วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญของมีชัย ฤชุพันธุ์ : ธิดา ถาวรเศรษฐ


บางส่วนจากรายการ “เหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย” 
ประเด็น “วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญของมีชัย ฤชุพันธุ์” 6 ม.ค. 58

ทำไมต้องให้ที่มา ส.ส. แบบนี้!!!

ทัศนะของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ : 
- ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองไม่ให้เหมือนเดิม
- หวังว่าการเก็บคะแนนผู้แพ้มารวมด้วยจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเล็ก ๆ ได้คะแนนมากขึ้น
- เพื่อไม่ให้มีฝ่ายใดชนะถล่มทลาย (คล้ายเผด็จการรัฐสภา)
- เพื่อความปรองดอง

ที่มาของ ส.ส. ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในทัศนะของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ
1. ต้องการลดปัจจัยชัยชนะของพรรคการเมืองซึ่งประกอบด้วย
   1.1 ความนิยมต่อผู้สมัคร ส.ส.
   1.2 ความนิยมต่อพรรคการเมือง
   1.3 ความนิยมต่อผู้สมัครนายกรัฐมนตรี
2. ขัดเจตนารมณ์ประชาชนที่ต้องการเลือกแยกพรรค, เลือกนายกฯ แตกต่างจากการเลือก ส.ส.
3. เพิ่มอำนาจพรรคการเมืองในการกำหนดตัว ส.ส. พรรคใหญ่จะได้เปรียบมากขึ้น ต้องใช้เงินหาเสียงจำนวนมากทั่วประเทศ
4. ทางเทคนิคในการประกาศผล เพราะปัญหาถูกฟ้องร้องในพื้นที่จะมีผลต่อภาพรวมในการคิดคะแนนรวม กว่าจะได้ตั้งรัฐบาล กว่าจะมีนายกฯ ก็อาจเข้าข่ายวิกฤตพอดี ต้องมีนายกฯ คนนอก

ทำไมต้องให้ ส.ว. มาจาก 20 กลุ่ม เลือกไขว้กัน ไม่ยอมให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง!!!

ทัศนะของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ :
1. ต้องการให้ได้ ส.ว. หลากหลาย ไม่ใช่ฐานเสียงพรรคการเมืองเดิม
2. ต้องการให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง

ทัศนะของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ :
1. ส.ว. เป็นพื้นที่สำคัญของฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะปล่อยให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนไม่ได้ รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นฉบับเดียวที่ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง
2. ส.ว. จะแสดงอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในการแต่งตั้งองค์กรอิสระ, ศาลรัฐธรรมนูญ และบทบาทในรัฐสภาโดยผ่านองค์กรกลุ่มอาชีพและกลุ่มจัดตั้งของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลางขึ้นไป
3. การอ้างว่า ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมเพิ่มความชอบธรรมให้กับการเพิ่มอำนาจ ส.ว. ในรัฐสภาโดยไม่จำเป็นต้องมีอำนาจถอดถอน

จะสร้างองค์กรที่ทำหน้าที่ปรองดองใหม่!!!

ทัศนะของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ : ไม่จำเป็นต้องสร้างองค์กรปรองดองเพราะ
1. ต้องการให้ผ่านประชามติ
2. มีองค์กรอื่นทำหน้าที่แทน
3. ไม่ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ
4. ใช้มาตรา 44.

ทัศนะของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ : อ.มีชัยต้องการให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ชี้นำให้ใช้มาตรา 44 และอาจเขียนไว้ในบทเฉพาะกาลเพื่อตอบสนอง คสช.

ประเด็น “นายกฯ คนนอก”

ทัศนะของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ : ถือเป็นความรับผิดชอบของนักการเมือง, พรรคการเมือง ไม่ใช่คนเขียนรัฐธรรมนูญ

ทัศนะของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ : เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนรัฐธรรมนูญที่เขียนเปิดช่องให้คนจากกองทัพและกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ไม่ได้อยู่ในพรรคการเมืองมีโอกาสเข้ามาเป็นนายกฯ ได้ เพราะพรรคการเมืองและนักการเมืองต้องยอมแพ้ผู้ถืออาวุธอยู่แล้ว

ประเด็น “ไม่ผ่านประชามติ”

ทัศนะของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ : ก็ถือว่าต้องร่างใหม่ ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ทำให้ไม่ผ่าน บิดเบือนจนคนไม่ให้ผ่าน เพราะตนทำดีที่สุดแล้ว

ทัศนะของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ : อ.มีชัยอ้างว่าทำดีที่สุดแล้ว ถ้าไม่ผ่านก็เพราะมีคนมายุยง แต่ในความจริง เจตนารมณ์ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่เขียนกติการ่างรัฐธรรมนูญ เขียนกฎหมายเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม ต่างกับประชาชนที่ต้องการรัฐธรรมนูญที่อำนาจเป็นของประชาชน