วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์ความขัดแย้งด้านสาธารณสุข : ธิดา ถาวรเศรษฐ


จากรายการ "เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ"  วันที่ 7 ม.ค. 59

ศึกษาปรากฏการณ์ความขัดแย้ง
ปรากฏการณ์ที่ 1  นพ.ณรงค์  สหเมธาพัฒน์ (แพทย์ในเมือง) ขัดแย้งกับ กลุ่มแพทย์ชนบท
ปรากฏการณ์ที่ 2  เป็นปัญหาโครงสร้างอำนาจ  คือ นพ.ณรงค์  สหเมธาพัฒน์  ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและข้าราชการสาธารณสุข ขัดแย้งกับ สปสช. โครงการ 30 บาท
ปรากฏการณ์ที่ 3  ปัญหาการเปลี่ยน 30 บาทรักษาทุกโรค  ให้เป็นการร่วมจ่าย  เกิน 30 บาท
ปรากฏการณ์ที่ 4  การที่รัฐบาล คสช. ใช้มาตรา 44 ปลดคณะกรรมการบอร์ด สสส. 7 ราย พ้นตำแหน่ง


เนื้อแท้ปัญหาความขัดแย้งด้านสาธารณสุข

1. ความขัดแย้งทางอำนาจและผลประโยชน์ของบุคลากรด้านสาธารณสุข
- โครงสร้างอำนาจ
- ค่าใช้จ่าย
- รายได้ของบุคลากร

2. การแผ่ขยายเครือข่าย นพ.ประเวศ  วะสี ทั้งด้านสาธารณสุข – ด้านอื่น ๆ เช่น กลุ่มประชาสังคม, NGO โดยใช้ท่อน้ำเลี้ยงใหญ่ สสส., สปสช., สกย., สวรส. ฯลฯ ทำให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมด้วยกันไม่ไว้ใจ  ต้องการลดอำนาจสายนี้

3. สาย นพ.ประเวศ  วะสี  ได้รับประโยชน์จากยุครัฐบาล ดร.ทักษิณ  ชินวัตร

4. สาย นพ.ประเวศ  วะสี  ทำงานกับมวลชนและ NGO  ยึดกุมกลุ่มองค์กรมวลชน เช่น ชุมชนาธิปไตย, กลุ่มวัฒนธรรมชุมชน, กลุ่มอนาธิปไตยชนบท, กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน, กลุ่มเศรษฐกิจชุมชน, แพทย์ชนบท และ NGO สายต่าง ๆ เกือบทั้งหมด

5. แท้ที่จริงเครือข่าย นพ.ประเวศ  วะสี เป็นอนุรักษ์นิยมทางการเมือง  เป็นชุมชนนิยมทางเศรษฐกิจและสังคม

6. กล่าวได้ว่าความขัดแย้งในกลุ่มอนุรักษ์นิยม  นอกจากมีในสายกองทัพ, สายการเมืองแล้ว  ก็มีสายสังคม, สาธารณสุข  ซึ่งมีผู้ยึดกุมโครงสร้างหลักเอาไว้  ไม่ขึ้นต่อสายข้าราชการพลเรือนปกติ


แต่ทั้งหมดก็เป็นอนุรักษ์นิยมทางการเมืองในดีกรีที่แตกต่างกัน  และช่วงชิงพื้นที่ในอำนาจทางสังคม