บทบรรยาย ยุทธการขอคืนพื้นที่ เมษา 53 ตอนที่ 2
(เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553)
เหตุการณ์สำคัญ 10 เมษายน 2553
ช่วงเวลา 07.30 ถึง 13.00 น.
เหตุการณ์ในช่วงเช้าของวันที่ 10 เมษายน 2553 เริ่มต้นด้วยการประชุมของ ศอฉ. ที่กองพันทหารราบที่ 11 ต่อมาได้มีคำสั่งจากนายอภิสิทธิ์ให้กองกำลังทหารหน่วยต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ นายอภิสิทธิ์ได้สั่งการ ศอฉ. ทำการผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อขอคืนพื้นที่ และ ศอฉ. ก็ได้ตอบสนองด้วยการจัดกองกำลังทหารมากกว่า 70 กองร้อย และในท้ายคำสั่งดังกล่าวยังได้ระบุถึงมาตรการในการใช้อาวุธไว้ด้วย และมีคำสั่งวิทยุในการเคลื่อนที่ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน โดยไม่ได้กำหนดเวลายุติ ซึ่งนั่นหมายความว่าให้ทำการจนกว่าจะบรรลุภารกิจ ทหารมากกว่า 70 กองร้อยได้เคลื่อนกำลังพลออกจากฐานที่ตั้งในเวลา 07.30 น. ของวันนั้น เพื่อตั้งแถวยันกับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ณ บริเวณกองทัพภาคที่ 1 ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ส่วนหนึ่งมาเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร
เหตุการณ์สำคัญ 10 เมษายน 2553
ช่วงเวลา 07.30 ถึง 13.00 น.
เหตุการณ์ในช่วงเช้าของวันที่ 10 เมษายน 2553 เริ่มต้นด้วยการประชุมของ ศอฉ. ที่กองพันทหารราบที่ 11 ต่อมาได้มีคำสั่งจากนายอภิสิทธิ์ให้กองกำลังทหารหน่วยต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ นายอภิสิทธิ์ได้สั่งการ ศอฉ. ทำการผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อขอคืนพื้นที่ และ ศอฉ. ก็ได้ตอบสนองด้วยการจัดกองกำลังทหารมากกว่า 70 กองร้อย และในท้ายคำสั่งดังกล่าวยังได้ระบุถึงมาตรการในการใช้อาวุธไว้ด้วย และมีคำสั่งวิทยุในการเคลื่อนที่ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน โดยไม่ได้กำหนดเวลายุติ ซึ่งนั่นหมายความว่าให้ทำการจนกว่าจะบรรลุภารกิจ ทหารมากกว่า 70 กองร้อยได้เคลื่อนกำลังพลออกจากฐานที่ตั้งในเวลา 07.30 น. ของวันนั้น เพื่อตั้งแถวยันกับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ณ บริเวณกองทัพภาคที่ 1 ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ส่วนหนึ่งมาเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร
ในเวลาต่อมา ด้านหลังของเวทีการชุมนุมบริเวณราชประสงค์ มีตำรวจ 2 นาย ได้นำหมายจับแกนนำ (นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท, นายวรพล พรหมิกบุตร, นายยศวริศ ชูกล่อม) มายื่นอยู่ด้านหลังเวที แต่ถูกผู้ชุมนุมตะโกนขับไล่ให้ออกไป เช่นเดียวกับบริเวณถนนเพลินจิต หน้าโรงแรมออลซีซั่น ก็มีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุม นปช. กับทหาร มีการผลักดันกันเล็กน้อย แต่ไม่มีเหตุรุนแรงใด ๆ
ความเคลื่อนไหวเชิงสะพานผ่านฟ้า เจ้าหน้าที่รัฐได้เคลื่อนพลและรถสายพานลำเลียงจำนวนหนึ่งออกมาประจำการใกล้บริเวณที่ชุมนุมสะพานผ่านฟ้า การเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมได้กระจายในจุดต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ โดยฝ่ายทหารได้ใช้โล่ กระบอง แก๊สน้ำตา และปืนประเภทต่าง ๆ แบบครบมือพร้อมกระสุนยางกับฝ่ายผู้ชุมนุมเสื้อแดง และมีการเคลื่อนขบวนรถสายพานลำเลียงจำนวน 10 คัน มุ่งหน้าไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า หน้าสนามเสือป่า เพื่อสลายการชุมนุม แต่โฆษก ศอฉ. ชี้แจงว่าเป็นการเคลื่อนไปประจำการที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์และสโมสรกองทัพบก
ช่วงเวลา 13.00 น. เจ้าหน้าที่ได้ฉีดน้ำออกจากกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 และพยายามเปิดประตูพร้อมขึงรั้วลวดหนาม นอกจากนี้มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้แก๊สน้ำตายิงด้วย ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ถอยร่นออกมาบริเวณสนามเสือป่า นอกจากนี้ยังเกิดเสียงดังขึ้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นระเบิดเสียง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกตื่นและวิ่งหนีถอยออกจากพื้นที่ บริเวณด้านหน้ากองทัพภาคที่ 1 กลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งได้มาชุมนุมกดดันทหารที่อยู่ด้านใน เพื่อไม่ให้ออกมาสลายการชุมนุม ทหารได้มีการฉีดน้ำและออกมาจัดกระบวนทัพกันด้านนอก พร้อมทั้งยิงปืนกระสุนยางและแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมจนต้องถอยร่นออกมา ขณะเดียวกันก็มีเฮลิคอปเตอร์บินวนอยู่ และพบว่ามีปลอกกระสุนจริงตกอยู่บนพื้นโดยมีทหารบางคนพยายามใช้เท้าเขี่ยออกจากพื้นที่
ช่วงเวลา 13.45 น. เกิดเหตุชุลมุนที่แยกพาณิชยการใกล้ทำเนียบรัฐบาลและกองทัพภาคที่ 1 โดยเจ้าหน้าที่ทหารได้ใช้น้ำฉีดผู้ชุมนุมที่ปิดล้อมแยกดังกล่าว จากนั้นได้ยิงแก๊สน้ำตาและยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. จำนวนมากได้รับบาดเจ็บและแตกฮือสลายตัวออกจากการชุมนุมที่แยกพาณิชยการ หลังจากนั้นทหารนำรถที่กลุ่มผู้ชุมนุมจอดขวางออกนอกพื้นที่ และเดินจากแยกพาณิชยการมุ่งหน้าเข้าถนนราชดำเนิน เพื่อขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ถนนราชดำเนินนอก โดยการใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และกระสุนจริง
ทางด้านสะพานชมัยมรุเชฐ กองทหารตั้งแถวขวางแนวถนน มีกลุ่มผู้ชุมนุมถอยร่นกลับไปที่สะพานผ่านฟ้า มีการยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ
แยกวังแดง คุรุสภา ผู้ชุมนุมเสื้อแดงเผชิญหน้ากับทหารที่มาพร้อมกับรถสายพานลำเลียงแบบ Type 85 ติดปืนกลจำนวน 6 คัน ทหารทุกนายมีอาวุธประจำกาย ในขณะที่ผู้ชุมนุมนั่งประนมมือเผชิญหน้ากับรถถังและไพร่พลของทหารมากมายที่มาพร้อมกับเสื้อเกราะและอาวุธแบบครบมือ
การเผชิญหน้าบริเวณแยกวังแดง คุรุสภา (ขอบคุณภาพจากประชาไท) |
บริเวณสะพานอรทัย มีการเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ตรงข้ามวัดโสมนัส ซึ่งเจ้าหน้าที่มีการใช้กระบองตีตอบโต้ในขณะตะลุมบอนกับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช.
บริเวณถนนดินสอหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา รถหุ้มเกราะทหาร 10 คัน ได้เข้ามาปิดกั้นถนน ตั้งแนวถือกระบองและโล่พร้อมอาวุธประจำกาย ในส่วนของผู้ชุมนุม นปช. นั้น ได้นำเครื่องขยายเสียงและรถปิ๊กอัพเข้าขวาง และมีการกระทบกระทั่งกันเล็กน้อย
บริเวณสนามม้านางเลิ้ง กลุ่มผู้ชุมนุมหลายพันคนจากบริเวณกองทัพภาคที่ 1 ได้มาประจำอยู่พื้นที่นี้ และเผชิญหน้ากับกองทหารพร้อมอาวุธครบมือกว่า 300 นาย
บริเวณเลียบคลองผดุงกรุงเกษม ก็มีการเผชิญหน้ากันระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมบ้างประปราย พร้อมเฮลิคอปเตอร์บินวนทิ้งแก๊สน้ำตาเพื่อเป็นยุทธวิธีในการเบิกทางเข้าสลายการชุมนุม
ช่วงเวลา 14.00 น. ทหารได้ทยอยยึดถนนราชดำเนินได้บางส่วน โดยตรึงกำลังตามสี่แยกต่าง ๆ ตั้งแต่กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 แยกมิสักวัน และสะพานมัฆวานรังสรรค์ ในขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมต่างถอยร่นไปรวมตัวที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และพยายามจอดรถขวางเพื่อสกัดกั้นทหารยึดพื้นที่เข้ามา
ช่วงเวลา 14.20 น. การชุมนุมกลุ่ม นปช. บริเวณแยกมิสักวัน ทหารได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตามเกิดโต้ลม ทำให้พัดย้อนกลับไปโดนทหาร และมีผู้ชุมนุมบางส่วนได้ขว้างแก๊สน้ำตากลับไปยังทหารเช่นกัน ทางด้านบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ทหารได้รุกคืบฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมพร้อมกับได้จับผู้ปราศรัยบนเวที ขณะเดียวกันทางผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงได้ปรับขบวนเพื่อตั้งแนวป้องกันการรุกคืบของทหารเข้ามายังบริเวณพื้นที่ชุมนุม บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ฝ่ายทหารได้เพิ่มความกดดันกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อให้ถอยไปยังสะพานผ่านฟ้า โดยการยิงแก๊สน้ำตาและการเดินรุกคืบยึดพื้นที่
ช่วงเวลา 15.00 น. มีกลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารพร้อมปืนลูกซอง ปืน M16 พกโล่พร้อมอาวุธครบมือได้ยืนตั้งแถวอยู่ตรงบริเวณสวนสาธารณะเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งอรุณอัมรินทร์
ช่วงเวลา 15.30 น. เจ้าหน้าที่ทหารได้เสริมกำลังและตั้งแนวกั้นบริเวณสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งขาเข้าอนุสาวรีย์ ส่วนผู้ชุมนุม นปช. ได้ตั้งแนวรับบริเวณหน้าตึก UN จากนั้นเจ้าหน้าที่ทหารได้ระดมยิงแก๊สน้ำตา ฉีดน้ำ และยังมีการยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้า จนฝั่งผู้ชุมนุมต้องตะโกนบอกให้เจ้าที่หยุดใช้อาวุธ แต่ก็ยังมีการยิงแก๊สน้ำตาเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มีการขว้างแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผู้ชุมนุมบริเวณดังกล่าววิ่งหลบแก๊สน้ำตาอย่างชุลมุน เหตุการณ์ในช่วงเวลานี้บริเวณแถวประตูศึกษาธิการก็ได้ทำให้เกิดการสูญเสียขึ้นของฝั่งประชาชนจากการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งถือว่าเป็นผู้สูญเสียชีวิตเป็นรายแรกของการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในเหตุการณ์เดือนเมษา-พฤษภา 53 นั่นก็คือกรณีการเสียชีวิตของนายเกรียงไกร คำน้อย บริเวณข้างกำแพงกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการสลายการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบซึ่งได้มีการปฏิบัติมาตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 10 เมษายน 2553
ช่วงเวลา 16.00 น. มีการโปรยใบปลิวจากเฮลิคอปเตอร์ 2 ชุด ทางด้านฝั่งผู้ชุมนุม นปช. ได้มีการนำเอาปืน กระสุนยาง และกระสุนจริง เช่น หัวกระสุน M16 กระป๋องแก๊สน้ำตา และปลอกกระสุนปืนลูกซองเบอร์ 12 ที่เก็บได้จากพื้นที่เผชิญหน้าบริเวณสะพานมัฆวานฯ เพื่อเป็นตัวอย่างให้สื่อมวลชนได้เห็นถึงความพยายามในการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลอภิสิทธิ์ และยืนยันถึงการชุมนุมในครั้งนี้ว่าไม่ได้ใช้หลักสากลในการสลายการชุมนุม หลังจากนั้นได้มีการแจกใบปลิว 2 ชุด ชุดแรกเป็นหมายจับแกนนำ นปช. 24 คน ชุดที่สองบอกว่าเจ้าหน้าที่กำลังเคลียร์พื้นที่ ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องให้ออกจากบริเวณที่ชุมนุม
ช่วงเวลา 17.00 น. บริเวณเวทีสะพานผ่านฟ้า ได้มีการนำเอาปืนยิงกระสุนยาง 20 กระบอก ปืนกลยาว 8 กระบอก เครื่องกระสุน และระเบิด ที่ยึดมาจากทหารที่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า มาแสดงต่อผู้ชุมนุมและนักข่าว พร้อมประกาศยอดผู้บาดเจ็บขณะนั้นว่ามีถึง 83 ราย
ช่วงเวลา 17.45 น. มีเฮลิคอปเตอร์บินวนบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และได้มีการปล่อยแก๊สน้ำตาลงมาจากเฮลิคอปเตอร์เพื่อสลายการชุมนุม 2 ระลอก ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกกระเจิง บางรายมีอาการปวดแสบปวดร้อนจากการถูกพิษจากแก๊สน้ำตา และก็ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างเกี่ยวกับเรื่องของแก๊สน้ำตาที่ใช้ในการสลายการชุมนุมในครั้งนี้ว่า เป็นแก๊สน้ำตาที่ไม่ได้คุณภาพสากล ทำให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บรุนแรง และมีบางรายถึงกับเสียชีวิต เพราะการได้รับพิษจากแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ทหารใช้ในการสลายการชุมนุมครั้งนี้ ขณะเดียวกันแกนนำได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมออกมารวมตัวกันที่หน้าเวทีพร้อมกับปลุกระดมให้ต่อสู้ และดูสถานการณ์ต่อไป ขณะที่ผู้ชุมนุมได้มีการปล่อยลูกโป่งและโคมลอย เพื่อรบกวนการบินของเจ้าหน้าที่บนเฮลิคอปเตอร์ แต่ไม่มีผลแต่อย่างใด แก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ทิ้งลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ตกลงมาด้านหลังเวทีซึ่งมีสื่อมวลชนปักหลักทำข่าวอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้แตกตื่นและหาที่หลบแก๊สน้ำตา อีกจุดที่ทิ้งไปคือด้านหน้าเวที ซึ่งมีผู้ชุมนุมรวมตัวค่อนข้างหนาแน่น และการใช้แก๊สน้ำตาที่ทิ้งลงมาจากเฮลิคอปเตอร์นั้น แน่นอนว่าไม่ใช่วิธีสลายการชุมนุมตามหลักสากลอย่างแน่นอน
ระหว่างนั้นที่บริเวณแยกวิสุทธิกษัตริย์ ได้มีการใช้ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ทหารเข้าสลายการชุมนุมอีกรอบ โดยทหารมีการยิงกระสุนยางปนกระสุนจริงใส่ผู้ชุมนุม บริเวณรถปราศรัยบางรายถูกทำร้ายและถูกจับตัว มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ชาวบ้านบริเวณแถบนั้นได้ประณามการปฏิบัติการของทหารว่ารุนแรงเกินไปกับผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ
ช่วงเวลา 18.00 น. ถึง 20.00 น. สถานการณ์เริ่มมีการตึงเครียดและเริ่มมีการเผชิญหน้ากันในหลาย ๆ จุด ประกอบกับความกดดันของเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับคำสั่งจาก ศอฉ. ภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ให้ปฏิ บัติหน้าที่ให้สำเร็จภายในวันนั้น และจากการที่เป็นช่วงเวลาค่ำ ท้องฟ้าเริ่มมืดลงเรื่อย ๆ ดังนั้นการปฏิบัติการจึงเข้มข้นขึ้นกว่าช่วงเวลากลางวัน มีการยิงปืนขู่ นำรถขยายเสียงเปิดเพลงสลับกับประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ ด้านบนฟ้าก็มีการทิ้งแก๊สน้ำตาด้อยคุณภาพเพื่อสลายการชุมนุมอย่างเป็นระยะ ด้านบริเวณพื้นที่สี่แยกคอกวัว ถนนตะนาว ถนนข้าวสาร เมื่อท้องฟ้ามืดลง ก็เริ่มมีการเผชิญหน้าและเริ่มตึงเครียด จนแนวเผชิญหน้าห่างกันเพียงแค่ 10 - 15 เมตร จากนั้นทหารเริ่มยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม แต่ทิศทางลมกลับพัดพาแก๊สน้ำตากลับไปยังฝั่งทหารจนต้องถอยร่น
นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ยังมีการทำลายรถของผู้ชุมนุมที่จอดเป็นแนวกั้นเอาไว้ ทหารได้กลับมาอีกรอบพร้อมกับเดินหน้ากระดานกินพื้นที่เข้ามาหาผู้ชุมนุม พร้อมทั้งสาดกระสุนยางปนกระสุนจริง พร้อมทั้งยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมจนถูกผู้ชุมนุมแนวหน้าบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก บางรายต้องตาบอดจากกระสุนยางของเจ้าหน้าที่ทหาร บางรายบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงตามลำตัวหลายจุด นอกจากนั้นยังมีเสียงดังคล้ายระเบิดเป็นระยะ ๆ
ช่วงเวลา 19.25 น. กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ได้ฉีดน้ำยาดับเพลิงเข้าใส่ทหารเพื่อเป็นการต้าน จนทหารต้องถอยไปทางปากทางถนนข้าวสาร และมีการยิงปืนขู่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ ต่อมามีการยิงกระสุนยางปนกระสุนจริงใส่ผู้ชุมนุมจนผู้ชุมนุมต้องแตกกระเจิงออกจากแนวเผชิญหน้า
ในช่วงเวลาประมาณทุ่มตรงเป็นต้นไป ถือเป็นเวลาวิกฤตของบริเวณแยกคอกวัวและบริเวณถนนดินสอ การเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ทหารเต็มไปด้วยความตึงเครียดและมีการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบจากทหาร ส่งผลให้บริเวณแยกคอกวัว ถนนตะนาว ถนนข้าวสาร นี้มีการสูญเสียชีวิตของผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมากถึง 10 ราย ซึ่งเวลาของการเกิดเหตุการณ์เสียชีวิตนั้นเกิดอยู่ในช่วงเวลา 19.00 - 20.15 น. ก่อนการปรากฎตัวของชายชุดดำ
หลังเหตุเผชิญหน้ากลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการเก็บหลักฐานต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักฐานของการใช้ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ทหารไว้มากมาย
ช่วงเวลา 20.00 น. มีเหตุระเบิดดังขึ้น 2 ครั้ง จากนั้นมีรายงานของผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 5 นาย โดยรายงานข่าวได้ระบุถึงระเบิดที่ใช้สังหารเจ้าหน้าที่ทั้ง 5 นายนี้ว่าเป็นระเบิดประเภท M79 แต่จากการสอบสวนในภายหลังกลับพบว่าทหารทั้ง 5 นาย เสียชีวิตจากระเบิดชนิดขว้าง M67 หลังเหตุการณ์ระเบิดก็อ้างว่ามีกลุ่มผู้ก่อการร้ายเข้าแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม จึงเพิ่มความรุนแรงในการสลายการชุมนุมด้วยการใช้มาตรการระดมยิงปืนโดยการยิงในแนวราบเข้าหาผู้ชุมนุมอย่างบ้าคลั่ง จนทำให้การเสียชีวิตและบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และมีคำสั่งอนุญาตการใช้ซุ่มยิงด้วยสไนเปอร์จากที่สูงเพื่อเข่นฆ่าผู้ชุมนุมอย่างโหดเหี้ยม โดยมีพยานหลายคนได้เห็นแสงไฟสว่างจากบนตึก โดยเน้นไปที่ผู้ชุมนุมที่แสดงตัวอย่างเด่นชัด เช่น มีการถือธงในมือ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนที่สุด ภายหลังก็มีข้อมูลอ้างถึงการเตรียมกองกำลังพลซุ่มยิงเพื่อทำการอารักขา ผอ.หน่วยและไล่ล่าแกนนำที่ถูกออกหมายจับ โดยวางตัวบนตึกสูง ซึ่งมาจากหน่วยเฉพาะกิจ 90 ชลบุรี และอีกหน่วยมาจากทหารเสือราชินี ร.21 รอ. ซึ่งปฏิบัติการหน่วยพลซุ่มยิงและสไนเปอร์นี้ ทหารถือเป็นยุทธวิธีที่ประสบผลสำเร็จจากเหตุการณ์นั้น และได้ถูกนำมาใช้เป็นกองกำลังสำคัญในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมพฤษภา 53 ซึ่งยังผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 และบาดเจ็บอีกนับพันคน
ช่วงเวลา 21.00 น. หลังมีการเผชิญหน้ากันอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ชุมนุม นปช. มือเปล่าปราศจากอาวุธและเจ้าหน้าที่ทหารในบริเวณต่าง ๆ ใกล้กับที่ชุมนุม เช่น ถนนดินสอช่วงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนตะนาวช่วงแยกคอกวัว ฝั่งเชื่อมต่อถนนข้าวสาร โดยมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทหารได้รับคำสั่งถอนจากพื้นที่ แต่ไม่นานก็กลับเข้ามาใหม่พร้อมกระสุนจริง ยิงใส่ผู้ชุมนุมที่ยึดรถถังเพื่อเป็นการเก็บหลักฐาน เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้หลักฐานเหล่านี้ในการโต้ตอบ
สถานการณ์เริ่มตึงเครียดอีกครั้ง และยังผลให้การเผชิญหน้าบริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนประชาธิปไตย หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมากส่งโรงพยาบาล แกนนำ นปช. และกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้ไปยังโรงพยาบาลเพื่อรับศพจากเจ้าหน้าที่พยาบาล เพราะเป็นผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะ โดยมีเหตุผลคือไม่ต้องการให้เป็นเหมือนเหตุการณ์เมื่อปี 2552 ที่มีการปิดข่าวเรื่องการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม จากนั้นได้นำศพขึ้นเวทีผ่านฟ้า มีธงชาติคลุมร่างอันไร้วิญญาณของผู้ชุมนุม นปช. ในเหตุการณ์ช่วงนี้ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนถึง 4 คน และมีช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์เสียชีวิตจากการทำหน้าที่ นับเป็นสื่อมวลชนต่างชาติรายแรกที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษา-พฤษภา 53
หลังความรุนแรงประมาณ 23.00 - 23.30 น. ก็มีอีก 1 ศพ ซึ่งเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากที่ทหารได้รับคำสั่งถอนกำลังจากพื้นที่เผชิญหน้าเพื่อลดความรุนแรง ซึ่งผู้เสียชีวิตรายสุดท้ายนี้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ลูกจ้างชั่วคราวของสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งการเสียชีวิตของนายมานะ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิตนี้ ดีเอสไอได้สรุปสำนวนว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในขณะปฏิบัติการตามหน้าที่
หลังเหตุการณ์สงบ ได้มีการขอเจรจาจาก ศอฉ. และรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ทางแกนนำ นปช. ไม่ยอมเจรจา เพราะเหตุว่าการกระทำของรัฐบาลขณะนั้นรุนแรงเกินกว่าจะมีการเจรจาใด ๆ แล้ว หลังเหตุการณ์ประมาณ 23.35 น. นายอภิสิทธิ์ก็ได้ออกมาแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ โดยกล่าวอ้างถึงแนวทางการใช้กระสุนจริง และกล่าวว่ามีปัญหาและอุปสรรคของการสลายการชุมนุม อันเกิดจากการขัดขวางของกลุ่มผู้ชุมนุม รวมไปถึงการกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธ และการสูญเสียชีวิตมาจากอาวุธ M79 หลายครั้ง ซึ่งการแถลงการณ์ของนายอภิสิทธิ์แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจต่อข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมของเหตุการณ์ที่ประจักษ์พยานและหลักฐานต่าง ๆ ตามสื่อมวลชนแม้แต่น้อย รวมถึงสีหน้าแววตาท่าทางที่ไม่ได้รู้สึกเสียใจต่อการสูญเสียชีวิตของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ทหาร และไม่มีคำขอโทษต่อความรุนแรงและผู้เสียชีวิตทั้ง 27 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 1,427 ราย แต่กลับโยนความผิดทั้งหมดไปให้ชายชุดดำและกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ที่อยู่ในเหตุการณ์นี้แทน
สรุปการสูญเสียชีวิตจากปฏิบัติการ "ขอคืนพื้นที่" ในบริเวณต่าง ๆ
เสียชีวิตบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อเวลาล่วงเลยมาจนถึงประมาณ 15.30 น. ของวันที่ 10 เมษายน 2553 ก็ได้มีกรณีการสูญเสียชีวิตจากการเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มผู้ขุมนุม นปช. เกิดขึ้นเป็นรายแรก นั่นก็คือกรณีการเสียชีวิตของนายเกรียงไกร คำน้อย ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ข้างกระทรวงศึกษาธิการ สาเหตุการเสียชีวิตจากการสอบสวนนั้น เนื่องมาจากการถูกยิงที่สะโพกด้วยอาวุธปืนสงคราม กระสุนฝังในช่องท้อง และเสียชีวิตจากสาเหตุเลือดออกในช่องท้องจากบาดแผลที่ถูกยิง ทำให้อวัยวะในช่องท้องฉีกขาด โดยนายเกรียงไกรได้เสียชีวิตในวันที่ 11 เมษายน 2553 เวลา 03.30 น. ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล จากรายงานการชันสูตรศพระบุว่าเป็นการเสียชีวิตจากกระสุนปืนความเร็วสูง
เสียชีวิตบริเวณคอกวัว
1. นายธวัฒนะชัย กลัดสุข เสียชีวิตช่วงเวลาเกือบ 19.00 น. จากการถูกยิงที่อก จากปากคำของญาติระบุว่า ก่อนตายทางผู้ตายนั้นได้เป็นคนกันทหารไม่ให้เข้ามาที่สี่แยกคอกวัว และถูกยิงเสียชีวิตเวลาประมาณ 19.00 น.
2. นายอำพน ตติยรัตน์ เสียชีวิตเวลาประมาณ 19.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว พยานได้เล่าว่านายอำพนก่อนตายหลบอยู่ที่หลังเสาไฟฟ้า ก่อนที่จะถูกยิงในเวลาต่อมา
3. นายไพรศล ทิพย์ลม เสียชีวิตเวลาประมาณ 19.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว พยานซึ่งเป็นเพื่อนได้บอกให้เขาวิ่งหลบกระสุน แต่ผู้ตายได้ก้มหยิบหินและขว้างออกไปพร้อมกับก้มหยิบหินลูกที่สองก่อนที่จะถูกยิงที่ศีรษะ
4. นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่อก พยานได้เล่าว่าตนและผู้ตายได้เข้าช่วยเหลือผู้ที่ถูกยิง ผู้ตายได้บอกกับพยานว่าให้อุ้มคนเจ็บออกไปก่อน แล้วผู้ตายก็เดินสวนเข้าไป ด้วยความเป็นห่วง พยานเลยเดินทางเข้าไปภายหลัง แต่ไม่เห็นตรงที่ผู้ตายยืนอยู่
5. นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์ เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ เสียชีวิตจากการถูกยิงที่คอ
6. นายสวาท วางาม เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว น้องชายนายสวาทซึ่งอยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วยได้ให้การว่า ตนเองและผู้ตายอยู่แนวหน้าของผู้ชุมนุม ขณะนั้นทหารเริ่มยิงกระสุนและแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม นายสวาทพี่ชายจึงวิ่งถือธงเข้าไปหาแนวทหารด้วยความโกรธและโดนยิงที่ศีรษะในเวลาต่อมา สวาทโดนยิงในขณะที่สวนหมวกกันน๊อคสีขาว ถูกยิงที่ศีรษะด้านขวาทะลุขมับซ้าย หลังเกิดเหตุคุณพ่อของนายสวาทได้ถอดเสื้อเพื่อห่อสมองของบุตรชายที่อยู่บริเวณถนนตะนาว แยกคอยวัว ด้วย
7. นายบุญธรรม ทองผุย เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว ผู้ร่วมเหตุการณ์ให้การว่า ก่อนผู้ตายถูกยิงมีการผลักกันไปมา ผู้ตายบอกให้ผู้ชุมนุมซึ่งเป็นผู้หญิงกลับไปเนื่องจากอันตรายมาก ผู้ตายยืนโบกธงเพื่อให้ทหารหยุด แต่ทหารก็ยิงเข้ามา
8. นายสมิง แตงเพชร เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว พยานได้ให้การว่า ขณะเกิดเหตุนายสมิงได้วิ่งสวนเข้าไปหาแนวทหาร ขณะที่คนอื่นนั้นวิ่งออกมาเพราะนึกว่าทหารยิงกระสุนยาง แต่ต่อมาก็ได้ยิงกระสุนจริง จนเป็นสาเหตุการตายของนายสมิง
9. นายสมศักดิ์ แก้วสาร เวลาเสียชีวิตไม่ทราบแน่ชัด เสียชีวิตจากการถูกยิงที่อก ภรรยาระบุว่านายสมศักดิ์ถูกยิงและเสียชีวิตทันทีที่สี่แยกคอกวัว
เสียชีวิตบริเวณถนนดินสอ โรงเรียนสตรีวิทยา
1. นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ เสียชีวิตช่วงเวลา 18.00 น. - 19.00 น. จากการถูกยิงที่บริเวณหัวเหน่า ขณะร่วมชุมนุมที่บริเวณถนนดินสอ และเสียเลือดมากจากแผลที่ถูกยิง นายบุญจันทร์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
2. นายจรูญ ฉายแม้น เสียชีวิตช่วงเวลาเกือบ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่อก ผู้ตายได้เข้าร่วมชุมนุมอยู่บริเวณโรงเรียนสตรีวิทยาและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
3. นายทศชัย เมฆงามฟ้า เสียชีวิตช่วงเวลาเกือบ 20.00 น.เศษ เสียชีวิตจากการถูกยิงที่หัวด้วยกระสุนปืน และเสียชีวิตขณะทำตัวส่งโรงพยาบาล
4. นายวสันต์ ภู่ทอง เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ เสียชีวิตจากการถูกยิงที่หัวด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ภาพที่ปรากฎต่อสายตาของคนทั้งโลกต่อการเสียชีวิตของนายวสันต์ เป็นภาพที่นับว่าสยดสยองและสะเทือนขวัญเป็นอย่างมาก วสันต์เสียชีวิตขณะร่วมชุมนุมบริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งขณะนั้นนายวสันต์ได้ถือธงอยู่ในมือ ถูกยิงล้มลงและเสียชีวิตทันที ซึ่งนับว่าเป็นความโหดเหี้ยมอำมหิตอย่างมากต่อการกระทำกับประชาชนที่ต่อสู้ด้วยความสันติ
5. นายสยาม วัฒนนุกูล เสียชีวิตในเวลา 20.20 น. เสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลจากการถูกยิงที่อกขณะร่วมชุมนุมอยู่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา
6. นายคนึง ฉัตรเท เสียชีวิตในเวลาประมาณ 20.30 น. เสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาล จากการถูกยิงที่อกด้านขวา กระสุนฝังใน ปอดฉีกขาด
7. นาย Hiroyuki Muramoto เสียชีวิตในเวลาประมาณ 21.00 น.เศษ Hiroyuki เสียชีวิตจาการยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงที่อกด้านซ้าย ขณะกำลังบันทึกภาพเหตุการณ์ที่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา และได้เสียชีวิตลงระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล
เสียชีวิตบริเวณอื่น ๆ
1. นายมนต์ชัย แซ่จอง เสียชีวิตจากอาการผลกระทบของแก๊สน้ำตา มนต์ชัยทิ้งแผงขายเทปเพลงมือสองทันทีที่ทราบว่าทหารจะเข้าสลายการชุมนุมที่บริเวณผ่านฟ้า และบ่ายวันนั้นเขาโดนแก๊สน้ำตา และในเย็นวันนั้นเองเขามีอาการไม่สบาย หนาวสั่น ต่อมาชีพจรของเขาเต้นเร็วผิดปกติจนต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลา 02.50 น. ของวันที่ 11 เมษายน 2553 แพทย์ได้ระบุในใบมรณะบัตรว่าเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ส่วนในใบชันสูตรของโรงพยาบตำรวจ ระบุว่าระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
2. นายอนันต์ ชินสงคราม เสียชีวิตช่วงเวลาบ่ายโมงจากอาการผลกระทบของแก๊สน้ำตาหลังจากโดนแก๊สน้ำตาที่ทหารยิงใส่บริเวณสะพานมัฆวานในเวลาบ่ายของวันที่ 10 เมษายน จากนั้นอีก 2-3 วัน อนันต์ก็มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เพื่อนในที่ชุมนุมได้พาไปโรงพยาบาล พออาการทุเลาก็กลับไปร่วมชุมนุมและมีอาการอีกเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ 19 พฤษภา ก็มีการป่วยตลอดและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น กระทั่งวันที่ 15 ตุลาคม 2553 จึงได้ส่งตัวกลับบ้านและได้สิ้นลมในวันรุ่งขึ้น
3. นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร เสียชีวิตในเวลา 20.00 น.เศษ เสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงที่ศีรษะด้านหลังทะลุด้านหน้า และนอกจากนี้ยังมีแผลกระสุนยางที่ขา
4. นายมานะ อาจราญ เสียชีวิตช่วงเวลา 23.00 น. ถึง 23.30 น. เสียชีวิตจากการถูกยิงที่ศีรษะด้านหลังทะลุด้านหน้า สมองฉีกขาด
5. นายนภพล เผ่าพนัส ช่วงเวลาเสียชีวิตไม่ทราบแน่ชัด เสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยอาวุธปืนสงครามที่ท้อง บริเวณถนนดินสอ
ส่วนของเจ้าหน้าที่ทหาร
ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน 2553 นั้น นอกจากจะมีการสูญเสียชีวิตของพลเรือนจำนวนมากแล้ว ก็ยังมีการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทหารในปฏิบัติการครั้งนี้ถึง 5 นายด้วยกัน มีดังนี้
1. พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม (43 ปี)
2. พลทหารภูริวัฒน์ ประพันธ์ (25 ปี)
3. พลทหารอนุพงษ์ เมืองอำพัน (21 ปี)
4. พลทหารสิงหา อ่อนทรง (22 ปี)
5. พลทหารอนุพงศ์ หอมมาลี (22 ปี)
กรณีของการสูญเสียชีวิตของทหารทั้ง 5 นาย โดยมีการกล่าวหาว่าเป็นฝีมือชายชุดดำ ซึ่ง ศอฉ. มองว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. โดยอ้างถึงเพียงแค่คลิปวีดีโอสั้น ๆ ที่ปรากฎภาพชายชุดดำที่ทาง ศอฉ. บอกว่าได้มาจากสำนักข่าวอัลจาชีรา ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าการนำเสนอคลิปภาพชายชุดดำของ ศอฉ. นั้น ได้นำเสนอหลังเหตุการณ์ผ่านไปแล้วหลายวัน โดยในภายหลังก็ได้รับการปฏิเสธอย่างเป็นทางการจากสำนักข่าวอัลจาชีราว่า ภาพคลิปวีดีโอชุดดังกล่าวไม่ได้เป็นภาพจากสำนักข่าวของตนที่ถ่ายได้ และเมื่อพิจารณาถึงภาพแล้วก็เห็นได้ชัดเจนว่า ภาพจากคลิปดังกล่าวมีการจัดเตรียมและมีการตกแต่งภาพอย่างชัดเจน และอาวุธที่ปรากฎในภาพชายชุดดำที่ถือนั้นเป็นอาวุธปืนอาก้า แต่ในข้อเขียนของนายอภิสิทธิ์ที่มักกล่าวอ้างเสมอเรื่องวาทกรรมชายชุดดำที่ปฏิบัติการพร้อมกับปืน M79 และอ้างว่าทหารเสียชีวิตจากการปะทะกับชายชุดดำ ซึ่งผลการชันสูตรจากการเสียชีวิตของทหารก็ได้ระบุชัดเจนว่า พบสะเก็ดระเบิดชนิดขว้าง M67 ซึ่งจะต้องมีระยะทำการที่ใกล้จุดเกิดเหตุพอสมควรเพื่อความแม่นยำ ซึ่งขัดกับความจริงของการเสียชีวิตของทหารในวันที่ 10 เมษา ที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยานั้นยึดครองพื้นที่โดยทหารอย่างเบ็ดเสร็จด้วยจำนวนทหารที่มากถึง 15 กองร้อย มีทหารกว่า 2,000 นาย พร้อมรถหุ้มเกราะ 6 คัน จอดขวางหัวถนนดินสอพร้อมพลคุ้มกันอยู่บนรถหุ้มเกราะ รวมถึงไม่พบผู้บาดเจ็บล้มตายด้วยปืนอาก้าจากชายชุดดำตามคลิปที่ปรากฎ และประเด็นเรื่องชายชุดดำนั้นก็ได้มีการไต่สวนการตายในชั้นศาล ไม่มีใครพบชายชุดดำในที่เกิดเหตุ ไม่มีมวลชนติดอาวุธแต่อย่างใด และมีหลายกรณีที่มีการยกฟ้องไปแล้ว สำหรับผู้ถูกจับกุมที่มีการอ้างว่าโยงกับชายชุดดำ และมีหลายความคิดเห็นที่ออกมาในขณะนั้นว่ากรณีชายชุดดำนั้นอาจเป็นความขัดแย้งภายในกองทัพโดยอาศัยช่วงเวลานี้กำจัดผู้นำของกลุ่มที่มีอำนาจ
หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน 2553 ปฏิบัติการวาทกรรมผู้ก่อการร้ายและการโยนความผิดให้ชายชุดดำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหลังเหตุการณ์การสลายการชุมนุม และกลายเป็นถ้อยคำที่ปรากฎต่อสื่อแขนงต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมของปฏิบัติการขอคืนพื้นที่หลัง 10 เมษายน 3 วัน ศอฉ. ได้ยกระดับความรุนแรงของมาตรการต่าง ๆ โดยอนุญาตเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธปืนลูกซองได้ ต่อมา 11 เมษา นายสุเทพในฐานะ ผอ.ศอฉ. ได้อนุมัติให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธกระสุนจริง และอนุญาตใช้พลแม่นปืน รวมถึงสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์จาก ศอฉ.
การประกาศมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาหลังจากการสลายการชุมนุม เป็นการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนถึงความต้องการในการใช้ความรุนแรงของ ศอฉ. โดยปราศจากการแสดงความรับผิดชอบใด ๆ ของการสูญเสียชีวิตของผู้ชุมนุม รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหาร ไม่มีคำขอโทษ หรือการแสดงความรับผิดชอบจากปากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีเพียงคำกล่าวอ้างการใช้ความรุนแรงและการโยนความผิดให้กับชายชุดดำ และยังยืนยันว่าจะเดินหน้าปราบปรามด้วยมาตรการขั้นเด็ดขาดต่อไป นั่นคือจุดยืนของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์จนนำไปสู่เหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ภาคประชาชนกับระบอบเผด็จการที่ประเทศชาติต้องจารึกต่อไป
ช่วงเวลา 18.00 น. ถึง 20.00 น. สถานการณ์เริ่มมีการตึงเครียดและเริ่มมีการเผชิญหน้ากันในหลาย ๆ จุด ประกอบกับความกดดันของเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับคำสั่งจาก ศอฉ. ภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ให้ปฏิ บัติหน้าที่ให้สำเร็จภายในวันนั้น และจากการที่เป็นช่วงเวลาค่ำ ท้องฟ้าเริ่มมืดลงเรื่อย ๆ ดังนั้นการปฏิบัติการจึงเข้มข้นขึ้นกว่าช่วงเวลากลางวัน มีการยิงปืนขู่ นำรถขยายเสียงเปิดเพลงสลับกับประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ ด้านบนฟ้าก็มีการทิ้งแก๊สน้ำตาด้อยคุณภาพเพื่อสลายการชุมนุมอย่างเป็นระยะ ด้านบริเวณพื้นที่สี่แยกคอกวัว ถนนตะนาว ถนนข้าวสาร เมื่อท้องฟ้ามืดลง ก็เริ่มมีการเผชิญหน้าและเริ่มตึงเครียด จนแนวเผชิญหน้าห่างกันเพียงแค่ 10 - 15 เมตร จากนั้นทหารเริ่มยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม แต่ทิศทางลมกลับพัดพาแก๊สน้ำตากลับไปยังฝั่งทหารจนต้องถอยร่น
นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ยังมีการทำลายรถของผู้ชุมนุมที่จอดเป็นแนวกั้นเอาไว้ ทหารได้กลับมาอีกรอบพร้อมกับเดินหน้ากระดานกินพื้นที่เข้ามาหาผู้ชุมนุม พร้อมทั้งสาดกระสุนยางปนกระสุนจริง พร้อมทั้งยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมจนถูกผู้ชุมนุมแนวหน้าบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก บางรายต้องตาบอดจากกระสุนยางของเจ้าหน้าที่ทหาร บางรายบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงตามลำตัวหลายจุด นอกจากนั้นยังมีเสียงดังคล้ายระเบิดเป็นระยะ ๆ
ช่วงเวลา 19.25 น. กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ได้ฉีดน้ำยาดับเพลิงเข้าใส่ทหารเพื่อเป็นการต้าน จนทหารต้องถอยไปทางปากทางถนนข้าวสาร และมีการยิงปืนขู่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ ต่อมามีการยิงกระสุนยางปนกระสุนจริงใส่ผู้ชุมนุมจนผู้ชุมนุมต้องแตกกระเจิงออกจากแนวเผชิญหน้า
ในช่วงเวลาประมาณทุ่มตรงเป็นต้นไป ถือเป็นเวลาวิกฤตของบริเวณแยกคอกวัวและบริเวณถนนดินสอ การเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ทหารเต็มไปด้วยความตึงเครียดและมีการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบจากทหาร ส่งผลให้บริเวณแยกคอกวัว ถนนตะนาว ถนนข้าวสาร นี้มีการสูญเสียชีวิตของผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมากถึง 10 ราย ซึ่งเวลาของการเกิดเหตุการณ์เสียชีวิตนั้นเกิดอยู่ในช่วงเวลา 19.00 - 20.15 น. ก่อนการปรากฎตัวของชายชุดดำ
หลังเหตุเผชิญหน้ากลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการเก็บหลักฐานต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักฐานของการใช้ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ทหารไว้มากมาย
ช่วงเวลา 20.00 น. มีเหตุระเบิดดังขึ้น 2 ครั้ง จากนั้นมีรายงานของผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 5 นาย โดยรายงานข่าวได้ระบุถึงระเบิดที่ใช้สังหารเจ้าหน้าที่ทั้ง 5 นายนี้ว่าเป็นระเบิดประเภท M79 แต่จากการสอบสวนในภายหลังกลับพบว่าทหารทั้ง 5 นาย เสียชีวิตจากระเบิดชนิดขว้าง M67 หลังเหตุการณ์ระเบิดก็อ้างว่ามีกลุ่มผู้ก่อการร้ายเข้าแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม จึงเพิ่มความรุนแรงในการสลายการชุมนุมด้วยการใช้มาตรการระดมยิงปืนโดยการยิงในแนวราบเข้าหาผู้ชุมนุมอย่างบ้าคลั่ง จนทำให้การเสียชีวิตและบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และมีคำสั่งอนุญาตการใช้ซุ่มยิงด้วยสไนเปอร์จากที่สูงเพื่อเข่นฆ่าผู้ชุมนุมอย่างโหดเหี้ยม โดยมีพยานหลายคนได้เห็นแสงไฟสว่างจากบนตึก โดยเน้นไปที่ผู้ชุมนุมที่แสดงตัวอย่างเด่นชัด เช่น มีการถือธงในมือ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนที่สุด ภายหลังก็มีข้อมูลอ้างถึงการเตรียมกองกำลังพลซุ่มยิงเพื่อทำการอารักขา ผอ.หน่วยและไล่ล่าแกนนำที่ถูกออกหมายจับ โดยวางตัวบนตึกสูง ซึ่งมาจากหน่วยเฉพาะกิจ 90 ชลบุรี และอีกหน่วยมาจากทหารเสือราชินี ร.21 รอ. ซึ่งปฏิบัติการหน่วยพลซุ่มยิงและสไนเปอร์นี้ ทหารถือเป็นยุทธวิธีที่ประสบผลสำเร็จจากเหตุการณ์นั้น และได้ถูกนำมาใช้เป็นกองกำลังสำคัญในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมพฤษภา 53 ซึ่งยังผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 และบาดเจ็บอีกนับพันคน
ช่วงเวลา 21.00 น. หลังมีการเผชิญหน้ากันอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ชุมนุม นปช. มือเปล่าปราศจากอาวุธและเจ้าหน้าที่ทหารในบริเวณต่าง ๆ ใกล้กับที่ชุมนุม เช่น ถนนดินสอช่วงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนตะนาวช่วงแยกคอกวัว ฝั่งเชื่อมต่อถนนข้าวสาร โดยมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทหารได้รับคำสั่งถอนจากพื้นที่ แต่ไม่นานก็กลับเข้ามาใหม่พร้อมกระสุนจริง ยิงใส่ผู้ชุมนุมที่ยึดรถถังเพื่อเป็นการเก็บหลักฐาน เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้หลักฐานเหล่านี้ในการโต้ตอบ
สถานการณ์เริ่มตึงเครียดอีกครั้ง และยังผลให้การเผชิญหน้าบริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนประชาธิปไตย หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมากส่งโรงพยาบาล แกนนำ นปช. และกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้ไปยังโรงพยาบาลเพื่อรับศพจากเจ้าหน้าที่พยาบาล เพราะเป็นผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะ โดยมีเหตุผลคือไม่ต้องการให้เป็นเหมือนเหตุการณ์เมื่อปี 2552 ที่มีการปิดข่าวเรื่องการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม จากนั้นได้นำศพขึ้นเวทีผ่านฟ้า มีธงชาติคลุมร่างอันไร้วิญญาณของผู้ชุมนุม นปช. ในเหตุการณ์ช่วงนี้ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนถึง 4 คน และมีช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์เสียชีวิตจากการทำหน้าที่ นับเป็นสื่อมวลชนต่างชาติรายแรกที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษา-พฤษภา 53
คนเสื้อแดงนำร่าง นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ส่งโรงพยาบาล |
หลังเหตุการณ์สงบ ได้มีการขอเจรจาจาก ศอฉ. และรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ทางแกนนำ นปช. ไม่ยอมเจรจา เพราะเหตุว่าการกระทำของรัฐบาลขณะนั้นรุนแรงเกินกว่าจะมีการเจรจาใด ๆ แล้ว หลังเหตุการณ์ประมาณ 23.35 น. นายอภิสิทธิ์ก็ได้ออกมาแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ โดยกล่าวอ้างถึงแนวทางการใช้กระสุนจริง และกล่าวว่ามีปัญหาและอุปสรรคของการสลายการชุมนุม อันเกิดจากการขัดขวางของกลุ่มผู้ชุมนุม รวมไปถึงการกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธ และการสูญเสียชีวิตมาจากอาวุธ M79 หลายครั้ง ซึ่งการแถลงการณ์ของนายอภิสิทธิ์แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจต่อข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อมของเหตุการณ์ที่ประจักษ์พยานและหลักฐานต่าง ๆ ตามสื่อมวลชนแม้แต่น้อย รวมถึงสีหน้าแววตาท่าทางที่ไม่ได้รู้สึกเสียใจต่อการสูญเสียชีวิตของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ทหาร และไม่มีคำขอโทษต่อความรุนแรงและผู้เสียชีวิตทั้ง 27 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 1,427 ราย แต่กลับโยนความผิดทั้งหมดไปให้ชายชุดดำและกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ที่อยู่ในเหตุการณ์นี้แทน
สรุปการสูญเสียชีวิตจากปฏิบัติการ "ขอคืนพื้นที่" ในบริเวณต่าง ๆ
เสียชีวิตบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อเวลาล่วงเลยมาจนถึงประมาณ 15.30 น. ของวันที่ 10 เมษายน 2553 ก็ได้มีกรณีการสูญเสียชีวิตจากการเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มผู้ขุมนุม นปช. เกิดขึ้นเป็นรายแรก นั่นก็คือกรณีการเสียชีวิตของนายเกรียงไกร คำน้อย ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ข้างกระทรวงศึกษาธิการ สาเหตุการเสียชีวิตจากการสอบสวนนั้น เนื่องมาจากการถูกยิงที่สะโพกด้วยอาวุธปืนสงคราม กระสุนฝังในช่องท้อง และเสียชีวิตจากสาเหตุเลือดออกในช่องท้องจากบาดแผลที่ถูกยิง ทำให้อวัยวะในช่องท้องฉีกขาด โดยนายเกรียงไกรได้เสียชีวิตในวันที่ 11 เมษายน 2553 เวลา 03.30 น. ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล จากรายงานการชันสูตรศพระบุว่าเป็นการเสียชีวิตจากกระสุนปืนความเร็วสูง
เสียชีวิตบริเวณคอกวัว
1. นายธวัฒนะชัย กลัดสุข เสียชีวิตช่วงเวลาเกือบ 19.00 น. จากการถูกยิงที่อก จากปากคำของญาติระบุว่า ก่อนตายทางผู้ตายนั้นได้เป็นคนกันทหารไม่ให้เข้ามาที่สี่แยกคอกวัว และถูกยิงเสียชีวิตเวลาประมาณ 19.00 น.
2. นายอำพน ตติยรัตน์ เสียชีวิตเวลาประมาณ 19.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว พยานได้เล่าว่านายอำพนก่อนตายหลบอยู่ที่หลังเสาไฟฟ้า ก่อนที่จะถูกยิงในเวลาต่อมา
3. นายไพรศล ทิพย์ลม เสียชีวิตเวลาประมาณ 19.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว พยานซึ่งเป็นเพื่อนได้บอกให้เขาวิ่งหลบกระสุน แต่ผู้ตายได้ก้มหยิบหินและขว้างออกไปพร้อมกับก้มหยิบหินลูกที่สองก่อนที่จะถูกยิงที่ศีรษะ
4. นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่อก พยานได้เล่าว่าตนและผู้ตายได้เข้าช่วยเหลือผู้ที่ถูกยิง ผู้ตายได้บอกกับพยานว่าให้อุ้มคนเจ็บออกไปก่อน แล้วผู้ตายก็เดินสวนเข้าไป ด้วยความเป็นห่วง พยานเลยเดินทางเข้าไปภายหลัง แต่ไม่เห็นตรงที่ผู้ตายยืนอยู่
5. นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์ เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ เสียชีวิตจากการถูกยิงที่คอ
6. นายสวาท วางาม เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว น้องชายนายสวาทซึ่งอยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วยได้ให้การว่า ตนเองและผู้ตายอยู่แนวหน้าของผู้ชุมนุม ขณะนั้นทหารเริ่มยิงกระสุนและแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม นายสวาทพี่ชายจึงวิ่งถือธงเข้าไปหาแนวทหารด้วยความโกรธและโดนยิงที่ศีรษะในเวลาต่อมา สวาทโดนยิงในขณะที่สวนหมวกกันน๊อคสีขาว ถูกยิงที่ศีรษะด้านขวาทะลุขมับซ้าย หลังเกิดเหตุคุณพ่อของนายสวาทได้ถอดเสื้อเพื่อห่อสมองของบุตรชายที่อยู่บริเวณถนนตะนาว แยกคอยวัว ด้วย
7. นายบุญธรรม ทองผุย เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว ผู้ร่วมเหตุการณ์ให้การว่า ก่อนผู้ตายถูกยิงมีการผลักกันไปมา ผู้ตายบอกให้ผู้ชุมนุมซึ่งเป็นผู้หญิงกลับไปเนื่องจากอันตรายมาก ผู้ตายยืนโบกธงเพื่อให้ทหารหยุด แต่ทหารก็ยิงเข้ามา
8. นายสมิง แตงเพชร เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่หัว พยานได้ให้การว่า ขณะเกิดเหตุนายสมิงได้วิ่งสวนเข้าไปหาแนวทหาร ขณะที่คนอื่นนั้นวิ่งออกมาเพราะนึกว่าทหารยิงกระสุนยาง แต่ต่อมาก็ได้ยิงกระสุนจริง จนเป็นสาเหตุการตายของนายสมิง
9. นายสมศักดิ์ แก้วสาร เวลาเสียชีวิตไม่ทราบแน่ชัด เสียชีวิตจากการถูกยิงที่อก ภรรยาระบุว่านายสมศักดิ์ถูกยิงและเสียชีวิตทันทีที่สี่แยกคอกวัว
เสียชีวิตบริเวณถนนดินสอ โรงเรียนสตรีวิทยา
1. นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ เสียชีวิตช่วงเวลา 18.00 น. - 19.00 น. จากการถูกยิงที่บริเวณหัวเหน่า ขณะร่วมชุมนุมที่บริเวณถนนดินสอ และเสียเลือดมากจากแผลที่ถูกยิง นายบุญจันทร์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
2. นายจรูญ ฉายแม้น เสียชีวิตช่วงเวลาเกือบ 20.00 น.เศษ จากการถูกยิงที่อก ผู้ตายได้เข้าร่วมชุมนุมอยู่บริเวณโรงเรียนสตรีวิทยาและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
3. นายทศชัย เมฆงามฟ้า เสียชีวิตช่วงเวลาเกือบ 20.00 น.เศษ เสียชีวิตจากการถูกยิงที่หัวด้วยกระสุนปืน และเสียชีวิตขณะทำตัวส่งโรงพยาบาล
4. นายวสันต์ ภู่ทอง เสียชีวิตเวลาประมาณ 20.00 น.เศษ เสียชีวิตจากการถูกยิงที่หัวด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ภาพที่ปรากฎต่อสายตาของคนทั้งโลกต่อการเสียชีวิตของนายวสันต์ เป็นภาพที่นับว่าสยดสยองและสะเทือนขวัญเป็นอย่างมาก วสันต์เสียชีวิตขณะร่วมชุมนุมบริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งขณะนั้นนายวสันต์ได้ถือธงอยู่ในมือ ถูกยิงล้มลงและเสียชีวิตทันที ซึ่งนับว่าเป็นความโหดเหี้ยมอำมหิตอย่างมากต่อการกระทำกับประชาชนที่ต่อสู้ด้วยความสันติ
5. นายสยาม วัฒนนุกูล เสียชีวิตในเวลา 20.20 น. เสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลจากการถูกยิงที่อกขณะร่วมชุมนุมอยู่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา
6. นายคนึง ฉัตรเท เสียชีวิตในเวลาประมาณ 20.30 น. เสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาล จากการถูกยิงที่อกด้านขวา กระสุนฝังใน ปอดฉีกขาด
7. นาย Hiroyuki Muramoto เสียชีวิตในเวลาประมาณ 21.00 น.เศษ Hiroyuki เสียชีวิตจาการยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงที่อกด้านซ้าย ขณะกำลังบันทึกภาพเหตุการณ์ที่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา และได้เสียชีวิตลงระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล
เสียชีวิตบริเวณอื่น ๆ
1. นายมนต์ชัย แซ่จอง เสียชีวิตจากอาการผลกระทบของแก๊สน้ำตา มนต์ชัยทิ้งแผงขายเทปเพลงมือสองทันทีที่ทราบว่าทหารจะเข้าสลายการชุมนุมที่บริเวณผ่านฟ้า และบ่ายวันนั้นเขาโดนแก๊สน้ำตา และในเย็นวันนั้นเองเขามีอาการไม่สบาย หนาวสั่น ต่อมาชีพจรของเขาเต้นเร็วผิดปกติจนต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลา 02.50 น. ของวันที่ 11 เมษายน 2553 แพทย์ได้ระบุในใบมรณะบัตรว่าเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ส่วนในใบชันสูตรของโรงพยาบตำรวจ ระบุว่าระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
2. นายอนันต์ ชินสงคราม เสียชีวิตช่วงเวลาบ่ายโมงจากอาการผลกระทบของแก๊สน้ำตาหลังจากโดนแก๊สน้ำตาที่ทหารยิงใส่บริเวณสะพานมัฆวานในเวลาบ่ายของวันที่ 10 เมษายน จากนั้นอีก 2-3 วัน อนันต์ก็มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เพื่อนในที่ชุมนุมได้พาไปโรงพยาบาล พออาการทุเลาก็กลับไปร่วมชุมนุมและมีอาการอีกเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ 19 พฤษภา ก็มีการป่วยตลอดและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น กระทั่งวันที่ 15 ตุลาคม 2553 จึงได้ส่งตัวกลับบ้านและได้สิ้นลมในวันรุ่งขึ้น
3. นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร เสียชีวิตในเวลา 20.00 น.เศษ เสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงที่ศีรษะด้านหลังทะลุด้านหน้า และนอกจากนี้ยังมีแผลกระสุนยางที่ขา
4. นายมานะ อาจราญ เสียชีวิตช่วงเวลา 23.00 น. ถึง 23.30 น. เสียชีวิตจากการถูกยิงที่ศีรษะด้านหลังทะลุด้านหน้า สมองฉีกขาด
5. นายนภพล เผ่าพนัส ช่วงเวลาเสียชีวิตไม่ทราบแน่ชัด เสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยอาวุธปืนสงครามที่ท้อง บริเวณถนนดินสอ
ส่วนของเจ้าหน้าที่ทหาร
ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน 2553 นั้น นอกจากจะมีการสูญเสียชีวิตของพลเรือนจำนวนมากแล้ว ก็ยังมีการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทหารในปฏิบัติการครั้งนี้ถึง 5 นายด้วยกัน มีดังนี้
1. พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม (43 ปี)
2. พลทหารภูริวัฒน์ ประพันธ์ (25 ปี)
3. พลทหารอนุพงษ์ เมืองอำพัน (21 ปี)
4. พลทหารสิงหา อ่อนทรง (22 ปี)
5. พลทหารอนุพงศ์ หอมมาลี (22 ปี)
กรณีของการสูญเสียชีวิตของทหารทั้ง 5 นาย โดยมีการกล่าวหาว่าเป็นฝีมือชายชุดดำ ซึ่ง ศอฉ. มองว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. โดยอ้างถึงเพียงแค่คลิปวีดีโอสั้น ๆ ที่ปรากฎภาพชายชุดดำที่ทาง ศอฉ. บอกว่าได้มาจากสำนักข่าวอัลจาชีรา ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าการนำเสนอคลิปภาพชายชุดดำของ ศอฉ. นั้น ได้นำเสนอหลังเหตุการณ์ผ่านไปแล้วหลายวัน โดยในภายหลังก็ได้รับการปฏิเสธอย่างเป็นทางการจากสำนักข่าวอัลจาชีราว่า ภาพคลิปวีดีโอชุดดังกล่าวไม่ได้เป็นภาพจากสำนักข่าวของตนที่ถ่ายได้ และเมื่อพิจารณาถึงภาพแล้วก็เห็นได้ชัดเจนว่า ภาพจากคลิปดังกล่าวมีการจัดเตรียมและมีการตกแต่งภาพอย่างชัดเจน และอาวุธที่ปรากฎในภาพชายชุดดำที่ถือนั้นเป็นอาวุธปืนอาก้า แต่ในข้อเขียนของนายอภิสิทธิ์ที่มักกล่าวอ้างเสมอเรื่องวาทกรรมชายชุดดำที่ปฏิบัติการพร้อมกับปืน M79 และอ้างว่าทหารเสียชีวิตจากการปะทะกับชายชุดดำ ซึ่งผลการชันสูตรจากการเสียชีวิตของทหารก็ได้ระบุชัดเจนว่า พบสะเก็ดระเบิดชนิดขว้าง M67 ซึ่งจะต้องมีระยะทำการที่ใกล้จุดเกิดเหตุพอสมควรเพื่อความแม่นยำ ซึ่งขัดกับความจริงของการเสียชีวิตของทหารในวันที่ 10 เมษา ที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยานั้นยึดครองพื้นที่โดยทหารอย่างเบ็ดเสร็จด้วยจำนวนทหารที่มากถึง 15 กองร้อย มีทหารกว่า 2,000 นาย พร้อมรถหุ้มเกราะ 6 คัน จอดขวางหัวถนนดินสอพร้อมพลคุ้มกันอยู่บนรถหุ้มเกราะ รวมถึงไม่พบผู้บาดเจ็บล้มตายด้วยปืนอาก้าจากชายชุดดำตามคลิปที่ปรากฎ และประเด็นเรื่องชายชุดดำนั้นก็ได้มีการไต่สวนการตายในชั้นศาล ไม่มีใครพบชายชุดดำในที่เกิดเหตุ ไม่มีมวลชนติดอาวุธแต่อย่างใด และมีหลายกรณีที่มีการยกฟ้องไปแล้ว สำหรับผู้ถูกจับกุมที่มีการอ้างว่าโยงกับชายชุดดำ และมีหลายความคิดเห็นที่ออกมาในขณะนั้นว่ากรณีชายชุดดำนั้นอาจเป็นความขัดแย้งภายในกองทัพโดยอาศัยช่วงเวลานี้กำจัดผู้นำของกลุ่มที่มีอำนาจ
หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน 2553 ปฏิบัติการวาทกรรมผู้ก่อการร้ายและการโยนความผิดให้ชายชุดดำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหลังเหตุการณ์การสลายการชุมนุม และกลายเป็นถ้อยคำที่ปรากฎต่อสื่อแขนงต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมของปฏิบัติการขอคืนพื้นที่หลัง 10 เมษายน 3 วัน ศอฉ. ได้ยกระดับความรุนแรงของมาตรการต่าง ๆ โดยอนุญาตเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธปืนลูกซองได้ ต่อมา 11 เมษา นายสุเทพในฐานะ ผอ.ศอฉ. ได้อนุมัติให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธกระสุนจริง และอนุญาตใช้พลแม่นปืน รวมถึงสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์จาก ศอฉ.
การประกาศมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาหลังจากการสลายการชุมนุม เป็นการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนถึงความต้องการในการใช้ความรุนแรงของ ศอฉ. โดยปราศจากการแสดงความรับผิดชอบใด ๆ ของการสูญเสียชีวิตของผู้ชุมนุม รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหาร ไม่มีคำขอโทษ หรือการแสดงความรับผิดชอบจากปากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีเพียงคำกล่าวอ้างการใช้ความรุนแรงและการโยนความผิดให้กับชายชุดดำ และยังยืนยันว่าจะเดินหน้าปราบปรามด้วยมาตรการขั้นเด็ดขาดต่อไป นั่นคือจุดยืนของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์จนนำไปสู่เหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ภาคประชาชนกับระบอบเผด็จการที่ประเทศชาติต้องจารึกต่อไป