ยูดีดีนิวส์ : 18 ก.พ. 63 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ กล่าวผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจในการทำเฟสบุ๊คไลฟ์ว่า ขณะนี้ประเทศไทยเราประสบภาวะวิกฤตมากมาย ที่แล้วมาเราพูดเรื่องวิกฤตของฝุ่น, วิกฤตโคโรน่าไวรัส, วิกฤตเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้เรื่องการเมืองก็อยู่ในช่วงวิกฤตเช่นกัน วันนี้ดิฉันจะพูดประเด็น
"การยุบพรรคกับวงจรอุบาทว์การเมืองไทย"
อ.ธิดากล่าวว่า ปกติเราจะพูดเรื่องวงจรอุบาทว์การเมืองไทย พูดเฉพาะในประเด็นของการทำรัฐประหาร คือทุกคนก็จะมองว่าการทำรัฐประหารก็คือวงจรอุบาทว์การเมืองไทย แต่วันนี้ดิฉันขอเสนอสิ่งใหม่ ความจริงมันก็คือเรื่องเก่านั่นแหละ แต่ว่าเราไม่ได้ใช้ศัพท์คำนี้ เพราะการยุบพรรคในประเทศไทยนั้นมันเป็นการต่อสู้แบบใหม่ในช่วงสองทศวรรษนี้ ตั้งแต่ 2549 ที่มียุทธวิธีของการยุบพรรคเพื่อเป็นการแก้ปัญหาของฝ่ายจารีตนิยม แล้วมันก็ยุบซ้ำแล้วซ้ำอีก
เพราะฉะนั้นดิฉันจึงขออนุญาตว่า นี่ก็คือวงจรอุบาทว์การเมืองไทยอีกแบบหนึ่งคือ การยุบพรรคการเมือง
แน่นอนคนอื่นอาจจะคุยกันในประเด็นกฏหมาย ซึ่งความจริงดิฉันก็เตรียมเอาไว้เหมือนกันว่า ในความเป็นจริงที่มีการพูดกันมากว่า การกล่าวหามันจะสมเหตุสมผลและสอดคล้องกับข้อกฏหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองหรือไม่? อาจจะมีการทุ่มเถียงกันว่าตกลงแล้ว "เงินกู้" มันเป็นรายได้หรือเป็นหนี้สิน หรือมันเป็นผลประโยชน์อื่นใด? แล้วในกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในเรื่องรายได้ ไม่ได้พูดเรื่องเงินกู้ยืม หรือว่าอาจจะถูกพิพากษาโดยมาตรา 125 หรือเปล่า? นี่ยกตัวอย่างเป็นต้น
แต่ดิฉันคิดว่าก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจภาพรวมของประเทศไทย เพราะว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่จะมีการวิตกเรื่องการยุบพรรค การตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหาร มันเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งดิฉันอยากจะพูดถึงเหตุผลของสิ่งนี้
ในอดีตนั้นเรามีการทำรัฐประหารบ่อย ๆ แล้วพรรคการเมืองเก่าแก่ที่อยู่มานานก็คือพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่ได้อยู่ในเกมที่ว่าจะต้องมีการยุบพรรค อยู่มายาวนาน หมายความว่าการทำรัฐประหารที่แล้ว ๆ มา นับจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีพรรคการเมืองเกิดขึ้น พรรคการเมืองที่อยู่ยาวมาตลอดก็คือ "พรรคประชาธิปัตย์" พรรคการเมืองอื่น ๆ ก็มีอันเป็นไปตามเหตุการณ์
ดังนั้นวงจรอุบาทว์การเมืองไทยที่มองเห็นชัดคือ การทำรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์ที่กระทำซ้ำแล้วซ้ำอีก 13 รอบนี่ก็คือที่ทำสำเร็จ ที่ไม่สำเร็จ (คือเป็นกบฎ) นับได้เป็นสิบ ทุกคนเข้าใจแล้วว่าเฉลี่ยไม่ถึง 6 ปีก็มีการทำรัฐประหารอีก ถ้านับรวมทั้งกบฎด้วยหลายท่านกล่าวว่าไม่ถึง 4 ปีด้วยซ้ำ ก็ถือเป็นวงจรอุบาทว์ของการแย่งชิงอำนาจประชาชนโดยการทำรัฐประหาร
แต่ว่าเราจะสังเกตเห็นว่าในสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ ก็จะมีปรากฏการณ์แบบใหม่ นั่นก็คือการจัดการกับหัวหน้าพรรค จัดการกับพรรคการเมือง มีการยุบพรรคซ้ำแล้วซ้ำอีก ข้อแรกก็จะมองว่าอันนี้เป็นยุทธวิธี เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นของฝ่ายจารีตนิยม ในการจัดการกับฝ่ายที่ถือระบอบประชาธิปไตยแบบสากลเป็นสรณะ ซึ่งหมายความว่าประชาชน/พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพ มีความเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางกฏหมายและสิทธิทางการเมือง
แปลว่าฝ่ายจารีตนิยมไม่ได้เห็นสอดคล้องด้วย ดังนั้นกรณีที่อาจจะอ้างเป็นเหตุผลว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือว่ามีการคอรัปชั่นอะไรก็ตาม ก็สามารถทำรัฐประหารได้ทั้งสิ้น ดังนั้นการทำรัฐประหารก็เป็นนิจสินจนกระทั่งมาถึงทุกวันนี้ คนก็ยังบอกว่าจะมีรัฐประหารอีกก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้สูงมากสำหรับประเทศไทย นั่นคือวงจรอุบาทว์ที่มีมายาวนานตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง!!!
แต่วงจรอุบาทว์แบบใหม่มันเกิดขึ้นหลังจากที่มีพรรคไทยรักไทยและครองเสียงข้างมากในรัฐสภาและเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ในเมื่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง 2 ครั้ง อย่างถล่มทลาย ทำให้ฝ่ายจารีตนิยมมองเห็นว่าพรรคการเมืองแบบเก่า (แบบประชาธิปัตย์) ยากที่จะรับมือ การทำรัฐประหารก็ยากที่จะรับมือ ดังนั้นจึงเพิ่มกลไกทางกฎหมายมากขึ้น เราจึงได้รธน.50 และรธน.60 ที่ยิ่งร้ายแรงกว่า รธน.50
กฏหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกฏหมายประกอบรธน.หรือกฏหมายอื่น ๆ ก็สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมืออันใหม่ นอกเหนือจากการทำรัฐประหาร ในการจัดการ โดยที่ไม่ได้สนใจว่านี่มันจะเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือเปล่า? มีการเลือกตั้งก็แล้วกัน
แต่จะเลือกแบบไหน?
วุฒิสภาต้องเลือกไหม?
หรือจะตีความอย่างไร?
องค์กรอิสระก็มาจากการแต่งตั้ง!!!
นั่นหมายความว่าการทำรัฐประหารก็เอาไม่อยู่ ก็เพิ่มความรุนแรงในการใช้กฎหมายให้เป็นประโยชน์ในการรักษาอำนาจของฝ่ายจารีตนิยม จะพูดอย่างนั้นก็ได้
ถ้าเราย้อนไปดูการยุบพรรคการเมือง ดิฉันจะไม่พูดถึงการยุบพรรคการเมืองที่ไม่มีเจตนาของการแย่งยิงอำนาจแอบแฝง เป็นการยุบพรรคโดยธรรมชาติเป็นไปตามกฏหมายธรรมดา เช่น หาสมาชิกพรรคไม่ได้ ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตัวเองยุบพรรคเอง เป็นต้น ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก
พรรคไทยรักไทย ถูกยุบ (30 พ.ค. 50) เพราะกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นเรื่องใหม่ และดิฉันจะสนใจการยุบพรรคที่อ้างว่ากระทำการล้มล้างการเมืองการปกครองและโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากนั้นก็มีพรรคเล็ก 3 พรรค ถูกยุบไปด้วย ซึ่งตรงนี้ดิฉันก็ไม่อยากจะพูดถึง
ต่อมาปี 2551 มีพรรคการเมือง 3 พรรคถูกยุบเนื่องจากการกระทำล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้แก่ พรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และสุดท้ายปี 2562 ยุบพรรคไทยรักษาชาติ
อ.ธิดากล่าวต่อว่า ที่เราติดใจและมองว่ามันเป็นวงจรอุบาทว์ก็คือนับจากยุบพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา
ในกรณียุบพรรคไทยรักไทย ก่อนหน้านั้นก็มีคดีของคุณทักษิณเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วฝั่งจารีตนิยมเชื่อกันว่าความผิดพลาดที่ทำให้คุณทักษิณสามารถยึดกุมอำนาจรัฐได้ต่อมาในลักษณะของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งก็คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญ (ขณะนั้น) ตัดสินแล้วคุณทักษิณชนะในกรณีเรื่องการถือหุ้น เมื่อคุณทักษิณได้เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและได้เป็นนายกฯ ชัยชนะก็มากขึ้น ฝ่ายจารีตนิยมก็จะเรียนรู้บทเรียนอันนี้ การทำรัฐประหารปี 2549 พร้อมกับการที่มีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จึงต้องตามด้วยการยุบพรรคไทยรักไทยและเอาผิดดร.ทักษิณ ชินวัตร
เมื่อยุบ "พรรคไทยรักไทย" ก็เกิด "พรรคพลังประชาชน"
เมื่อยุบ "พรรคพลังประชาชน" ก็เกิด "พรรคเพื่อไทย"
แต่บทเรียนของการยุบไทยรักไทยก็หมายความว่าพรรคพลังประชาชนก็สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการยุบพลังประชาชนอีก ก็มีการเกิดของเพื่อไทย ทั้งหมดนี้มันควรจะเป็นบทเรียนว่า การยุบพรรคการเมืองนั้นแก้ปัญหาไม่ได้ แต่เขาก็ยังต้องใช้!!!
พูดง่าย ๆ ว่า การทำให้คนที่เป็นศัตรูอ่อนกำลังลงไม่ว่าด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด การยุบพรรคการเมืองจึงกลายเป็นยุทธวิธีหนึ่งของฝ่ายจารีตนิยม ซึ่งทำจนเหมือนเป็นวงจรอุบาทว์
กรณีไทยรักษาชาติก็เป็นกรณีล่าสุด ซึ่งอาจจะมองว่าไทยรักษาชาติเป็นดีเอ็นเอเดียวกัน มีความเกี่ยวข้องซึ่งสามารถอ้างได้ในทัศนะ/วิธีคิดของฝ่ายจารีตนิยม
สำหรับในกรณีของพรรคอนาคตใหม่เที่ยวนี้ ดังที่ดิฉันเคยบอกแล้วว่าแน่นอนคุณทักษิณนั้นก็คือเสือตัวเก่า ถามว่ายังมองเห็นเป็นเสืออยู่ไหม? ก็ยังมองเห็นเป็นเสือ และยังมีกลยุทธ์ที่จะจัดการกับพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณ ชินวัตร ตลอดจนคนที่สนับสนุน ถ้าติดตามการเมืองไทยโดยตลอดเราจะเห็นสิ่งนี้เป็นระยะ ๆ
ดิฉันถือเอาการทำรัฐประหารเป็นไม้ที่หนึ่ง ไม้ที่ตามมาก็คือการใช้กฏหมายเป็นอาวุธในการจัดการ จับกุมคุมขังดำเนินคดี เช่น แกนนำนปช. ซึ่งความจริงแกนนำนปช.จำนวนไม่ใช่น้อย รวมทั้งคนเสื้อแดงทั้งหมด กับพรรคเพื่อไทยก็ประหนึ่งเป็นแนวร่วม คือคนเสื้อแดงส่วนใหญ่อาจจะสนับสนุนเพื่อไทย ปัจจุบันคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งก็อาจจะมาสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ หกล้านกว่าเสียงของอนาคตใหม่ก็อาจจะมีคนเสื้อแดงเกือบครึ่งหนึ่งก็ได้ อีกครึ่งหนึ่งอาจจะเป็นอีกส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งของคนที่มีทฤษฎี 2 ไม่คือ ไม่ชอบทักษิณและไม่ชอบการทำรัฐประหาร เติมอีก 1 ไม่ก็ได้คือไม่ได้ชอบพรรคการเมืองเก่าแก่ แต่ถ้าไม่ชอบการทำรัฐประหารมันก็ถือเป็นแนวร่วมอันเดียวกัน ดังนั้นในหกล้านกว่าเสียงนั้นมันมีทั้งเสียงของคนเสื้อแดง ของคนฐานราก ของชนชั้นกลาง ของปัญญาชน เพราะฉะนั้นคนที่ออกมาลงชื่อไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคอนาคตใหม่ และไม่เห็นด้วยกับการลงโทษที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง มันก็จะกลายเป็นเรื่องตลกแบบเดียวกับเวลาเราพูดถึงคุณสมัครที่ถูกลงโทษตามพจนานุกรม (ทำกับข้าว)
ใครจะรู้สึกอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ประชาชนมองเป็นเรื่องตลก ดิฉันคิดว่ากระบวนการยุติธรรมทำให้เป็นเรื่องตลกไม่ได้ แม้ว่าคำย่อจะใกล้กัน บางคนก็เขียนคำว่า ต ล ก
ตลก. ก็คือตุลาการ ต้องเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และมันเป็นสิ่งเดียวที่สังคมไทยถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด พูดง่าย ๆ ว่าเป็นฟางเส้นสุดท้ายนั่นแหละ เพราะว่าประชาชนก็หวังความยุติธรรม และศาลรัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมที่สำคัญ ดังนั้นการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีความสำคัญคือ
ความศักดิ์สิทธิ์ของศาล ที่ทำให้คนเห็นว่าสมเหตุสมผล และเป็นเรื่องที่ชอบธรรม สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ได้ใช้เทคนิคทางกฏหมายเพื่อจัดการกับฝ่ายที่เห็นต่าง
กกต. ก็ถูกพิพากษาจากสังคมจำนวนหนึ่งไปแล้วว่าเกินกว่าเหตุหรือเปล่าในการตั้งข้อหาอันนี้ แล้วเป็นการกระทำอย่างเดียวกันกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ในเรื่องรายได้ ในเรื่องเงินยืม ในการดำเนินการของพรรคการเมืองหรือเปล่า
ในทัศนะส่วนตัวของดิฉันเท่าที่ดูแล้วมันไม่อาจยุบพรรคได้ เพราะว่าเงินยืมไม่ใช่รายได้และไม่ใช่ผลประโยชน์อื่นใด แต่ถ้าตีความว่าเงินยืมเป็นเงินบริจาค มันต้องไปพิสูจน์กันให้จบกระบวนการ ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาได้แก้ข้อกล่าวหาอย่างจริงจัง
ดิฉันคิดว่าคุณธนาธรจงใจที่จะให้เป็นเงินยืมจริง!!!
ดิฉันเชื่อว่าคุณธนาธรไปพูดที่ FCCT วันนั้น อยากจะบอกสังคมว่าคุณธนาธรแตกต่างนะ ไม่ใช่นายทุนของพรรค ถ้าพรรคต้องการเงิน ผมก็ให้กู้ แต่พรรคต้องคืน ในทัศนะดิฉันมองคุณธนาธรอย่างนั้นนะคะ ว่าคุณธนาธรจงใจ เพราะถ้าคุณธนาธรต้องการบริจาคจริง ต้องการทิ้งเงินจริงให้กับพรรค ไม่จำเป็นต้องมาทำเป็นในรูปเงินกู้ เพราะนี่เป็นสัญญาว่าพรรคต้องคืน ดิฉันคิดว่าคุณธนาธรเชื่อมั่นว่าพรรคต้องหาเงินได้และต้องคืนเขา และนั่นเป็นการอวดตัวด้วยซ้ำว่าเขาไม่ใช่นายทุน แต่กลายเป็นว่าเรื่องนี้ก็ไปตีความว่าเป็นเงินบริจาค
ดิฉันเชื่อว่าคุณธนาธรไม่ตั้งใจบริจาค เพราะว่าการที่เป็นกลุ่มทุนในภาคอุตสาหกรรมและแสดงตัวว่าเป็นคนก้าวหน้า มีบางอย่างเหมือนกัน อาจจะคล้ายกันกับพรรคเพื่อไทย แต่บางอย่างเขาคิดว่าเขาก็อาจจะต่างกับพรรคเพื่อไทยและดร.ทักษิณ ชินวัตร เพราะฉะนั้นเป็นการพยายามจะบอกด้วยซ้ำว่า ผมไม่ใช่นะ ผมให้เงินเขาในการดำเนินงาน แต่ผมให้เป็นเงินยืม เจตนามันอยู่ตรงนี้!!!
ดังนั้น เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ไม่ต้องการให้ใครบริจาคเกิน 10 ล้าน โดยมองว่าจะเป็นการครอบงำ ซึ่งจริง ๆ ดิฉันคิดว่าการเขียนแบบนี้คุณเขียนได้ แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องโง่เขลา เพราะเวลาเขาให้กันจริง ๆ เขาไม่เอามาบอกกันหรอก มีวิธีให้เงินเยอะแยะไป ทีรับอย่างอื่นยังรับกันได้ ให้พรรคการเมืองทำไมจะให้ไม่ได้ แล้วใครจะมาโง่ว่าให้เขียนเป็นเงินกู้
ถามว่าในพรรคของฝ่ายรัฐบาลหรือพรรคอื่น ๆ ถ้าเขียนเงินกู้ก็เขียนเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่ไม่มี ก็ต้องใช้มาตรฐานเดียวกันว่า พรรคอื่นที่มีเงินกู้คุณจะทำอย่างไร? ผิดกฏหมายไหม? หรือคุณจะไปตีความว่านี่ไม่ใช่เงินบริจาคเพราะมันไม่เกิน 10 ล้าน ดิฉันคิดว่าไปทางไหน กกต. ก็แย่ ดังนั้นเมื่อ กกต. แย่ ก็ไม่น่าจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์กว่าแย่ตาม กกต. ไปด้วย ดิฉันคิดอย่างนั้นนะ
และดิฉันเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า วันนั้นที่คุณธนาธรไปพูดนั้น ต้องการจะบอกว่าผมไม่ใช่นายทุนนะ ผมไม่ได้เป็นนายทุนที่อยู่เหนือพรรคนะ ผมให้ยืม เงินของผมต้องคืน ความหมายเป็นอย่างนี้ด้วยซ้ำ
เอาล่ะ...จะผิดมาตราไหนแล้วแต่จะอ้างเทคนิค จะอ้างอะไรก็อ้างได้ ถ้ามีกลยุทธ์ก็คือจะต้องยุบพรรคให้ได้หรือเปล่า? อ.ธิดากล่าวในที่สุด
ในทัศนะส่วนตัวของดิฉันเท่าที่ดูแล้วมันไม่อาจยุบพรรคได้ เพราะว่าเงินยืมไม่ใช่รายได้และไม่ใช่ผลประโยชน์อื่นใด แต่ถ้าตีความว่าเงินยืมเป็นเงินบริจาค มันต้องไปพิสูจน์กันให้จบกระบวนการ ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาได้แก้ข้อกล่าวหาอย่างจริงจัง
ดิฉันคิดว่าคุณธนาธรจงใจที่จะให้เป็นเงินยืมจริง!!!
ดิฉันเชื่อว่าคุณธนาธรไปพูดที่ FCCT วันนั้น อยากจะบอกสังคมว่าคุณธนาธรแตกต่างนะ ไม่ใช่นายทุนของพรรค ถ้าพรรคต้องการเงิน ผมก็ให้กู้ แต่พรรคต้องคืน ในทัศนะดิฉันมองคุณธนาธรอย่างนั้นนะคะ ว่าคุณธนาธรจงใจ เพราะถ้าคุณธนาธรต้องการบริจาคจริง ต้องการทิ้งเงินจริงให้กับพรรค ไม่จำเป็นต้องมาทำเป็นในรูปเงินกู้ เพราะนี่เป็นสัญญาว่าพรรคต้องคืน ดิฉันคิดว่าคุณธนาธรเชื่อมั่นว่าพรรคต้องหาเงินได้และต้องคืนเขา และนั่นเป็นการอวดตัวด้วยซ้ำว่าเขาไม่ใช่นายทุน แต่กลายเป็นว่าเรื่องนี้ก็ไปตีความว่าเป็นเงินบริจาค
ดิฉันเชื่อว่าคุณธนาธรไม่ตั้งใจบริจาค เพราะว่าการที่เป็นกลุ่มทุนในภาคอุตสาหกรรมและแสดงตัวว่าเป็นคนก้าวหน้า มีบางอย่างเหมือนกัน อาจจะคล้ายกันกับพรรคเพื่อไทย แต่บางอย่างเขาคิดว่าเขาก็อาจจะต่างกับพรรคเพื่อไทยและดร.ทักษิณ ชินวัตร เพราะฉะนั้นเป็นการพยายามจะบอกด้วยซ้ำว่า ผมไม่ใช่นะ ผมให้เงินเขาในการดำเนินงาน แต่ผมให้เป็นเงินยืม เจตนามันอยู่ตรงนี้!!!
ดังนั้น เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ไม่ต้องการให้ใครบริจาคเกิน 10 ล้าน โดยมองว่าจะเป็นการครอบงำ ซึ่งจริง ๆ ดิฉันคิดว่าการเขียนแบบนี้คุณเขียนได้ แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องโง่เขลา เพราะเวลาเขาให้กันจริง ๆ เขาไม่เอามาบอกกันหรอก มีวิธีให้เงินเยอะแยะไป ทีรับอย่างอื่นยังรับกันได้ ให้พรรคการเมืองทำไมจะให้ไม่ได้ แล้วใครจะมาโง่ว่าให้เขียนเป็นเงินกู้
ถามว่าในพรรคของฝ่ายรัฐบาลหรือพรรคอื่น ๆ ถ้าเขียนเงินกู้ก็เขียนเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่ไม่มี ก็ต้องใช้มาตรฐานเดียวกันว่า พรรคอื่นที่มีเงินกู้คุณจะทำอย่างไร? ผิดกฏหมายไหม? หรือคุณจะไปตีความว่านี่ไม่ใช่เงินบริจาคเพราะมันไม่เกิน 10 ล้าน ดิฉันคิดว่าไปทางไหน กกต. ก็แย่ ดังนั้นเมื่อ กกต. แย่ ก็ไม่น่าจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์กว่าแย่ตาม กกต. ไปด้วย ดิฉันคิดอย่างนั้นนะ
และดิฉันเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า วันนั้นที่คุณธนาธรไปพูดนั้น ต้องการจะบอกว่าผมไม่ใช่นายทุนนะ ผมไม่ได้เป็นนายทุนที่อยู่เหนือพรรคนะ ผมให้ยืม เงินของผมต้องคืน ความหมายเป็นอย่างนี้ด้วยซ้ำ
เอาล่ะ...จะผิดมาตราไหนแล้วแต่จะอ้างเทคนิค จะอ้างอะไรก็อ้างได้ ถ้ามีกลยุทธ์ก็คือจะต้องยุบพรรคให้ได้หรือเปล่า? อ.ธิดากล่าวในที่สุด