ยูดีดีนิวส์ : 18 เม.ย. 62 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำ Facebook Live พูดถึงอนาคตการเมืองไทยโดยวันนี้จะกล่าวถึง ภาครัฐสภา
หลังการเลือกตั้ง อนาคตการเมืองไทยภาครัฐสภาจะเป็นอย่างไร?
แน่นอนปัญหาแรกที่เราจะต้องเผชิญก็คือ คุณจะตั้งรัฐบาลอย่างไร? คุณจะนับคะแนนปาตี้ลิสต์อย่างไร? ป่านนี้ก็ยังไม่ลงตัว
ความจริงดิฉันก็มีเรื่องราวของการนับคะแนนปาตี้ลิสต์ที่เคยพูดมาเป็นปี ๆ แล้วนะคะ ต้นตอที่มาจากเยอรมันนั้นมันเกิดปัญหาอย่างไร ปัจจุบันนี้ก็มาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าเรื่อง Overhang และเรื่องการแก้ปัญหา ซึ่งของเยอรมันเขากำหนดคนที่จะมีที่นั่งในรัฐสภาแบบปาตี้ลิสต์จะต้องได้คะแนนเสียง 5% ขึ้นไป หรือมีที่นั่งในส.ส.จำนวนเท่าไหร่ เขาจะมีลิมิต
แต่ของเรา ปัญหารัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรธน.นั้น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ได้รัฐบาลตามประสงค์ ดังนั้นจึงมีวิวาทะและเรื่องที่ไม่คาดคิดในการเขียนรธน.เกิดขึ้น ผลจึงไม่ได้ 100% ตามที่การเขียนรธน.ประสงค์
ดังนั้นดิฉันจะลองพูดอนาคตการเมืองไทยในภาครัฐสภาว่า
ประการแรก ผลยังไม่นิ่ง ซึ่งจะส่งต่อการจัดตั้งรัฐบาลได้เร็วหรือช้า หรืออาจจะต้องทำให้เกิดปัญหาถ้ามีการจัดตั้งรัฐบาลไม่เรียบร้อย แต่ถ้าเรามองในภาพใหญ่เป็น Scenario ที่มองภาพใหญ่ว่า ภาครัฐสภานั้นจะเกิดรัฐบาลแบบไหน เราอาจจะมองข้ามเรื่องปัญหาจำนวนส.ส.ปาตี้ลิสต์ มองข้ามเรื่องการแจกใบส้มก่อนที่จะไปยังใบแดงและใบดำของกกต. จะประกาศได้ไหม มีความเชื่อมั่นไหม เราจะข้ามเรื่องพวกนี้ไปก่อนนะคะ
เราจะนำไปสู่เลยว่าเมื่อมีการประกาศผล จะมีรัฐบาลแบบไหน ซึ่งดิฉันมองอยู่ก็จะได้ประมาณ 4 แบบ
แบบแรกที่น่าจะมีความเป็นไปได้สูงก็คือ เกิดรัฐบาลลุงตู่ใหม่ ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ถือว่าได้มาจาก
- ผลพวงของรธน.
- ผลพวงของกฎหมายประกอบรธน.
- ผลพวงของเจตจำนงค์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและอำนาจนิยม
ก็คือ ได้ลุงตู่เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอาจจะอ้างว่าป๊อปปูล่าโหวตสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงของวิถีทางการเมืองในระบอบรัฐสภา พรรคที่จะจัดตั้งรัฐบาลจะต้องเป็นพรรคที่มีส.ส.มากที่สุด ซึ่งควรจะต้องเป็นพรรคเพื่อไทยที่ได้ 137 เสียง
การอ้างป๊อปปูล่าโหวตในสถานการณ์นี้ไม่ชอบด้วยเหตุผล เพราะพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ลงเลือกตั้ง 250 เขต ไม่ได้ลงทั้ง 350 เขต ก็เพราะว่ามันมีการเมืองที่ผิดปกติ ดังนั้นคะแนนป็อปปูล่าโหวตที่มีการส่ง 350 เขตแล้วบอกชนะนั้น มันไม่น่าจะใช่ในทัศนะของดิฉันนะ เพราะว่าในระบอบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต้องเอาที่นั่งส.ส.เป็นด้านหลัก ดังนั้น 137 เสียงเป็นที่ 1
แต่...ดิฉันจะมองว่า อันนี้ถ้าเป็นฉากที่ 2 ไม่ใช่ฉากแรก ฉากแรกก็คือภาพแรก ลุงตู่เป็นนายกฯ อ้างป็อปปูล่าโหวต ซึ่งไม่ชอบธรรมดังที่เรากล่าวแล้ว แล้วก็พยายามรวมเสียงให้ได้
คำถามก็คือมีคนบอกว่ามันเป็นรัฐบาลปริ่มน้ำ คุณบวกอย่างไร ต่อให้เอา ปชป., เศรษฐกิจใหม่ ไปทั้งหมด คุณก็ได้ประมาณ 261 แต่ตอนนี้ลุงมิ่งบอกไม่ไป และอันนี้สมมติแล้วนะคะว่าภูมิใจไทยแม้จะหาเสียงว่าอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย แต่พรรคภูมิใจไทยไปทั้งหมด ปชป.ไปทั้งหมดก็ได้ประมาณ 260 ถ้า ปชป. ไปไม่ทั้งหมดก็ยิ่งไม่ถึง ก็อาจจะได้ 240 กว่าด้วยซ้ำ
แต่สิ่งที่เพิ่มความเชื่อมั่นให้รัฐบาลลุงตุ่ใหม่ เราจะเห็นว่าคุณไพบูลย์ นิติตะวันได้ไปพูดหลายที่ ซึ่งพูดไว้ชัด 2 แบบ แบบแรกคือลุงตู่เก่า คือมีแต่พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ เท่านั้น เป็นนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง (จากพปชร.) หรือ เป็นนายกฯ ที่มีมาตรา 44 อยู่อย่างนี้
เราจะประมาทคำพูดของคุณไพบูลย์ นิติตะวันไม่ได้ อ.ธิดากล่าวต่อว่า คุณไพบูลย์เป็นตัวละครสำคัญในการล้มรัฐบาลเก่า ในการล้มพรรคทษช. เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้ ซึ่งอ.ธิดามองว่าคุณไพบูลย์คือตัวละครที่ถูกกำหนดให้เป็น "หัวแหลม" ในการพุ่งเป้า คุณไพบูลย์จึงเป็นคนที่รู้อะไรดี ๆ และมักจะรู้ก่อน เพราะว่าจะได้รับบทบาทในฐานะเป็นตัวแสดง เป็นหน่วยหัวแหลม
ดังนั้นคุณไพบูลย์บอกเลยว่า ที่บอกเสียงปริ่มน้ำไม่สำคัญเพราะสามารถใช้มาตรา 270 ตามรธน. ซึ่งในนั้นเน้นว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป คุณสามารถให้วุฒิสมาชิก (ส.ว.) มาโหวตด้วยได้ และแกก็บอกเองว่าอะไร ๆ มันก็เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปทั้งนั้น ทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องของงบประมาณ
เพราะโดยทั่วไปคนมีความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า ถ้าเสียงเท่ากันหรือคุณชนะกันไม่มาก ตอนโหวตงบประมาณหรืออะไรต่าง ๆ ที่ต้องใช้สภาเดียว คุณไม่มี 250 เสียงมาช่วย คุณจะไปไม่รอด แต่ว่าคุณไพบูลย์ชี้ช่องว่าทำได้ พ.ร.บ.อะไรก็ตามแม้กระทั่งงบประมาณมันเกี่ยวข้องกับการปฏิรูป ส.ว.ร่วมโหวตได้ทั้งหมด
นี่คืออภินิหารของรธน. ของกฎหมายประกอบรธน. แล้วก็บทเฉพาะกาล ทำให้สามารถเสกทุกเรื่องให้เป็นไปตามประสงค์ ดังนั้นโอกาสที่ Scenario ว่า ลุงตู่จะเป็นนายกฯ แม้ว่าเสียงจะรวมได้ไม่มากพอ แต่สามารถใช้ ส.ว. 250 เสียง ตั้งแต่โหวตนายกฯ และรวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ด้วย
นี่ก็คือบทบาทของฝ่ายอนุรักษ์นิยม + อำนาจนิยม + เนติบริกร นั่นก็คือกลไกรัฐ กลไกขององค์กรอิสระ รวมทั้งกลไกกฎหมายต่าง ๆ นั้นอยู่ในมือของฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยม ดังนั้นภาพโอกาสที่การเมืองไทยในวิถีทางรัฐสภา ภาพที่ปรากฎก็คือโอกาสที่ลุงตู่เป็นนายกฯ โดยการเสนอของพปชร. จึงมีสูงมาก
อีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่ 2 นั่นก็คือแบบรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งมีเสียงหนาหู ว่าเอาคุณอำพน เอาคนโน้น คนนี้ เอาองคมนตรีมาเป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งชาติ ถ้าเกิดคำว่ารัฐบาลแห่งชาติก็แปลว่าลุงตู่จะไม่ได้เป็นนายกฯ ไม่ใช่...ไม่มีทาง...เป็นไปไม่ได้... พูดง่าย ๆ ว่าปัจจุบันนี้คสช.ปฏิเสธหนทางของรัฐบาลแห่งชาติ คสช.ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในยุคปัจจุบันยอมรับทางเดียวเท่านั้น ก็คือลุงตู่เป็นนายกฯ ต่อ
ทางที่ 3 ถ้าเรามองในแง่โลกสวยว่า ฝ่ายประชาธิปไตยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ รวมเสียงได้มากกว่า 250 เสียง นั่นหมายความว่าสามารถจับมือกับพรรคการเมืองทั้งหมดยกเว้น พปชร., ปชช., รปช. อันนี้ก็จะเป็นปาฏิหาริย์อีกแบบหนึ่ง ปาฏิหาริย์ของฝ่ายประชาธิปไตยว่ามันจะเกิดขึ้นไหม? ดิฉันบอกได้เลยว่า...ยาก
เพราะว่าในความเชื่อ ภท.น่าจะไปเกือบหมดแล้ว สุดตัวแล้ว อาจอยากจะจูง ปชป. ไปด้วยก็ได้ แต่ ปชป. ก็ยังชักคะเย่ออยู่ แต่ถ้าสมมติว่าภท.ไม่ได้ไปร่วมและยังสามารถรวมกันอยู่ได้ ถามว่ามันจะไปรอดไหม?
ในทัศนะดิฉันก็คือมันไม่ผ่านแน่ เพราะความมุ่งมั่นของคสช. ความมุ่งมั่นของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในการจัดตั้งรัฐบาลโดยพล.อ.ประยุทธ์เป็นหัวหน้า มีสูงยิ่ง ยกเว้นมีฟ้าผ่าเกิดรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมา ซึ่งดิฉันคิดว่ามันน่าจะยากกว่า
ดังนั้น ภาพที่ 1 คือ รัฐบาลลุงตู่จาก พปชร. ร่วมด้วย ส.ว. 250 เสียง จะสามารถใช้รธน. ใช้กฎหมายประกอบรธน. ใช้ความช่วยเหลือจากกกต. องค์กรอิสระทั้งหลาย พร้อมด้วยความช่วยเหลือของปาฏิหาริย์ทางกฎหมายทุกรูปแบบ ไม่สนใจ ก็จะเป็นรัฐบาลให้ได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่สุด
ในส่วนของรัฐบาลแห่งชาตินั้น ถามว่ามีความเป็นไปได้ไหม? คสช.จะไม่มีบทบาทแล้ว นั่นหมายความว่า มีรัฐบาลแห่งชาติที่หัวหน้ารัฐบาลไม่ใช่พล.อ.ประยุทธ์ แปลว่า คสช.ต้องหมดอำนาจ มีความเป็นไปได้ แต่ยากนะคะ เพราะว่าลุงตู่และลุงป้อมยังไม่ประสงค์ที่จะถอนตัวจากอำนาจ
ฝ่ายที่ 3 คือรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย ยิ่งยากกว่า
แบบที่ 4 อาจจะมีความเป็นไปได้ในลำดับ 2 เลย ก็คือ เมื่อมันลำบากในการที่จะเป็นรัฐบาลที่ลุงตู่มาโดยการเสนอของ พปชร. เพราะเจออุปสรรคพรรคการเมืองทั้งหลายจำนวนมากไม่ร่วมมือด้วย และเกิดกระแสต่อต้านมาก ก็จะเป็นทางที่ 4 ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง ในทัศนะอาจารย์ก็คือ ยกเลิกหมดเลย แล้วลุงตู่ก็เป็นนายกฯ ต่อ
พูดง่าย ๆ ว่า คสช.ยังมีอำนาจอยู่ต่อ มีมาตรา 44 ต่อ ยังเป็นนายกฯ อยู่ต่อด้วยมาตรา 44 และคสช.
เพราะฉะนั้นก็จะเหลืออยู่ 2 ทางใหญ่ ก็คือ ลุงตู่ยังเป็นนายกฯ โดยมาตรา 44 หรือ ลุงตู่เป็นนายกฯ โดยการหนุนช่วยของ ส.ว. และอภินิหารทางกฎหมาย
หมายความว่าอนาคตการเมืองไทยภาครัฐสภา คสช. ยังต้องมีอำนาจต่อไป โดยกระบวนการเลือกตั้งยังทำให้หัวหน้าคสช.มีอำนาจได้ ก็จะเป็นบทบาทสูงสุด เพราะได้เตรียมไว้ให้เป็นเช่นนั้น
แต่มันไม่ได้ง่าย ซึ่งดิฉันจะพูดต่อในส่วนของภาคประชาชนพรุ่งนี้ เพราะว่าภาครัฐสภาอย่าลืมว่ามาจากประชาชน มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นถ้าผลรัฐสภาเป็นเช่นนี้ เป็นโดยแบบที่ 1 คือเป็นนายกฯ โดย ส.ว. มีบทบาทสูงมาในการอุ้ม ภาคประชาชนจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ก็จะทำให้ภาครัฐสภามีผลตามนั้นด้วย
หรือล้ม แล้วมีเลือกตั้งใหม่ ลงตู่อยู่ต่อ ภาคประชาชนก็ยิ่งมีบทบาทสูง
เพราะถ้าภาครัฐสภาราบรื่น บทบาทภาคประชาชนก็ลดลง
แต่ถ้าภาครัฐสภาไม่ราบรื่น บทบาทภาคประชาชนก็จะสูงขึ้น
พบกันพรุ่งนี้นะคะในอนาคตการเมืองไทยภาคประชาชน
หลังการเลือกตั้ง อนาคตการเมืองไทยภาครัฐสภาจะเป็นอย่างไร?
แน่นอนปัญหาแรกที่เราจะต้องเผชิญก็คือ คุณจะตั้งรัฐบาลอย่างไร? คุณจะนับคะแนนปาตี้ลิสต์อย่างไร? ป่านนี้ก็ยังไม่ลงตัว
ความจริงดิฉันก็มีเรื่องราวของการนับคะแนนปาตี้ลิสต์ที่เคยพูดมาเป็นปี ๆ แล้วนะคะ ต้นตอที่มาจากเยอรมันนั้นมันเกิดปัญหาอย่างไร ปัจจุบันนี้ก็มาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าเรื่อง Overhang และเรื่องการแก้ปัญหา ซึ่งของเยอรมันเขากำหนดคนที่จะมีที่นั่งในรัฐสภาแบบปาตี้ลิสต์จะต้องได้คะแนนเสียง 5% ขึ้นไป หรือมีที่นั่งในส.ส.จำนวนเท่าไหร่ เขาจะมีลิมิต
แต่ของเรา ปัญหารัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรธน.นั้น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ได้รัฐบาลตามประสงค์ ดังนั้นจึงมีวิวาทะและเรื่องที่ไม่คาดคิดในการเขียนรธน.เกิดขึ้น ผลจึงไม่ได้ 100% ตามที่การเขียนรธน.ประสงค์
ดังนั้นดิฉันจะลองพูดอนาคตการเมืองไทยในภาครัฐสภาว่า
ประการแรก ผลยังไม่นิ่ง ซึ่งจะส่งต่อการจัดตั้งรัฐบาลได้เร็วหรือช้า หรืออาจจะต้องทำให้เกิดปัญหาถ้ามีการจัดตั้งรัฐบาลไม่เรียบร้อย แต่ถ้าเรามองในภาพใหญ่เป็น Scenario ที่มองภาพใหญ่ว่า ภาครัฐสภานั้นจะเกิดรัฐบาลแบบไหน เราอาจจะมองข้ามเรื่องปัญหาจำนวนส.ส.ปาตี้ลิสต์ มองข้ามเรื่องการแจกใบส้มก่อนที่จะไปยังใบแดงและใบดำของกกต. จะประกาศได้ไหม มีความเชื่อมั่นไหม เราจะข้ามเรื่องพวกนี้ไปก่อนนะคะ
เราจะนำไปสู่เลยว่าเมื่อมีการประกาศผล จะมีรัฐบาลแบบไหน ซึ่งดิฉันมองอยู่ก็จะได้ประมาณ 4 แบบ
แบบแรกที่น่าจะมีความเป็นไปได้สูงก็คือ เกิดรัฐบาลลุงตู่ใหม่ ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ถือว่าได้มาจาก
- ผลพวงของรธน.
- ผลพวงของกฎหมายประกอบรธน.
- ผลพวงของเจตจำนงค์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและอำนาจนิยม
ก็คือ ได้ลุงตู่เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอาจจะอ้างว่าป๊อปปูล่าโหวตสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงของวิถีทางการเมืองในระบอบรัฐสภา พรรคที่จะจัดตั้งรัฐบาลจะต้องเป็นพรรคที่มีส.ส.มากที่สุด ซึ่งควรจะต้องเป็นพรรคเพื่อไทยที่ได้ 137 เสียง
การอ้างป๊อปปูล่าโหวตในสถานการณ์นี้ไม่ชอบด้วยเหตุผล เพราะพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ลงเลือกตั้ง 250 เขต ไม่ได้ลงทั้ง 350 เขต ก็เพราะว่ามันมีการเมืองที่ผิดปกติ ดังนั้นคะแนนป็อปปูล่าโหวตที่มีการส่ง 350 เขตแล้วบอกชนะนั้น มันไม่น่าจะใช่ในทัศนะของดิฉันนะ เพราะว่าในระบอบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต้องเอาที่นั่งส.ส.เป็นด้านหลัก ดังนั้น 137 เสียงเป็นที่ 1
แต่...ดิฉันจะมองว่า อันนี้ถ้าเป็นฉากที่ 2 ไม่ใช่ฉากแรก ฉากแรกก็คือภาพแรก ลุงตู่เป็นนายกฯ อ้างป็อปปูล่าโหวต ซึ่งไม่ชอบธรรมดังที่เรากล่าวแล้ว แล้วก็พยายามรวมเสียงให้ได้
คำถามก็คือมีคนบอกว่ามันเป็นรัฐบาลปริ่มน้ำ คุณบวกอย่างไร ต่อให้เอา ปชป., เศรษฐกิจใหม่ ไปทั้งหมด คุณก็ได้ประมาณ 261 แต่ตอนนี้ลุงมิ่งบอกไม่ไป และอันนี้สมมติแล้วนะคะว่าภูมิใจไทยแม้จะหาเสียงว่าอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย แต่พรรคภูมิใจไทยไปทั้งหมด ปชป.ไปทั้งหมดก็ได้ประมาณ 260 ถ้า ปชป. ไปไม่ทั้งหมดก็ยิ่งไม่ถึง ก็อาจจะได้ 240 กว่าด้วยซ้ำ
แต่สิ่งที่เพิ่มความเชื่อมั่นให้รัฐบาลลุงตุ่ใหม่ เราจะเห็นว่าคุณไพบูลย์ นิติตะวันได้ไปพูดหลายที่ ซึ่งพูดไว้ชัด 2 แบบ แบบแรกคือลุงตู่เก่า คือมีแต่พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ เท่านั้น เป็นนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง (จากพปชร.) หรือ เป็นนายกฯ ที่มีมาตรา 44 อยู่อย่างนี้
เราจะประมาทคำพูดของคุณไพบูลย์ นิติตะวันไม่ได้ อ.ธิดากล่าวต่อว่า คุณไพบูลย์เป็นตัวละครสำคัญในการล้มรัฐบาลเก่า ในการล้มพรรคทษช. เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้ ซึ่งอ.ธิดามองว่าคุณไพบูลย์คือตัวละครที่ถูกกำหนดให้เป็น "หัวแหลม" ในการพุ่งเป้า คุณไพบูลย์จึงเป็นคนที่รู้อะไรดี ๆ และมักจะรู้ก่อน เพราะว่าจะได้รับบทบาทในฐานะเป็นตัวแสดง เป็นหน่วยหัวแหลม
ดังนั้นคุณไพบูลย์บอกเลยว่า ที่บอกเสียงปริ่มน้ำไม่สำคัญเพราะสามารถใช้มาตรา 270 ตามรธน. ซึ่งในนั้นเน้นว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป คุณสามารถให้วุฒิสมาชิก (ส.ว.) มาโหวตด้วยได้ และแกก็บอกเองว่าอะไร ๆ มันก็เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปทั้งนั้น ทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องของงบประมาณ
เพราะโดยทั่วไปคนมีความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า ถ้าเสียงเท่ากันหรือคุณชนะกันไม่มาก ตอนโหวตงบประมาณหรืออะไรต่าง ๆ ที่ต้องใช้สภาเดียว คุณไม่มี 250 เสียงมาช่วย คุณจะไปไม่รอด แต่ว่าคุณไพบูลย์ชี้ช่องว่าทำได้ พ.ร.บ.อะไรก็ตามแม้กระทั่งงบประมาณมันเกี่ยวข้องกับการปฏิรูป ส.ว.ร่วมโหวตได้ทั้งหมด
นี่คืออภินิหารของรธน. ของกฎหมายประกอบรธน. แล้วก็บทเฉพาะกาล ทำให้สามารถเสกทุกเรื่องให้เป็นไปตามประสงค์ ดังนั้นโอกาสที่ Scenario ว่า ลุงตู่จะเป็นนายกฯ แม้ว่าเสียงจะรวมได้ไม่มากพอ แต่สามารถใช้ ส.ว. 250 เสียง ตั้งแต่โหวตนายกฯ และรวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ด้วย
นี่ก็คือบทบาทของฝ่ายอนุรักษ์นิยม + อำนาจนิยม + เนติบริกร นั่นก็คือกลไกรัฐ กลไกขององค์กรอิสระ รวมทั้งกลไกกฎหมายต่าง ๆ นั้นอยู่ในมือของฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำนาจนิยม ดังนั้นภาพโอกาสที่การเมืองไทยในวิถีทางรัฐสภา ภาพที่ปรากฎก็คือโอกาสที่ลุงตู่เป็นนายกฯ โดยการเสนอของพปชร. จึงมีสูงมาก
อีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่ 2 นั่นก็คือแบบรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งมีเสียงหนาหู ว่าเอาคุณอำพน เอาคนโน้น คนนี้ เอาองคมนตรีมาเป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งชาติ ถ้าเกิดคำว่ารัฐบาลแห่งชาติก็แปลว่าลุงตู่จะไม่ได้เป็นนายกฯ ไม่ใช่...ไม่มีทาง...เป็นไปไม่ได้... พูดง่าย ๆ ว่าปัจจุบันนี้คสช.ปฏิเสธหนทางของรัฐบาลแห่งชาติ คสช.ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในยุคปัจจุบันยอมรับทางเดียวเท่านั้น ก็คือลุงตู่เป็นนายกฯ ต่อ
ทางที่ 3 ถ้าเรามองในแง่โลกสวยว่า ฝ่ายประชาธิปไตยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ รวมเสียงได้มากกว่า 250 เสียง นั่นหมายความว่าสามารถจับมือกับพรรคการเมืองทั้งหมดยกเว้น พปชร., ปชช., รปช. อันนี้ก็จะเป็นปาฏิหาริย์อีกแบบหนึ่ง ปาฏิหาริย์ของฝ่ายประชาธิปไตยว่ามันจะเกิดขึ้นไหม? ดิฉันบอกได้เลยว่า...ยาก
เพราะว่าในความเชื่อ ภท.น่าจะไปเกือบหมดแล้ว สุดตัวแล้ว อาจอยากจะจูง ปชป. ไปด้วยก็ได้ แต่ ปชป. ก็ยังชักคะเย่ออยู่ แต่ถ้าสมมติว่าภท.ไม่ได้ไปร่วมและยังสามารถรวมกันอยู่ได้ ถามว่ามันจะไปรอดไหม?
ในทัศนะดิฉันก็คือมันไม่ผ่านแน่ เพราะความมุ่งมั่นของคสช. ความมุ่งมั่นของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในการจัดตั้งรัฐบาลโดยพล.อ.ประยุทธ์เป็นหัวหน้า มีสูงยิ่ง ยกเว้นมีฟ้าผ่าเกิดรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมา ซึ่งดิฉันคิดว่ามันน่าจะยากกว่า
ดังนั้น ภาพที่ 1 คือ รัฐบาลลุงตู่จาก พปชร. ร่วมด้วย ส.ว. 250 เสียง จะสามารถใช้รธน. ใช้กฎหมายประกอบรธน. ใช้ความช่วยเหลือจากกกต. องค์กรอิสระทั้งหลาย พร้อมด้วยความช่วยเหลือของปาฏิหาริย์ทางกฎหมายทุกรูปแบบ ไม่สนใจ ก็จะเป็นรัฐบาลให้ได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่สุด
ในส่วนของรัฐบาลแห่งชาตินั้น ถามว่ามีความเป็นไปได้ไหม? คสช.จะไม่มีบทบาทแล้ว นั่นหมายความว่า มีรัฐบาลแห่งชาติที่หัวหน้ารัฐบาลไม่ใช่พล.อ.ประยุทธ์ แปลว่า คสช.ต้องหมดอำนาจ มีความเป็นไปได้ แต่ยากนะคะ เพราะว่าลุงตู่และลุงป้อมยังไม่ประสงค์ที่จะถอนตัวจากอำนาจ
ฝ่ายที่ 3 คือรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย ยิ่งยากกว่า
แบบที่ 4 อาจจะมีความเป็นไปได้ในลำดับ 2 เลย ก็คือ เมื่อมันลำบากในการที่จะเป็นรัฐบาลที่ลุงตู่มาโดยการเสนอของ พปชร. เพราะเจออุปสรรคพรรคการเมืองทั้งหลายจำนวนมากไม่ร่วมมือด้วย และเกิดกระแสต่อต้านมาก ก็จะเป็นทางที่ 4 ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง ในทัศนะอาจารย์ก็คือ ยกเลิกหมดเลย แล้วลุงตู่ก็เป็นนายกฯ ต่อ
พูดง่าย ๆ ว่า คสช.ยังมีอำนาจอยู่ต่อ มีมาตรา 44 ต่อ ยังเป็นนายกฯ อยู่ต่อด้วยมาตรา 44 และคสช.
เพราะฉะนั้นก็จะเหลืออยู่ 2 ทางใหญ่ ก็คือ ลุงตู่ยังเป็นนายกฯ โดยมาตรา 44 หรือ ลุงตู่เป็นนายกฯ โดยการหนุนช่วยของ ส.ว. และอภินิหารทางกฎหมาย
หมายความว่าอนาคตการเมืองไทยภาครัฐสภา คสช. ยังต้องมีอำนาจต่อไป โดยกระบวนการเลือกตั้งยังทำให้หัวหน้าคสช.มีอำนาจได้ ก็จะเป็นบทบาทสูงสุด เพราะได้เตรียมไว้ให้เป็นเช่นนั้น
แต่มันไม่ได้ง่าย ซึ่งดิฉันจะพูดต่อในส่วนของภาคประชาชนพรุ่งนี้ เพราะว่าภาครัฐสภาอย่าลืมว่ามาจากประชาชน มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นถ้าผลรัฐสภาเป็นเช่นนี้ เป็นโดยแบบที่ 1 คือเป็นนายกฯ โดย ส.ว. มีบทบาทสูงมาในการอุ้ม ภาคประชาชนจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ก็จะทำให้ภาครัฐสภามีผลตามนั้นด้วย
หรือล้ม แล้วมีเลือกตั้งใหม่ ลงตู่อยู่ต่อ ภาคประชาชนก็ยิ่งมีบทบาทสูง
เพราะถ้าภาครัฐสภาราบรื่น บทบาทภาคประชาชนก็ลดลง
แต่ถ้าภาครัฐสภาไม่ราบรื่น บทบาทภาคประชาชนก็จะสูงขึ้น
พบกันพรุ่งนี้นะคะในอนาคตการเมืองไทยภาคประชาชน