ยูดีดีนิวส์ : 17
มิ.ย. 62 ในการทำเฟสบุ๊คไลฟ์ของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ วันนี้ เป็นการสนทนาในประเด็น “สถานะ
ส.ส.-ส.ว. ในรัฐสภา’62”
เนื่องจากขณะนี้ก็เป็นเรื่องราวของการตั้งรัฐบาลที่มีการต่อรอง
นั่นหมายความว่าข้ามเรื่องรัฐสภาไปยังปัญหาผู้บริหาร
สิ่งที่กกต.ทำนั้น
เมื่อคุณเอาคะแนนพวกที่ได้ 3-4 หมื่นคะแนน เห็นชัด ๆ เลยว่ามันผิด
เพราะคะแนนเฉลี่ยมาตรฐานคือ 71,123.112
ปัญหาของกกต.ก็คือ
เอาคะแนนดิบของเพื่อไทยคือ 7,881,006 คะแนน ที่ส.ส.พึงมี 110.8079
กลายเป็นว่าบัญชีรายชื่อเท่ากับ 0 ซึ่งความจริงคือต้องเอาส.ส.พึงมี 11.08079 ลบด้วยจำนวน
ส.ส.เขต 136 ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อคือ -25.1921 นี่คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างผิด!!!
ขณะเดียวกันรัฐบาลนั้นมีที่มาจากส.ส.และส.ว.
ถึงจะเป็นเสียงปริ่มน้ำและมีส.ว.หนุนอยู่อีก 250 ดูเหมือนมันมั่นคง
แต่ถ้าเราดูให้ดี เสถียรภาพของรัฐบาลที่กำลังแย่งกันนั้นต้องขึ้นกับเสถียรภาพของรัฐสภาด้วย ในขณะนี้มันก็มีปัญหาความไม่ชอบมาพากลในปัญหาที่มาของส.ว.
ในเรื่องการขัดกันของผลประโยชน์ระหว่างส.ว.สรรหา ซึ่งตัวคณะกรรมการสรรหาก็มาเป็นส.ว.เอง
ดังนั้นในปัญหาส.ว.มันดูเหมือนง่าย กระทั่งบางคนกล้าที่จะบอกว่า “ไม่เกี่ยวกับประชาชน
ไม่ใช่เรื่องของพวกคุณ เป็นเรื่องที่คสช.สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ”
ดิฉันจึงตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาส.ส.และส.ว.ขณะนี้เราก็มาตั้งเป็นประเด็นว่า
“สถานะ ส.ส.-ส.ว. ในรัฐสภา’62” ซึ่งถ้าพูดประเด็นให้เต็มคือ
สถานะ ส.ส.-ส.ว. ในรัฐสภา’62 นั้น ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญปี 60 หรือไม่?
ถ้ามันขัดหรือแย้ง
ก็หมายความว่าเสถียรภาพของรัฐสภานั้นง่อนแง่นมาก อาจจะเป็นไปตามกฎหมาย อาจจะเป็นไปตามที่คสช.ประสงค์
แต่ถ้ามันไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ดิฉันก็คิดว่านี่เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าอำนาจของรัฐบาลนี้ (คสช.) จะทำให้ ส.ส.-ส.ว.
พ้นจากการถูกจัดการด้วยศาลรัฐธรรมนูญหรือเปล่า?
อาจจะมีวิธีการจัดการอย่างใดก็ไม่รู้
แต่นอกจากปัญหาศาลรัฐธรรมนูญจะตีว่าขัดหรือแย้ง หรือไม่แล้ว
ปัญหาที่สำคัญคือสายตาประชาชนและสังคมโลกจะมองรัฐสภาไทยนี้อย่างไร
ในเรื่องของส.ส.
วันก่อนนี้ทางมหิดลก็ออกมาพูด, iLaw ก็ออกมาพูด ดิฉันในนามของคณะที่ตรวจสอบการเลือกตั้ง
ดิฉันก็ยังถือว่าเป็นหน้าที่ในการตรวจสอบการเลือกตั้งและผลเลือกตั้ง
ว่ามันถูกต้องบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือเปล่า? ดังนั้นมันจึงเป็นภาระที่เราเห็นว่ามันผิดตำตา
แล้วเราจะไม่พูด ปล่อยให้ผ่านเลยไปไม่ได้
มันจะได้รู้ว่าในยุคนี้คุณสามารถทำสิ่งที่ผิดพลาดแล้วให้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งได้
ดิฉันอยากให้มาทบทวนว่า
ส.ส. อย่าลืมว่า ส.ส. เสียงปริ่มน้ำ
ทำให้ฝ่ายที่ได้เสียงมากกว่าอ้างความชอบธรรมจัดตั้งรัฐบาล ในกรณีนี้ฝั่งประชาธิปไตยกับฝั่งที่ให้สืบทอดอำนาจตัวเลขต่างกันไม่มาก
แต่ถ้าคำนวณใหม่ ผลลัพธ์มันจะกลับข้างกันเลย ก็คือฝั่งประชาธิปไตยจะได้ 250 กว่า
และฝั่งที่สืบทอดอำนาจก็จะได้ 240 กว่า
ดังนั้นความชอบธรรมในการเป็นรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็น iLaw หรือมหิดล
หรือเป็นนักคณิตศาสตร์ออกมาพูด ก็ดูเหมือนไม่ยี่หระเลย แต่ดิฉันก็อยากจะพูด
เสียงอาจจะไม่ดัง แต่สิ่งที่ดิฉันจะพูดมันเป็นเรื่องที่ควรจะเข้าไปในมโนสำนึก
จะเป็นองค์กรอิสระ, กกต., รัฐบาล หรือผู้ที่อ้างว่าชนะการเลือกตั้ง
คุณจะได้รู้ว่าจริง ๆ มันเป็นอย่างไร?
ในปัญหาความผิดพลาดประเด็นสำคัญมีอยู่
3 ประเด็น
1)
ไม่เข้าใจคณิตศาสตร์
2)
ไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 91
3)
ไม่ทำตามพ.ร.ป. มาตรา 128 (4) ที่ให้เริ่มที่จำนวนเต็ม
คนทั่วไปกางรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว
ทั้งหมดทุกคนก็คำนวณไม่เหมือนกับที่กกต.คำนวณ ตอนนี้เอาตัวเลขในเอกสารของกกต.มาดูว่ากกต.ผิดตรงไหน?
ทำไมคำนวณออกมาไม่เหมือนกับชาวบ้าน ทำไมถึงขัดรัฐธรรมนูญ
แล้วทำไมกล้าไปบอกศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่าให้วินิจฉัยมาว่าพ.ร.ป.
ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือเปล่า เพราะเขาคำนวณตามพ.ร.ป.แล้วไม่ได้ตามนั้น
จึงทำให้ผลไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มีความเชื่อมั่นมากว่าวิธีคำนวณวิธีเดียวก็คือวิธีที่กกต.ใช้
หัวใจสำคัญอันแรกเลย
คือต้องคำนวณส.ส.พึงมีก่อน ผลการเลือกตั้งสุดท้ายที่ทำให้ได้บัญชีรายชื่อ 150
ก็คือหลังการเลือกตั้งที่ เขต 8 เชียงใหม่ คะแนนโหวตทั้งหมดรวมกันแล้ว 35,561,556 หารด้วยจำนวนส.ส.ทั้งรัฐสภา
500 ออกมาเป็น 71,123.112 ซึ่งคือคะแนนเฉลี่ยมาตรฐาน เพื่อให้รู้ว่าในส.ส. 500 คน แต่ละคนจะต้องได้คะแนนโหวด
71,123.112 เป็นต้นไป
จากการประกาศผลการเลือกตั้งส.ส.และแสดงการคำนวณของกกต.
หน้า 4 พบว่า พรรคเพื่อไทยได้คะแนนดิบ 7,881,006 คะแนน หารด้วยคะแนนเฉลี่ยมาตรฐานคือ
71,123.112 จะได้ส.ส.พึงมี 110 คน แต่พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.เขต 136 คน
ปัญหามันอยู่ตรงนี้
คือถ้าเอาคะแนนเฉลี่ยมาตรฐาน 71,123.112 คูณด้วย 136
แปลว่าคะแนนดิบของพรรคเพื่อไทย ถ้าจะให้ส.ส.พึงมีเท่ากับ 0 จะต้องมีคะแนนดิบ
9,672,743 ถึงจะได้ตัวเลข 136
ต่อมากกต.เอาคะแนนส.ส.พึงมีทุกพรรคมาบวกแล้วได้
175.1921 แต่ถามว่าได้ 175.1921 เพราะอะไร? เพราะว่าเขาเอาบัญชีรายชื่อพึงมีพรรคเพื่อไทยเท่ากับ
0 ซึ่งบัญชีรายชื่อพึงมีของพรรคเพื่อไทยจริง ๆ คือ -25.1921
แต่เวลาจัดสรรเขาให้เป็น 0 เพราะฉะนั้นตัวเลขที่เขาเอามาคำนวณเอามาบวกทั้งหมด แทนที่จะเอา -25.1921
มาบวก ก็เอา 0 มาบวก
จริง ๆ
ถ้านำตัวเลขรวมทุกพรรคที่กกต.บวกได้ 175.1921 บวกด้วย -25.1921 จะได้ 150 พอดี นี่คือตัวเลขเดียวกัน
ตัวเลขทุกอย่างมันสัมพันธ์กัน คุณจะทำให้ส.ส.บัญชีรายชื่อพึงมีกับบัญชีที่จัดสรรไม่เท่ากัน
บัญชีที่จัดสรรรัฐธรรมนูญบอกว่าให้
0
แต่บัญชีรายชื่อพึงมีมัน
-25.1921
สองตัวนี้ไม่เหมือนกันนะคะ
แล้วคุณรู้ไหมว่าการบวกบัญชีรายชื่อส.ส.พึงมีที่คุณบวกกันแล้วได้
175.1921 เวลาเอามาบวกกันคุณต้องเอาตัวเลข -25.1921 มาบวก นี่คือความผิดเพราะจริง
ๆ แล้วตัวเลขรวมกันทั้งหมดมันต้องได้ 150 ลงตัวเป๊ะ ๆ
นี่คือความผิดในการคำนวณ!!!
ผิดอันที่ 2
คือผิดรัฐธรรมนูญในมาตรา 91 ซึ่งเขาบอกว่าคุณจะจัดอย่างไรให้เกินส.ส.พึงมีไม่ได้ ปรากฏว่าที่กกต.คำนวณมา
พรรคเล็กซึ่งส.ส.พึงมีไม่ได้เต็มคน กกต.อ้างว่าต้องเอามาบวก
ถ้าไม่เอามาบวกมันได้ไม่ถึง จึงเป็นเรื่องที่ว่าคำนวณก็ผิด เข้าใจรัฐธรรมนูญก็ผิด
แล้วไม่เรียงลำดับความสำคัญ
ผิดรัฐธรรมนูญนี่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก!!!
นอกจากคุณผิดรัฐธรรมนูญ
ในพ.ร.ป. มาตรา 128 ซึ่งก็อบปี้รัฐธรรมนูญเลย แล้วในมาตรา 128 (4)
บัญญัติให้จัดสรรจำนวนเต็ม แต่นี่คุณเอาเศษมาคิด อ.ธิดากล่าวต่อว่า
ไม่มีใครในประเทศไทยและในโลกที่เขาเอาเศษมาคำนวณ
เพราะต่อให้คุณไม่เข้าใจคณิตศาสตร์ แต่คุณต้องกลัวว่าคุณผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (4)
ดังนั้นกกต.กล้ามากที่เอาพรรคการเมืองที่ได้ส.ส.เป็นจุดทศนิยม
(แปลว่าไม่ถึงหนึ่งคน) แล้วเอามาคิด แล้วปัดให้
ความผิดตรงนี้เป็นความผิดที่ใหญ่หลวงมาก
เพราะฉะนั้นในสถานการณ์นี้ดิฉันมองว่ากกต.ใจกล้ามากนะคะ
1) คุณกล้าขัดรัฐธรรมนูญ 2) คุณกล้าคำนวณขัดโดยอ้างว่าทำตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
มีคำนวณวิธีเดียว ต้องทำอย่างนี้
แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือเป็นการคำนวณที่ผิดหลักการคณิตศาสตร์พื้นฐาน
เพราะคุณไม่มีตัวเลขติดลบ ระหว่างตัวเลขติดลบกับศูนย์นั้นที่มาต่างกัน ถ้าคุณจะใส่
0 แปลว่าคะแนนดิบเพื่อได้จะต้องได้ 9,672,743 แต่นี่เพื่อไทยได้ 7,881,006
แปลว่าเขาได้ -25.1921 แปลว่าเมื่อตัวเลขความเป็นจริงคือ 7,881,006
คุณจะมาบิดเบือนตัวเลข 7,881,006 ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็น 0 ไม่ได้ เพราะตัวเลขพึงมีจริง
ๆ ของเพื่อไทยคือ -25.1921 นี่จึงเป็นการผิดทั้งรัฐธรรมนูญ ผิดทั้งกฎหมาประกอบรัฐธรรมนูญ
ผิดคณิตศาสตร์ และในทัศนะของดิฉันผิดทั้งมาตรา 157 หรือจริยธรรมด้วย
เพราะว่ามีคนทักท้วงมาก แล้วท่านยังไม่แก้ไข และนี่คือสถานการณ์ ส.ส. ประเทศไทย
ที่มาของส.ส.,
ที่มาของส.ว.
และปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างนี้ในเรื่องของความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสถานะของส.ส.-ส.ว.ในรัฐสภาไทย
ในทัศนะดิฉัน ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ จะโมฆะหรือเปล่า? แล้วถ้า ส.ส.-ส.ว. โมฆะ
แล้วนายกฯ โมฆะไหม? หรือถ้านายกฯ ไม่โมฆะ ส.ส.-ส.ว. ไม่โมฆะ แล้วประเทศไทย
โมฆะหรือเปล่า? อ.ธิดาตั้งคำถามทิ้งท้าย