็นเงินกู้ซึ่งตามหลักการเวลาลงบัญชีรับ แต่ว่ามันก็ต้องลงหนี้สิน เพราะมันไม่ใช่รายได้ที่เป็นทรัพย์สินเป็นผลบวก แต่เป็นรายได้ที่เป็นผลลบ แล้วดิฉันก็ได้เห็นรัฐธรรมนูญที่ได้ระบุถึงการสูญสิ้นไปของพรรคการเมืองอันหนึ่งก็คือ "การล้มละลาย" นั่นก็แปลว่า ถ้ามีหนี้สินมาก พรรคการเมืองก็ล้มละลาย ถามว่าการล้มละลายของพรรคการเมืองนั้นจะอธิบายในฐานะนิติบุคคลมหาชน...ได้หรือไม่? ดิฉันตั้งคำถามเอาไว้ตรงนี้! นี่คือภาพรวมของประเด็นกฏหมายซึ่งมีข้อโต้แย้ง อ.ธิดากล่าวย้ำ
เอาล่ะ! ดิฉันจะเริ่มต้นว่ากรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้สร้างบรรทัดฐานขึ้นมาจำนวนหนึ่ง ประเด็นแรกก็คือข้อโต้แย้ง สำหรับดิฉันอยากจะเสนอมุมมองเพิ่มเติม ปัญหานี้เป็นปัญหาสำคัญก็คือ การอ้างถึงรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 ดิฉันพบว่าในคำพิพากษาของศาลกับรัฐธรรมนูญมันมีข้อความแตกต่างกันอยู่ระดับหนึ่งซึ่งน่าเป็นห่วงมาก
ดิฉันมาอ่านมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญ เขียนไม่เหมือนกันกับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 45 วรรคสอง (ดิฉันจะไม่อ่านตอนต้นนะคะ) จนถึงว่าจุดประเด็นสำคัญซึ่งเป็นเจตนารมณ์เลย แล้วก็คำต่อคำเลยก็คือว่า
"การบริหารพรรคการเมือง ซึ่งต้องกำหนดให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบายและการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง" โอเค อันนี้เหมือนกัน
ต่อไปในรัฐธรรมนูญเขียนว่า "และกำหนดมาตรการให้สามารถดำเนินการโดยอิสร"ะ (โปรดสังเกตุต่อไปนี้ขีดเส้นใต้นะ) "ไม่ถูกครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น"
ดังนั้นหมายความว่า ไม่ถูกครอบงำหรือชี้นำ มันตามมาด้วยคำว่า "โดย" คือคำว่า "ครอบงำ" หรือ "ชี้นำ" นี้เป็นกริยา แล้วใครเป็นประธาน ใครเป็นผู้กระทำ ในนี้เขาใช้คำว่า "โดย" ก็แปลว่าคนที่ต่อมานั่นก็คือผู้กระทำ "โดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น"
อ.ธิดากล่าวต่อไปว่า แล้วหันมาดูในคำพิพากษา อันนี้ดิฉันเพียงแต่นำเสนอว่ามันมีความแตกต่าง แต่ดิฉันไม่ได้ไปก้าวล่วงตรงการพิพากษานั้น ดิฉันชี้ให้เห็นว่าเมื่อท่านอ้างถึงมาตรา 45 ดิฉันก็สงสัยว่ามันต่างกันเล็กน้อย แต่มันมีผลต่อความคิดหรือเปล่า? เพราะว่าตอนที่ดิฉันฟังคำพิพากษาก็ราบรื่นดี ก็เข้าใจและมีข้อสรุปต่อมาว่าจะเป็นประเด็นที่สองก็คือ "ปัญหาเรื่องนายทุนกับการตั้งพรรคการเมือง" ถ้าคำพิพากษาเป็นไปตามบรรทัดฐานนี้ ก็จะแปลว่า ทุนและกลุ่มทุนจะมาตั้งพรรคการเมืองมิได้ เพราะว่าแม้ตัวเองจะเป็นสมาชิกพรรคหรือหัวหน้าพรรคก็ตาม บรรทัดฐานโดยพรรคอนาคตใหม่นี้ เหตุผลเพราะว่าในนี้บอกชัดเลยว่ามันจะถูกครอบงำในคำพิจารณาซึ่งดิฉันจะอ่านต่อไป
แต่ในคำพิพากษาเขียนว่า "ไม่ถูกครอบงำ" แต่ไม่มีคำว่า "โดย" ไม่ถูกครอบงำหรือชี้นำ คือกริยาไม่ได้เอามาต่อกัน "ไม่ถูกครอบงำหรือถูกบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชี้นำ ครอบงำ" ดังนั้นแปลว่า คำว่าไม่ถูกครอบงำเป็นตอนหนึ่ง แล้วก็ "หรือถูกบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชี้นำ ครอบงำ" ตรงนี้มันทำให้ประธานกับกริยาที่มันเกิดขึ้นมันคนละอย่างกันนะ เพราะในรัฐธรรมนูญนั้นดิฉันมองว่าชัด การกระทำคือครอบงำหรือชี้นำรวมอยู่ในอันเดียวกันโดยบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
อ.ธิดากล่าวว่า ถ้าดิฉันตีความมาตรา 45 ในรัฐธรรมนูญก็คือไม่ต้องการให้คนนอกพรรคมาชี้นำ ครอบงำ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ซึ่งมันตรงประเด็นเลยก็เช่น พรรคเพื่อไทยจะมีการชี้นำ ครอบงำ โดยนายกฯ ทักษิณ ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคไม่ได้ เป็นต้น นี่ยกตัวอย่างตรง ๆ ชัด ๆ ดิฉันจำได้ว่าดิฉันอ่านมาตรานี้ตอนแรก ๆ ก็ยิ้มว่าเอ๊ะมันไม่ได้ใส่ชื่อกันเท่านั้นเอง นั่นคือการเขียน แต่พอมาถึงการตีความนี้แปลว่ามีการครอบงำหรือว่าถูกบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชี้นำ ครอบงำ
แล้วมาดูตรงการอ้างถึงที่สำคัญก็คือ นอกจากมาตรา 66 พูดถึงปัญหาการบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่มีมูลค่าเกินสิบล้าน ดังนั้นเมื่อตีความว่าเงินกู้เป็นการให้ประโยชน์อื่นใด ซึ่งก็มีการพูดกันในหลายส่วนรวมทั้งคณาจารย์หลายท่านก็มีการแสดงความคิดเห็นขัดแย้งว่า เงินกู้มันจะเป็นรายรับหรือว่ามันจะเป็นผลประโยชน์อื่นใด มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หลายท่านก็พูดขำ ๆ ว่าถ้าเงินกู้มาเป็นรายรับหรือผลประโยชน์คนกู้มากก็แปลว่าน่าจได้ผลประโยชน์มากหรือมีรายรับมาก แต่จริง ๆ เงินกู้มันต้องลงบัญชีอยู่ในประเภทหนี้สิน แล้วก็มันมีชัดเจนในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าการสิ้นสุดของพรรคการเมืองนั้นมีข้อหนึ่งก็คือมีหนี้สินล้นพ้นตัว งั้นก็แปลว่า หนี้สินอาจจะทำให้พรรคการเมืองถูกยุบ ไม่ใช่หนี้สินเป็นผลประโยชน์อื่นใดซิคะ
อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตซึ่งดิฉันคิดว่ายังไม่มีใครพูด ก็คือ มาตรา 45 ในรัฐธรรมนูญ กับมาตรา 45 ในคำพิพากษา ดิฉันอ่านแล้วคิดว่ามันแตกต่างกัน ดังนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สังคมจะวินิจฉัยต่อไป
อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตซึ่งดิฉันคิดว่ายังไม่มีใครพูด ก็คือ มาตรา 45 ในรัฐธรรมนูญ กับมาตรา 45 ในคำพิพากษา ดิฉันอ่านแล้วคิดว่ามันแตกต่างกัน ดังนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สังคมจะวินิจฉัยต่อไป
อ.ธิดายังกล่าวอีกว่า สำหรับอาจารย์นิติศาสตร์ มธ. และคนอื่น ๆ นั้น ประเด็นที่มีการพูดถึงโต้แย้งมากก็คือ "นิติบุคคลเอกชน" ซึ่งเขาถือว่าพรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลเอกชน ไม่ใช่นิติบุคคลมหาชน ดังนั้นการกู้เงิน ถ้าเป็นนิติบุคคลเอกชนมันแล้วแต่คู่สัญญา เขาอาจจะตกลงกันว่าไม่คิดดอกเบี้ยก็ได้ ไม่คิดค่าปรับก็ได้ คิดดอกเบี้ยต่ำหรือสูงก็ได้ เพราะมันเป็นเอกชนต่อเอกชน มันเป็นเสรีภาพ ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดกันทั่วไปในหมู่ที่ความเห็นแตกต่างกัน ในทัศนะของดิฉันก็เห็นด้วยในประเด็นนี้
ส่วนว่าเงินกู้เป็นรายได้และเป็นผลประโยชน์อื่นใด สำหรับดิฉันส่วนตัวก็ขอตั้งข้อสังเกตว่า มันคงไม่ใช่นะ ดิฉันเคยทำธุรกิจ ปรากฏว่าเรามีเงินกู้ อันนั้นคือปัญหา เงินกู้มันก็คือเป็นหนี้สินและมันไม่น่าจะเป็นผลประโยชน์อื่นใด เพราะมันเป็นเสรีภาพของคู่สัญญาว่าเขาจะกู้จากใครก็ได้
แต่ว่าถ้าหากตีความว่าเป็นการครอบงำตามมาตรา 45 (โดยเป็นมาตรา 45 อีกแบบหนึ่ง) ถ้าดิฉันตีความในมาตรา 45 ในศาลรัฐธรรมนูญนั้น ดิฉันตีความว่าเป็นมาตรา 45 ที่ไม่ต้องการการครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลนอกพรรค เหตุผลเพราะว่าในพรรค สมมุติว่ามีการกำหนดนโยบายหรืออะไร ถ้ามีการแลกเปลี่ยนกัน มันต้องมีความคิดหนึ่งซึ่งถูกนำไปใช้ และความคิดที่ถูกนำไปใช้มันต้องเป็นความคิดที่มาจากการอยู่ในหลักนโยบายหรือการประชุม ซึ่งเป็นความคิดของคนในพรรค
อ.ธิดาย้ำว่า "จะบอกว่าการครอบงำหรือชี้นำของคนในพรรค ในรัฐธรรมนูญ ในทัศนะของดิฉันเขียนลงไปไม่ได้ เพราะไม่อย่างนั้นมันจะเป็นพรรคการเมืองได้อย่างไรถ้าหากว่าคนในพรรคไม่สามารถมีความคิดซึ่งคนอื่นยอมรับได้ มันก็ต้องมีอีกว่า เอามาชี้นำกี่ครั้งถึงจะแปลว่าครอบงำ และครอบงำหมายความว่าอะไร"
ดังนั้นในรัฐธรรมนูญดิฉันก็เข้าใจว่า เขาจึงใช้คำว่า "โดยคนนอกพรรค"
ฉะนั้นวันนี้ดิฉันก็คิดว่าเราพูดได้เฉพาะประเด็นสำคัญคือประเด็น มาตรา 45 แต่ว่ามันจะนำไปสู่ข้อสรุปซึ่งดิฉันคิดว่าคงจะต้องพูดต่อไปก็คือ ต่อไปนี้นายทุนจะตั้งพรรคการเมืองคงไม่ได้ แต่อาจจะใช้วิธีว่าสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายที่มีอำนาจได้หรือเปล่า เพราะว่ามันปรากฏชัดแล้วว่า ยกตัวอย่างเช่น พรรค พปชร. บริษัท คิงเพาเวอร์ 3 บริษัท อันนี้บริจาคแบบถูกต้องเลยนะ
บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 9 ล้าน
บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 9 ล้าน
บริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 6 ล้าน
3 บริษัทนี้ก็ 24 ล้าน อันนี้ถูกกฎหมาย แล้วถามว่านี่เป็นคนชุดเดียวกันไหมถ้าไปดูการจดทะเบียน ดังนั้นดิฉันขอถาม กกต. ว่าแล้วอย่างนี้มันเกินสิบล้านหรือเปล่าล่ะคะ อย่างนี้จะตีความไหม? นี่ยกตัวอย่างอันเดียว
ถ้าตราบใดที่ คิง เพาเวอร์ ไม่ตั้งพรรคการเมือง แต่ คิง เพาเวอร์ เลือกสนับสนุนถูกข้าง ก็ไม่ผิดหรือคะ?
ดิฉันก็ขอจบวันนี้ก่อน แล้วเราจะตามมาด้วย "ปัญหาการตั้งพรรคกับทุน" อ.ธิดากล่าวในที่สุด
ถ้าตราบใดที่ คิง เพาเวอร์ ไม่ตั้งพรรคการเมือง แต่ คิง เพาเวอร์ เลือกสนับสนุนถูกข้าง ก็ไม่ผิดหรือคะ?
ดิฉันก็ขอจบวันนี้ก่อน แล้วเราจะตามมาด้วย "ปัญหาการตั้งพรรคกับทุน" อ.ธิดากล่าวในที่สุด