ยูดีดีนิวส์ : 13 ก.ย. 62 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำเฟสบุ๊คไลฟ์วันนี้ในประเด็น "ค่านิยมวุฒิการศึกษากับความล้าหลังของสังคมไทย" ซึ่งถือเป็นเรื่องอื้อฉาวของรัฐบาลหลังจากได้คุยกันมากถึงความไม่ชอบธรรมที่มาของรัฐบาลและมีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
ห่างไกลจากมาตรฐานจริยธรรม ยกตัวอย่างเช่น คดีอื้อฉาวที่คุณธรรมนัส พรหมเผ่า มีเรื่องราวและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากมาย
อ.ธิดากล่าวว่า หลายคนนำไปเปรียบเทียบกับในอดีตเมื่อปี 35 ซึ่งเพียงแต่มีข่าวลือว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องของยาเสพติดก็ไม่สามารถจะมาเป็นผู้บริหารได้ จนกระทั่ง พล.อ.สุจินดา คราประยูร ต้องมาเป็นนายกฯ แทนคุณณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นต้น
ในปัจจุบันเรื่องของคุณธรรมนัสก็อยู่ในระหว่างโต้เถียง และนำหลักฐานมายืนยันกัน เช่น เปิดคำพิพากษา ในขณะที่คุณธรรมนัสก็มีการออกมาชี้แจงต่อสื่อ ส่วนสื่อโซเชียลก็มีการขุดเรื่องวุฒิการศึกษาออกมามากมาย
แต่ดิฉันสนใจในแง่ของสัญลักษณ์ เพราะอย่างคุณธรรมนัสซึ่งเรียนจบโรงเรียนนายร้อยจปร. วุฒิการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ดิฉันไม่แน่ใจว่าปัจจุบันยังใช้อยู่ไหม) ความจริงจบแค่นี้ก็มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นรัฐมนตรี ไม่จำเป็นจะต้องไปเอาวุฒิอะไรมา
แต่ทำไมคุณธรรมนัสจำเป็นจะต้องไปไขว่คว้าเอาวุฒิต่าง ๆ มาประกอบ และนี่ไม่ใช่เฉพาะคุณธรรมนัสคนเดียว คนอื่น ๆ นักการเมืองและนักธุรกิจบางคนก็จะนิยมใช้คำนำหน้าว่า "ด๊อกเตอร์" กันเป็นแถว ซึ่งที่มาอาจจะใกล้เคียงกัน บางคนก็ซื้อมาเฉย ๆ โดยไม่คิดว่าจะมีปัญหา
ถามว่าทำไมคนถึงต้องไขว่คว้าหาวุฒิการศึกษามา?
ทำไมจึงจะต้องเป็น "ด๊อกเตอร์"?
ในทัศนะของอ.ธิดา นี่มันสะท้อนความล้าหลังของสังคมไทย เพราะสังคมในระบบทุนนิยมเขาไม่สนใจหรอกใบปริญญา วุฒิการศึกษา คนที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จจำนวนมากเขาไม่ได้จบปริญญาอะไรเลย ในระบบทุนนิยมประเมินคนที่ความสามารถ!!!
ทำไมต้องมีวุฒิปลอม?
1) ค่านิยม มันโก้
2) จำเป็นต้องไปรับราชการ
3) เป็นระบบอุปถัมภ์ ไต่เต้า
อ.ธิดากล่าวว่า แต่ในทัศนะของดิฉันมองเป็นพัฒนาการสังคมด้วยว่า สังคมไทยนั้นในส่วนของอุดมการณ์ ค่านิยม วัฒนธรรม ของเรายังล้าหลัง ถ้าเป็นระบบทุนนิยมซึ่งเขาประเมินคนที่ความสามารถเขาจะไม่บ้าคลั่งวุฒิการศึกษากันมากเหมือนกับสังคมไทย
ในต่างจังหวัดกลัวน้อยหน้ากัน จะต้องให้ลูกหลานจบปริญญา แต่ไม่มีงานทำ!
นักธุรกิจบางคนก็อยากได้ชื่อว่าเป็นด๊อกเตอร์
นักการเมืองบางคนก็อยากจะได้เป็นด๊อกเตอร์
มันน่าเศร้านะ ยิ่งเป็นด็อกเตอร์ถ้าหากว่าแสดงความ "งี่เง่า" ออกมามากเท่าไหร่ คนยิ่งสมเพช!!!
ในสังคมที่เจริญแล้วเขาวัดคนที่คุณค่าของผลงาน เขาไม่ได้วัดคนที่วุฒิการศึกษา เพราะฉะนั้นพัฒนาการของสังคมไทย โดยเฉพาะส่วนชั้นบนของสังคม ในส่วนเศรษฐกิจเป็นทุนนิยมระดับหนึ่ง แต่ในโครงสร้างส่วนบนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา อุดมการณ์ วัฒนธรรม ศาสนา โดยเฉพาะ "วุฒิการศึกษา" มันเป็นองค์ประกอบในระบอบศักดินาที่ว่าเป็นรัฐข้าราชการ
ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ระบอบศักดินาก็จริง แต่ในโครงสร้างส่วนบนระบบอุปถัมภ์และรัฐข้าราชการมันยังดำรงอยู่ ดังนั้นเรื่องของวุฒิการศึกษาพูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าคุณจะหลุดจาก "ไพร่" ขึ้นมาเป็น "ขุนนาง" รับราชการ คุณต้องมีการศึกษาระดับหนึ่ง ถ้าว่ากันตามหลักทฤษฎีเลยก็คือ
"ไพร่" ที่ต้องการถีบตัวขึ้นมาเป็น "ขุนนาง" หรือ "ข้าราชการระดับสูง" ก็จำเป็นที่จะต้องไต่เต้าโดยอาศัยระบบอุปถัมภ์ และที่สำคัญก็คือการศึกษา จึงมีค่านิยมวุฒิการศึกษา ซึ่งแสดงออกถึงความล้าหลังทางความคิดและความล้าหลังของสังคม
ประเด็นของคุณธรรมนัสในแง่วุฒิการศึกษา มันเป็นการสะท้อนภาพของสังคมไทยที่ล้าหลังและไม่รู้จะวัดคนเก่งคนดีกันอย่างไร ก็เอาวุฒิมา ซึ่งมันเป็นความเขลาเป็นอย่างยิ่ง!
และนี่เป็นสิ่งที่วัดว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมที่ล้าหลัง ยังเป็นสังคมที่มีรัฐข้าราชการ มีคนทะเยอทะยานอยากจะไปอยู่ในระดับที่สูง ต้องการไต่เต้า และต้องใช้วุฒิการศึกษาเป็นสำคัญ ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันของสังคมไทย ตัวองค์กรข้าราชการของรัฐไทยจึงเป็นที่สุมของการไต่เต้าในระบบอุปถัมภ์และไม่รู้ว่ามีวุฒิปลอมอยู่เท่าไหร่โดยเฉพาะอย่างในในมหาวิทยาลัย
มันน่าอนาถถ้าเรามี Ph.D ปลอม ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ลองคิดดูว่าแล้วผลผลิตจะเป็นอย่างไร? อ.ธิดากล่าวทิ้งท้าย
2) จำเป็นต้องไปรับราชการ
3) เป็นระบบอุปถัมภ์ ไต่เต้า
อ.ธิดากล่าวว่า แต่ในทัศนะของดิฉันมองเป็นพัฒนาการสังคมด้วยว่า สังคมไทยนั้นในส่วนของอุดมการณ์ ค่านิยม วัฒนธรรม ของเรายังล้าหลัง ถ้าเป็นระบบทุนนิยมซึ่งเขาประเมินคนที่ความสามารถเขาจะไม่บ้าคลั่งวุฒิการศึกษากันมากเหมือนกับสังคมไทย
ในต่างจังหวัดกลัวน้อยหน้ากัน จะต้องให้ลูกหลานจบปริญญา แต่ไม่มีงานทำ!
นักธุรกิจบางคนก็อยากได้ชื่อว่าเป็นด๊อกเตอร์
นักการเมืองบางคนก็อยากจะได้เป็นด๊อกเตอร์
มันน่าเศร้านะ ยิ่งเป็นด็อกเตอร์ถ้าหากว่าแสดงความ "งี่เง่า" ออกมามากเท่าไหร่ คนยิ่งสมเพช!!!
ในสังคมที่เจริญแล้วเขาวัดคนที่คุณค่าของผลงาน เขาไม่ได้วัดคนที่วุฒิการศึกษา เพราะฉะนั้นพัฒนาการของสังคมไทย โดยเฉพาะส่วนชั้นบนของสังคม ในส่วนเศรษฐกิจเป็นทุนนิยมระดับหนึ่ง แต่ในโครงสร้างส่วนบนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา อุดมการณ์ วัฒนธรรม ศาสนา โดยเฉพาะ "วุฒิการศึกษา" มันเป็นองค์ประกอบในระบอบศักดินาที่ว่าเป็นรัฐข้าราชการ
ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ระบอบศักดินาก็จริง แต่ในโครงสร้างส่วนบนระบบอุปถัมภ์และรัฐข้าราชการมันยังดำรงอยู่ ดังนั้นเรื่องของวุฒิการศึกษาพูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าคุณจะหลุดจาก "ไพร่" ขึ้นมาเป็น "ขุนนาง" รับราชการ คุณต้องมีการศึกษาระดับหนึ่ง ถ้าว่ากันตามหลักทฤษฎีเลยก็คือ
"ไพร่" ที่ต้องการถีบตัวขึ้นมาเป็น "ขุนนาง" หรือ "ข้าราชการระดับสูง" ก็จำเป็นที่จะต้องไต่เต้าโดยอาศัยระบบอุปถัมภ์ และที่สำคัญก็คือการศึกษา จึงมีค่านิยมวุฒิการศึกษา ซึ่งแสดงออกถึงความล้าหลังทางความคิดและความล้าหลังของสังคม
ประเด็นของคุณธรรมนัสในแง่วุฒิการศึกษา มันเป็นการสะท้อนภาพของสังคมไทยที่ล้าหลังและไม่รู้จะวัดคนเก่งคนดีกันอย่างไร ก็เอาวุฒิมา ซึ่งมันเป็นความเขลาเป็นอย่างยิ่ง!
และนี่เป็นสิ่งที่วัดว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมที่ล้าหลัง ยังเป็นสังคมที่มีรัฐข้าราชการ มีคนทะเยอทะยานอยากจะไปอยู่ในระดับที่สูง ต้องการไต่เต้า และต้องใช้วุฒิการศึกษาเป็นสำคัญ ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันของสังคมไทย ตัวองค์กรข้าราชการของรัฐไทยจึงเป็นที่สุมของการไต่เต้าในระบบอุปถัมภ์และไม่รู้ว่ามีวุฒิปลอมอยู่เท่าไหร่โดยเฉพาะอย่างในในมหาวิทยาลัย
มันน่าอนาถถ้าเรามี Ph.D ปลอม ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ลองคิดดูว่าแล้วผลผลิตจะเป็นอย่างไร? อ.ธิดากล่าวทิ้งท้าย