ผลจากการขับเคลื่อนมวลชนในความขัดแย้ง
หลังมีการใช้รัฐธรรมนูญ
2540 เข้าสู่ยุคประชาธิปไตย (เกือบ) เต็มใบ
ได้รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 40 โดยพรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ
ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาลนับจากปี 2544
เป็นต้นมา และได้จำนวนส.ส. มากที่สุดจนถึงปัจจุบัน การต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำ
ดร.ทักษิณ ชินวัตร และคณะ
นำไปสู่การเกิดตุลาการภิวัตน์และการทำรัฐประหารติดต่อกันมาจนบัดนี้ จึงเกิดการขับเคลื่อนมวลชน 2 แนวทาง
แนวทางแรกคือ
ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สร้างการเมืองใหม่ที่ลดทอนอำนาจประชาชน
แต่เรียกว่าเป็นการปฏิรูปการเมือง สนับสนุนการทำรัฐประหาร และการเขียนรัฐธรรมนูญ
ออกกฎหมายที่มีตัวแทนรัฐสภามาจากการสรรหา แต่งตั้งจากชนชั้นนำ
โดยอ้างประชาธิปไตยแบบไทยจารีตนิยม
แนวทางของการขับเคลื่อนมวลชนแนวที่สองคือ
ต่อต้านการทำรัฐประหาร ต่อต้านการเขียนรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารและกฎหมาย คำสั่ง
ประกาศต่าง ๆ ที่ลิดรอนอำนาจ สิทธิ เสรีภาพของประชาชน
โดยยึดประชาธิปไตยแบบสากลนิยม
ผลพวงการขับเคลื่อนมวลชนทั้งสองแนวทางมีความสูญเสียชีวิต
บาดเจ็บ ล้มตาย อันเนื่องจากการปราบปรามของกลไกอำนาจรัฐ จารีตนิยม
และ/หรือรัฐบาลขณะนั้น
ตลอดจนการแทรกแซงของผู้สนับสนุนแต่ละฝ่าย
หรือผู้ประสงค์จะขยายให้เกิดความรุนแรง เพื่อนำมาสู่การทำรัฐประหารและสร้างกติกาการเมืองใหม่
เรามาดูกันว่าคดีความของแกนนำเฉพาะที่ถึงศาลฎีกามีคดีใดบ้าง?
และผลเป็นอย่างไร?
กลุ่มคดีแนวทางที่
1 เป็นของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ซึ่งเคลื่อนขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยต่อเนื่องก่อนเกิดรัฐประหาร 2549
ผนึกกำลังกับการบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์
และการตัดสินให้การเลือกตั้ง 2 เมายน 2549 เป็นโมฆะ มีการเรียกร้องให้ผบ.ทบ.
ขณะนั้นแก้ปัญหา เกิด
“คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.)
จากนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ
ได้พื้นตัวใหม่ในวันที่ 25 ก.พ. 51 และเริ่มจัดกิจกรรมทางการเมืองใหม่ ในวันที่ 22
พ.ค. ก็ประกาศชุมนุมใหญ่ต่อเนื่อง 193 วัน
โดยจัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 25 พ.ค. 51
ยกระดับเป้าหมายไปสู่การขับไล่รัฐบาล โค่นล้มระบอบทักษิณ
- 20 มิ.ย. 51
พันธมิตรฯ เคลื่อนกำลังคนฝ่าแนวกั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจมาปักหลักชุมนุมด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล
ตรงข้ามสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
- 26 ส.ค. 51
พันธมิตรนำนักรบศรีวิชัยไปปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, กรมประชาสัมพันธ์
ในตอนเช้า และพยายามเชื่อมต่อสัญญาณกับเอสทีวี แต่ไม่สำเร็จ
นอกจากนั้นยังบุกยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงการคลัง, กรมประชาสัมพันธ์
และบุกยึดทำเนียบรัฐบาลได้
- 29 ส.ค. 51
เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามผลักดันให้ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ออกจากทำเนียบรัฐบาล
มีการปะทะกัน
- ต่อมาวันที่ 7
ต.ค. 51 พันธมิตรฯ ระดมคนปิดล้อมรัฐสภาเพื่อขัดขวางการแถลงนโยบายของรัฐบาลนายสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ ที่เป็นนายกรัฐมนตรี หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช
สิ้นสภาพการเป็นนายกรัฐมนตรี และเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ทั้งที่บริเวณหน้ารัฐสภาและหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
บาดเจ็บนับร้อย
- ต่อมา 23 พ.ย.
51 พันธมิตรฯ ได้ประกาศระดมพลให้จบให้ได้
- 24 พ.ย. 51
ได้ไปปิดสนามบินดอนเมือง
- 25 พ.ย. 51
ไปปิดสนามบินสุวรรณภูมิ
- 2 ธ.ค. 51
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย
ทำให้พันธมิตรฯ ประกาศยุติการชุมนุม ถือว่าผลการวินิจฉัยนี้ทำให้พันธมิตรฯ
บรรลุเป้าหมาย จึงประกาศยุติการชุมนุมทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล, สนามบินสุวรรณภูมิ
และสนามบินดอนเมือง ในวันที่ 3 ธ.ค. 51 รวม 193 วัน
ในการชุมนุม
193 วัน มีการฟ้องร้องแยกเป็นกรณี ๆ ไป คือ
- คดีชุมนุมปิดสถานที่ราชการต่าง
ๆ (ดาวกระจาย)
- คดีเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล
ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. 51
ยาวนานถึง 3 ธ.ค. 51 (เกือบ 6 เดือน)
ยาวนานถึง 3 ธ.ค. 51 (เกือบ 6 เดือน)
- คดียึด NBT
เมื่อ 26 ส.ค. 51
- คดีล้อมรัฐสภาและหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล
(บช.น.) เมื่อ 7 ต.ค. 51
(บช.น.) เมื่อ 7 ต.ค. 51
พฤติกรรมแห่งคดีและผลคำพิพากษาเฉพาะคดีที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
1)
คดีหมายเลขดำ อ.3973/2558 เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 58
พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 9
แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116,
215, 216 กรณีปี 2551 ชุมนุมดาวกระจายปิดสถานที่ราชการ ขับไล่รัฐบาล สมัคร
สุนทรเวช
ศาลชั้นต้น
ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 60 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1-6
เนื่องจากเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีพันธมิตรบุกรุกทำเนียบรัฐบาล หมายเลขดำ อ. 4925/2555
ส่วนจำเลยที่ 7-9 ศาลเห็นว่าการกระทำเป็นความผิดฐานมั่วสุม 10 คนขึ้นไป
ก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองตามมาตรา 215 วรรคหนึ่ง แต่เห็นควรให้รอการกำหนดโทษไว้ก่อน
มีกำหนด 2 ปี
ศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 62 ได้พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องจำเลยทั้ง
9 คน โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นกรณีจำเลยที่ 1-6
เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีบุกรุกทำเนียบรัฐบาล ส่วนจำเลยที่ 7-9 ก็ไม่มีความผิดฐานก่อความวุ่นวายตามมาตรา
215 ด้วย
แม้โจทก์จะยกกรณีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการรื้อถอนเวทีและเต็นท์ของผู้ชุมนุม
ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เริ่มจากผู้ชุมนุม
และการตรวจค้นพบเหล็กแป๊บและขวานในพื้นที่หลังผู้ชุมนุมถอยออกไปก็ไม่ได้ค้นจากตัวผู้ชุมนุม
มีข้อสงสัยว่าไม่ใช่ของผู้ชุมนุม จึงเป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ
ภาพจากทีนิวส์ |
2)
คดีหมายเลขดำ อ.4925/2555 เมื่อวันที่
27 ธ.ค. 55 อัยการคดีอาญา 10 ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล,
นายสุริยะใส กตะศิลา, นายพิภพ ธงไชย, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป
และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ กรณีบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 83, 91, 358, 362, 365
ศาลชั้นต้น ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 58
เห็นว่าจำเลยทั้ง 6 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 365
การกระทำของจำเลยผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ
จำคุกคนละ 3 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดให้ 1 ใน
3 คงจำคุกจำเลยไว้คนละ 2 ปี
ศาลอุทธรณ์ ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 60
แก้เป็นจำคุกจำเลยคนละ 1 ปี ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยคนละ 8 เดือน
โดยไม่รอลงอาญา จำเลยได้รับการประกันตัวระหว่างฎีกา
ยกเว้นนายสนธิซึ่งถูกคุมขังในคดีทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.
2535
ศาลฎีกา ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 62
ยืนตามศาลอุทธรณ์ ลงโทษจำคุกจำเลยทั้ง 6 เป็นเวลา 8 เดือน ไม่รอลงอาญา
และเมื่อวันที่
4 พ.ค. 62 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล ,นายสุริยะใส
กตะศิลา, นายพิภพ ธงไชย, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามเกณฑ์
ที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 รวมเวลาที่ถูกจำคุกคือ 2
เดือน 21 วัน
ขณะที่นายสนธิ
ยังมีคดีที่ถูกศาลฎีกาสั่งจำคุก 20 ปี กรณีทำเอกสารรายงานการประชุมเท็จ
ค้ำประกันกู้เงินธนาคารกรุงไทยกว่า 1,000 ล้านบาท.
ภาพจากข่าวช่อง 8 |
3)
คดีหมายเลขดำ อ.4924/2555 พนักงานอัยการคดีอาญา 10 ยื่นฟ้อง นายสนธิ
ลิ้มทองกุล และแกนนำกับแนวร่วมพันธมิตรรวม 21 คน ข้อหาร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตาม ม.116 , 215 , 216 , 309 ,
310 กรณีปี 2551
นำผู้ชุมนุมปิดล้อมอาคารรัฐสภา ไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงนโยบาย
ศาลชั้นต้น
ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 62 ยกฟ้องจำเลยทั้ง 21 คน โดยข้อความตอนหนึ่งระบุว่า
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่นำสืบของคู่ความทั้งสองเเล้ว
เห็นว่าการที่เเกนนำปราศรัยให้ประชาชนมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ที่ถูกมองว่าเป็นตัวเเทนของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น)
เป็นการปราศรัยให้ความรู้ต่อประชาชนในการตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาล
เเละกรณีที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค
รวมถึงคดีที่ทำให้กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
อีกทั้งการชุมนุมของจำเลยทั้ง
21 เป็นการชุมนุมเเสดงสัญลักษณ์
มีการปราศรัยที่สมเหตุผล ห้ามปรามไม่ให้ก่อความรุนเเรง ถือเป็นการชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญฉบับปี
2550 มาตรา 63 ได้รองรับไว้ เเละเเม้จะมีการกีดขวางกระทบการจราจรไปบ้าง
เเต่ก็เป็นปกติของการชุมนุมเเสดงออกตามสิทธิ การชุมนุมตั้งเเต่วันที่ 5-7 ต.ค. ไม่ปรากฏว่ามีความรุนเเรงหรือมีผู้ใดฝ่าฝืนทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
ภาพจากสปริงนิวส์ |
ส่วนกรณีความวุ่นวายในการชุมนุมช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค. 2551 ศาลระบุว่า เริ่มจากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังยิงเเก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมเปิดทางให้นายสมชาย
เข้าไปเเถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยพลันด่วน ทำให้ผู้ชุมนุมซึ่งไม่ทันตั้งตัวเเละได้รับบาดเจ็บความเสียหายไม่สามารถระงับอารมณ์
ขว้างปาขวดน้ำสิ่งของโต้ตอบ กรณีเป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากการถูกละเมิดสิทธิ ไม่ใช่ว่าการชุมนุมที่ผ่านมาของกลุ่มจำเลยก่อนหน้านั้นจะไม่สงบ
นอกจากนี้ศาลยังระบุว่า
อีกทั้งเหตุการณ์อื่นตามฟ้องของอัยการก็ไม่ปรากฏว่า มีเเกนนำไปอยู่บริเวณที่เกิดเหตุที่จะเกี่ยวข้อง
เเละเป็นผลต่อเนื่องจากการที่ผู้ชุมนุมถูกสลายการชุมนุมเมื่อช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค.
การกระทำของจำเลยทั้ง 21 จึงเป็นการชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ
พิพากษายกฟ้อง
กลุ่มการขับเคลื่อนมวลชนแนวที่สอง
คือกลุ่มต่อต้านรัฐประหารและสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแบบสากล
ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ซึ่งเริ่มก่อตัวหลังการทำรัฐประหาร 2549
จากกลุ่มแนวร่วมที่ชุมนุมอิสระที่ท้องสนามหลวง
พัฒนาเป็น นปก. และ นปช. ตามลำดับ ในชื่อเต็ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ
(แห่งชาติเติมมาภายหลัง) ภายใต้สัญลักษณ์เสื้อแดง
เกิดจากการรณรงค์ไม่รับรัฐธรรมนูญ (2550) พึงสังเกตว่ากลุ่ม นปก. หรือ นปช.
ในเวลาต่อมา เป็นกลุ่มที่เกิดภายหลังการทำรัฐประหาร 2549
นั่นหมายความว่ารัฐบาลไทยรักไทยไม่ดำรงอยู่แล้ว
จึงมีกลุ่มอิสระต่อต้านรัฐประหารต่าง ๆ กลุ่มปัญญาชนและอดีตแกนนำยุค 2516, 2519, 2535
ร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยและดร.ทักษิณ
โดยมีแนวทางอุดมการณ์แตกต่างกับกลุ่มการนำมวลชนพันธมิตรฯ โดยสิ้นเชิง
ดังนั้นชนชั้นนำและพรรคการเมืองใหญ่ก็แตกเป็นสองขั้ว
ประชาชนก็แตกเป็นสองขั้ว เมื่อขั้วประชาธิปไตยครองใจมวลชน
ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งตลอดมา
ขั้วที่ต้องการประชาธิปไตยแบบไทยจารีตนิยมก็ต้องออกมาขัดขวาง ต่อต้าน
ร่วมกับกลไกรัฐ จารีตนิยมอื่น ๆ ผลพวงคือแกนนำมวลชนเหล่านี้ถูกปราบปรามหนักหน่วง
โดยเฉพาะในปี 2553
แต่การขับเคลื่อนของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยเหล่านี้ที่ก่อตัวมาตั้งแต่มีการทำรัฐประหาร
19 กันยายน 2549 ก็ถูกดำเนินคดีความแรกคือ เหตุการณ์หน้าบ้านสี่เสา ในวันที่ 22
กรกฎาคม 2550 ก่อนหน้านี้การประท้วงย่อย ๆ
ทั้งบริเวณสนามหลวง และมีการขับเคลื่อนโดยขบวนสันติวิธี ยังไม่ปรากฏการปราบปรามใด
ๆ
แต่ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2550
กลุ่มต่อต้านรัฐประหาร (ยังไม่มีสัญลักษณ์เสื้อแดง) มีนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์,
นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (จากกลุ่ม PTV),
นพ.เหวง โตจิราการ (จากกลุ่มสมาพันธ์ประชาธิปไตย), นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท
(จากกลุ่มคนวันเสารืไม่เอาเผด็จการ), นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล
(กลุ่มพิราบขาว) เป็นต้น ได้เคลื่อนมวลชนจำนวนประมาณ 3,000
คนไปหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ตั้งแต่เวลาเย็นจนถึงใกล้เที่ยงคืนก็กลับไป
โดยระหว่างที่อยู่หน้าบ้านสี่เสามีการปราบปรามโดยตำรวจปราบจลาจล
มีการใช้แก๊สพริกไทย แต่ในที่สุดผู้ชุมนุมก็ย้ายกลับไปชุมนุมต่อที่สนามหลวง
โดยไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส
มีรายงานข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนบาดเจ็บเล็กน้อย 40 คน
จากการขว้างปาอิฐตัวหนอนและขวดน้ำของประชาชน และจากการใช้แก๊สน้ำตา, แก๊สพริกไทย
เมื่อปะทะกัน แล้วจบลงที่ผู้ชุมนุมเดินขบวนกลับไปสนามหลวง
ภาพจากแนวหน้า |
คดีความ นปช. ที่เข้าสู่ศาลฎีกา
คดีแรกคือ
คดีหมายเลขดำ อ.3531/2552
อัยการคดีอาญา 10 ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นพ.เหวง
โตจิราการ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท, นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล, นายวีระศักดิ์
เหมะธุลิน และนายวันชัย นาพุทธา
อ้างก่อความวุ่นวาย ต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่
ตามมาตรา 138, 215, 216, 297, 298 กรณี ปี 2550 พาผู้ชุมนุมบุกล้อมบ้านสี่เสา
ศาลชั้นต้น
ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 58 ให้จำคุก นายวีระกานต์, นายณัฐวุฒิ,
นายวิภูแถลง และนพ.เหวง คนละ 4 ปี 4 เดือน ให้จำคุกนายนพรุจ เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน
และยกฟ้องนายวีระศักดิ์และนายวันชัย
ศาลอุทธรณ์
เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 60 พิจารณาว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยทั้ง 4
ฐานร่วมกันชุมนุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปตามมาตรา 215 รวม 2 กระทงนั้น
ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย เนื่องจากการกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวเพื่อให้เกิดความวุ่นวาย
จึงเป็นการกระทำผิดเพียงกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลย
- ฐานเป็นผู้สนับสนุน
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามมาตรา 138 ให้
จำคุกคนละ 1 ปี
-
ฐานเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการ มั่วสุดตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
ตามมาตรา 215 วรรค 3 ซึ่งเป็นบทหนักสุดอีกคนละ 3 ปี
ตามมาตรา 215 วรรค 3 ซึ่งเป็นบทหนักสุดอีกคนละ 3 ปี
แต่คำให้การเป็นประโยชน์ลดโทษ 1 ใน 3
คงจำคุก นายวีระกานต์, นายณัฐวุฒิ, นายวิภูแถลง และนพ.เหวง คนละ 2 ปี 8 เดือน
ทนายความยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ
500,000 บาท ขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างฎีกาสู้คดี
หลังชัยชนะของพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 23 ธ.ค. 50 ได้ส.ส. 233 ที่นั่งจาก 480 ที่นั่ง ได้เป็นแกนนำรัฐบาล โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี แกนนำพันธมิตรได้รื้อฟื้นกลุ่มพันะมิตรฯ ขึ้นมาใหม่เมื่อ 25 ก.พ. 51 หลังยุติบทบาทเมื่อมีการรัฐประหาร 19 ก.ย. 49 และเริ่มจัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 25 พ.ค. 51 โดยเริ่มรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล แล้วกลับมาชุมนุมที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ จึงยกระดับเป้าหมายเป็นขับไล่รัฐบาลและโค่นล้มระบอบทักษิณ
จากนั้นก็มียุทธการเกิดขึ้นมากมายในระหว่างการชุมนุม 193 วัน “สงครามเก้าทัพ”, ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า (ยึดทำเนียบ), ยึดกรมประชาสัมพันธ์, ยุทธการดาวกระจายบุกยึดสถานที่ราชการต่าง ๆ จนมาถึงปฏิบัติการสำคัญ “ปิดล้อมรัฐสภา” 7 ต.ค. เพื่อขัดขวางการแถลงนโยบายของรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บหลายร้อย
หลังชัยชนะของพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 23 ธ.ค. 50 ได้ส.ส. 233 ที่นั่งจาก 480 ที่นั่ง ได้เป็นแกนนำรัฐบาล โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี แกนนำพันธมิตรได้รื้อฟื้นกลุ่มพันะมิตรฯ ขึ้นมาใหม่เมื่อ 25 ก.พ. 51 หลังยุติบทบาทเมื่อมีการรัฐประหาร 19 ก.ย. 49 และเริ่มจัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 25 พ.ค. 51 โดยเริ่มรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล แล้วกลับมาชุมนุมที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ จึงยกระดับเป้าหมายเป็นขับไล่รัฐบาลและโค่นล้มระบอบทักษิณ
จากนั้นก็มียุทธการเกิดขึ้นมากมายในระหว่างการชุมนุม 193 วัน “สงครามเก้าทัพ”, ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า (ยึดทำเนียบ), ยึดกรมประชาสัมพันธ์, ยุทธการดาวกระจายบุกยึดสถานที่ราชการต่าง ๆ จนมาถึงปฏิบัติการสำคัญ “ปิดล้อมรัฐสภา” 7 ต.ค. เพื่อขัดขวางการแถลงนโยบายของรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บหลายร้อย
ในวันที่ 23 พ.ย. 51 ประกาศปฏิบัติการเรียก
“ม้วนเดียวจบ”
ในวันที่ 24 พ.ย. 51
พันธมิตรเคลื่อนขบวนไปปิดสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ และยุติการเคลื่อนไหว 3
ธ.ค. 51 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย,
พรรคมัชฌิมาธิปไตย นับเวลาเคลื่อนไหว 193 วัน
ความแตกต่างของการขับเคลื่อนมวลชนของ 2 กลุ่ม
1. ถ้าเราพิจารณาตามลำดับเหตุการณ์
กลุ่มพันธมิตรต้องการจัดการรัฐบาลที่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง
โดยเน้นสถานที่ทำการสำคัญ อันแรกคือทำเนียบ กระทรวง ทบวง กรม สถานีโทรทัศน์
กรมประชาสัมพันธ์ และการล้อมปิดรัฐสภา
และเมื่อพบว่าตำรวจเป็นกลไกรัฐในการปราบปรามก็มีการล้อมและต้องการยึด บช.น. เป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิต
ซึ่งสุดท้ายมาจากระเบิดที่เป็นของผู้ชุมนุม ไม่ใช่เกิดจากแก๊สน้ำตาของตำรวจ
และเมื่อทั้งหมดนี้ยังไม่ได้ผล
จึงนำมาสู่การทำยุทธการที่รุนแรงคือยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิและดอนเมือง
ทำให้ใช้การไม่ได้ จนมีผลยุติการชุมนุมเมื่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล
กลุ่มพันธมิตรปิดสนามบิน (ภาพจาก Matemnews) |
ดังนั้นปฏิบัติการต่าง ๆ จึงมีเป้าหมายสถานที่สำคัญของอำนาจรัฐและพื้นที่นานาชาติที่รุนแรงมาก มิใช่การชุมนุมบนที่สาธารณะแบบการชุมนุมทั่วไป
แตกต่างจากกลุ่มมวลชนแนวทางเรียกร้องประชาธิปไตยที่ล้วนอยู่บนท้องถนน
ไม่มีการยึดสถานที่ทำการรัฐบาลเพื่อประสงค์ยึดอำนาจรัฐแต่อย่างใด
ในคดีแรกของกลุ่ม นปก. หน้าบ้านสี่เสา
ก็ไม่มีการเข้าไปยึดบ้าน แม้แต่การเข้าไปในบ้านก็ไม่เกิดขึ้น ไม่มีการทำร้ายคนในบ้าน
มีแต่การปะทะตอบโต้กับเจ้าหน้าที่เล็กน้อย ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สพริกไทย
แก๊สน้ำตาเต็มที่ ส่วนพันธมิตรฯมีออกแถลงการณ์ต่าง
ๆ ในการเปลี่ยนกติกาการเมืองใหม่
และมุ่งเปลี่ยนแปลงการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไปตามแนวทางของจารีตนิยมที่เน้นที่มาของตัวแทนจากสาขาอาชีพและการแต่งตั้งเป็นหลัก
(70:30)
2. ในการขับเคลื่อนมีหลักฐานในการใช้อาวุธและระเบิดชัดเจน
ดังในกรณี 7 ต.ค. 51 การเสียชีวิตของ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี หรือสารวัตรจ๊าบ
อดีตนายตำรวจที่ไปเป็นหัวหน้าการ์ดพันธมิตร
เสียชีวิตด้วยระเบิดร้ายแรงอานุภาพสูงคารถยนต์จิ๊ปเชอโรกีบนถนนสุโขทัยใกล้กับบริเวณปิดล้อมรัฐสภา
ผลการตรวจค้นภายในรถจิ๊ปพบระเบิด TNT ระเบิดซีโฟร์ น้ำมันโซลาร์ผสมแอมโมเนียไนเตรท ซึ่งล้วนเป็นระเบิดอานุภาพทำลายล้าง
สาเหตุการตายเกิดจากแรงระเบิดนำมาสู่การแจ้งข้อหา พ.ต.ท.เมธี
ว่ามีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองและกระทำการให้เกิดระเบิดอันน่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น
เมื่อตรวจสอบคำพิพากษาฉบับเต็มของศาลฎีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษายกฟ้องคดีที่
ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และคณะ
คดีสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อปี 2551 มารายงานจากตำรวจ
พบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมพกพาอาวุธและนำโซ่มาล่ามคล้องประตูรัฐสภา
นำผ้ามาปิดกล้องวงจรปิด (CCTV) (พ.ต.ท.กำธร อุยเจริญ รอง ผกก.
กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์ระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ ให้ถ้อยคำในกรณีพันธมิตรฯ
ยึดทำเนียบ พบว่าเมื่อเข้าไปตรวจสอบภายในทำเนียบรัฐบาลพบว่ามีระเบิด ดินดำ
หรือระเบิดปิงปองเป็นจำนวนมาก)
สภาพรถจี๊ปเชอโรกีของพ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี หรือ สารวัตรจ๊าบ |
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ระบุการตายของสารวัตรเมธี ชนิดของสารระเบิดภายในรถยนต์และวัตถุพยานเป็นสารระเบิดแรงสูง
TNT และชนิด RDX น่าเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.เมธี
เสียชีวิตจากระเบิดแสวงเครื่อง ซึ่งทำงานโดยอาศัยกระแสไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือเป็นตัวจุดระเบิด
และเกิดระเบิดภายในรถยนต์ดังกล่าว
นี่จึงสงสัยได้ว่า
ได้ขนระเบิดไปเพื่อกระทำการอันตรายต่อชีวิตทรัพย์สินผู้อื่น แล้วเกิดอุบัติเหตุ
ตนเองเสียชีวิตก่อน
การเสียชีวิตของน.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ (ภาพ Nick Nostitz) |
กรณีการเสียชีวิตของน.ส.อังคณา
ระดับปัญญาวุฒิ หรือ น้องโบว์ พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่พบในภายหลังพบว่า
บาดแผลน่าจะเกิดจากสารระเบิดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 200 กรัม
ในขณะที่แก๊สน้ำตาที่ใช้ (จากจีน) มีสารระเบิด RDX น้ำหนักเพียง 7 กรัม
เมื่อตรวจเสื้อผ้าพบสารเคมีวัตถุระเบิดซีโฟร์และ RDX
จากบาดแผลและการตรวจพบสารระเบิดแสดงว่า
กลุ่มผู้ชุมนุมมีสารระเบิดร้ายแรงติดตัวมา แม้แต่การบาดเจ็บของนายบัญชา บุญแก้ว
ผู้ร่วมชุมนุม ในกรณี 7 ต.ค. 51 ที่ขาขาดไปส่วนหนึ่ง
ก็เกิดจากระเบิดแสวงเครื่องที่ทำขึ้นเอง ไม่ใช่เกิดจากตำรวจ
หรือการบาดเจ็บของนายชิงชัยและอื่น ๆ เช่นกัน
3. ระยะเวลาในการทำความเสียหายและระดับความเสียหายต่อชาติที่ควรกล่าวถึงคือ
การยึดทำเนียบยาวนานร่วม 6 เดือน
และความเสียหายจากการตรวจสอบทำเนียบรัฐบาลพร้อมกับนายลอยเลื่อน บุนนาค
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และข้าราชการ พบว่าตึกบัญชาการ 1
ซึ่งเป็นที่ทำงานของรองนายกรัฐมนตรีมีสภาพพังยับเยิน คอมพิวเตอร์ทุกห้องถูกรื้ออุปกรณ์ภายในออกไป
เฟอร์นิเจอร์ถูกทำลาย เอกสารราชการถูกนำมาใส่ถุงดำ ของส่วนตัวข้าราชการสูญหาย
ห้องทำงานรองนายกรัฐมนตรี คอมพิวเตอร์กว่า 10 เครื่อง และโน๊ตบุ๊ค 3 เครื่องสูญหาย
ส่วนห้องอื่น ๆ และทรัพย์สินราชการเสียหายไม่ต่ำกว่า 75 ล้านบาท ยังไม่นับรวมของส่วนตัวของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทำเนียบ
การขโมยฮาร์ตดิสก์ภายในเซิฟเวอร์ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งมีข้อมูลภายในของสภาความมั่นคงแห่งชาติ บรรจุอยู่ตั้งแต่ปี 2544
ครุภัณฑ์ประเภทอาวุธปืนและอุปกรณ์สูญหายไปกว่า 13 รายการ เช่น ปืนเอ็ม 16 ปืนกลมือ
และเครื่องกระสุนจำนวนมาก ความเสียหายด้านนอกทั้งสนามหญ้า สวนหย่อม ถูกทำลายหมด
รวมทั้งกล้องวงจรปิดและรถถ่ายทอดสดของ NBT 2 คัน
ที่ถูกทำลายจนใช้การไม่ได้
มาบัดนี้ เวลาที่ผ่านมาร่วมสิบปี
การกระทำตามความเชื่อของกลุ่มมวลชน 2 แนวทาง เราพอสรุปได้สั้น ๆ ว่า
ความพยายามของกลุ่มพันธมิตรฯ
ในการขับเคลื่อน 2 ครั้ง ทั้งก่อนและหลังรัฐประหาร 2549
แม้ไม่ได้ผลโดยตรงในการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
แต่เกิดผลอันเกิดจากการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
และการทำรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คดีความที่เกิดขึ้นโทษสูงสุดคือจำคุก
8 เดือน ในกรณียึดทำเนียบ 6 เดือน
นอกจากนั้นยกฟ้องในกรณีดาวกระจายไปยึดสถานที่ราชการต่าง
ๆ และกรณีล้อมรัฐสภาและ บช.น.
ส่วนแกนนำมวลชนแนวทางเรียกร้องประชาธิปไตยโดย
นปก. (นปช.) ไปเรียกร้องหน้าบ้านสี่เสา ให้พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ลาออก
ไม่กี่ชั่วโมงแล้วกลับนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำคุก
2 ปี 8 เดือน