ยูดีดีนิวส์ : 18 ก.ค. 62 อันเนื่องมาจากคำสัมภาษณ์ของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่ให้สัมภาษณ์สื่อญี่ปุ่นโดยกล่าวว่า "รัฐประหาร" จำเป็นกับประเทศไทย แล้วก็บอกว่า "บิ๊กตู่" นายกฯ คนปัจจุบัน ซึ่งแปลงร่างมาจากหัวหน้าคสช. เผด็จการ 100% มาเป็นนายกฯ ในเสื้อคลุมประชาธิปไตยเพราะเรียนรู้จากพล.อ.สนธิ
อ.ธิดากล่าวว่า ประโยคหนึ่งที่น่าคิดก็คือ พล.อ.สนธิบอกว่า "การรัฐประหารนั้นเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับประชาธิปไตยที่ยังไม่เติบโตของไทย"
พล.อ.สนธิเป็นคนที่ทำรัฐประหาร
และในทัศนะดิฉันเป็นนายพลที่ทำรัฐประหารแล้วไม่ประสบผลสำเร็จเลย
มาถึงวันนี้เวลาผ่านไป 13 ปีแล้ว พล.อ.สนธิ ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยหรือ?
วันนี้ดิฉันก็เลยต้องทำเฟสบุ๊คไลฟ์ในประเด็นว่า "รัฐประหาร" กลายเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับกลุ่มที่ไม่ต้องการให้เกิดประชาธิปไตยในประเทศไทย
เราจะเห็นว่าพล.อ.สนธิผู้ทำรัฐประหาร 13 ปีที่ผ่านมา ความล้มเหลวของตนเอง ความล้มเหลวของรัฐบาลชั่วคราวในขณะนั้น จนกระทั่งเกิดรัฐประหารรอบใหม่ แต่การกล่าวเช่นนี้แสดงว่าไม่ได้มีการเรียนรู้เลยว่าการทำรัฐประหารมันไม่ถูกต้อง และมันไม่ได้ผล ไม่ได้ดีขึ้นสำหรับประเทศไทย ไม่ได้ดีขึ้นสำหรับสังคมไทย ไม่ดีขึ้นแม้กระทั่งคณะผู้ทำรัฐประหารเอง
กลายเป็นว่าความขัดแย้งยิ่งมากขึ้น ขยายตัวใหญ่ขึ้น แล้วต้องเกิดรัฐประหารใหม่ แล้วรัฐประหารใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2557 นั้นอยู่มา 5 ปี ผลพวงของการทำรัฐประหารนั้นทำให้เกิดประกาศ คำสั่ง กฎหมายของคสช. และรัฐธรรมนูญ
เริ่มต้นจากข้อมูลของศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนซึ่งรวบรวมไว้ว่า
- คสช.ได้ออกคำสั่งคสช. 214 ฉบับ
- คสช.ได้ประกาศคสช. 132 ฉบับ
- คสช.ได้ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.อีก 211 ฉบับ
รวมทั้งสิ้น 557 ฉบับ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่คสช.แต่งตั้งได้ออก พ.ร.บ. กว่า 444 ฉบับ นี่ถือว่ามากที่สุดตั้งแต่มีการทำรัฐประหารมา (ดิฉันคิดว่าอย่างนั้น) อาจจะบอกว่าเป็นผลงานยอดเยี่ยมของการทำรัฐประหารของคสช. อยู่นาน 5 ปี และอยู่ต่อได้ด้วย แล้วยังมีวางแผนเอาไว้อยู่ในรัฐธรรมนูญและยุทธศาสตร์ถึง 20 ปี เขาอาจจะมองว่านี่เป็นผลสำเร็จเมื่อเทียบกับสิ่งที่พล.อ.สนธิออกมาพูดทั้ง ๆ ที่ล้มเหลว แต่ยังบอกว่าอาจจะมีรัฐประหารอีกครั้ง ก็เลยกลายเป็นว่าการทำรัฐประหารกลายเป็นความชอบธรรมในสายตาของคนอย่างพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
และดิฉันเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เท่านั้นที่มองว่าการทำรัฐประหารเป็นความชอบธรรม พวกกลุ่มอำนาจนิยม กลุ่มอนุรักษ์นิยม และนักการเมืองที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งจำนวนหนึ่ง ก็เลยเป็นที่มาที่บอกว่า "จำเป็นต้องทำรัฐประหารเพราะมันเป็นเครื่องมือ"
ของพล.อ.สนธิบอกว่าสำหรับประเทศไทยที่ประชาธิปไตยยังไม่เติบโต พูดง่าย ๆ ว่ามีคนจนมาก นักการเมืองก็คือคนร่ำรวย มาจัดการในการซื้อเสียงประมาณนั้น ในทัศนะดิฉันนั้น พูดอย่างนี้ดูถูกประชาชน ดูถูกประเทศไทยทั้งหมด ยิ่งกว่าที่ไปบอกว่าธนาธรไปดูถูกดูหมิ่น
ที่คุณธนาธรไปพูดกับสิ่งที่พล.อ.สนธิพูด ดิฉันว่าพล.อ.สนธิดูถูกประเทศไทย เพราะมองว่าการรัฐประหารเป็นการแก้ปัญหาประเทศ เพราะประชาธิปไตยที่ยังไม่เติบโตอันเกิดจากคนจน เกิดจากนักการเมืองซื้อเสียง และในที่สุดมีคอรัปชั่น ซึ่งนิเคอิก็นำเสนอและมติชนออนไลน์ก็ถ่ายทอดมาอีกส่วนหนึ่ง
นอกจากนี้แล้วพล.อ.สนธิยังมีคำแนะนำถึงพล.อ.ประยุทธ์ว่าให้เน้นไปที่ช่วยเหลือชาวไทยให้ก้าวไปสู่ชนชั้นกลางเพราะประเทศไทยมีคนจนเป็นจำนวนมาก คนรวยมักเข้ามาใช้ประโยชน์จากคนจนในระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองที่มีเงินจะพยายามหาเงินกลับคืน ซึ่งดิฉันมองว่าเป็นการดูถูกพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่เขาเข้ามา
ถามว่าเขาใช้เงินซื้อหรือ? หรือว่าท่านมีประสบการณ์ของท่านเอง
พูดอย่างนี้ดิฉันว่านี่เป็นการทำลายเกียรติภูมิของประเทศ ดิฉันมองว่าทหารที่ทำรัฐประหารไปแล้วไม่ได้เรียนรู้เลย ดิฉันรับไม่ได้ ดิฉันมองว่าคนที่ตัดสินใจทำรัฐประหารนั้นเป็นคนที่ช่วยไม่ได้แล้ว เพราะมันมีอะไรในโลกมากมายที่จะทำให้ยับยั้งชั่งใจ นี่ดิฉันพูดในภาพรวมทั้งหมด ไม่ได้พาดพิงถึงใครนะ!
ดิฉันไม่สามารถมีทัศนคติที่ดีกับผู้ทำรัฐประหารได้ และดิฉันไม่สามารถให้อภัยได้ ไม่ใช่เพราะเกิดกับตัวเอง แต่มันเกิดกับประเทศชาติ
อ.ธิดากล่าวว่า นี่เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับทหารไทย กองทัพไทย นี่คือแบบอย่างของความล้มเหลวของคนทำรัฐประหาร และไม่เรียนรู้ความล้มเหลวอันนั้นเลย ยังมาพูดถึงเรื่องว่าการเมืองฝ่ายซ้ายหาเสียงกับคนที่มีการศึกษาน้อย คนจน ดิฉันไม่รู้ว่าท่านเข้าใจคำว่า "ฝ่ายซ้าย" หรือเปล่า? ยังพูดเหมือนอยู่ในยุคสงครามเย็น พูดเหมือนตอนราว ๆ ใกล้ 6 ตุลาคม 2519
ณ. จุดนี้มันสะท้อนให้เห็นว่าการทำรัฐประหารนั้น ในวิธีคิดของเขานั้นเป็นวิธีคิดที่รู้สึกว่าง่าย สะดวก สบาย ได้ผลหรือเปล่าไม่รู้ ถึงไม่ได้ผลก็ทำซ้ำ ทำครั้งที่ 1 แก้ไม่ได้ก็ทำครั้งที่ 2 ทำครั้งที่ 2 แก้ไม่ได้ก็ทำครั้งที่ 3 พูดครั้งนี้ก็มีนัยยะ แต่ก็บอกมาว่าทหารจะทำรัฐประหารไม่ได้ถ้าไม่มีคนมาสนับสนุน
ดิฉันจำได้ว่าสนธิ ลิ้มทองกุลได้เข้าไปพบพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ฉะนั้นยิ่งถ้าตัวเองไม่ตระหนัก แล้วมีคนมาสั่งให้ทำรัฐประหาร มันก็ยิ่งง่ายเข้าไปอีก ถ้าใครมาสะกิดหน่อยก็เอาแล้วหรือ? หรือว่าอยากทำอยู่แล้วเพราะเห็นว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็น!
ดังนั้นนักการเมืองที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง กลุ่มชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมที่รู้สึกว่าอำนาจถูกแย่งชิงไป ไปอยู่กับนักการเมืองหรือตัวแทนของประชาชนซึ่งเป็นคนชั้นล่าง คนชั้นล่างซึ่งควรจะเป็นผู้ถูกปกครอง ผู้ปกครองเดิมทั้งหลายก็ไม่ต้องการที่จะสูญเสียอำนาจ นี่ก็คือความหมายตรง ๆ
การทำรัฐประหารปี 2549 ได้รัฐธรรมนูญ 2550 แล้วก็มีการเลือกตั้ง ในที่สุดก็บอกว่าล้มเหลว ผู้คนยิ่งแตกแยก ปัญหายิ่งบานปลาย เพราะว่าพรรคการเมืองที่ต้องการจัดการก็กลับมาชนะเลือกตั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้กระทั่งการเลือกตั้งที่ผ่านมานี้ก็ตาม แต่ว่าผลพวงการทำรัฐประหารครั้งนี้ดิฉันอยากจะถามว่า ยังคิดอยู่เหมือนเดิมอีกหรือเปล่าว่าถ้าไม่ได้ผลก็ทำรัฐประหารซ้ำ
แต่ในทัศนะดิฉันเห็นว่า การทำรัฐหารปี 2557 ผลพวงของการทำรัฐประหารที่กล่าวในตอนแรก คือสนช.ออกไป 444 ฉบับ ของคสช. 557 ฉบับ และยกเลิกไปเพียง 70 ฉบับ มันยังเหลือเยอะแยะ แต่ตัวที่ร้ายที่สุดคือรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล และทำให้การแก้รัฐธรรมนูญแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อันนี้เราก็ต้องดูว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่เข้าไปร่วมรัฐบาลนั้น จริง ๆ จะทำได้เพียงใด
ดิฉันมองว่าการทำรัฐประหารปี 2557 ผลพวงของการทำรัฐประหารนั้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ล้าหลังมากที่สุด รวมทั้งประกาศคำสั่งต่าง ๆ ที่สำคัญคือองค์กรอิสระ นับต่อมากระทั่งศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเป็นผลพวงการทำรัฐประหารทั้งสิ้น ยังมียุทธศาสตร์ ยังมีตัวเนื้อหารัฐธรรมนูญที่ใช้ควบคุมผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง ยังมีวุฒิสมาชิก องค์กรอิสระ
ที่ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนตั้งเอาไว้ 3 ข้อ ก็คือ
1) ประกาศคำสั่งคสช. กฎหมาย
2) กลไกที่ดำรงอยู่ในรูปหน่วยงานรัฐและองค์กรอิสระ ซึ่งในทัศนะดิฉันก็รวมทั้งวุฒิสมาชิก องค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็นกรรมการสิทธิฯ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. กสทช. ทั้งหมดเหล่านี้ก็คือผลพวงการทำรัฐประหารและเป็นเครื่องมือสนับสนุนรัฐบาลนี้
3) อำนาจในการควบคุมตัวพลเรือนยังอยู่ที่ทหาร
นอกจากนี้แล้วในทัศนะดิฉันประการที่ 4) ก็คือปัญหาการที่มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ การที่มียุทธศาสตร์แห่งชาติบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการปฏิรูป บอร์ดยุทธศาสตร์ บอร์ดปฏิรูป วุฒิสมาชิก องค์กรอิสระเหล่านี้จะควบคุมนักการเมืองอย่างกระดิกกระเดี้ยไม่ได้
ดังนั้นการอภิปรายต่าง ๆ มันก็จะเป็นเหมือนการแสดง...หรือเปล่า? ดิฉันอยากจะให้ฝ่ายค้านทำหน้าที่เต็มที่ จริง ๆ ทั่วโลกเขารู้แล้วว่าพรรคฝ่ายค้านเหล่านี้ควรจะเป็นรัฐบาล ถ้าไม่ใช่เป็นปัญหาของความไม่ชอบมาพากลของการใช้องค์กรอิสระ, กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ, การคำนวณที่พิลึกกึกกือ, การใช้อำนาจของรัฐเข้าไปจัดการต่าง ๆ
แต่เมื่อพรรคฝ่ายค้านถูกกลไกของคสช. จนกระทั่งถึงชนะก็ยังต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน ชนะด้วยเสียงส.ส. แต่แพ้เมื่อโหวตนายกฯ ด้วยกลไกที่ถูกสร้างขึ้นมา ดิฉันคิดว่ามันเป็นเวลาที่ดีของสังคมไทยที่จะได้เรียนรู้ว่า จริง ๆ แล้วมีการวางแผนขนาดนี้ ทำกันเต็มที่ถึงขนาดนี้ ก็ได้ผลแค่นี้
ดิฉันถือว่านี่เป็นการเปิดโรงเรียนการเมืองครั้งใหญ่ของประเทศไทย ทั้งพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยม ทั้งทหาร และประชาชน มันเป็นเหมือนโรงเรียนการเมืองใหญ่ เพราะว่าฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ประชาธิปไตยเติบโต คิดว่ารัฐประหารเป็นเครื่องมือที่จำเป็น และขู่ด้วยซ้ำว่าอาจจะมีรัฐประหารครั้งใหม่ก็ได้ ทั้ง ๆ ที่ผลพวงการทำรัฐประหารยังดำรงอยู่ แต่ถ้าเมื่อไรใช้ไม่ได้ก็ต้องเกิดรัฐประหารใหม่
ดิฉันก็จะฝากว่า มันเป็นเวลาที่ดีสำหรับประชาชนไทยทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ถ้าครั้งนี้ยังไม่เรียนรู้...ก็ยาก เพราะมันเป็นบทเรียนที่เห็นชัดเจน ง่ายที่สุดในการที่จะเรียนรู้ว่าระบอบประชาธิปไตยกับสิ่งที่เรียกว่าเผด็จการประชาธิปไตยแตกต่างกันอย่างไร เพราะครั้งนี้มันเลวร้ายยิ่งกว่าในอดีต แม้นยุคสมัยจะพัฒนาไปแต่เราก็จะเห็นวิธีคิดวิธีทำงานแบบเดิม ไม่เช่นนั้นก็คงได้เห็นภาพว่ามีรัฐมนตรีใหม่ที่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ไปจับจองที่ แย่งที่นั่ง แล้วที่สำคัญก็คือต้องไปสักการะเจ้าที่เจ้าทางก่อน ขณะเดียวกันก็แบกพระ
แสดงให้เห็นเลยว่าภูตผีหรือเทวดาอิสระมาก่อนพระ...ใช่หรือเปล่า?
และแม้กระทรวงดิจิตัลเป็นอย่างไร นี่คือสภาพสังคมไทยซึ่งแม้เวลาจะผ่านไป แต่ชุดความคิดยังเป็นชุดความคิดแบบเดิม เราหวังว่าครั้งนี้เราได้รัฐบาลแบบนี้ มันเป็นเวลารอท่าของการสุกงอมของประชาชนในการเรียนรู้การเมืองไทยว่า ประชาชนไทยจะทนกับสิ่งที่เรียกว่าเผด็จการประชาธิปไตยไปได้มากน้อยแค่ไหน และมีศักยภาพในการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นอารยประเทศได้หรือเปล่า?
ดิฉันก็ขอภาวนาอย่าให้ต้องมีเรื่องราวเลวร้ายหรือมีเหตุการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่ถ้าหากว่าฝ่ายชนชั้นนำที่ไม่ต้องการให้ประชาธิปไตยเติบโตยังไม่เรียนรู้คล้าย ๆ กับคนที่ทำรัฐประหาร คือพล.อ.สนธิ และถ้าคนอื่นไม่เรียนรู้ด้วย ดิฉันไม่แน่ใจว่าอนาคตสังคมไทยนั้นจะสวยงามและราบรื่น
"เพราะถ้าถึงเวลาที่ประชาชนทนไม่ได้ก็สุดแล้วแต่การตัดสินใจของประชาชนก็แล้วกัน ถ้าหากว่าผู้มีอำนาจอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมยังคิดแบบเดิมซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงค่ะ" อ.ธิดากล่าวในที่สุด
เราจะเห็นว่าพล.อ.สนธิผู้ทำรัฐประหาร 13 ปีที่ผ่านมา ความล้มเหลวของตนเอง ความล้มเหลวของรัฐบาลชั่วคราวในขณะนั้น จนกระทั่งเกิดรัฐประหารรอบใหม่ แต่การกล่าวเช่นนี้แสดงว่าไม่ได้มีการเรียนรู้เลยว่าการทำรัฐประหารมันไม่ถูกต้อง และมันไม่ได้ผล ไม่ได้ดีขึ้นสำหรับประเทศไทย ไม่ได้ดีขึ้นสำหรับสังคมไทย ไม่ดีขึ้นแม้กระทั่งคณะผู้ทำรัฐประหารเอง
กลายเป็นว่าความขัดแย้งยิ่งมากขึ้น ขยายตัวใหญ่ขึ้น แล้วต้องเกิดรัฐประหารใหม่ แล้วรัฐประหารใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2557 นั้นอยู่มา 5 ปี ผลพวงของการทำรัฐประหารนั้นทำให้เกิดประกาศ คำสั่ง กฎหมายของคสช. และรัฐธรรมนูญ
เริ่มต้นจากข้อมูลของศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนซึ่งรวบรวมไว้ว่า
- คสช.ได้ออกคำสั่งคสช. 214 ฉบับ
- คสช.ได้ประกาศคสช. 132 ฉบับ
- คสช.ได้ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.อีก 211 ฉบับ
รวมทั้งสิ้น 557 ฉบับ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่คสช.แต่งตั้งได้ออก พ.ร.บ. กว่า 444 ฉบับ นี่ถือว่ามากที่สุดตั้งแต่มีการทำรัฐประหารมา (ดิฉันคิดว่าอย่างนั้น) อาจจะบอกว่าเป็นผลงานยอดเยี่ยมของการทำรัฐประหารของคสช. อยู่นาน 5 ปี และอยู่ต่อได้ด้วย แล้วยังมีวางแผนเอาไว้อยู่ในรัฐธรรมนูญและยุทธศาสตร์ถึง 20 ปี เขาอาจจะมองว่านี่เป็นผลสำเร็จเมื่อเทียบกับสิ่งที่พล.อ.สนธิออกมาพูดทั้ง ๆ ที่ล้มเหลว แต่ยังบอกว่าอาจจะมีรัฐประหารอีกครั้ง ก็เลยกลายเป็นว่าการทำรัฐประหารกลายเป็นความชอบธรรมในสายตาของคนอย่างพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
และดิฉันเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เท่านั้นที่มองว่าการทำรัฐประหารเป็นความชอบธรรม พวกกลุ่มอำนาจนิยม กลุ่มอนุรักษ์นิยม และนักการเมืองที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งจำนวนหนึ่ง ก็เลยเป็นที่มาที่บอกว่า "จำเป็นต้องทำรัฐประหารเพราะมันเป็นเครื่องมือ"
ของพล.อ.สนธิบอกว่าสำหรับประเทศไทยที่ประชาธิปไตยยังไม่เติบโต พูดง่าย ๆ ว่ามีคนจนมาก นักการเมืองก็คือคนร่ำรวย มาจัดการในการซื้อเสียงประมาณนั้น ในทัศนะดิฉันนั้น พูดอย่างนี้ดูถูกประชาชน ดูถูกประเทศไทยทั้งหมด ยิ่งกว่าที่ไปบอกว่าธนาธรไปดูถูกดูหมิ่น
ที่คุณธนาธรไปพูดกับสิ่งที่พล.อ.สนธิพูด ดิฉันว่าพล.อ.สนธิดูถูกประเทศไทย เพราะมองว่าการรัฐประหารเป็นการแก้ปัญหาประเทศ เพราะประชาธิปไตยที่ยังไม่เติบโตอันเกิดจากคนจน เกิดจากนักการเมืองซื้อเสียง และในที่สุดมีคอรัปชั่น ซึ่งนิเคอิก็นำเสนอและมติชนออนไลน์ก็ถ่ายทอดมาอีกส่วนหนึ่ง
นอกจากนี้แล้วพล.อ.สนธิยังมีคำแนะนำถึงพล.อ.ประยุทธ์ว่าให้เน้นไปที่ช่วยเหลือชาวไทยให้ก้าวไปสู่ชนชั้นกลางเพราะประเทศไทยมีคนจนเป็นจำนวนมาก คนรวยมักเข้ามาใช้ประโยชน์จากคนจนในระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองที่มีเงินจะพยายามหาเงินกลับคืน ซึ่งดิฉันมองว่าเป็นการดูถูกพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่เขาเข้ามา
ถามว่าเขาใช้เงินซื้อหรือ? หรือว่าท่านมีประสบการณ์ของท่านเอง
พูดอย่างนี้ดิฉันว่านี่เป็นการทำลายเกียรติภูมิของประเทศ ดิฉันมองว่าทหารที่ทำรัฐประหารไปแล้วไม่ได้เรียนรู้เลย ดิฉันรับไม่ได้ ดิฉันมองว่าคนที่ตัดสินใจทำรัฐประหารนั้นเป็นคนที่ช่วยไม่ได้แล้ว เพราะมันมีอะไรในโลกมากมายที่จะทำให้ยับยั้งชั่งใจ นี่ดิฉันพูดในภาพรวมทั้งหมด ไม่ได้พาดพิงถึงใครนะ!
ดิฉันไม่สามารถมีทัศนคติที่ดีกับผู้ทำรัฐประหารได้ และดิฉันไม่สามารถให้อภัยได้ ไม่ใช่เพราะเกิดกับตัวเอง แต่มันเกิดกับประเทศชาติ
อ.ธิดากล่าวว่า นี่เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับทหารไทย กองทัพไทย นี่คือแบบอย่างของความล้มเหลวของคนทำรัฐประหาร และไม่เรียนรู้ความล้มเหลวอันนั้นเลย ยังมาพูดถึงเรื่องว่าการเมืองฝ่ายซ้ายหาเสียงกับคนที่มีการศึกษาน้อย คนจน ดิฉันไม่รู้ว่าท่านเข้าใจคำว่า "ฝ่ายซ้าย" หรือเปล่า? ยังพูดเหมือนอยู่ในยุคสงครามเย็น พูดเหมือนตอนราว ๆ ใกล้ 6 ตุลาคม 2519
ณ. จุดนี้มันสะท้อนให้เห็นว่าการทำรัฐประหารนั้น ในวิธีคิดของเขานั้นเป็นวิธีคิดที่รู้สึกว่าง่าย สะดวก สบาย ได้ผลหรือเปล่าไม่รู้ ถึงไม่ได้ผลก็ทำซ้ำ ทำครั้งที่ 1 แก้ไม่ได้ก็ทำครั้งที่ 2 ทำครั้งที่ 2 แก้ไม่ได้ก็ทำครั้งที่ 3 พูดครั้งนี้ก็มีนัยยะ แต่ก็บอกมาว่าทหารจะทำรัฐประหารไม่ได้ถ้าไม่มีคนมาสนับสนุน
ดิฉันจำได้ว่าสนธิ ลิ้มทองกุลได้เข้าไปพบพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ฉะนั้นยิ่งถ้าตัวเองไม่ตระหนัก แล้วมีคนมาสั่งให้ทำรัฐประหาร มันก็ยิ่งง่ายเข้าไปอีก ถ้าใครมาสะกิดหน่อยก็เอาแล้วหรือ? หรือว่าอยากทำอยู่แล้วเพราะเห็นว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็น!
ดังนั้นนักการเมืองที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง กลุ่มชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมที่รู้สึกว่าอำนาจถูกแย่งชิงไป ไปอยู่กับนักการเมืองหรือตัวแทนของประชาชนซึ่งเป็นคนชั้นล่าง คนชั้นล่างซึ่งควรจะเป็นผู้ถูกปกครอง ผู้ปกครองเดิมทั้งหลายก็ไม่ต้องการที่จะสูญเสียอำนาจ นี่ก็คือความหมายตรง ๆ
การทำรัฐประหารปี 2549 ได้รัฐธรรมนูญ 2550 แล้วก็มีการเลือกตั้ง ในที่สุดก็บอกว่าล้มเหลว ผู้คนยิ่งแตกแยก ปัญหายิ่งบานปลาย เพราะว่าพรรคการเมืองที่ต้องการจัดการก็กลับมาชนะเลือกตั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้กระทั่งการเลือกตั้งที่ผ่านมานี้ก็ตาม แต่ว่าผลพวงการทำรัฐประหารครั้งนี้ดิฉันอยากจะถามว่า ยังคิดอยู่เหมือนเดิมอีกหรือเปล่าว่าถ้าไม่ได้ผลก็ทำรัฐประหารซ้ำ
แต่ในทัศนะดิฉันเห็นว่า การทำรัฐหารปี 2557 ผลพวงของการทำรัฐประหารที่กล่าวในตอนแรก คือสนช.ออกไป 444 ฉบับ ของคสช. 557 ฉบับ และยกเลิกไปเพียง 70 ฉบับ มันยังเหลือเยอะแยะ แต่ตัวที่ร้ายที่สุดคือรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล และทำให้การแก้รัฐธรรมนูญแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อันนี้เราก็ต้องดูว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่เข้าไปร่วมรัฐบาลนั้น จริง ๆ จะทำได้เพียงใด
ดิฉันมองว่าการทำรัฐประหารปี 2557 ผลพวงของการทำรัฐประหารนั้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ล้าหลังมากที่สุด รวมทั้งประกาศคำสั่งต่าง ๆ ที่สำคัญคือองค์กรอิสระ นับต่อมากระทั่งศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเป็นผลพวงการทำรัฐประหารทั้งสิ้น ยังมียุทธศาสตร์ ยังมีตัวเนื้อหารัฐธรรมนูญที่ใช้ควบคุมผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง ยังมีวุฒิสมาชิก องค์กรอิสระ
ที่ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนตั้งเอาไว้ 3 ข้อ ก็คือ
1) ประกาศคำสั่งคสช. กฎหมาย
2) กลไกที่ดำรงอยู่ในรูปหน่วยงานรัฐและองค์กรอิสระ ซึ่งในทัศนะดิฉันก็รวมทั้งวุฒิสมาชิก องค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็นกรรมการสิทธิฯ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. กสทช. ทั้งหมดเหล่านี้ก็คือผลพวงการทำรัฐประหารและเป็นเครื่องมือสนับสนุนรัฐบาลนี้
3) อำนาจในการควบคุมตัวพลเรือนยังอยู่ที่ทหาร
นอกจากนี้แล้วในทัศนะดิฉันประการที่ 4) ก็คือปัญหาการที่มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ การที่มียุทธศาสตร์แห่งชาติบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการปฏิรูป บอร์ดยุทธศาสตร์ บอร์ดปฏิรูป วุฒิสมาชิก องค์กรอิสระเหล่านี้จะควบคุมนักการเมืองอย่างกระดิกกระเดี้ยไม่ได้
ดังนั้นการอภิปรายต่าง ๆ มันก็จะเป็นเหมือนการแสดง...หรือเปล่า? ดิฉันอยากจะให้ฝ่ายค้านทำหน้าที่เต็มที่ จริง ๆ ทั่วโลกเขารู้แล้วว่าพรรคฝ่ายค้านเหล่านี้ควรจะเป็นรัฐบาล ถ้าไม่ใช่เป็นปัญหาของความไม่ชอบมาพากลของการใช้องค์กรอิสระ, กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ, การคำนวณที่พิลึกกึกกือ, การใช้อำนาจของรัฐเข้าไปจัดการต่าง ๆ
แต่เมื่อพรรคฝ่ายค้านถูกกลไกของคสช. จนกระทั่งถึงชนะก็ยังต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน ชนะด้วยเสียงส.ส. แต่แพ้เมื่อโหวตนายกฯ ด้วยกลไกที่ถูกสร้างขึ้นมา ดิฉันคิดว่ามันเป็นเวลาที่ดีของสังคมไทยที่จะได้เรียนรู้ว่า จริง ๆ แล้วมีการวางแผนขนาดนี้ ทำกันเต็มที่ถึงขนาดนี้ ก็ได้ผลแค่นี้
ดิฉันถือว่านี่เป็นการเปิดโรงเรียนการเมืองครั้งใหญ่ของประเทศไทย ทั้งพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยม ทั้งทหาร และประชาชน มันเป็นเหมือนโรงเรียนการเมืองใหญ่ เพราะว่าฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ประชาธิปไตยเติบโต คิดว่ารัฐประหารเป็นเครื่องมือที่จำเป็น และขู่ด้วยซ้ำว่าอาจจะมีรัฐประหารครั้งใหม่ก็ได้ ทั้ง ๆ ที่ผลพวงการทำรัฐประหารยังดำรงอยู่ แต่ถ้าเมื่อไรใช้ไม่ได้ก็ต้องเกิดรัฐประหารใหม่
ดิฉันก็จะฝากว่า มันเป็นเวลาที่ดีสำหรับประชาชนไทยทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ถ้าครั้งนี้ยังไม่เรียนรู้...ก็ยาก เพราะมันเป็นบทเรียนที่เห็นชัดเจน ง่ายที่สุดในการที่จะเรียนรู้ว่าระบอบประชาธิปไตยกับสิ่งที่เรียกว่าเผด็จการประชาธิปไตยแตกต่างกันอย่างไร เพราะครั้งนี้มันเลวร้ายยิ่งกว่าในอดีต แม้นยุคสมัยจะพัฒนาไปแต่เราก็จะเห็นวิธีคิดวิธีทำงานแบบเดิม ไม่เช่นนั้นก็คงได้เห็นภาพว่ามีรัฐมนตรีใหม่ที่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ไปจับจองที่ แย่งที่นั่ง แล้วที่สำคัญก็คือต้องไปสักการะเจ้าที่เจ้าทางก่อน ขณะเดียวกันก็แบกพระ
แสดงให้เห็นเลยว่าภูตผีหรือเทวดาอิสระมาก่อนพระ...ใช่หรือเปล่า?
และแม้กระทรวงดิจิตัลเป็นอย่างไร นี่คือสภาพสังคมไทยซึ่งแม้เวลาจะผ่านไป แต่ชุดความคิดยังเป็นชุดความคิดแบบเดิม เราหวังว่าครั้งนี้เราได้รัฐบาลแบบนี้ มันเป็นเวลารอท่าของการสุกงอมของประชาชนในการเรียนรู้การเมืองไทยว่า ประชาชนไทยจะทนกับสิ่งที่เรียกว่าเผด็จการประชาธิปไตยไปได้มากน้อยแค่ไหน และมีศักยภาพในการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นอารยประเทศได้หรือเปล่า?
ดิฉันก็ขอภาวนาอย่าให้ต้องมีเรื่องราวเลวร้ายหรือมีเหตุการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่ถ้าหากว่าฝ่ายชนชั้นนำที่ไม่ต้องการให้ประชาธิปไตยเติบโตยังไม่เรียนรู้คล้าย ๆ กับคนที่ทำรัฐประหาร คือพล.อ.สนธิ และถ้าคนอื่นไม่เรียนรู้ด้วย ดิฉันไม่แน่ใจว่าอนาคตสังคมไทยนั้นจะสวยงามและราบรื่น
"เพราะถ้าถึงเวลาที่ประชาชนทนไม่ได้ก็สุดแล้วแต่การตัดสินใจของประชาชนก็แล้วกัน ถ้าหากว่าผู้มีอำนาจอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยมยังคิดแบบเดิมซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงค่ะ" อ.ธิดากล่าวในที่สุด