ยูดีดีนิวส์ : 8 พ.ย. 62 ในการทำเฟสบุ๊คไลฟ์ทางเพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ วันนี้ สนทนาแสดงทัศนะในประเด็น ถ้าเขาไม่อยากให้อยู่ จะ"อยู่เป็น" หรือ "อยู่ไม่เป็น" ก็อยู่ไม่ได้!!!
อ.ธิดากล่าวว่า เนื่องจากประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีการพูดกันมาก ซึ่งดิฉันได้เคยกล่าวไว้ว่าในหมู่มิตรเราต้องให้กำลังใจและให้คำแนะนำกันให้มาก ลักษณะที่ดูหมิ่น, ยกตัวเอง หรือโจมตีคนที่เห็นต่างแม้กระทั่งในหมู่พวกเราประหนึ่งเป็นศัตรูดิฉันก็ไม่เห็นด้วย แต่การเห็นต่างและมีความคิดเห็นที่มีประโยชน์เป็นสิ่งที่เราทำได้
ขณะนี้ได้มีวิวาทะว่า "อยู่เป็น" หรือ "อยู่ไม่เป็น" ในทัศนะของดิฉันเห็นว่า คุณจะอยู่เป็นหรืออยู่ไม่เป็นตามวิธีการของคุณ ถ้าเขาไม่ให้อยู่ คุณก็อยู่ไม่ได้ทั้งนั้น เหตุผลเพราะว่ากลไกในการจัดการนั้นมันมีมากมาย ไม่ว่าจะใช้เทคนิคทางกฎหมาย กลไกรัฐต่าง ๆ อาทิ องค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น กกต., ป.ป.ช. หรือส่งผ่านไปยังศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม ล้วนเป็นกลไกที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ยังต้องการรักษาอำนาจอธิปไตยการเมืองการปกครองอยู่ในมือชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยมทั้งสิ้น เพราะไม่ไว้ใจประชาชน ไม่เชื่อมั่นในอำนาจประชาชน และไม่อยากให้ประชาชนมีอำนาจ เราจะพูดเช่นนั้นก็ได้ แต่หนักเบาอาจจะแตกต่างกัน
ครั้งที่แล้วที่ดิฉันพูดถึงอนาคตใหม่ที่เป็นเสือตัวใหม่ อนาคตใหม่ก็พูดมาว่า "อยู่ไม่เป็น" แล้วก็ติดแฮชแทค (#) ประมาณว่าเราอยู่ไม่เป็น แล้วก็มีส.ส.ในพรรคการเมืองออกมาพูดประเด็นดังกล่าว
ดิฉันอยากจะถามว่า "อยู่เป็น" คืออยู่อย่างไร?
"อยู่เป็น" คืออยู่อย่างคนตาย หรืออยู่อย่างคนเป็น
"อยู่เป็น" อยู่อย่างที่มีลักษณะเป็นนักต่อสู้ ยังอยู่บนเวทีการต่อสู้ ยังรักษาคุณสมบัติของนักต่อสู้ พยายามต่อสู้เพื่อที่จะให้ตัวเองนั้นยังสามารถที่จะอยู่ได้ แต่การ "อยู่เป็น" ไม่ได้หมายความว่าอยู่แบบ "คนตาย" ไม่ขึ้นเวทีการต่อสู้ อย่างนั้นเขาไม่เรียกว่า "อยู่เป็น" เรียกว่า อยู่อย่างคนตาย ไม่สมควรที่จะเอามาแอบอ้างว่าฉันอยู่เป็น เพราะคุณได้สูญเสียสถานะของนักต่อสู้
แต่ดิฉันก็ยอมรับว่าคนที่ "อยู่เป็น" ก็มีเหมือนกัน ก็คือยังอยู่บนเวทีการต่อสู้ และระมัดระวังว่าขณะนี้กติกาก็ไม่ได้อยู่ฝั่งประชาชน กรรมการก็ไม่ได้อยู่ในฝั่งประชาชน รวมทั้งกรรมการ, ผู้ทรงคุณวุฒิ, สื่อต่าง ๆ ก็ยังอยู่ในอำนาจรัฐที่ยังไม่ได้เป็นของประชาชน ดังนั้นการต่อสู้บนเวทีจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งว่ามีจุดอ่อนตรงไหนที่จะถูกเล่นงานได้
นี่คือความพยายามที่จะอยู่ให้เป็นแต่อยู่ในฐานะ "คนเป็น" ไม่ใช่ "คนตาย"
อ.ธิดากล่าวต่อไปว่า แต่ต่อให้คุณคิดว่าคุณ "อยู่เป็น" และระมัดระวังอย่างไรก็ตาม ดิฉันก็ไม่เชื่อว่าคุณจะปกปิดจุดอ่อนได้ทั้งหมด พูดง่าย ๆ ว่าถ้าเขาคิดจะหาเรื่องเขาก็หาจนได้
แต่ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมอาจจะไม่ได้คิดว่า ใช้กฎหมายจัดการได้ แต่การใช้กฎหมายนั้นไม่เป็นธรรม ไม่ชอบธรรม ขัดแย้งกับสายตาของประชาชนทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก คุณอาจจะจัดการเขาได้ตามกฎหมาย แต่กลับยิ่งทำให้เขากลายเป็นฮีโร่ อันนี้ดิฉันเตือนเอาไว้!
แล้วในกรณีที่ "อยู่ไม่เป็น" หมายความว่าอะไร
ถ้ามองในมุมที่ไม่เป็นมิตรสักเท่าไร ก็อาจจะกึ่งประชดว่า "อยู่ไม่เป็น" ก็คือไปทำในสิ่งที่อาจจะต้องถูกจัดการ ดังที่บอกว่า "อยู่เป็น" หรือ "อยู่ไม่เป็น" ก็คือ อยู่บนเวทีการต่อสู้ หรือไม่? ได้พยายามต่อสู้หรือไม่? แต่ท่ามกลางการต่อสู้ก็เป็นไปได้ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีจุดอ่อน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในเวทีการต่อสู้มายาวนาน
อีกอันหนึ่งก็คือพูดทุกเรื่องที่คิด ด้านหนึ่งเป็นเรื่องที่ว่าตรงไปตรงมา แต่ในท่ามกลางสงครามที่อีกฝ่ายหนึ่งใช้สารพัดวิธี ความซื่อตรงต่อความคิดของตัวเอง แล้วพูดให้สาธารณชนรับรู้ทุกเรื่อง มันก็กลายเป็นจุดอ่อนเหมือนกัน
นอกจากนั้นยังต้องอาศัยประสบการณ์ของนักต่อสู้ในอดีตที่ผ่านมา หรือกระทั่งนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะเราสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรที่ควรพูด อะไรที่ไม่ควรพูด อะไรที่ควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำ เพราะมันไม่มีชุดความคิดและชุดของมนุษย์ที่ดีพร้อมสำเร็จรูปยังต้องศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสงครามลักษณะนี้เป็นสงครามใหญ่ เหมือนการต่อสู้ทางชนชั้น มันโหดร้าย มันป่าเถื่อน จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
ถ้า "อยู่ไม่เป็น" อย่างน้อยก็ภาคภูมิใจว่าอยู่อย่าง "คนเป็น"
แต่ถ้า "อยู่เป็น" แล้วอยู่อย่างคนตาย ก็ไม่น่าภาคภูมิใจอะไร เพราะคุณไม่ได้ทำอะไรเลย
ถ้าคุณทำ แล้วทำได้ดี ก็ควรจะมีบทเรียนที่ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน
ในฐานะที่ดิฉันทำงานด้านแนวร่วมด้วยและถือว่าเป็นประชาชนที่อยากเห็นฝ่ายประชาธิปไตยเติบใหญ่ ดิฉันก็มีความคิดเห็นว่า "อยู่เป็น" ต้องไม่ใช่อยู่อย่าง "คนตาย" และ "อยู่ไม่เป็น" ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องไม่ระมัดระวังอะไรเลยเพื่อพิสูจน์ความเก่ง
ย้อนกลับมาที่ นปช. นิดหน่อยว่า ในอดีตที่ผ่านมาบางครั้งเราก็ถูกประณามหยามเยียดว่าไม่ใช่เป็นนักต่อสู้ อ.ธิดากล่าวว่า มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะพิสูจน์ว่าความเป็นนักต่อสู้ของเรานั้น มันไม่ได้สู้ไม่กี่วัน แต่มันต้องต่อสู้ยาว
ถ้าจะต่อสู้ให้ยาวและมีชีวิตอยู่ได้ ไม่สำคัญเท่ากับความรับผิดชอบต่อตัวเอง สมมุติว่าเป็นแกนนำกลุ่มองค์กรใดก็ตาม ไม่ใช่ว่า "อยู่เป็น" หรือ "อยู่ไม่เป็น" เพื่อตัวเองเอาตัวรอด แต่ต้องหมายความว่าขบวนการองค์กรประชาชนที่ก้าวหน้านั้นอยู่ได้ ทำงานได้ด้วย นี่ไม่ใช่เรื่องของการเอาตัวรอด ดิฉันจึงต้องฝากเป็นประเด็นที่สองว่า นี่ไง! ฉันอยู่เป็น แกอยู่ไม่เป็นแกก็ติดคุกไป! หรือคนที่บอกว่าโอเค ผมอยู่ไม่เป็น แต่ในขณะเดียวกันก็บอกว่า คุณอยู่เป็นเพราะคุณไม่สู้อะไรเลย แต่ทั้งหมดนี้แปลว่าเรามาพิจารณาในด้านของเราเอง
แต่ที่จะฝากไว้เป็นเรื่องสำคัญก็คือว่า ด้านหลักคือด้านปฏิปักษ์ของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ด้านฝ่ายประชาชน
ถ้าด้านหลัก
- เห็นด้วยกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- เห็นด้วยกับการที่ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ
- เห็นด้วยกับการเท่าเทียมกัน และต้องการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า
ถ้าด้านหลักซึ่งมีอำนาจรัฐอยู่มีความเห็นอย่างนี้สักหน่อย แม้กระทั่งเพียงครึ่งเดียว พวกคุณก็อยู่ได้!!!
แต่ถ้าเขาไม่เห็นด้วย คุณจะบอกว่าคุณแน่แค่ไหน ก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน เพราะว่าเขาใช้กลเม็ดทุกกลเม็ด ใช้กลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ ที่ทำให้คุณอยู่ไม่ได้
เพราะฉะนั้นให้ดูด้านหลักเป็นสำคัญ ด้านหลักไม่ใช่ประชาชนผู้ถูกกระทำ แต่ด้านหลักคือผู้กระทำ เขาจะกระทำให้พวกคุณอยู่ในสถานะแบบไหน "อยู่ได้" หรือ "อยู่ไม่ได้" มากกว่า อ.ธิดากล่าวในที่สุด
อ.ธิดากล่าวว่า เนื่องจากประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีการพูดกันมาก ซึ่งดิฉันได้เคยกล่าวไว้ว่าในหมู่มิตรเราต้องให้กำลังใจและให้คำแนะนำกันให้มาก ลักษณะที่ดูหมิ่น, ยกตัวเอง หรือโจมตีคนที่เห็นต่างแม้กระทั่งในหมู่พวกเราประหนึ่งเป็นศัตรูดิฉันก็ไม่เห็นด้วย แต่การเห็นต่างและมีความคิดเห็นที่มีประโยชน์เป็นสิ่งที่เราทำได้
ขณะนี้ได้มีวิวาทะว่า "อยู่เป็น" หรือ "อยู่ไม่เป็น" ในทัศนะของดิฉันเห็นว่า คุณจะอยู่เป็นหรืออยู่ไม่เป็นตามวิธีการของคุณ ถ้าเขาไม่ให้อยู่ คุณก็อยู่ไม่ได้ทั้งนั้น เหตุผลเพราะว่ากลไกในการจัดการนั้นมันมีมากมาย ไม่ว่าจะใช้เทคนิคทางกฎหมาย กลไกรัฐต่าง ๆ อาทิ องค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น กกต., ป.ป.ช. หรือส่งผ่านไปยังศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม ล้วนเป็นกลไกที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ยังต้องการรักษาอำนาจอธิปไตยการเมืองการปกครองอยู่ในมือชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยมทั้งสิ้น เพราะไม่ไว้ใจประชาชน ไม่เชื่อมั่นในอำนาจประชาชน และไม่อยากให้ประชาชนมีอำนาจ เราจะพูดเช่นนั้นก็ได้ แต่หนักเบาอาจจะแตกต่างกัน
ครั้งที่แล้วที่ดิฉันพูดถึงอนาคตใหม่ที่เป็นเสือตัวใหม่ อนาคตใหม่ก็พูดมาว่า "อยู่ไม่เป็น" แล้วก็ติดแฮชแทค (#) ประมาณว่าเราอยู่ไม่เป็น แล้วก็มีส.ส.ในพรรคการเมืองออกมาพูดประเด็นดังกล่าว
ดิฉันอยากจะถามว่า "อยู่เป็น" คืออยู่อย่างไร?
"อยู่เป็น" คืออยู่อย่างคนตาย หรืออยู่อย่างคนเป็น
"อยู่เป็น" อยู่อย่างที่มีลักษณะเป็นนักต่อสู้ ยังอยู่บนเวทีการต่อสู้ ยังรักษาคุณสมบัติของนักต่อสู้ พยายามต่อสู้เพื่อที่จะให้ตัวเองนั้นยังสามารถที่จะอยู่ได้ แต่การ "อยู่เป็น" ไม่ได้หมายความว่าอยู่แบบ "คนตาย" ไม่ขึ้นเวทีการต่อสู้ อย่างนั้นเขาไม่เรียกว่า "อยู่เป็น" เรียกว่า อยู่อย่างคนตาย ไม่สมควรที่จะเอามาแอบอ้างว่าฉันอยู่เป็น เพราะคุณได้สูญเสียสถานะของนักต่อสู้
แต่ดิฉันก็ยอมรับว่าคนที่ "อยู่เป็น" ก็มีเหมือนกัน ก็คือยังอยู่บนเวทีการต่อสู้ และระมัดระวังว่าขณะนี้กติกาก็ไม่ได้อยู่ฝั่งประชาชน กรรมการก็ไม่ได้อยู่ในฝั่งประชาชน รวมทั้งกรรมการ, ผู้ทรงคุณวุฒิ, สื่อต่าง ๆ ก็ยังอยู่ในอำนาจรัฐที่ยังไม่ได้เป็นของประชาชน ดังนั้นการต่อสู้บนเวทีจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งว่ามีจุดอ่อนตรงไหนที่จะถูกเล่นงานได้
นี่คือความพยายามที่จะอยู่ให้เป็นแต่อยู่ในฐานะ "คนเป็น" ไม่ใช่ "คนตาย"
อ.ธิดากล่าวต่อไปว่า แต่ต่อให้คุณคิดว่าคุณ "อยู่เป็น" และระมัดระวังอย่างไรก็ตาม ดิฉันก็ไม่เชื่อว่าคุณจะปกปิดจุดอ่อนได้ทั้งหมด พูดง่าย ๆ ว่าถ้าเขาคิดจะหาเรื่องเขาก็หาจนได้
แต่ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมอาจจะไม่ได้คิดว่า ใช้กฎหมายจัดการได้ แต่การใช้กฎหมายนั้นไม่เป็นธรรม ไม่ชอบธรรม ขัดแย้งกับสายตาของประชาชนทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก คุณอาจจะจัดการเขาได้ตามกฎหมาย แต่กลับยิ่งทำให้เขากลายเป็นฮีโร่ อันนี้ดิฉันเตือนเอาไว้!
แล้วในกรณีที่ "อยู่ไม่เป็น" หมายความว่าอะไร
ถ้ามองในมุมที่ไม่เป็นมิตรสักเท่าไร ก็อาจจะกึ่งประชดว่า "อยู่ไม่เป็น" ก็คือไปทำในสิ่งที่อาจจะต้องถูกจัดการ ดังที่บอกว่า "อยู่เป็น" หรือ "อยู่ไม่เป็น" ก็คือ อยู่บนเวทีการต่อสู้ หรือไม่? ได้พยายามต่อสู้หรือไม่? แต่ท่ามกลางการต่อสู้ก็เป็นไปได้ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีจุดอ่อน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในเวทีการต่อสู้มายาวนาน
อีกอันหนึ่งก็คือพูดทุกเรื่องที่คิด ด้านหนึ่งเป็นเรื่องที่ว่าตรงไปตรงมา แต่ในท่ามกลางสงครามที่อีกฝ่ายหนึ่งใช้สารพัดวิธี ความซื่อตรงต่อความคิดของตัวเอง แล้วพูดให้สาธารณชนรับรู้ทุกเรื่อง มันก็กลายเป็นจุดอ่อนเหมือนกัน
นอกจากนั้นยังต้องอาศัยประสบการณ์ของนักต่อสู้ในอดีตที่ผ่านมา หรือกระทั่งนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะเราสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรที่ควรพูด อะไรที่ไม่ควรพูด อะไรที่ควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำ เพราะมันไม่มีชุดความคิดและชุดของมนุษย์ที่ดีพร้อมสำเร็จรูปยังต้องศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสงครามลักษณะนี้เป็นสงครามใหญ่ เหมือนการต่อสู้ทางชนชั้น มันโหดร้าย มันป่าเถื่อน จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
ถ้า "อยู่ไม่เป็น" อย่างน้อยก็ภาคภูมิใจว่าอยู่อย่าง "คนเป็น"
แต่ถ้า "อยู่เป็น" แล้วอยู่อย่างคนตาย ก็ไม่น่าภาคภูมิใจอะไร เพราะคุณไม่ได้ทำอะไรเลย
ถ้าคุณทำ แล้วทำได้ดี ก็ควรจะมีบทเรียนที่ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน
ในฐานะที่ดิฉันทำงานด้านแนวร่วมด้วยและถือว่าเป็นประชาชนที่อยากเห็นฝ่ายประชาธิปไตยเติบใหญ่ ดิฉันก็มีความคิดเห็นว่า "อยู่เป็น" ต้องไม่ใช่อยู่อย่าง "คนตาย" และ "อยู่ไม่เป็น" ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องไม่ระมัดระวังอะไรเลยเพื่อพิสูจน์ความเก่ง
ย้อนกลับมาที่ นปช. นิดหน่อยว่า ในอดีตที่ผ่านมาบางครั้งเราก็ถูกประณามหยามเยียดว่าไม่ใช่เป็นนักต่อสู้ อ.ธิดากล่าวว่า มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะพิสูจน์ว่าความเป็นนักต่อสู้ของเรานั้น มันไม่ได้สู้ไม่กี่วัน แต่มันต้องต่อสู้ยาว
ถ้าจะต่อสู้ให้ยาวและมีชีวิตอยู่ได้ ไม่สำคัญเท่ากับความรับผิดชอบต่อตัวเอง สมมุติว่าเป็นแกนนำกลุ่มองค์กรใดก็ตาม ไม่ใช่ว่า "อยู่เป็น" หรือ "อยู่ไม่เป็น" เพื่อตัวเองเอาตัวรอด แต่ต้องหมายความว่าขบวนการองค์กรประชาชนที่ก้าวหน้านั้นอยู่ได้ ทำงานได้ด้วย นี่ไม่ใช่เรื่องของการเอาตัวรอด ดิฉันจึงต้องฝากเป็นประเด็นที่สองว่า นี่ไง! ฉันอยู่เป็น แกอยู่ไม่เป็นแกก็ติดคุกไป! หรือคนที่บอกว่าโอเค ผมอยู่ไม่เป็น แต่ในขณะเดียวกันก็บอกว่า คุณอยู่เป็นเพราะคุณไม่สู้อะไรเลย แต่ทั้งหมดนี้แปลว่าเรามาพิจารณาในด้านของเราเอง
แต่ที่จะฝากไว้เป็นเรื่องสำคัญก็คือว่า ด้านหลักคือด้านปฏิปักษ์ของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ด้านฝ่ายประชาชน
ถ้าด้านหลัก
- เห็นด้วยกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- เห็นด้วยกับการที่ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ
- เห็นด้วยกับการเท่าเทียมกัน และต้องการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า
ถ้าด้านหลักซึ่งมีอำนาจรัฐอยู่มีความเห็นอย่างนี้สักหน่อย แม้กระทั่งเพียงครึ่งเดียว พวกคุณก็อยู่ได้!!!
แต่ถ้าเขาไม่เห็นด้วย คุณจะบอกว่าคุณแน่แค่ไหน ก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน เพราะว่าเขาใช้กลเม็ดทุกกลเม็ด ใช้กลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ ที่ทำให้คุณอยู่ไม่ได้
เพราะฉะนั้นให้ดูด้านหลักเป็นสำคัญ ด้านหลักไม่ใช่ประชาชนผู้ถูกกระทำ แต่ด้านหลักคือผู้กระทำ เขาจะกระทำให้พวกคุณอยู่ในสถานะแบบไหน "อยู่ได้" หรือ "อยู่ไม่ได้" มากกว่า อ.ธิดากล่าวในที่สุด