ยูดีดีนิวส์ : 12 พ.ย. 62 วันนี้ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้มาสนทนาผ่านทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ ในประเด็น "เผด็จการทหารและฝ่ายประชาธิปไตย...ต่างต้องการรัฐธรรมนูญของตัวเอง"
อ.ธิดากล่าวว่า ขณะนี้พรรคการเมืองฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลได้มีปรากฎการณ์ในการพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเริ่มจากการแสดงออกถึงการแย่งตำแหน่งประธานกรรมาธิการศึกษาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่น่าจะสำคัญมากถ้าเรามองว่าจะแก้ที่เนื้อหา แต่ถ้าจะแก้ที่แทคติกหรือจะสร้างปัญหานั้น ตัวประธานกมธ.นี้อาจจะมีความสำคัญ
กลายเป็นว่าปรากฎการณ์ขณะนี้ ในพรรคฝ่ายรัฐบาลมีปัญหาค่อนข้างมาก มีความขัดแย้งว่าจะให้ใครเป็นประธานกมธ. ความจริงมันไม่สำคัญอะไร แต่การที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในทัศนะดิฉันก็แปลว่าเรื่องนี้ไม่ตรงไปตรงมา ดิฉันจึงคิดว่า มองไปข้างหน้า ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นประเด็นสำคัญของสังคมไทย
เพราะว่าถ้าเรามองในอดีตที่ผ่านมา 2516 ประชาชนต่อสู้เรียกว่าได้รับชัยชนะระดับหนึ่ง ก็ได้รัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น ดีกว่าฉบับของเผด็จการ (จอมพลถนอม กิตติขจร กับ จอมพลประภาส จารุเสถียร) จากนั้นก็มีรัฐประหารและรัฐธรรมนูญบ้า ๆ บอ ๆ มาเป็นลำดับ จนกระทั่ง 2535 ประชาชนมีการลุกขึ้นต่อสู้ ได้รับชัยชนะมาระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นผลพวงการต่อสู้ของประชาชนก็คือรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งจริง ๆ มันยังไม่ใช่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่อำนาจเป็นของประชาชนจริง เพราะว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญและนักวิชาการขณะนั้นก็ยังเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมอยู่จำนวนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีสีสัน มีเนื้อหาที่ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับของเผด็จการ
ถึงตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า เราจะได้รัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นก็เมื่อประชาชนได้รับชัยชนะ จึงสามารถลบล้างผลพวงการทำรัฐประหารยุคก่อน ๆ ได้
ขณะเดียวกัน เมื่อรัฐธรรมนูญ 2540 สำแดงผลออกมา ไม่เป็นที่ชื่นชมของฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม การทำรัฐประหาร 2549 จึงเกิดขึ้น นั่นหมายความว่าเขาต้องทำลายและฉีกรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีบทบาทมากกว่าเดิมคือฉบับ 2540 เราจึงได้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม เขียนขึ้นมาพร้อมกับความพยายามจัดการกับคณะรัฐบาลชุดเดิมที่ชนะการเลือกตั้งด้วยรัฐธรรมนูญ 2540
และเมื่อเขียนรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว ก็พบว่ารัฐบาลเดิม (ที่อนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมได้จัดการไปแล้ว) ก็ชนะการเลือกตั้งกลับมาอีก 2 ครั้ง ส่วนที่ประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลนั้นไม่ได้เป็นผลพวงจากการเลือกตั้ง แต่เป็นผลพวงจากการที่มีงูเห่าย้ายข้างและมีการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ดังนี้เป็นต้น ดังนั้นความขัดแย้งของประชาชนจึงมีมาเป็นลำดับ เพราะประชาชนต้องการกติกาของระบอบประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ต้องการสิทธิ เสรีภาพ ต้องการความเท่าเทียม ประชาชนไม่ได้มีอาวุธ กว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับที่มีอำนาจเป็นของประชาชนสักหน่อย ก็ต้องหลังจากการต่อสู้ที่ได้รับชัยชนะทุกครั้ง
อ.ธิดาเน้นย้ำว่า ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้เป็นการยุว่า คุณต้องการได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อำนาจเป็นของประชาชนก็ต้องมีผลพวงจากการต่อสู้ของประชาชน ดิฉันไม่ได้พูดอย่างนั้นนะ แต่ดิฉันพูดถึงในอดีตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ 2517 หรือ 2540 ก็ตาม แต่ว่าก่อนหน้านั้นเราจะได้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับของคณะเผด็จการทหาร จึงเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า
ฝ่ายเผด็จการทหารก็ต้องการรัฐธรรมนูญของตัวเอง
ฝ่ายประชาชนก็ต้องการรัฐธรรมนูญของประชาชนที่เป็นประชาธิปไตย
ฝ่ายเผด็จการทหารก็ต้องการรัฐธรรมนูญของตัวเอง
ฝ่ายประชาชนก็ต้องการรัฐธรรมนูญของประชาชนที่เป็นประชาธิปไตย
เมื่อฝ่ายประชาชนได้ช่วยเขียนรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะประชาธิปไตย เผด็จการทหารที่ไม่พอใจก็ต้องมายึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญฉบับนั้น แล้วเขียนรัฐธรรมนูญของตัวเอง เขียนรัฐธรรมนูญ 2550 ยังไม่พอใจ ทำไมพรรคนายทุนสามานย์จึงได้เป็นรัฐบาลอยู่บ่อย ๆ ในที่สุดก็ต้องเขียนรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่แย่ที่สุดและไม่เหมือนใครในโลก
ดิฉันบอกได้เลยว่าคนที่ตั้งใจเขียนรัฐธรรมนูญ 2560 นี้ไม่รู้ว่าหัวใจทำด้วยอะไร? แต่ท่านไม่ได้มีจิตวิญญาณของประชาธิปไตย ไม่ได้มองเห็นประชาชนเท่าเทียมกัน มีทัศนะที่ค่อนข้างสุดขั้วไปในทางที่เห็นคนไม่เท่ากัน และต้องการยึดอำนาจไว้กับผู้ถืออำนาจซึ่งเป็นผู้มีอาวุธ ผู้มีอำนาจทางการเงิน ผู้มีอำนาจในทางระบบและระบอบเดิมอย่างมาก จึงเขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้มาได้
ดิฉันบอกได้เลยว่าคนที่ตั้งใจเขียนรัฐธรรมนูญ 2560 นี้ไม่รู้ว่าหัวใจทำด้วยอะไร? แต่ท่านไม่ได้มีจิตวิญญาณของประชาธิปไตย ไม่ได้มองเห็นประชาชนเท่าเทียมกัน มีทัศนะที่ค่อนข้างสุดขั้วไปในทางที่เห็นคนไม่เท่ากัน และต้องการยึดอำนาจไว้กับผู้ถืออำนาจซึ่งเป็นผู้มีอาวุธ ผู้มีอำนาจทางการเงิน ผู้มีอำนาจในทางระบบและระบอบเดิมอย่างมาก จึงเขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้มาได้
เมื่อมองตามความเป็นจริงเราจะพบว่าในประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญอยู่ 2 แบบ
- ฝ่ายหนึ่งยึดอำนาจแล้วเขียนรัฐธรรมนูญ
- ฝายหนึ่งต้องต่อสู้ให้ได้ประชาธิปไตยระดับหนึ่ง คือชนะผู้ถืออาวุธระดับหนึ่ง แล้วจึงจะได้รัฐธรรมนูญที่ค่อนข้างที่จะให้อำนาจประชาชน
- ฝ่ายหนึ่งยึดอำนาจแล้วเขียนรัฐธรรมนูญ
- ฝายหนึ่งต้องต่อสู้ให้ได้ประชาธิปไตยระดับหนึ่ง คือชนะผู้ถืออาวุธระดับหนึ่ง แล้วจึงจะได้รัฐธรรมนูญที่ค่อนข้างที่จะให้อำนาจประชาชน
ยกตัวอย่างเรื่องวุฒิสมาชิก (ส.ว.) เถียงกันมาตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐธรรมนูญ 2489 ที่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เขียนหลังจากที่เราใช้รัฐธรรมนูญ 2475 มาเป็นเวลายาวนาน 15 ปี ก็เป็นเวลาที่ต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งต้องให้อำนาจประชาชนตามสัญญาของคณะราษฎร นั่นคือ ส.ส. มาจากประชาชน วุฒิสมาชิก (ส.ว.) ก็มาจากการยึดโยงกับประชาชนจะเป็นทางอ้อมก็ตาม แต่ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งแบบเดิม และนั่นก็ทำให้เกิดการทำรัฐประหาร 2490
ดังนั้น วุฒิสมาชิก (ส.ว.) จึงไม่เคยมีมาจากการเลือกตั้ง มีเพียงรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เขียนให้วุฒิสมาชิก (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน และผลพวงที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีพรรคการเมืองแข็งแกร่ง มีส.ส.บัญชีรายชื่อ มีส.ส.เขต มีวุฒิสมาชิก (ส.ว.) ที่มาจากการเลือกตั้ง คือนิติบัญญัติทั้งหมดยึดโยงกับประชาชน มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด
และการทำรัฐประหาร 2549 ก็ต้องล้มตรง ส.ว. นี้ ดิฉันยกตัวอย่างเพียงอย่างเดียว ซึ่งดูจะเป็นประเด็นใหญ่ของทั้งหมด รัฐธรรมนูญ 2550 จะหน้าบางหน่อย ก็คือขอ ส.ว. ครึ่งหนึ่งที่มาจากการเลือกตั้ง และมาจากการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง
แล้วถ้าเราย้อนกลับไปดูการเรียกร้องของมวลชนฝ่ายขวาทั้งหลาย เขาจะเอา ส.ว. ทั้งสภาเลยด้วยซ้ำว่า จะต้องเป็นตัวแทนของกลุ่มนั้น กลุ่มนี้ หรืออย่างน้อยก็ ส.ว. จำนวนหนึ่ง คือเลือกตั้งจำนวนหนึ่ง 30/70 ถ้าเราจำเป็น 30 มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 70 เป็นตัวแทนของคณะนั้น คณะนี้
เพราะฉะนั้นวิญญาณของฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ก็คือ สภานิติบัญญัติจะต้องถูกคานอำนาจด้วยฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม และใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ฉะนั้นรัฐธรรมนูญ 2560 เก่งกล้าถึงขนาดที่เรียกว่าในช่วงเวลา 5 ปี หรือว่ามีวุฒิสมาชิก 6 ปี สามารถเลือกนายกฯ ได้เลย ผู้เขียนพยายามทำให้วุฒิสมาชิก (ส.ว.) มาจากการเลือกกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นวิญญาณเดียวกับพันธมิตรและกปปส. เรากล่าวได้ว่ามันเป็นวิธีคิดของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและอำนาจนิยม ที่ไม่ต้องการคืนอำนาจให้ประชาชน สภานิติบัญญัติจึงไม่ใช่ตัวแทนประชาชนร้อยเปอร์เซ็น นี่ก็คือสิ่งที่จะต้องต่อสู้กัน
เราฝ่ายประชาชนผู้รักประชาธิปไตยก็ต้องการนิติบัญญัติที่เลือกโดยตรงมาจากประชาชน
แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ต้องการตัวแทนของกลุ่มของฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ชนชั้นนำหรือชนชั้นบน เข้ามาอยู่เพื่อคานอำนาจกับประชาชนทั่วไปทั้งหมด
สิ่งที่ดิฉันมองไปข้างหน้า การแก้รัฐธรรมนูญ เราจะเห็นเลยว่ารัฐธรรมนูญ 2560 เขียนให้แก้ไม่ได้ วุฒิสมาชิก (ส.ว.) ก็ต้องเห็นด้วย โดยเฉพาะวุฒิสมาชิกที่มาจากบทเฉพาะกาล ส่วนพรรคฝ่ายค้านคราวนี้อาจจะไม่ได้เป็นปัญหา แต่ปัญหาทางพรรคฝ่ายรัฐบาล ปรากฎการณ์คราวนี้ลองคิดดูว่า ขนาดประธานกมธ.ซึ่งดูไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ก็ยังมีปัญหา
"พรรคประชาธิปัตย์" ต้องการฟื้นพรรค ต้องการฟื้นฟูเกียรติยศ เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคฝ่ายค้านบอกโอเคจะเป็นก็ได้ แต่ประชาชนจำนวนหนึ่งก็ไม่ได้เห็นด้วยว่านายอภิสิทธิ์จะจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า? แต่ก็ถือว่ามันเป็นขั้นต้น ขั้นเปิดประตู และรัฐธรรมนูญฉบับนี้มันต้องการให้ทุกฝ่ายเห็นด้วย ก็ไม่ได้ขัดข้อง พรรคฝ่ายค้านต่าง ๆ ก็ไม่ได้ต้องการเข้าไปแย่งชิงตำแหน่งตรงนี้
แต่ว่ากลายเป็น "พรรคพลังประชารัฐ" บอกว่าไม่ได้ ประชาธิปัตย์ต่อรองมากเกินไป แล้วตอนนี้ก็เป็นปัญหานายสิระ เจนจาคะ กับนายเทพไท เสนพงศ์ คือเรื่องเล็ก ๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่
ถ้าถามความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ในซีกฝ่ายรัฐบาลดิฉันมองไม่เห็นเลย "พรรคประชาธิปัตย์" บอกว่าอยู่ในนโยบาย ดิฉันไม่แน่ใจว่าประชาธิปัตย์ต้องการแก้แค่ไหน ต้องการแก้ใหม่ทั้งฉบับ หรือแก้บางมาตรา ถ้าให้ดิฉันคิดนะ ตามแบบฉบับที่ นายชวน หลีกภัย ออกมาพูด ก็คงแก้บางส่วน เพราะบุคลิกของฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็คือประนีประนอมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ด้วยกัน จะไม่ลงมาท้าตีท้าต่อยหรือลงมาแก้กันคนละอย่าง ลักษณะจะเป็นแบบนั้นมากกว่า และต้องการฟื้นฟูพรรคการเมืองของตัวเอง ส่วน "พรรคภูมิใจไทย" นั้นไม่สนใจการแก้รัฐธรรมนูญ
พูดง่าย ๆ ว่าฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด ครึ่งต่อครึ่งในสภาไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ติดอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ใส่ไว้เป็นนโยบาย มันเลยกลายเป็นปัญหาในพรรคฝ่ายรัฐบาลด้วยกันว่า ประชาธิปัตย์ใส่ไว้ในนโยบาย ประชาธิปัตย์ก็ต้องทำ แล้วประชาธิปัตย์ก็เป็นพรรคการเมืองซึ่งมีความสำคัญ ก็คือถ้าประชาธิปัตย์ไม่เอารัฐบาล รัฐบาลนี้ก็อยู่ไม่ได้ ฉะนั้นประชาธิปัตย์ก็อยู่ในสถานะเป็นพรรคที่ต่อรองทางการเมือง อาจจะเป็นไปได้ว่าเพื่อที่จะรักษาคำพูด พรรคประชาธิปัตย์ก็จะต้องจัดตั้ง พยายามจะให้กมธ.เพื่อศึกษาให้ได้
แต่มองไปข้างหน้าดิฉันไม่เห็นอนาคตของการที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนแบบรัฐธรรมนูญ 2540 พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าไม่มีอะไรมาบีบจนเลือดเข้าตา มันเป็นไปไม่ได้เลย ลองคิดดูว่ากว่าเขาจะได้รัฐธรรมนูญ 2560 มันลำบากแค่ไหน ต้องทำรัฐประหาร ต้องยึดอำนาจ ต้องร่างรัฐธรรมนูญ ร่างแล้วร่างอีก มีทั้ง สนช. มีทั้ง กรธ. ที่จะมากำกับเพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญของอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม สมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้อนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม อยู่ในอำนาจให้นานที่สุด แล้วจะให้แก้ง่าย ๆ หรือ อุตส่าห์เขียนไม่ให้แก้แล้ว
เพียงแต่การเมือง "พรรคประชาธิปัตย์" จำเป็นต้องพลิกฟื้นมีชีวิตขึ้นมาให้ได้ ถ้างานนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงมาก แล้วเป็นกำลังสำคัญของ พปชร. การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่ในกรณีนี้เนื่องจากประชาธิปัตย์ต้องการฟื้นพรรค ก็ต้องแสดงบทบาทตามสัญญาเอาไว้ก็คือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีผลให้พรรคการเมืองใหญ่เดิม เช่น พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย สูญเสียพื้นที่ไปในบัญชีรายชื่อและในเขตจำนวนมาก เพราะฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมจำนวนหนึ่งก็หันไปเลือกพปชร.อยู่ คือเลือกบิ๊กตู่เลย แล้วบิ๊กตู่ก็ใช้พลพรรคของประชาธิปัตย์ ใช้คนที่เคยอยู่กับพรรคเพื่อไทย เอากลเม็ดทั้งหมดมาเพื่อที่จะต่อให้อำนาจรัฐประหารของตัวเอง อยู่ไปได้นานเท่านาน
ดังนั้น ศึกข้างหน้าเป็นศึกใหญ่ การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการลบล้างผลพวงการทำรัฐประหารโดยตรงและหนักหน่วง ดิฉันมองว่ามันจะเป็นชนวนของเรื่องใหญ่!!!
ขณะนี้พรรคการเมืองจำนวนหนึ่งไม่ปรารถนาจะแก้รัฐธรรมนูญ
แต่พรรคการเมืองจำนวนหนึ่งต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เมื่อพรรคการเมืองเข้าไปเล่นในเวทีรัฐสภา แล้วถ้าหากว่ามันทำไม่ได้ พรรคการเมืองเหล่านี้ก็มีฐานของประชาชน การเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญมันก็ต้องเกิดขึ้น!!!
แต่ในบริบทของฝ่ายประชาชนที่ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองอย่างตัวดิฉันเอง ในทัศนะของฝ่ายประชาชนนั้น เราก็ต้องการรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจประชาชน ดังนั้นฝ่ายประชาชนที่ต้องการต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยก็ต้องสามัคคีอยู่กับพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องการลบล้างผลพวงการทำรัฐประหารโดยอัตโนมัติอยู่แล้วในเรื่องนี้
ในอดีตนปช.เคยทำเรื่องนี้เต็มที่ หลังรัฐธรรมนูญ 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนขณะนั้นจนต่อมาถึงพรรคเพื่อไทย เราเดินสายเพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาโดยตลอด จนกระทั่งเรานำเสนอแตกต่างกับพรรครัฐบาลขณะนั้น
อ.ธิดากล่าวต่อว่า พรรครัฐบาลขณะนั้นเสนอแบบหนึ่ง ก็มีคณะคล้าย ๆ กรธ. ที่มาจะเขียน แม้จะมี สสร. แต่ว่าก็จะต้องมีคณะซึ่งรัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้ง ในขณะนั้นดิฉันเป็นประธาน นปช. และมองเห็นแล้วว่าแม้นพรรคเพื่อไทยจะได้เป็นรัฐบาล และจะมีความปรารถนาดีเพียงไรที่จะเขียนรัฐธรรมนูญให้ดีเพียงไรก็ตาม สมมุติว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี แต่ถ้ารัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการเขียนรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่าต้องถูกต่อต้านแน่นอน
เพราะฉะนั้นในทัศนะของเราฝ่ายประชาชนก็คือ ให้โยนไปเลย ให้เป็นเรื่องของประชาชน ให้มี สสร. แบบที่ขณะนี้ฝ่ายค้านเสนอ คิดแบบเดียวกันนั่นแหละกับเรา ก็คือมี สสร. แล้วจำนวน สสร. ตอนนั้นเราเสนอไป 100 คน ประชาธิปัตย์มาเสนอ 200 คน ซึ่งจริง ๆ จะ 100, 150 หรือ 200 มันก็ไม่เป็นไร ให้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนประชาชน
การที่เราโยนให้การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ไปเป็นสภาอีกสภาหนึ่งนั้นมันเป็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลปัจจุบัน ก็คือปลดล็อคการแก้รัฐธรรมนูญ แล้วให้มีสภาใหม่ เลือกตั้งใหม่เลย พปชร. ก็ส่งเข้าไปซิ ประชาธิปัตย์ ก็ส่งเข้าไป อย่างน้อยที่สุดรัฐธรรมนูญใหม่ก็ต้องดีกว่า 2560 อาจจะดีกว่า 2550 ด้วย อาจจะไม่ดีเท่าหรือดีกว่า 2540 ก็ได้ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ให้ สสร. ที่เกิดขึ้นใหม่ ให้ประชาชนได้ไปสมัครเป็น สสร. แล้วช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ฟังเสียงมากที่สุด แล้วหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมือง โดยเฉพาะตอนนั้นคือประชาธิปัตย์กับเพื่อไทย นั่นคือข้อเสนอของเรา นปช. และเราได้ระดมคนได้รายชื่อประมาณหนึ่งแสนชื่อ แต่ผ่านการตรวจสอบถูกต้องประมาณเจ็ดหมื่นชื่อ แต่ไม่มีประโยชน์เพราะว่าสภาไม่ได้โหวตให้ แล้วสุดท้ายมันก็เกิดกลียุคในบ้านเมือง
ดิฉันไม่อยากจะคิดว่าตัวเองมองเห็นมากกว่า และมองเห็นมาก่อน แล้วรัฐบาลตอนนั้นก็ไม่เชื่อเรา แต่มาตอนนี้ก็ทำแบบเดียวกัน ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านตอนนี้มีเสียงน้อยกว่าหรือเสียงพอ ๆ กัน
ในความเป็นจริงประชาชนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐประหาร เช่น พลพรรค กปปส., พลพรรค พธม. กับ พลพรรค นปช. หรือพรรคฝ่ายค้าน ประชาชนแต่ละฝั่งอาจจะใกล้เคียงกันหรือมากน้อยกว่ากันจำนวนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้ว่า ถ้าจิตใจที่ต้องการต่อสู้นั้นมันเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะฉะนั้น ดิฉันยืนยันว่าหลีกเลี่ยงความเป็นฝ่ายค้านกับรัฐบาลแบบเดิม ใช้สสร. ก็คือมีสภาใหม่ เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ แล้วระดมความรู้ความเข้าใจของประชาชนให้มากที่สุด ให้มีการเลือก สสร. บนพื้นฐานที่ได้มีการรณรงค์ให้เข้าใจถึงจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ 2560 นี้อย่างเต็มที่ แต่ดิฉันก็หวั่นใจว่ามันจะไม่เกิดขึ้นง่าย ๆ ถ้าฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ไม่ยอม
หรือคุณต้องการที่จะให้เกิดความรุนแรงของประชาชนที่ต้องการรัฐธรรมนูญ เพราะบทเรียนก็คือว่า เราจะไม่ได้มาถ้าไม่ได้มีการต่อสู้แบบ 2517 แบบ 2535 ดิฉันไม่อยากเห็นแบบนั้น แต่ก็อดที่จะหวั่นใจไม่ได้ค่ะ อ.ธิดากล่าวในที่สุด
ดังนั้น วุฒิสมาชิก (ส.ว.) จึงไม่เคยมีมาจากการเลือกตั้ง มีเพียงรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เขียนให้วุฒิสมาชิก (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน และผลพวงที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีพรรคการเมืองแข็งแกร่ง มีส.ส.บัญชีรายชื่อ มีส.ส.เขต มีวุฒิสมาชิก (ส.ว.) ที่มาจากการเลือกตั้ง คือนิติบัญญัติทั้งหมดยึดโยงกับประชาชน มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด
และการทำรัฐประหาร 2549 ก็ต้องล้มตรง ส.ว. นี้ ดิฉันยกตัวอย่างเพียงอย่างเดียว ซึ่งดูจะเป็นประเด็นใหญ่ของทั้งหมด รัฐธรรมนูญ 2550 จะหน้าบางหน่อย ก็คือขอ ส.ว. ครึ่งหนึ่งที่มาจากการเลือกตั้ง และมาจากการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง
แล้วถ้าเราย้อนกลับไปดูการเรียกร้องของมวลชนฝ่ายขวาทั้งหลาย เขาจะเอา ส.ว. ทั้งสภาเลยด้วยซ้ำว่า จะต้องเป็นตัวแทนของกลุ่มนั้น กลุ่มนี้ หรืออย่างน้อยก็ ส.ว. จำนวนหนึ่ง คือเลือกตั้งจำนวนหนึ่ง 30/70 ถ้าเราจำเป็น 30 มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 70 เป็นตัวแทนของคณะนั้น คณะนี้
เพราะฉะนั้นวิญญาณของฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ก็คือ สภานิติบัญญัติจะต้องถูกคานอำนาจด้วยฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม และใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ฉะนั้นรัฐธรรมนูญ 2560 เก่งกล้าถึงขนาดที่เรียกว่าในช่วงเวลา 5 ปี หรือว่ามีวุฒิสมาชิก 6 ปี สามารถเลือกนายกฯ ได้เลย ผู้เขียนพยายามทำให้วุฒิสมาชิก (ส.ว.) มาจากการเลือกกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นวิญญาณเดียวกับพันธมิตรและกปปส. เรากล่าวได้ว่ามันเป็นวิธีคิดของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและอำนาจนิยม ที่ไม่ต้องการคืนอำนาจให้ประชาชน สภานิติบัญญัติจึงไม่ใช่ตัวแทนประชาชนร้อยเปอร์เซ็น นี่ก็คือสิ่งที่จะต้องต่อสู้กัน
เราฝ่ายประชาชนผู้รักประชาธิปไตยก็ต้องการนิติบัญญัติที่เลือกโดยตรงมาจากประชาชน
แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ต้องการตัวแทนของกลุ่มของฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ชนชั้นนำหรือชนชั้นบน เข้ามาอยู่เพื่อคานอำนาจกับประชาชนทั่วไปทั้งหมด
สิ่งที่ดิฉันมองไปข้างหน้า การแก้รัฐธรรมนูญ เราจะเห็นเลยว่ารัฐธรรมนูญ 2560 เขียนให้แก้ไม่ได้ วุฒิสมาชิก (ส.ว.) ก็ต้องเห็นด้วย โดยเฉพาะวุฒิสมาชิกที่มาจากบทเฉพาะกาล ส่วนพรรคฝ่ายค้านคราวนี้อาจจะไม่ได้เป็นปัญหา แต่ปัญหาทางพรรคฝ่ายรัฐบาล ปรากฎการณ์คราวนี้ลองคิดดูว่า ขนาดประธานกมธ.ซึ่งดูไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ก็ยังมีปัญหา
"พรรคประชาธิปัตย์" ต้องการฟื้นพรรค ต้องการฟื้นฟูเกียรติยศ เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคฝ่ายค้านบอกโอเคจะเป็นก็ได้ แต่ประชาชนจำนวนหนึ่งก็ไม่ได้เห็นด้วยว่านายอภิสิทธิ์จะจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า? แต่ก็ถือว่ามันเป็นขั้นต้น ขั้นเปิดประตู และรัฐธรรมนูญฉบับนี้มันต้องการให้ทุกฝ่ายเห็นด้วย ก็ไม่ได้ขัดข้อง พรรคฝ่ายค้านต่าง ๆ ก็ไม่ได้ต้องการเข้าไปแย่งชิงตำแหน่งตรงนี้
แต่ว่ากลายเป็น "พรรคพลังประชารัฐ" บอกว่าไม่ได้ ประชาธิปัตย์ต่อรองมากเกินไป แล้วตอนนี้ก็เป็นปัญหานายสิระ เจนจาคะ กับนายเทพไท เสนพงศ์ คือเรื่องเล็ก ๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่
ถ้าถามความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ในซีกฝ่ายรัฐบาลดิฉันมองไม่เห็นเลย "พรรคประชาธิปัตย์" บอกว่าอยู่ในนโยบาย ดิฉันไม่แน่ใจว่าประชาธิปัตย์ต้องการแก้แค่ไหน ต้องการแก้ใหม่ทั้งฉบับ หรือแก้บางมาตรา ถ้าให้ดิฉันคิดนะ ตามแบบฉบับที่ นายชวน หลีกภัย ออกมาพูด ก็คงแก้บางส่วน เพราะบุคลิกของฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็คือประนีประนอมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ด้วยกัน จะไม่ลงมาท้าตีท้าต่อยหรือลงมาแก้กันคนละอย่าง ลักษณะจะเป็นแบบนั้นมากกว่า และต้องการฟื้นฟูพรรคการเมืองของตัวเอง ส่วน "พรรคภูมิใจไทย" นั้นไม่สนใจการแก้รัฐธรรมนูญ
พูดง่าย ๆ ว่าฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด ครึ่งต่อครึ่งในสภาไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ติดอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ใส่ไว้เป็นนโยบาย มันเลยกลายเป็นปัญหาในพรรคฝ่ายรัฐบาลด้วยกันว่า ประชาธิปัตย์ใส่ไว้ในนโยบาย ประชาธิปัตย์ก็ต้องทำ แล้วประชาธิปัตย์ก็เป็นพรรคการเมืองซึ่งมีความสำคัญ ก็คือถ้าประชาธิปัตย์ไม่เอารัฐบาล รัฐบาลนี้ก็อยู่ไม่ได้ ฉะนั้นประชาธิปัตย์ก็อยู่ในสถานะเป็นพรรคที่ต่อรองทางการเมือง อาจจะเป็นไปได้ว่าเพื่อที่จะรักษาคำพูด พรรคประชาธิปัตย์ก็จะต้องจัดตั้ง พยายามจะให้กมธ.เพื่อศึกษาให้ได้
แต่มองไปข้างหน้าดิฉันไม่เห็นอนาคตของการที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนแบบรัฐธรรมนูญ 2540 พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าไม่มีอะไรมาบีบจนเลือดเข้าตา มันเป็นไปไม่ได้เลย ลองคิดดูว่ากว่าเขาจะได้รัฐธรรมนูญ 2560 มันลำบากแค่ไหน ต้องทำรัฐประหาร ต้องยึดอำนาจ ต้องร่างรัฐธรรมนูญ ร่างแล้วร่างอีก มีทั้ง สนช. มีทั้ง กรธ. ที่จะมากำกับเพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญของอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม สมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้อนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม อยู่ในอำนาจให้นานที่สุด แล้วจะให้แก้ง่าย ๆ หรือ อุตส่าห์เขียนไม่ให้แก้แล้ว
เพียงแต่การเมือง "พรรคประชาธิปัตย์" จำเป็นต้องพลิกฟื้นมีชีวิตขึ้นมาให้ได้ ถ้างานนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงมาก แล้วเป็นกำลังสำคัญของ พปชร. การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่ในกรณีนี้เนื่องจากประชาธิปัตย์ต้องการฟื้นพรรค ก็ต้องแสดงบทบาทตามสัญญาเอาไว้ก็คือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีผลให้พรรคการเมืองใหญ่เดิม เช่น พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย สูญเสียพื้นที่ไปในบัญชีรายชื่อและในเขตจำนวนมาก เพราะฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมจำนวนหนึ่งก็หันไปเลือกพปชร.อยู่ คือเลือกบิ๊กตู่เลย แล้วบิ๊กตู่ก็ใช้พลพรรคของประชาธิปัตย์ ใช้คนที่เคยอยู่กับพรรคเพื่อไทย เอากลเม็ดทั้งหมดมาเพื่อที่จะต่อให้อำนาจรัฐประหารของตัวเอง อยู่ไปได้นานเท่านาน
ดังนั้น ศึกข้างหน้าเป็นศึกใหญ่ การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการลบล้างผลพวงการทำรัฐประหารโดยตรงและหนักหน่วง ดิฉันมองว่ามันจะเป็นชนวนของเรื่องใหญ่!!!
ขณะนี้พรรคการเมืองจำนวนหนึ่งไม่ปรารถนาจะแก้รัฐธรรมนูญ
แต่พรรคการเมืองจำนวนหนึ่งต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เมื่อพรรคการเมืองเข้าไปเล่นในเวทีรัฐสภา แล้วถ้าหากว่ามันทำไม่ได้ พรรคการเมืองเหล่านี้ก็มีฐานของประชาชน การเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญมันก็ต้องเกิดขึ้น!!!
แต่ในบริบทของฝ่ายประชาชนที่ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองอย่างตัวดิฉันเอง ในทัศนะของฝ่ายประชาชนนั้น เราก็ต้องการรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจประชาชน ดังนั้นฝ่ายประชาชนที่ต้องการต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยก็ต้องสามัคคีอยู่กับพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องการลบล้างผลพวงการทำรัฐประหารโดยอัตโนมัติอยู่แล้วในเรื่องนี้
ในอดีตนปช.เคยทำเรื่องนี้เต็มที่ หลังรัฐธรรมนูญ 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนขณะนั้นจนต่อมาถึงพรรคเพื่อไทย เราเดินสายเพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาโดยตลอด จนกระทั่งเรานำเสนอแตกต่างกับพรรครัฐบาลขณะนั้น
อ.ธิดากล่าวต่อว่า พรรครัฐบาลขณะนั้นเสนอแบบหนึ่ง ก็มีคณะคล้าย ๆ กรธ. ที่มาจะเขียน แม้จะมี สสร. แต่ว่าก็จะต้องมีคณะซึ่งรัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้ง ในขณะนั้นดิฉันเป็นประธาน นปช. และมองเห็นแล้วว่าแม้นพรรคเพื่อไทยจะได้เป็นรัฐบาล และจะมีความปรารถนาดีเพียงไรที่จะเขียนรัฐธรรมนูญให้ดีเพียงไรก็ตาม สมมุติว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี แต่ถ้ารัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการเขียนรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่าต้องถูกต่อต้านแน่นอน
เพราะฉะนั้นในทัศนะของเราฝ่ายประชาชนก็คือ ให้โยนไปเลย ให้เป็นเรื่องของประชาชน ให้มี สสร. แบบที่ขณะนี้ฝ่ายค้านเสนอ คิดแบบเดียวกันนั่นแหละกับเรา ก็คือมี สสร. แล้วจำนวน สสร. ตอนนั้นเราเสนอไป 100 คน ประชาธิปัตย์มาเสนอ 200 คน ซึ่งจริง ๆ จะ 100, 150 หรือ 200 มันก็ไม่เป็นไร ให้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนประชาชน
การที่เราโยนให้การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ไปเป็นสภาอีกสภาหนึ่งนั้นมันเป็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลปัจจุบัน ก็คือปลดล็อคการแก้รัฐธรรมนูญ แล้วให้มีสภาใหม่ เลือกตั้งใหม่เลย พปชร. ก็ส่งเข้าไปซิ ประชาธิปัตย์ ก็ส่งเข้าไป อย่างน้อยที่สุดรัฐธรรมนูญใหม่ก็ต้องดีกว่า 2560 อาจจะดีกว่า 2550 ด้วย อาจจะไม่ดีเท่าหรือดีกว่า 2540 ก็ได้ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ให้ สสร. ที่เกิดขึ้นใหม่ ให้ประชาชนได้ไปสมัครเป็น สสร. แล้วช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ฟังเสียงมากที่สุด แล้วหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมือง โดยเฉพาะตอนนั้นคือประชาธิปัตย์กับเพื่อไทย นั่นคือข้อเสนอของเรา นปช. และเราได้ระดมคนได้รายชื่อประมาณหนึ่งแสนชื่อ แต่ผ่านการตรวจสอบถูกต้องประมาณเจ็ดหมื่นชื่อ แต่ไม่มีประโยชน์เพราะว่าสภาไม่ได้โหวตให้ แล้วสุดท้ายมันก็เกิดกลียุคในบ้านเมือง
ดิฉันไม่อยากจะคิดว่าตัวเองมองเห็นมากกว่า และมองเห็นมาก่อน แล้วรัฐบาลตอนนั้นก็ไม่เชื่อเรา แต่มาตอนนี้ก็ทำแบบเดียวกัน ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านตอนนี้มีเสียงน้อยกว่าหรือเสียงพอ ๆ กัน
ในความเป็นจริงประชาชนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐประหาร เช่น พลพรรค กปปส., พลพรรค พธม. กับ พลพรรค นปช. หรือพรรคฝ่ายค้าน ประชาชนแต่ละฝั่งอาจจะใกล้เคียงกันหรือมากน้อยกว่ากันจำนวนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้ว่า ถ้าจิตใจที่ต้องการต่อสู้นั้นมันเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะฉะนั้น ดิฉันยืนยันว่าหลีกเลี่ยงความเป็นฝ่ายค้านกับรัฐบาลแบบเดิม ใช้สสร. ก็คือมีสภาใหม่ เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ แล้วระดมความรู้ความเข้าใจของประชาชนให้มากที่สุด ให้มีการเลือก สสร. บนพื้นฐานที่ได้มีการรณรงค์ให้เข้าใจถึงจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ 2560 นี้อย่างเต็มที่ แต่ดิฉันก็หวั่นใจว่ามันจะไม่เกิดขึ้นง่าย ๆ ถ้าฝ่ายอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ไม่ยอม
หรือคุณต้องการที่จะให้เกิดความรุนแรงของประชาชนที่ต้องการรัฐธรรมนูญ เพราะบทเรียนก็คือว่า เราจะไม่ได้มาถ้าไม่ได้มีการต่อสู้แบบ 2517 แบบ 2535 ดิฉันไม่อยากเห็นแบบนั้น แต่ก็อดที่จะหวั่นใจไม่ได้ค่ะ อ.ธิดากล่าวในที่สุด