ยูดีดีนิวส์ : 6 ส.ค. 62 จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ เกิดความสนใจว่า เมื่อเกิดเหตุระเบิดขึ้นแล้ว คนในสังคมได้เปิดแนวคิดวิเคราะห์ปรากฎการณ์และสาเหตุนี้อย่างไร ดังนั้นวันนี้จึงตั้งประเด็นในการสนทนาว่า ปรากฎการณ์ "ระเบิด" กับ ปมแนวคิดความขัดแย้งและความรุนแรง"
อ.ธิดากล่าวว่า "ทันทีที่ระเบิดลงเราจะเห็นการแสดงความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ทำให้ดิฉันอยากวิเคราะห์ว่าเมื่อระเบิดลง ผู้คนในสังคมมองปรากฎการณ์ระเบิดและพูดกันว่าอย่างไร? นี่เป็นการสะท้อนต้นทุนความคิดเดิมที่แต่ละคนมีอยู่
ในทัศนะของอ.ธิดา กลุ่มหนึ่งมองว่าสร้างสถานการณ์หรือเปล่า? เพราะมีการร้องเรียนมาก ถึงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล แล้วจะมากลบเกลื่อน...หรือเปล่า? ซึ่งมีผู้คนออกมาแสดงความคิดเห็นอันนี้ อาทิ ในโซเชียลทั่วไปและประชาชนบางส่วน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่ไม่ได้มีบทบาทในอำนาจรัฐหรือมาจากพรรคการเมืองทั้งสิ้น
นี่เป็นการสะท้อนถึงวิธีคิดของประชาชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมองว่ารัฐบาลกำลังอยู่ในภาวะลำบาก เข้าตาจน จึงสร้างสถานการณ์ระเบิดขึ้นมาเพื่อกลบเกลื่อน
กลุ่มที่สอง ในฝ่ายรัฐบาลเอง ดิฉันก็อาจจะอ้าง ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ซึ่งมีบทบาทในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง และเป็นที่ปรึกษาของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ออกมาวิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นคนภายในที่รู้เรื่องดีว่ากำลังมีการเปลี่ยนผ่อนถ่ายอำนาจ รู้จังหวะ เวลา เพราะฉะนั้นแนวคิดของดร.ปณิธาน พูดง่าย ๆ ว่า "เป็นฝ่ายเดียวกันกับรัฐบาลนี่แหละ" เป็นความขัดแย้งภายในของฝ่ายที่ได้เป็นรัฐบาล ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมอันเนื่องมาจากมีฐานอำนาจที่เปลี่ยนไป
กลุ่มที่สามก็คือ เป็นการวิเคราะห์ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างสี หรือเป็นการเมืองเดิม ๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ตีความว่า เป็นความขัดแย้งทางการเมืองอันเนื่องมาจากเสียอำนาจ ทำให้ชวนคิดไปว่าหมายถึงการเมืองเดิม ๆ ก็คือผู้ที่เอาหรือไม่เอา คสช. เอาหรือไม่เอา ระบอบทักษิณ...นี่คือความขัดแย้ง!
เช่น ส.ส.บางคนที่โพสต์เฟสบุ๊คว่า "..??...เป็นคนไม่ดีนะคะ พอเลิกจากเผาก็มาเอาระเบิด" อะไรประมาณนี้ อันนี้ก็เป็นการสะท้อนแนวคิดของคนกลุ่มนี้ ก็คือที่เขาเรียกว่า Master Mind ผู้อยู่เบื้องหลัง คืออะไร ๆ ก็โยนมายังความขัดแย้งทางการเมือง ไป ๆ มา ๆ ก็คือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นั่นแหละ แต่ไม่มีการเอ่ยชื่อ ยกเว้นแต่ส.ส.ผู้หญิงคนหนึ่งที่ระบุชื่อไปเลย
ไม่รู้ว่าใครจะไปฟ้องร้องไหม แต่ ดร.ทักษิณ ก็คงจะไม่ฟ้องร้อง และนี่เป็นอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเหล่านี้ได้ใจ คือพูดอะไรก็ได้เพราะคนเขาไม่เอาเรื่อง เป็นเรื่องเท็จ เรื่องจงใจที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง พูดไปแล้วทำให้คนจำนวนหนึ่งเชื่อ อย่างนี้มันเข้าข่ายข่าวเท็จ ปลุกปั่น ยุยงจริง ๆ
แต่ในกรณีของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ก็คงไม่ได้ตั้งใจจะปลุกปั่นยุยง แต่น่าจะเป็นแนวคิดถึงคำว่า "กลุ่มการเมืองเดิม ๆ" เมื่อมีข่าวออกมาว่ามันน่าจะไม่ใช่ ก็จะมีทฤษฎีที่ว่าไปจ้างใครมาก็ได้ จ้างคนหน้าใหม่ ๆ เหมือนกรณีที่เกิดเมื่อปี 59 ก็เป็นทฤษฎีว่า Master Mind ผู้อยู่เบื้องหลังเป็นการเมือง แต่สามารถที่จะจ้างผู้คนให้มากระทำการได้...หรือเปล่า?
หมายความว่าพอมีระเบิด..ตูม ก็โยนมาเรื่องความขัดแย้ง เรื่องสี เชียร์สีเขียว เชียร์สีเหลือง เชียร์สีแดง แดงอกหัก แดงป่วนเมือง อะไรทำนองนี้
คนที่ยึดทฤษฎีแบบนี้ที่เอาความขัดแย้งทางการเมือง เรื่องการเมือง เรื่องสีเป็นเรื่องหลัก มีคนคิดแบบนี้มาก ซึ่งก่อนหน้านี้กรณีเกิดเหตุระเบิดที่ท้าวมหาพรหม เอราวัณ มี รอง ผบ.ตร. บางท่านก็เอาความขัดแย้งเรื่องสีและตีตราว่านี่เป็นพวกหัวรุนแรง แล้วก็โยงมาสู่การประชุมอาเชียน แล้ว ณ บัดนี้ก็มีการโยงไปในกรณีพัทยา ดิฉันก็ต้องขออภัยเพราะว่า ผบ.ทบ. ท่านพูดอย่างนั้นจริง ๆ
ดิฉันก็ต้องขอย้อนไปที่พัทยาว่า ความจริงในวันนั้นไม่มีใครต้องการไปทำลายการประชุมอาเชียน ไม่มีคนไทยคนไหนที่จะเลวได้อย่างนั้น แต่จุดประสงค์เขาต้องการเพียงไปยื่นจดหมาย เพียงแค่หาคนมารับจดหมายก็จบ! ไม่ต้องเตรียมนักเลงใส่เสื้อสีน้ำเงิน มาตีหัวเขา มายิงเขา มวลชนต่อมวลชนมันก็สามารถเกิดการปะทะกันได้ง่าย จึงลุกลามบานปลาย
ดังที่ดิฉันได้มีงานเขียนในเพจเฟสบุ๊คว่า ความแตกต่างระหว่างม็อบของฝ่ายเสรีนิยมในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นปช. กับม็อบกลุ่มอนุรักษ์นิยมนั้น ม็อบกลุ่มอนุรักษ์นิยมต้องการล้มอำนาจรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ถ้ามีม็อบของฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย ไม่มีการล้มล้างรัฐบาลหรือต้องการยึดอำนาจรัฐใด ๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความรุนแรง เพราะข้อเรียกร้องนั้นชอบธรรม เพียงต้องการระบอบประชาธิปไตย แต่ฝ่ายที่ไม่ต้องการระบอบประชาธิปไตยต้องใช้ความรุนแรงเพื่อหยุดรัฐบาลที่มาจากการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้นเราจะเห็นว่าทฤษฎีการเมืองเรื่องประชาธิปไตยและผู้สูญเสียอำนาจเป็นบ่อเกิดของความรุนแรงนั้นถูกปลุกระดมมาเป็นลำดับ
มีปมความขัดแย้งอะไรอีกนอกจากเรื่องการได้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม กับการได้อำนาจในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นปัญหาความขัดแย้งหลัก ความขัดแย้งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยกันเรื่องการแย่งอำนาจเป็นเรื่องรอง แต่ความขัดแย้งเรื่องระบอบอันนี้เป็นเรื่องหลัก แต่หลังจากมีการยึดอำนาจ หรือหลังจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมทำรัฐประหารก็ยังไม่มีความรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้นมาเลย เพราะฉะนั้นความรุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นความรุนแรงของฝ่ายที่ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยต่างหาก ดิฉันยังยืนยัน อ.ธิดากล่าว
และในที่สุดเหตุระเบิดที่ผ่านมาหลังจากการทำรัฐประหาร 2 รอบ ไป ๆ มา ๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับคนเสื้อแดง ไม่ได้เกี่ยวกับนปช. เท่าที่จำได้เป็นเรื่องส่วนบุคคลเพียง 1 คนเท่านั้นเอง ถึงอย่างไรเรายังยืนยันว่าถึงแม้มีความขัดแย้งระหว่างระบอบ แต่ความรุนแรงนั้นไม่ได้เกิดจากประชาชนในฝ่ายประชาธิปไตย
ความขัดแย้งแรกเป็นในฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยกัน
ความขัดแย้งที่สองเป็นความขัดแย้งระหว่างระบอบ ซึ่งเป็นความขัดแย้งหลัก
ความขัดแย้งที่สามที่ดิฉันอยากพูดถึง แล้วไป ๆ มา ๆ ก็บ่งชี้ว่ามาทางนี้ นั่นก็คือเรื่องราวของสามจังหวัดภาคใต้กับรัฐทหารของไทย
เราจะเห็นว่ายามที่มีการทำรัฐประหาร ยามที่มีการใช้อำนาจการทหารนำการเมือง ความขัดแย้งกับประชาชนส่วนหนึ่งในสามจังหวัดภาคใต้จะขยายตัว และเมื่อมีการทำรัฐประหารในช่วง 10 กว่าปีหลังมานี้ การใช้อำนาจการทหารนำการเมืองมันก็สูงเด่น เมื่อเป็นเช่นนี้ การขยายตัวของปัญหาความขัดแย้งมันก็ขยายมาก ก่อนหน้านี้เราจะไม่เชื่อว่าจะมีการขยายตัวจากภาคใต้มาสู่พื้นที่อื่น แต่หลังจากนั้นเราพบว่ามีเรื่องราวที่ปิดเงียบกันอยู่ก็ขยายมา มีระเบิดในภาคใต้ตอนบน และในที่สุดมาถึงกรุงเทพฯ
แน่นอนว่าจะต้องสืบสวนต่อและจะต้องให้ความเป็นธรรม แต่ที่ดิฉันตั้งข้อสังเกตก็คือ ต้องถือความขัดแย้งระหว่างคนในพื้นที่กับรัฐไทยได้มีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ สัญลักษณ์สำคัญก็คือมีรัฐมนตรีต่างประเทศหลายประเทศได้เข้ามาในประเทศไทย แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยบอกว่าไม่มีใครเขาถามถึงประเด็นดังกล่าว
อ.ธิดากล่าวว่า ใครเขาจะมาถาม หากเขาอยากรู้เขาก็สืบข่าวเองและเขาสืบมาตั้งนานแล้วด้วย และในกรณีนี้สามจังหวัดภาคใต้มันก็บานปลายเพราะในทัศนะดิฉัน คุณใช้การทหารนำการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่มีลักษณะท้องถิ่นในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในระดับประเทศ มันใช้การทหารนำการเมืองไม่ได้!!!
และที่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่าคนทำใจร้าย ใจดำ ดิฉันว่าการปราบปรามประชาชนมันยิ่งกว่าใจร้ายใจดำนะ คดีต่าง ๆ ในการปราบปรามประชาชนที่ทำให้ท่านได้มาซึ่งอำนาจรัฐนั้น ท่านลองย้อนกลับไปคิดดูว่าประชาชนมือเปล่าที่มาเพียงเรียกร้องให้มีการยุบสภา แล้วมีการเลือกตั้ง เขาผิดตรงไหน?
เราก็มองว่าการวางระเบิดเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่มันเกิดขึ้นในภาวะซึ่งการเมืองมีการขยายตัวของความขัดแย้งประหนึ่งไม่มีทางออก...หรือเปล่า?
ในกรณีนี้ดิฉันอยากให้สังคมมองเห็นว่า เมื่อระเบิดลง ความคิดอย่างกลุ่มคุณปณิธานก็บอกว่าอ๋อ...เป็นคนใน กลุ่มคนส่วนหนึ่งบอกว่าเป็นเรื่องสี มาสร้างความปั่นป่วน ไม่เผาก็มาวางระเบิด ในที่สุดแล้วดูเหมือนจะเฉลยว่า ความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ได้ขยายตัวมากขึ้นเป็นลำดับ
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งสะท้อนว่า ความขัดแย้งในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลายอย่าง และมีโอกาสขยายตัวได้ถ้าจัดการไม่ดี แต่ถ้าจัดการดี ความขัดแย้งหลักก็หายหมดไปได้
เช่น ถ้าเราแก้ความขัดแย้งหลักระหว่างประชาธิปไตยแบบเผด็จการกับประชาธิปไตยแบบสากลได้ นี่คือความขัดแย้งหลัก มันก็จะแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างอื่นไปได้เองทั้งหมด
วันนี้ก็อยากให้มาช่วยกันคิดว่า พอระเบิดลง มันเหมือนเปิดสมองคนว่าเขาคิดอย่างไร? ใครเป็นคนทำให้เกิดความรุนแรง ทั้งหมดก็จะโยนไปให้กลุ่มที่เขาเกลียดชังเป็นหลักค่ะ อ.ธิดากล่าว
ไม่รู้ว่าใครจะไปฟ้องร้องไหม แต่ ดร.ทักษิณ ก็คงจะไม่ฟ้องร้อง และนี่เป็นอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเหล่านี้ได้ใจ คือพูดอะไรก็ได้เพราะคนเขาไม่เอาเรื่อง เป็นเรื่องเท็จ เรื่องจงใจที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง พูดไปแล้วทำให้คนจำนวนหนึ่งเชื่อ อย่างนี้มันเข้าข่ายข่าวเท็จ ปลุกปั่น ยุยงจริง ๆ
แต่ในกรณีของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ก็คงไม่ได้ตั้งใจจะปลุกปั่นยุยง แต่น่าจะเป็นแนวคิดถึงคำว่า "กลุ่มการเมืองเดิม ๆ" เมื่อมีข่าวออกมาว่ามันน่าจะไม่ใช่ ก็จะมีทฤษฎีที่ว่าไปจ้างใครมาก็ได้ จ้างคนหน้าใหม่ ๆ เหมือนกรณีที่เกิดเมื่อปี 59 ก็เป็นทฤษฎีว่า Master Mind ผู้อยู่เบื้องหลังเป็นการเมือง แต่สามารถที่จะจ้างผู้คนให้มากระทำการได้...หรือเปล่า?
หมายความว่าพอมีระเบิด..ตูม ก็โยนมาเรื่องความขัดแย้ง เรื่องสี เชียร์สีเขียว เชียร์สีเหลือง เชียร์สีแดง แดงอกหัก แดงป่วนเมือง อะไรทำนองนี้
คนที่ยึดทฤษฎีแบบนี้ที่เอาความขัดแย้งทางการเมือง เรื่องการเมือง เรื่องสีเป็นเรื่องหลัก มีคนคิดแบบนี้มาก ซึ่งก่อนหน้านี้กรณีเกิดเหตุระเบิดที่ท้าวมหาพรหม เอราวัณ มี รอง ผบ.ตร. บางท่านก็เอาความขัดแย้งเรื่องสีและตีตราว่านี่เป็นพวกหัวรุนแรง แล้วก็โยงมาสู่การประชุมอาเชียน แล้ว ณ บัดนี้ก็มีการโยงไปในกรณีพัทยา ดิฉันก็ต้องขออภัยเพราะว่า ผบ.ทบ. ท่านพูดอย่างนั้นจริง ๆ
ดิฉันก็ต้องขอย้อนไปที่พัทยาว่า ความจริงในวันนั้นไม่มีใครต้องการไปทำลายการประชุมอาเชียน ไม่มีคนไทยคนไหนที่จะเลวได้อย่างนั้น แต่จุดประสงค์เขาต้องการเพียงไปยื่นจดหมาย เพียงแค่หาคนมารับจดหมายก็จบ! ไม่ต้องเตรียมนักเลงใส่เสื้อสีน้ำเงิน มาตีหัวเขา มายิงเขา มวลชนต่อมวลชนมันก็สามารถเกิดการปะทะกันได้ง่าย จึงลุกลามบานปลาย
ดังที่ดิฉันได้มีงานเขียนในเพจเฟสบุ๊คว่า ความแตกต่างระหว่างม็อบของฝ่ายเสรีนิยมในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นปช. กับม็อบกลุ่มอนุรักษ์นิยมนั้น ม็อบกลุ่มอนุรักษ์นิยมต้องการล้มอำนาจรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ถ้ามีม็อบของฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย ไม่มีการล้มล้างรัฐบาลหรือต้องการยึดอำนาจรัฐใด ๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความรุนแรง เพราะข้อเรียกร้องนั้นชอบธรรม เพียงต้องการระบอบประชาธิปไตย แต่ฝ่ายที่ไม่ต้องการระบอบประชาธิปไตยต้องใช้ความรุนแรงเพื่อหยุดรัฐบาลที่มาจากการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้นเราจะเห็นว่าทฤษฎีการเมืองเรื่องประชาธิปไตยและผู้สูญเสียอำนาจเป็นบ่อเกิดของความรุนแรงนั้นถูกปลุกระดมมาเป็นลำดับ
มีปมความขัดแย้งอะไรอีกนอกจากเรื่องการได้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม กับการได้อำนาจในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นปัญหาความขัดแย้งหลัก ความขัดแย้งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยกันเรื่องการแย่งอำนาจเป็นเรื่องรอง แต่ความขัดแย้งเรื่องระบอบอันนี้เป็นเรื่องหลัก แต่หลังจากมีการยึดอำนาจ หรือหลังจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมทำรัฐประหารก็ยังไม่มีความรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้นมาเลย เพราะฉะนั้นความรุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นความรุนแรงของฝ่ายที่ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยต่างหาก ดิฉันยังยืนยัน อ.ธิดากล่าว
และในที่สุดเหตุระเบิดที่ผ่านมาหลังจากการทำรัฐประหาร 2 รอบ ไป ๆ มา ๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับคนเสื้อแดง ไม่ได้เกี่ยวกับนปช. เท่าที่จำได้เป็นเรื่องส่วนบุคคลเพียง 1 คนเท่านั้นเอง ถึงอย่างไรเรายังยืนยันว่าถึงแม้มีความขัดแย้งระหว่างระบอบ แต่ความรุนแรงนั้นไม่ได้เกิดจากประชาชนในฝ่ายประชาธิปไตย
ความขัดแย้งแรกเป็นในฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยกัน
ความขัดแย้งที่สองเป็นความขัดแย้งระหว่างระบอบ ซึ่งเป็นความขัดแย้งหลัก
ความขัดแย้งที่สามที่ดิฉันอยากพูดถึง แล้วไป ๆ มา ๆ ก็บ่งชี้ว่ามาทางนี้ นั่นก็คือเรื่องราวของสามจังหวัดภาคใต้กับรัฐทหารของไทย
เราจะเห็นว่ายามที่มีการทำรัฐประหาร ยามที่มีการใช้อำนาจการทหารนำการเมือง ความขัดแย้งกับประชาชนส่วนหนึ่งในสามจังหวัดภาคใต้จะขยายตัว และเมื่อมีการทำรัฐประหารในช่วง 10 กว่าปีหลังมานี้ การใช้อำนาจการทหารนำการเมืองมันก็สูงเด่น เมื่อเป็นเช่นนี้ การขยายตัวของปัญหาความขัดแย้งมันก็ขยายมาก ก่อนหน้านี้เราจะไม่เชื่อว่าจะมีการขยายตัวจากภาคใต้มาสู่พื้นที่อื่น แต่หลังจากนั้นเราพบว่ามีเรื่องราวที่ปิดเงียบกันอยู่ก็ขยายมา มีระเบิดในภาคใต้ตอนบน และในที่สุดมาถึงกรุงเทพฯ
แน่นอนว่าจะต้องสืบสวนต่อและจะต้องให้ความเป็นธรรม แต่ที่ดิฉันตั้งข้อสังเกตก็คือ ต้องถือความขัดแย้งระหว่างคนในพื้นที่กับรัฐไทยได้มีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ สัญลักษณ์สำคัญก็คือมีรัฐมนตรีต่างประเทศหลายประเทศได้เข้ามาในประเทศไทย แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยบอกว่าไม่มีใครเขาถามถึงประเด็นดังกล่าว
อ.ธิดากล่าวว่า ใครเขาจะมาถาม หากเขาอยากรู้เขาก็สืบข่าวเองและเขาสืบมาตั้งนานแล้วด้วย และในกรณีนี้สามจังหวัดภาคใต้มันก็บานปลายเพราะในทัศนะดิฉัน คุณใช้การทหารนำการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่มีลักษณะท้องถิ่นในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในระดับประเทศ มันใช้การทหารนำการเมืองไม่ได้!!!
และที่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่าคนทำใจร้าย ใจดำ ดิฉันว่าการปราบปรามประชาชนมันยิ่งกว่าใจร้ายใจดำนะ คดีต่าง ๆ ในการปราบปรามประชาชนที่ทำให้ท่านได้มาซึ่งอำนาจรัฐนั้น ท่านลองย้อนกลับไปคิดดูว่าประชาชนมือเปล่าที่มาเพียงเรียกร้องให้มีการยุบสภา แล้วมีการเลือกตั้ง เขาผิดตรงไหน?
เราก็มองว่าการวางระเบิดเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่มันเกิดขึ้นในภาวะซึ่งการเมืองมีการขยายตัวของความขัดแย้งประหนึ่งไม่มีทางออก...หรือเปล่า?
ในกรณีนี้ดิฉันอยากให้สังคมมองเห็นว่า เมื่อระเบิดลง ความคิดอย่างกลุ่มคุณปณิธานก็บอกว่าอ๋อ...เป็นคนใน กลุ่มคนส่วนหนึ่งบอกว่าเป็นเรื่องสี มาสร้างความปั่นป่วน ไม่เผาก็มาวางระเบิด ในที่สุดแล้วดูเหมือนจะเฉลยว่า ความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ได้ขยายตัวมากขึ้นเป็นลำดับ
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งสะท้อนว่า ความขัดแย้งในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลายอย่าง และมีโอกาสขยายตัวได้ถ้าจัดการไม่ดี แต่ถ้าจัดการดี ความขัดแย้งหลักก็หายหมดไปได้
เช่น ถ้าเราแก้ความขัดแย้งหลักระหว่างประชาธิปไตยแบบเผด็จการกับประชาธิปไตยแบบสากลได้ นี่คือความขัดแย้งหลัก มันก็จะแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างอื่นไปได้เองทั้งหมด
วันนี้ก็อยากให้มาช่วยกันคิดว่า พอระเบิดลง มันเหมือนเปิดสมองคนว่าเขาคิดอย่างไร? ใครเป็นคนทำให้เกิดความรุนแรง ทั้งหมดก็จะโยนไปให้กลุ่มที่เขาเกลียดชังเป็นหลักค่ะ อ.ธิดากล่าว