อ.ธิดา กล่าวไว้ว่า
สิ่งหนึ่งที่อยากจะเรียนท่านผู้ชมก็คือว่า
14 ตุลา’’’16 มันไม่ได้เกิดขึ้นลอย
ๆ มันมีผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรเมื่อปี 2475 แน่นอนคณะราษฎรอาจจะหมดไป
แต่ว่าคุณูปการหรือว่ามรดกของความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตยยังดำรงอยู่ตลอดแม้ว่าจะมีระยะเวลายาวนาน
ในปริมณฑลการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจากปี
16 มา 35
แล้วก็มาเป็นลำดับจนปัจจุบันมันอยู่ในบริบทของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นความต่อเนื่องจาก 2475 นั่นเองและมีการยกระดับขึ้นโดยในปี
16 สิ่งที่ประสงค์จะได้คือรัฐธรรมนูญ จาก
16 มาเราก็ได้ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ, ค่อนใบ, เสี้ยวใบ มาจนกระทั่งปี 31
เมื่อพล.อ.เปรมลงจากตำแหน่งโดยประชาชนไม่ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ เมื่อมีการทำรัฐประหารในปี 34 บริบทเปลี่ยนไปไม่ใช่แค่เรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างเดียว
มีการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง สืบทอดอำนาจไม่ได้
ผู้แทนราษฎร ประธานสภาผู้แทนต้องเป็นประธานรัฐสภา มีรายละเอียดมากขึ้น
เมื่อมีถึงปี 53 ก็เรียกร้องมากขึ้นอีกคือเราต้องการระบอบประชาธิปไตยแบบสากล ผลพวงของปี 35 เราได้รัฐธรรมนูญปี 40
ซึ่งมีลักษณะก้าวหน้า
การต่อสู้ของประชาชนไม่ได้สูญเปล่า
มีชีวิตของวีรชนที่ล้มตายแต่ว่าถ้าเรายังเป็นฝ่ายที่สนับสนุนการต่อสู้ของประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
จำเป็นต้องให้การตายของวีรชนเหล่านี้ทำให้สังคมไทยได้ตระหนักและมีการปรับตัว และที่แล้วมามีการยกระดับ ไม่ได้ซ้ำรอยคงเดิม
และที่สำคัญการต่อสู้ในปี 53
ได้ส่งไม้การต่อสู้จากคนชั้นกลางลงมาสู่มวลชน
อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด
แทนที่จะเป็นการต่อสู้ของคนชั้นสูง คนชั้นนำ
หรือคนชั้นกลางต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ต่อสู้เพื่อการเมือง
เพื่อประชาธิปไตยแบบประเทศอื่น
แต่กลายเป็นมวลชนพื้นฐาน
แล้วแทนที่จะเป็นการต่อสู้เพื่อเศรษฐกิจเพื่อส่วนตัว กลายเป็นต่อสู้เพื่อส่วนรวม เพื่อการเมือง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นง่าย ๆ
แต่ในประเทศไทยนั้นคนจนมาต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย และนี่เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ
นอกจากนั้นข้อเรียกร้องเราเรียกร้องเพิ่มขึ้นไม่ได้แค่มีรัฐธรรมนูญหรือแค่มีระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นข้อเรียกร้องคือ "ประชาธิปไตยแบบสากล"
ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบที่มีครึ่งหนึ่งคณาธิปไตย
แน่นอนดูเหมือนกับว่าเวลานี้มันไม่สำเร็จ
แต่สิ่งเหล่านี้มันแขวนอยู่ในใจของประชาชนตลอดไป.