ยูดีดีนิวส์ : 6 เม.ย. 63 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ กลับมาพบกับท่านผู้ชมอีกครั้งในการทำเฟสบุ๊คไลฟ์ โดยวันนี้อ.ธิดากล่าวว่าขณะนี้เราเว้นวรรคการเมือง เรามาช่วยกันฟันฝ่าวิกฤต แต่อย่างไรก็ตามมันก็ต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่ดี
เหตุเพราะว่าประสิทธิภาพในการดูแลพี่น้องประชาชนคนไทยมันก็ขึ้นอยู่กับรัฐไทยและการนำพาไปด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แต่เฉพาะระบบสาธารณสุขอย่างเดียว ไม่ใช่โทษแต่ประชาชนอย่างเดียว ในความเป็นจริงนั้นบทบาทของรัฐในยามวิกฤตและมีพ.ร.ก.ฉุกเฉินเช่นนี้สำคัญมาก
เป็นเรื่องแน่นอนที่เราต้องตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น แล้วก็มีคำแนะนำให้เปรียบเทียบบทเรียนกับประเทศอื่น ๆ ในวันนี้ประเด็นที่เราจะคุยกันก็คือ
"เมื่อรัฐอำมาตยืไทยเผชิญสงครามโรคในโลกสมัยใหม่"
แน่นอนว่าเราใช้คำว่า "รัฐอำมาตยืไทย" เพราะความเป็นจริงเป็นเช่นนั้น ในโลกนี้มีการปกครองหลายแบบ เรามีการเลือกตั้งก็จริง แต่ผู้นำและรัฐบาลไทยนั้นถึงแม้จะบอกว่ามาจากการเลือกตั้ง แต่ตัวผู้นำและคณะนำจริง ๆ เป็นการสืบทอดอำนาจมา นี่คือรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง และประสิทธิภาพในการให้เดินต่อไป เราจะบอกว่าเราไม่สนใจที่มานั้นไม่ได้!
เพราะเราต้องเปรียบเทียบอย่างเช่น จีน, สหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, เวียดนาม ประเทศเหล่านี้มีการเมืองการปกครองที่แตกต่างกัน แต่ที่ไหนก็ไม่เหมือน "รัฐอำมาตย์ไทย" เพราะ "รัฐอำมาตย์ไทย" นิยามได้ถึงความล้าหลัง ลักษณะการรวมศูนย์อยู่บนชนชั้นนำจารีตนิยม
ดิฉันอยากจะถามว่าที่คุณเขียนรัฐธรรมนูญ ต้องการปฏิรูปประเทศ เขียนยุทธศาสตร์ 20 ปี สิ่งที่คุณพูดทั้งหมดนี้คุณได้เอามาใช้ไหม? เพื่อแสดงให้คนมีความเชื่อมั่นว่าเราเขียนยุทธศาสตร์ 20 ปี เมื่อมีอะไรเข้ามาเรารับทันหมด
นี่ไม่ต้องถึง 20 ปี หรอกค่ะ ขณะนี้ท่านเพิ่งเขียนยุทธศาสตร์ และท่านมีกรรมการยุทธศาสตร์ ดิฉันทราบว่ามีการประชุมอยู่เหมือนกัน แต่ดิฉันบอกได้เลยว่า พล.อ.ประยุทธ์ พึ่งพาคนพวกนี้ไม่ได้หรอก แล้วตอนนี้มันจะชัดเจนว่ายุทธศาสตร์ 20 ปี กรรมการยุทธศาสตร์ 20 ปี นั้น...มันจะพร้อมไปถึง 20 ปีเหรอ?
ขนาดปีเดียวยังรับไม่ไหว!!!
"รัฐอำมาตย์ไทย" มีต้นทุนที่ติดลบ!!!
สิ่งที่เรามองเห็นในช่วงนี้ อันนี้เราเอาใจช่วยนะ ดิฉันก็อยู่บ้านตลอด และพี่น้องประชาชนก็ปฏิบัติตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้ความร่วมมืออย่างดีมาก ไม่ได้คำนึงถึงความคิดต่างทางการเมือง แต่ตอนนี้ดิฉันอยากจะบอกว่าจริง ๆ บุคลากรของเราไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนไทยนั้นมีต้นทุนที่ดี
แต่ต้นทุนที่ติดลบก็คือการเมืองการปกครองและผู้นำ
ไม่เช่นนั้นเราจะทำได้ดีกว่านี้ ไม่เช่นนั้นเราจะมีบทบาทในโลกอย่างสง่าผ่าเผย สมกับที่ระบบสาธารณสุขของเราอยู่ในระดับ 6 ของโลก ขณะนี้เมื่อดูตัวเลขหลายคนบอกว่ามันยังดูดี แต่จริง ๆ มันต้องทำได้ดีกว่านี้ ตัวเลขของเราจาก 114 คนในวันที่ 15 มี.ค. พอสิ้นเดือน มี.ค. ขึ้นต้นเดือน เม.ย. เหยียบ 2,000 คน ก็แปลว่า 20 เท่า
ดังที่ดิฉันได้วิพากษ์วิจารณ์แล้วว่าคุณไม่มียุทธศาสตร์ยุทธวิธีอะไรเลย ไม่สมกับที่มาจากกองทัพ จะอย่างไรก็ตาม การออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และต้นทุนของประชาชนที่ดี ต้นทุนระบบสาธารณสุขที่ดี มันได้แสดงออกถึงความเละเทะ ซึ่งดิฉันอยากจะกล่าวย่อ ๆ ก็คือ
ประการแรกในเชิงยุทธศาสตร์ยุทธวิธี เราล้มเหลว ไม่มียุทธศาสตร์ในเชิงป้องกันทั้ง ๆ ที่ข้าศึกศัตรูมาจากภายนอก ด้วยต้นทุนที่ต่ำของรัฐบาลและผู้นำจึงทำให้เราไม่มียุทธศาสตร์ป้องกันในเชิงรุกซึ่งได้พูดถึงมาแล้ว ในช่วงแรกท่านก็มองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเมินไม่ถึง ขาดวิสัยทัศน์ ไม่เข้าใจว่ากำลังเผชิญกับโรคติดเชื้อซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ ในลักษณะเป็นสงครามโลก เป็นสงครามโลกที่มาจากเชื้อโรคที่มองไม่เห็นแต่มันอยู่กับคน ถ้าคุณกันคนที่ติดโรคเข้ามาได้ ข้าศึกก็เข้ามาไม่ได้ แต่ถ้าข้าศึกเข้ามาได้แล้ว คุณต้องสามารถติดตามควบคุมตัวได้
เพราะฉะนั้นยุทธศาสตร์ในการป้องกันไม่ให้เข้ามาคุณก็ล้มเหลว เพิ่งจะมาล็อคดาวน์และเพิ่งจะมาปิดประเทศเอาตอนนี้ ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 2,000 คนแล้ว และอาจทวีคูณไปถึงระดับหมื่นได้
ประการที่สอง ลักษณะประสิทธิภาพ หลังจากที่พบความผิดพลาด ไม่ได้มีการปิดกั้น ปล่อยให้ข้าศึกเข้ามา ตอนนี้มันมากกลัวรับไม่ไหวจนกระทั่งอาจารย์แพทย์ต้องมาให้คำแนะนำอย่างที่เรารู้กัน แต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ เราไม่สามารถติดตาม ดูแลและควบคุมได้ดีพอ หมายความว่าประสิทธิภาพในการตรวจสอบและติดตามก็ล้มเหลว
เราจะเห็นได้ชัดเลยว่าเมื่อคุณเริ่มล็อคดาวน์ ประสิทธิภาพในการที่จะดูแล คุณล็อคดาวน์โดยคุณสั่งล็อคเฉย ๆ คุณจะดูแลประชาชนในประเทศอย่างไร? อันนี้ท้าทาย!
ยังดีที่ประชาชนไทยให้ความร่วมมือและอดทน ประเทศอื่นที่เขาล็อคดาวน์เขาเอาอาหารมาแจกให้ถึงบ้านหมดเลยนะ ให้กิน 3 มื้อเลย เหมือนกับการ "กักกัน" ดูแลที่อยู่ ที่หลับที่นอน ความปลอดภัยตามอัตภาพพอสมควรในการกักกัน ล็อคดาวน์ประชาชนก็คือกักกันนั่นแหละ การดูแลตรงนี้ยังไม่มี ถ้าล็อคดาวน์ไปนานแล้วไม่มีการเยียวยาที่ดีพอ
ซึ่งตรงนี้ดิฉันจะไปพูดถึงว่า ถามว่าทำได้ไม่ดี มันยังมีปัญหานอกจากเชิงประสิทธิภาพแล้ว ความเป็นรัฐอำมาตย์ มองเห็นคนไม่เท่าเทียมกัน ก็ยังทำให้การจัดการปัญหาเยียวยาและการดูแลคนไม่เหมือนกัน ตรงนี้แสดงให้เห็น พอคุณล็อคดาวน์ แค่รับคนมาจากต่างประเทศในหลักร้อยคน ที่คุณไปห้ามแล้วเขาเข้าไม่ได้นั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่ที่เข้ามาแล้วคุณยังจัดการปัญหานี้ไม่ได้ แสดงให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง
รัฐที่เป็นรัฐอำมาตย์แบบนี้ไม่สามารถที่จะตอบสนองปัญหาของโรคและโลกสมัยใหม่ได้ ในทัศนะของดิฉัน มันเห็นชัดเลย กะอีแค่คนไม่กี่ร้อยคน คุณยังทำให้เกิดความโกลาหล ในที่สุดการจัดการปัญหานั้นก็ไม่ดี
สิ่งสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวก็คือปัญหาความโปร่งใส!!!
หน้ากากหายไปไหน? ทำไมไม่พอ!!
ความโปร่งใสในเรื่องข้อมูล และการพยายามกีดกันไม่ให้คนบอก หมอหรือบุคลากรการแพทย์ที่ออกมารายงานว่าของไม่พอ บางคนก็เลยใช้วิธีทำงาน เช่นขนาดหมออุดมซึ่งเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องมาเย็บถุงใส่ หมอศิริราชก็พยายามจะหาวิธีว่าทำอย่างไรให้หน้าหาก (ซึ่งเขาบอกว่ามีพอนะ) จะเอามาใช้ซ้ำ จะเอามาอบอย่างไร นึ่งอย่างไร ผ่าน UV อย่างไร แล้วก็พากันมาเย็บหน้ากากกันเอง นี่ไม่พูดถึงประชาชนที่ใช้หน้ากากผ้า คือปฏิบัติการของบุคลากรการแพทย์มันฟ้องให้เห็นว่าของไม่พอ คำถามว่าคุณมีความโปร่งใสในข้อมุลนี้ไหม?
ข้อมูลเรื่องการทดสอบอีก การ Test ที่ดิฉันได้เขียนในเพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ เขาลบออกไปหมดเลย ก่อนหน้าที่ดิฉันจะทำเฟสบุ๊คไลฟ์ ก็คือดิฉันพยายามติดตามการ Test ว่าตกลงจริง ๆ เรา Test เท่าไหร่ ในที่สุดเราก็ไปพบข้อมูลจากต่างประเทศว่าเรา Test ประมาณ 24,000 ราย แล้วออกมาเป็น 359 Test ต่อประชากร 1 ล้านคน
ไม่พอหรอกค่ะ...,มันน้อยเกินไป
ก็คือสรุปว่าไม่ได้ Test 50,000 ไม่ได้ Test 100,000 นะ 2 หมื่นกว่าค่ะ เดิมที่เขียนว่ามีการรอผลอยู่ 7 พันกว่า พออีกวันก็ย้ายข้อมูลคนรอผลไปอยู่เป็นผล Negative (ลบ)
ถามว่าคุณทำงานประสาอะไร?
คุณตั้งใจปิดบังจำนวน Test หรือ?
หรือว่าเป็นนโยบายที่ต้อง Test ให้น้อยเอาไว้เพื่อที่ว่าจะได้ผลคนติดเชื้อ เปอร์เซ็นของการติดเชื้อก็คือ คนตาย 23 คน จำนวน Test เขาบอกว่า 25,000 คิดเป็น 359 คนต่อประชากร 1 ล้านคน
ต้องถือว่าตัวเลขตัวนี้ถ้าเทียบแล้วสำหรับนานาประเทศมันไม่น่าเชื่อว่าคุณจะหยุดยั้ง มันจะมีความเสี่ยงว่า เมื่อคุณ Test ไม่พอ คนที่ตาม Test ไม่ทันก็จะกลายเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ ซึ่งจะเป็นจำนวนมาก มันอาจจะฟ้อง เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ แรก ๆ เส้นกราฟก็ดูไม่มาก หลังจากนั้นพุ่งขึ้นสูงอย่างมหึมา ของเราเส้นกราฟก็ดูไม่สูงมาก แล้วตอนนี้เราจะบังคับ Cruve ให้ต่ำเพื่อที่จะให้มีเตียงรองรับได้พอ แต่ว่าผู้ติดเชื้อจะทวีจำนวนมากขึ้น เพราะฉะนั้นปัญหาความโปร่งใสสำคัญมาก
ความโปร่งใสในข้อมูลจะทำให้เกิดความถือ ดีกว่าการใช้อำนาจบังคับ ดีกว่าการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าคุณเปิดเผยข้อมูลให้หมด แล้วขอความร่วมมือกับประชาชน ออกมาพูดแบบนายกฯ ธรรมดา (ไม่ต้องพูดแบบนายพล) พูดเปิดใจเลยว่า พี่น้องประชาชนเราต้องไปด้วยกัน ขณะนี้มันเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ เรามีของแบบนี้ มีอยู่เท่านี้ ไม่ต้องปิดบัง ลักษณะปิดบังมันเป็นลักษณะของรัฐอำมาตย์ ก็คือพูดให้มันดูดี ถามว่าแล้วจะควบคุมสถานการณ์ได้ไหม? แต่ใช้อำนาจในการควบคุมสถานการณ์
ในรัฐของประชาธิปไตยเขาต้องโปร่งใส บอกข้อมูลให้หมด แล้วขอความร่วมมือด้วยความสมัครใจของประชาชน อันนั้นคืออำนาจของรัฐที่แท้จริงเมื่อประชาชนเชื่อถือ
สุดท้ายดิฉันอยากจะเสนอคำขวัญว่า ความเสมอภาคต้องนำเสรีภาพและสุขภาพ ท่านบอกว่าสุขภาพต้องนำหน้าเสรีภาพ เป็นทำนองบอกประชาชนว่าเสรีภาพไม่ต้องพูดกัน ตอนนี้ต้องจำกัด เอาสุขภาพก่อน เสรีภาพประชาชนคุณอาจจะจำกัดได้ชั่วคราว แต่คุณจำกัดตลอดไปไม่ได้ ไม่อย่างนั้นคุณไม่มามีการเลือกตั้งในระดับหนึ่งหรอก
แต่ทั้งเสรีภาพและทั้งสุขภาพ ที่สำคัญที่สุดคือความเสมอภาค
ดิฉันมองเห็นเลยว่าในการปฏิบัติของรัฐอำมาตย์ไทย ยังปฏิบัติต่อคน ทั้งผู้ป่วย ทั้งผู้ที่จะต้องถูกกักกัน ผู้มาจากต่างประเทศ อย่างมีความไม่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างสั้น ๆ "ผีน้อย" คุณบอกเป็นกรรมกรมาจากเกาหลีใต้ คุณเอามากักกัน เอาไปนอนมุ้งครอบ ดิฉันไม่ได้อยากจะบอกว่าคนที่มาจากยุโรป, อู่ฮั่น, คนที่มาจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคนชั้นกลาง, คนชั้นกลางบน, เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน คุณได้รับการดูแลดีระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่พอ คือสุขภาพต้องนำ แต่ในปัญหาสุขภาพคุณต้องปฏิบัติต่อคนไทยอย่างเสมอภาคด้วย ไม่ใช่ว่าถ้าเป็นกรรมกรก็อย่างหนึ่ง ปัญหาที่สะท้อนจากการกักกัน คุณต้องทำกับคนทุกชนชั้นอย่างเท่าเทียมกัน
อันที่สองคือการเยียวยา ในการเยียวยามันยังมีลักษณะชนชั้น มีลักษณะที่ไม่เสมอภาค มันไม่ใช่ว่าจะต้องไปแจกนักธุรกิจเท่ากัน แต่คุณต้องมองว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นอย่างไร แล้วคนที่เดือดร้อนจากคน 67 ล้าน คุณบอกจะแจก 5,000 บาทให้กับคน 9 ล้านคน ขนาดคนที่ไปลงทะเบียนยัง 20 กว่าล้านคน ถามว่าคุณเอาตัวเลข 9 ล้านมาจากไหน์? คิดเอาเอง? คุณบอกมีตังแค่นี้...ดิฉันว่ามันไม่ใช่!!! ตอนนี้คุณเตรียมจะไปกู้เงินมา
ในขณะนี้นอกจากความเสมอภาคต้องนำเสรีภาพ ต้องนำสุขภาพ คุณบอกสุขภาพต้องนำเสรีภาพ คือเสรีภาพอยู่ท้ายสุด คุณไม่พูดถึงความเสมอภาค การที่คุณไม่พูดถึงความเสมอภาค...นี่คือรัฐอำมาตย์แท้ ๆ เพราะว่าปฏิบัติคนอย่างมีชนชั้น การเยียวยา การดูแลประชาชน ก็ต้องเสมอภาค อย่างน้อยคนส่วนใหญ่ แรงงานนอกระบบ 20 กว่าล้านคน คุณจะทำอย่างไรให้ได้ทั้งหมด
แล้วจริง ๆ ผู้ประกอบการอิสระ หรือแม้กระทั่งคนที่เขายังทำงานระดับหนึ่ง คุณบอกไม่เข้าเกณฑ์ของคุณ มันไม่ได้นะ เขาได้รับผลกระทบทั้งสิ้น คนที่เขาทำงานไซต์ไลน์เขาก็ทำมาหากินไม่ได้ หรือคนที่เขาทำงานอยู่แต่ว่ารายได้ก็อาจจะมีปัญหา ไม่สามารถหารายได้เพิ่ม แล้วรายได้มีโอกาสจะลด แม้กระทั่งผู้ประกอบการก็มีทั้งขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่
ถ้าคุณมีความคิดว่าคุณจะต้องช่วยเหลือเยียวยาคนอย่างดีที่สุด อย่างเท่าเทียมกัน การเยียวยาจะเป็นอีกแบบหนึ่ง วันนี้ดิฉันจำเป็นต้องพูดในภาพรวมอย่างย่อ ๆ ว่า "รัฐอำมาตย์ไทย" ยังไม่สามารถที่จะต่อสู้กับสงครามโรคในโลกสมัยใหม่ได้ดีพอ เพราะความล้าหลังของระบอบ และความล้าหลังของความคิดและการนำที่ล้าหลัง อ.ธิดากล่าวในที่สุด