“ธิดา” เล่าที่มาที่ไปของประธานนปช.
มีแกนนำมากและหลากหลายที่มา ในฐานะ “นักต่อสู้” ดิฉันได้ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว
ตำแหน่งประธานนปช.ไม่ได้เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่
ยูดีดีนิวส์ : เมื่อวันที่
18 ม.ค. 64 การทำเฟซบุ๊คไลฟ์ของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในประเด็นที่สองคือ “ตอบคำถามเรื่องที่มาที่ไปของประธานนปช.”
อ.ธิดากล่าวว่า องค์กรนปช.ไม่ใช่องค์กรจัดตั้งที่เข้มแข็งแม้จะมีแนวทางนโยบาย
มียุทธศาสตร์ มีโรงเรียนการเมืองนปช. และมีแกนนำอยู่เป็นจำนวนมากพอก็ตาม
แต่ว่ามีความหลากหลายของที่มา
เพราะบางคนอาจจะให้คะแนนว่าคนเป็นแกนนำนปช.ก็คือคนที่ขึ้นเวทีปราศรัย
อ.ธิดาเล่าให้ฟังว่า ตอนอาจารย์เป็นประธานนปช.
อาจารย์ปวดหัวกับคนที่ต้องการขึ้นเวทีปราศรัย
แต่ตอนนี้ก็มีคนไขคำตอบแล้วคือถือเอาว่าคนที่ขึ้นเวทีปราศรัยเป็นแกนนำคน
ดังนั้นเราจึงต้องมีทุกแบบ
- มีแบบตลก เพราะว่าต้องขึ้นเวที
- มีแบบพราหมณ์ อาจจะต้องไปสวดอ้อนวอนอะไร
- มีแบบนักดนตรี นักร้อง
ถ้าถือคติแบบนี้ว่าขึ้นเวทีปราศรัยแล้วเป็นแกนนำ
ก็อย่างที่คุณจตุพรพูดว่าอ.ธิดาไม่เคยขึ้นเวทีปราศรัย
แต่ความที่ไม่มีคดีจึงต้องมาเป็นแกนนำ อาจารย์ไม่อธิบายตรงนี้เพราะอาจารย์คิดว่าพี่น้องประชาชนเข้าใจ
คือจริง ๆ คนไม่มีคดีเต็มไปหมด แต่ดิฉันเชื่อว่าพี่น้องเข้าใจ
อันนี้เป็นความคิดอย่างหนึ่ง
จึงทำให้แกนนำของเรามีหลากหลาย เพียงขึ้นปราศรัย แต่ที่มานั้นมาจากพรรคการเมือง
(โดยเฉพาะตอนนั้นเป็นพรรคไทยรักไทยเป็นส่วนใหญ่) หรือมาจากองค์กรอื่นอย่างเช่น
อ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ก็มาจากเพื่อนรัฐธรรมนูญ มีคุณวิภูแถลง พัฒนภูมิไท
ก็มาจากกลุ่มคนวันเสาร์ ตัวอ.ธิดากับคุณหมอเหวงก็มาจากสมาพันธ์ประชาธิปไตย
ซึ่งเป็นคนคุมการขับเคลื่อน เป็นแกนนำ เป็นการนำในพฤษภา 35 จนกระทั่งก็มีการเรียกตัวคุณจำลอง
ศรีเมือง กับคุณสุจินดา คราประยูร โดยที่ในหลวงท่านก็เรียกไปให้มีการพูดคุย
แต่บทบาทมันอยู่บนถนนราชดำเนิน
ฉะนั้น “สมาพันธ์ประชาธิปไตย” เป็นองค์กร
ผู้นำฝ่ายนักศึกษา คือ อ.ปริญญา
เทวานฤมิตรกุล
ผู้นำฝ่ายกรรมกร คือ สมศักดิ์ โกศัยสุข
ผู้นำฝ่ายคนจนในเมือง ก็คือ ครูประทีป
อึ้งทรงธรรม
ผู้นำของปัญญาชน ก็คือ นพ.สันต์
หัตถีรัตน์
ผู้นำฝ่ายอดีตแกนนำตั้งแต่ 14 ตุลา ก็คือ
นพ.เหวง โตจิราการ
อันนี้เป็นตัวเปิดในการเปิดเผย
แล้วองค์กรสมาพันธ์ฯ ก็ทำงานมา เพราะฉะนั้นมันก็จะมีคนที่สืบเนื่องมา ถ้าในปี 2553
หรือในการนำของนปช. ก็จะมีคนที่เข้ามาซึ่งต่อเนื่องมาจาก 35 และต่อเนื่องมาจาก 14
ตุลา คือ อ.จรัล ดิษฐาอภิชัย, อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ, คุณวิสา คัญทัพ, คุณหมอเหวง
ดังนี้เป็นต้น
ดังนั้น ที่มาที่ไปนี่ก็ส่วนหนึ่ง
แต่อีกส่วนหนึ่งก็มาจากพรรคการเมือง อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือต้องเอาคนขึ้นเวที
แต่สำหรับนักต่อสู้โดยทั่วไปในประวัติศาสตร์จะมีสองแบบ แบบหนึ่งก็คืออยู่บนเวที
อีกแบบหนึ่งก็ไม่จำเป็นต้องอยู่บนเวที อ.ธิดาก็ไม่ใช่ แล้วก็ไม่สนใจ แต่คุณสมบัติต่าง
ๆ นั้นมันขึ้นอยู่กับการตีความว่าคุณสมบัติแบบไหนที่เรียกว่า “แกนนำ” นี่จึงเป็นภาวะของปัญหาที่ว่า
“การนำรวมหมู่” ค่อนข้างล้มเหลว เพราะเรามีความหลากหลาย เพราะฉะนั้น
ที่มาที่ไปอันนี้คือของ “แกนนำ” มันหลากหลาย
ส่วนที่มาที่ไปของ “ประธานนปช.”
อย่างสั้น ๆ อ.ธิดากล่าวว่า คุณวีระ มุสิกพงศ์
ก็ผ่านในที่ประชุมแกนนำที่หลากหลายในตอนนั้น (จากสมาพันธ์ฯ จากอะไรต่าง ๆ)
เริ่มต้นที่ไปหน้าบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อ.ธิดา ก็ทำ “กลุ่มสตรีประชาธิปไตย”
แล้วก็มีการเอาไปใช้เป็น “กลุ่มสันติวิธี” ซึ่งมีทั้งคุณหมอเหวงและหนูหริ่ง
(สมบัติ บุญงามอนงค์) มาร่วม แต่กลุ่มคนที่ไปเดินอยู่เป็นกลุ่มก้อนการจัดตั้งของอาจารย์คือ
“กลุ่มสตรีประชาธิปไตย” ทุกวันนี้ก็ยังดำรงอยู่แต่ว่าหลายคนชรามากแล้ว
ความหลากหลายของแกนนำ แต่ว่าเมื่อเป็นเอกภาพประธานก็คือคุณวีระ
มาจากการประชุมของกลุ่มต่าง ๆ และด้วยคุณสมบัติที่เพียงพร้อม ไม่มีปัญหา
นี่คือที่มาของประธานคนที่ 1 (ดิฉันจะไม่พูดถึง อ.มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ
ซึ่งตอนนั้นยังเป็น นปก. ที่ไม่ลงตัว)
แล้วคุณวีระที่ไปคืออะไร? ก็คือลาออกตอนปี
53 เมื่อพบว่ามีความขัดแย้ง ซึ่งคุณวีระไม่พูด แต่ใช้วิธีลาออก
ก็ทำให้เกิดปัญหาที่ว่าขบวนยังอยู่ ก็คือปัญหาการยุติหรือไม่ยุติการต่อสู้
อันนั้นมีความแตกแยกทางความคิด ส่วนหนึ่งก็คือให้ยุติก่อน ไม่ต้องการให้มีการสูญเสียเพิ่ม
ในครั้งนั้นอ.ธิดาก็เห็นด้วยกับการยุติก่อน เพราะในทัศนะของอาจารย์ก็คือว่า
คุณจะทำชุมนุมใหญ่อยู่ยืดยาวแบบฐานที่มั่นในเมืองนั้นอย่างไรก็ตามคุณก็ต้องถูกปราบ
คำถามว่าคุณจะต่อสู้กับการถูกล้อมปราบอย่างไร? ถ้าเรา “สันติวิธี”
และเราไม่มีอาวุธ ปัจจุบันเยาวชนเขาก็รู้ พอท่าไม่ดีเขาก็เลิก เขาไม่อยู่ให้ปราบ
แต่ว่าในขณะนั้นมีคนจำนวนหนึ่งคิดว่าชัยชนะจะได้มาจากการอยู่ต่อ คุณวีระลาออกไป
แล้วในช่วงนั้นก็ว่างตำแหน่งประธาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2-3 วันหลังการปราบปราม (วันที่ 19 เต็มที่) ดิฉันไม่แน่ใจ
คุณวีระลาออกก่อนที่จะมีความพยายามล้อมปราบวันที่ 13, 14, 15 พ.ค.
จนไล่มาถึงวันที่ 19 ซึ่งตอนนั้นก็ถือว่าตำแหน่งประธานว่าง แต่ยังมีการประชุมอยู่
แกนนำส่วนหนึ่งไม่อยู่ อีกส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ อ.ธิดา, คุณหมอเหวง, คุณณัฐวุฒิ
และหลาย ๆ คน ด้วยความเป็นห่วงพี่น้องประชาชนก็ยังอยู่ แต่นั้นคือการแตกแยก
การตัดสินใจที่ไม่ตรงกัน
แล้วในที่สุดก็มาถึง อาจารย์ก็ต้องถือว่าเป็นคนที่สอง
ในส่วนนี้ก็ต้องเข้าใจว่าพอหลัง 19 พ.ค. หลายคนก็สงสัย คือพอได้ยินประธานนปช.
(จตุพร) พูดแล้วก็ถามมา
อาจารย์ก็จำเป็นต้องตอบเพื่อให้มองเห็นภาพที่กว้างขึ้นและหลายมุมมอง
แต่มุมอาจารย์ที่รับเป็นประธานก็คือบรรยากาศตอนนั้นแกนนำส่วนหนึ่งหนีไปอยู่ต่างประเทศ
แต่ส่วนมากไม่ว่าจะเป็นคุณวีระกานต์ มุกสิกพงศ์, คุณก่อแก้ว พิกุลทอง, คุณณัฐวุฒิ
ใสยเกื้อ, คุณหมอเหวง โตจิราการ, คุณวิภูแถลง พัฒนภูมิไท, เจ๋ง ดอกจิก
แล้วก็มีพี่น้องประชาชนก็ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำด้วยจำนวนมาก เพราะฉะนั้นกลุ่มสำคัญคือกลุ่มในเรือนจำ
ทีนี้กลุ่มที่อยู่นอกเรือนจำ
คนที่เป็นส.ส.ก็คือคุณจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งก็รู้ว่ามีคดีความอยู่เยอะมาก
แต่ด้านหลักก็เป็นภารกิจในรัฐสภาด้วย เพราะฉะนั้น อ.ธิดาก็จะอยู่หน้าเรือนจำทุกวัน
แต่ดิฉันจะบอกคุณสมบัติของดิฉันอย่างหนึ่งก็คือ ทิ้งเพื่อนในม็อบไม่ได้
และทิ้งเพื่อนในเรือนจำก็ไม่ได้ด้วย หลายคนเป็นพยานได้ ดิฉันก็จะอยู่เรือนจำทุกวัน! ในการจัดการคนเยี่ยมซึ่งเป็นร้อย
ๆ คน รวมทั้งการจัดการดูแลปัญหาต่าง ๆ ประสานกับภรรยาของแกนนำคนอื่น ๆ ซึ่งเขาจะยกให้ดิฉันเป็นพี่ใหญ่เพราะว่าแก่กว่า
เราก็ช่วยกันดูแล ไปทุกวัน อยู่อย่างนั้นตั้งแต่เช้าจนกระทั่งบ่ายถึงเย็น
บรรยากาศตอนนี้ก็แปลว่าเราไม่มีประธาน
ดูประมาณเหมือนกับคุณจตุพรก็รักษาการเพราะว่าอยู่ข้างนอก
แต่ด้วยเหตุผลภารกิจหรืออาจจะบอกว่าก็มีทั้งคดีความและเรื่องอะไรต่าง ๆ ในทัศนะของดิฉันคือมีภารกิจทั้งในรัฐสภาและอาจจะมีเรื่องถอนประกันอยู่
แต่ดิฉันคิดว่าถ้าลำพังเอาเฉพาะคนที่ไม่มีคดีนะ ไม่ต้องเป็นอ.ธิดาหรอก มีเยอะแยะ
แต่ที่ดิฉันรับเป็นประธานเพราะด้วยคำพูดที่ว่า
“เห็นชอบ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในเรือนจำจำนวนมากซึ่งทุกข์อยู่
แล้วคุณจตุพรก็เห็นชอบว่าเขามองหาคนอื่นในการที่จะมารับมือกับสถานการณ์อย่างนี้
คิดดูแล้วมันน่าจะต้องอย่างอ.ธิดา ไม่มีใครพูดเรื่องไม่ได้ขึ้นเวทีนะ
แล้วดิฉันมองแล้วว่าคำว่า
“ประธานนปช.” ในทัศนะของดิฉัน มันไม่ได้เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ เพราะดิฉันผ่านการต่อสู้เหตุการณ์ต่าง
ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่อยู่ในเขตป่าเขามาเป็นเวลานาน
แล้วดิฉันก็มีพื้นฐานของการได้รับเกียรติยศจากพรรคปฏิวัติในระดับสูง สำหรับ “นักต่อสู้”
ที่ “พรรคปฏิวัติและนักปฏิวัติ” มอบความไว้วางใจให้อันนั้นเป็นเกียรติยศสูงสุด
แต่ขบวนการของนปช.เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย
ไม่ใช่การปฏิวัติ ระดับของการเข้มข้นและการเรียกร้องมันจะเทียบกันไม่ได้เลย
ถ้าในฐานะของ “นักต่อสู้” ดิฉันถือว่าดิฉันได้ผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว
ตรงนี้ก็สรุปว่ามีความคิดเห็น คุณจตุพรก็อาจจะมีความสำคัญเป็นหลัก
แต่มันมีความคิดเห็นโดยเฉพาะคนในเรือนจำ คุณหมอเหวงบอกดิฉันว่า
คุณหมอเป็นคนเดียวที่ไม่เห็นด้วยเพราะเกรงว่าดิฉันจะรับไม่ไหว
แต่สำหรับประชาชน
ดิฉันก็ต้องรับให้ไหว
เพราะเราจะปล่อยให้ขบวนการและประชาชนจมอยู่กับความยากลำบากความเจ็บปวดโดยไม่มีใครมาช่วยเป็นปากเสียงและช่วยต่อสู้
เพราะฉะนั้นดิฉันก็ไม่ถือสาในการที่จะถูกโจมตีจากแกนนำด้วยกันบางส่วน
เพราะดิฉันได้พูดมาแล้วว่า เราต้องรู้ว่าเราทำอะไรและประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน
ส่วนแกนนำที่มีความหลากหลายและมีเบื้องหลังต่าง ๆ
อย่างคุณแรมโบ้ก็โจมตีดิฉันขึ้นหน้าหนึ่งไทยรัฐมานาน แม้กระทั่งทีวีเอเชียอัพเดต
ดิฉันก็คิดว่าก็รับได้ ถ้าคิดว่าเป็นมงกุฎก็คือมงกุฎหนามที่ดิฉันพูดนั่นแหละ
แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว เพื่อที่จะเล่าให้ฟังว่านั่นคือประธานคนที่สอง
ที่ตอนรับตำแหน่งในยามที่ยากลำบากมาก พูดตรง ๆ ว่าไม่มีใคร เราก็จำเป็นต้องรับเพราะเราก็ช่วยคิดด้วยเหมือนกัน
แต่ถ้าคิดแต่เพียงว่า “ไม่มีคดี” ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นอ.ธิดา เป็นใครก็ได้
ทีนี้ตอนไป
ก็คือ ดิฉันรับเป็นประธานอย่างเป็นทางการวันที่ 1 ธ.ค. 53
แปลว่ามีช่วงว่างอยู่ตั้งแต่คุณวีระกานต์ลาออก (วันที่ 10-11-12 พ.ค. 53)
มาจนกระทั่งถึง 1 ธ.ค. ที่ไม่มีประธาน ก่อนหน้านั้นดิฉันรักษาการประธานอยู่ 1 ปี
ซึ่งจากการประชุม คือองค์กรเราก็เป็นองค์กรหลวม ๆ
ไม่ได้มีการแบบที่เรียกว่าการเลือกตั้งจากพี่น้องประชาชนทั้งหมด เป็นการประชุมแกนนำในระดับ
20-30 คน ซึ่งก็หลากหลายอย่างที่ดิฉันบอก ใครขึ้นเวทีก็เป็นแกนนำหมด ก็หยวน
ไม่ว่าอะไรกัน เพราะว่าต้องเผชิญทุกข์ ต้องติดคุกเหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะมาจากไหน
แต่พออยู่บนเวทีเมื่อถูกฟ้องร้องก็เหมือนกัน และตกลงว่าจะอยู่ในตำแหน่ง 2 ปี
มีการพูดคุยตั้งแต่ตอนปลายปีว่าหมดวาระครบ
3 ปี ประจวบกับที่คุณจตุพรแจ้งมาว่าเขาน่าจะพร้อมเป็นประธาน
เพราะดิฉันก็บอกเขามาก่อนแล้วว่า ถ้าในขาของการเป็นเวทีรัฐสภาและการเป็นรัฐบาล
คือยังเป็นส.ส. แต่พูดตรง ๆ
ว่ายังไม่ได้รับความไว้วางใจให้เข้ามามีบทบาทแม้กระทั่งในผู้นำฝ่ายบริหารก็มาเป็นประธานนปช.ก็ได้
พูดอยู่เสมอ อ.ธิดากล่าว
ในการพูดคุยหรือตกลงกันนั้นก็ยังเป็นลักษณะที่ว่าไม่ได้ผ่านแกนนำภูมิภาค
ก็ยังเป็นแกนนำในส่วนกลางซึ่งหลากหลาย ฉะนั้น ปลายปีก็เป็นเรื่องที่ครบวาระ
ดังนั้นคุณวีระอยู่สามปี อ.ธิดาอยู่สามปี
แล้วก็มอบตำแหน่งเป็นทางการเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์หลังจากผ่านที่ประชุมใหญ่ของกลุ่มแกนนำก็ไปประกาศเป็นทางการในเวทีที่พระนครศรีอยุธยา
เพื่อให้พี่น้องได้ทราบว่ามีการเปลี่ยนประธานเป็นคุณจตุพร มีการมอบเสื้อให้
มีการแสดงความยินดี จุดพลุ อะไรต่าง ๆ เดือนกุมภาพันธ์ 2557
นี่คือที่มาที่ไปของอดีตประธานสองคน
ท่านวีระกานต์ ท่านจะไม่พูดอะไรเรื่องที่ท่านออก
แต่ว่าดิฉันก็ไม่ได้พูดในเรื่องส่วนตัวนะ
แต่พูดเพื่อให้สังคมได้เข้าใจว่ามันมีการพูดในที่ประชุม จะเป็นลาออก
หรือจะเป็นการรับตำแหน่ง ก็จะเป็นแบบนี้ ก็คือสองประธานก็อยู่คนละสามปี
เรื่องมันก็เป็นอย่างนี้
ก็คิดว่าตอบคำถามยาวหน่อยเพื่อให้หายข้องใจว่าระบบเดิมนั้นใช้ที่ประชุมของแกนนำ
ซึ่งมาบัดนี้คงจะลำบากแล้วนะ เพราะแกนนำเปลี่ยนสีแปรธาตุไปก็เยอะ ยังหนีไปก็เยอะ
หรือโรยรามไม่อยากทำแล้วก็เยอะ เพราะฉะนั้นรูปแบบของการที่จะมีองค์กรอยู่
สมมุติที่ยังอยากจะให้อยู่ นปช.ควรจะมีบทบาทอย่างไร? จะมีที่มาของการนำรวมหมู่อย่างไร?
ในความคิดของอาจารย์ (ไม่ได้ไปชี้นำนะ) ก็ต้องมีโครงสร้างการนำใหม่ เพราะว่าถ้าเอาแบบเดิม
ที่ประชุมแกนนำขณะนี้แกนนำไม่รู้ไปไหนหมดแล้ว และก็อาจจะไม่มีใครสนใจ
ไม่มีใครอยากมาแบกรับเพราะว่าไม่มีเรื่องชื่นบานเลย ไม่มีเรื่องที่ได้เลย
มีแต่เรื่องยากลำบากว่าจะทำอย่างไรต่อไป เป็นส่วนที่ติดลบมากกว่า ไม่เหมือนขาไปรัฐสภา
มีความหวังเป็นส.ส. มีความหวังเป็นรัฐมนตรี มันดูน่าชื่นชมมากกว่า
อ.ธิดาทิ้งท้ายว่า "ดิฉันก็อยากให้พี่น้องเราให้กำลังใจซึ่งกันและกันในการที่จะมาช่วยกันแบกรับภารกิจอันนี้ทางประวัติศาสตร์ แล้วจะมีบทบาทอย่างไร ดิฉันเข้าใจแล้วว่าท่านมีความภาคภูมิใจ แล้วก็เข้าใจความเจ็บปวดที่ยังดำรงอยู่ ยังอยากให้มีองค์กรอยู่เพื่อสามารถปฏิบัติภาคกิจ ไม่ใช่เชิงรุก! ไม่ใช่เชิงนำมวลชนไปต่อสู้! แต่เป็นบทบาทที่เหมาะสมอย่างไรก็ต้องว่ากันต่อไป" อ.ธิดากล่าวในที่สุด