มาอีกแล้วพล็อตเก่า "ม็อบชนม็อบ" 'ธิดา' ถามแล้วไง? จะมีรัฐประหารอีกหรือ? หรือว่าจะยกเลิกการเลือกตั้ง ไม่ได้แล้วนะ ประชาชนอยู่ในความเรียบร้อยมาจะ 5 ปีแล้ว
18 ม.ค. 62 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำ Facebook Live ว่าวันนี้จำเป็นต้องคุยในเรื่องการขับเคลื่อนของประชาชนฝ่ายที่สนับสนุนการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะมีเพจที่ใช้ชื่อ "สามัคคีก่อนเลือกตั้ง" ได้โพสต์ปลุกประชาชนและมีการนัดหมายรวมพลังวันเสาร์ที่ 19 ม.ค. 62 เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้าร้านอาหารศรแดง ซึ่งในวันเสาร์ที่ 19 นี้ กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเขานัดไว้ก่อนแล้วที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก็แปลว่าตั้งใจจะให้มีม็อบมาเผชิญหน้ากัน
อีกกลุ่มหนึ่ง สภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและเครือข่ายนักศึกษารามคำแหงพิทักษ์สถาบันและประชาชน มีการแถลงเรียกร้องให้กลุ่มคนที่เคลื่อนไหวอยากเลือกตั้งหยุดสร้างเงื่อนไขเพื่อความไม่สงบในบ้านเมือง และเชิญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งร่วมกันแสดงออกผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างสงบ
ในทัศนะของอ.ธิดา การที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่มาเรียกร้องให้มีกฤษฎีกาเลือกตั้งออกภายในวันที่ 18 หรือที่อ.ธิดาพูดว่าอย่าให้เกินเดือนมี.ค. พูดตรง ๆ ว่าการจัดการวันเลือกตั้งนั้น ถ้าเลยเดือนมี.ค.ก็แปลว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะแล้วเสร็จในวันที่ 9 พ.ค. แล้วมันจะมีเรื่อง เพราะมีคนจ้องจะหาเรื่องอยู่
การที่มีกลุ่มคนนัดหมายไปเผชิญหน้าม็อบ หรือประธานสภานักศึกษามร.และกลุ่มเครือข่ายออกมาวันนี้ อ.ธิดาคิดว่ามันเป็นพล็อคเก่าที่ต้องการให้เกิดมีม็อบชนม็อบ ซึ่งในอดีตช่วง 6 ต.ค. 19 เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และพยายามโยงเรื่องสถาบัน
ดังที่อ.ธิดาเคยพูดไปแล้วว่าพสกนิกรไทยแม้กระทั่งคนอยากเลือกตั้งเขาก็ออกมาพูดชัดเจนว่าให้รัฐบาลรับผิดชอบราชพิธีอย่างสมพระเกียรติให้อย่างเต็มที่ ขณะนี้ประชาชนไทยทุกคนต้องการให้รัฐบาลเตรียมการอย่างเต็มกำลัง ส่วนเรื่องเลือกตั้งมันเป็นคนละเรื่อง เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ไปด้วยกันได้
การเตรียมงานจัดงานพระราชพิธีพร้อม ๆ กับทำให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นอย่างราบรื่นเป็นเรื่องที่ไปด้วยกันได้ และเป็นเรื่องการถวายพระเกียรติยศพระมหากษัตริย์ที่อยู่กับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต่างประเทศและพสกนิกรก็ชื่นชมว่าช่างเป็นนิมิตหมายที่ดี เราจะมีรัฐบาลใหม่ มีพระมหากษัตริย์ มีงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ได้อย่างเต็มรูปแบบหลังจากไม่มีมานานแล้ว เป็นเรื่องมงคลที่ไปด้วยกันได้! ยกเว้นคนที่ไม่อยากเลือกตั้ง ไม่อยากให้มีระบอบประชาธิปไตย กลับมองการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งเป็นเรื่องไม่เป็นมงคล
อ.ธิดาได้แสดงความคิดเห็นว่า ในฝ่ายประชาธิปไตยต้องระมัดระวังให้ผู้ร่วมชุมนุมและแกนนำต้องอยู่ในกฎหมายของพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ อย่าให้มีใครตกไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่อยากให้เกิดความวุ่นวายและจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น
แต่ด้านหลักคือฝ่ายที่ไม่ต้องการระบอบประชาธิปไตย ในการที่ต้องการปราบปราม จัดการ หรือสร้างเรื่องวุ่นวายขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องแนะนำและไม่ให้สองฝ่ายต้องเผชิญหน้ากัน หลีกเลี่ยงการเกิดปัญหา
6 ต.ค. 19 เป็นบทเรียนแรกที่มีการเอาม็อบมาชนม็อบ ทำให้เกิดความรุนแรงจริง มีกลุ่มพิทักษ์จักรี กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง และลูกเสือชาวบ้าน บุกเข้าไปในม.ธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นก็ไม่มีการเกิด "ม็อบชนม็อบ" อีก มีแต่การสร้างม็อบขึ้นมาแต่ยังไม่ได้มีการเผชิญหน้า
อ.ธิดาถามว่า มีม็อบมาแล้วอย่างไร? จะมีรัฐประหารอีกไหม? หรือว่าจะยกเลิกการเลือกตั้ง คิดว่าไม่ได้แล้วนะ ประชาชนอยู่ในความเรียบร้อยมาจะ 5 ปีแล้ว คงจะไม่ไหวแล้วถ้าจะเป็นพล็อตแบบเดิมอีก
อ.ธิดาเห็นด้วยกับแถลงการณ์ของคุณโบว์ ณัฏฐา ที่บอกว่า "กกต.กับรัฐบาลแถลงสอดรับกันว่าจะประกาศวันเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.และร่นวันประกาศผลให้ทัน 9 พ.ค. เพื่อกำจัดความเสี่ยงที่การเลือกตั้งจะขัดรธน.และกลายเป็นโมฆะ"
แปลว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้งเขาก็ถอยแล้วนะจาก 24 ก.พ. เขาก็เรียกร้องให้เป็น 10 มี.ค. แต่ตอนนี้เขาตกลงกันที่ 24 มี.ค. ถ้าดูตามนี้ก็เหมือนกับว่า 24 มี.ค.ก็ได้ แต่ที่สำคัญคืออย่าให้เกิน 150 วัน (9 พ.ค.) ที่จะประกาศผลการเลือกตั้ง เขากังวลว่าจะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ อ.ธิดามองว่านี่เป็นการนำเสนอของพลเมืองที่รับผิดชอบต่อประเทศชาติไม่ให้เกิดความเสียหาย ไม่ให้ขัดกับรธน. ไม่ใช่เรื่องก่อกวนที่จำเป็นจะต้องมีม็อบมาเผชิญหน้าแต่อย่างใด!
อ.ธิดาหวังว่า พล็อตที่เอาคนออกมาอย่าให้บานปลายนะ เพราะมันจะดีกว่าทั้งคสช. ดีกว่าทั้งกับผบ.ทบ. ดีกว่าทั้งกับประเทศ
ไม่เห็นจะดีกับใครเลยถ้าคิดว่าจะเอาม็อบมาชนม็อบแล้วสร้างเรื่องว่าต้องการปราบปรามเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย สำหรับอ.ธิดาคิดว่า 5 ปีแล้ว ถ้าอยากจะอยู่ต่อก็ทำตามรธน. มันจะ win win ทั้งหมด
18 ม.ค. 62 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำ Facebook Live ว่าวันนี้จำเป็นต้องคุยในเรื่องการขับเคลื่อนของประชาชนฝ่ายที่สนับสนุนการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะมีเพจที่ใช้ชื่อ "สามัคคีก่อนเลือกตั้ง" ได้โพสต์ปลุกประชาชนและมีการนัดหมายรวมพลังวันเสาร์ที่ 19 ม.ค. 62 เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้าร้านอาหารศรแดง ซึ่งในวันเสาร์ที่ 19 นี้ กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเขานัดไว้ก่อนแล้วที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก็แปลว่าตั้งใจจะให้มีม็อบมาเผชิญหน้ากัน
อีกกลุ่มหนึ่ง สภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและเครือข่ายนักศึกษารามคำแหงพิทักษ์สถาบันและประชาชน มีการแถลงเรียกร้องให้กลุ่มคนที่เคลื่อนไหวอยากเลือกตั้งหยุดสร้างเงื่อนไขเพื่อความไม่สงบในบ้านเมือง และเชิญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งร่วมกันแสดงออกผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างสงบ
ในทัศนะของอ.ธิดา การที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่มาเรียกร้องให้มีกฤษฎีกาเลือกตั้งออกภายในวันที่ 18 หรือที่อ.ธิดาพูดว่าอย่าให้เกินเดือนมี.ค. พูดตรง ๆ ว่าการจัดการวันเลือกตั้งนั้น ถ้าเลยเดือนมี.ค.ก็แปลว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะแล้วเสร็จในวันที่ 9 พ.ค. แล้วมันจะมีเรื่อง เพราะมีคนจ้องจะหาเรื่องอยู่
การที่มีกลุ่มคนนัดหมายไปเผชิญหน้าม็อบ หรือประธานสภานักศึกษามร.และกลุ่มเครือข่ายออกมาวันนี้ อ.ธิดาคิดว่ามันเป็นพล็อคเก่าที่ต้องการให้เกิดมีม็อบชนม็อบ ซึ่งในอดีตช่วง 6 ต.ค. 19 เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และพยายามโยงเรื่องสถาบัน
ดังที่อ.ธิดาเคยพูดไปแล้วว่าพสกนิกรไทยแม้กระทั่งคนอยากเลือกตั้งเขาก็ออกมาพูดชัดเจนว่าให้รัฐบาลรับผิดชอบราชพิธีอย่างสมพระเกียรติให้อย่างเต็มที่ ขณะนี้ประชาชนไทยทุกคนต้องการให้รัฐบาลเตรียมการอย่างเต็มกำลัง ส่วนเรื่องเลือกตั้งมันเป็นคนละเรื่อง เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ไปด้วยกันได้
การเตรียมงานจัดงานพระราชพิธีพร้อม ๆ กับทำให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นอย่างราบรื่นเป็นเรื่องที่ไปด้วยกันได้ และเป็นเรื่องการถวายพระเกียรติยศพระมหากษัตริย์ที่อยู่กับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต่างประเทศและพสกนิกรก็ชื่นชมว่าช่างเป็นนิมิตหมายที่ดี เราจะมีรัฐบาลใหม่ มีพระมหากษัตริย์ มีงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ได้อย่างเต็มรูปแบบหลังจากไม่มีมานานแล้ว เป็นเรื่องมงคลที่ไปด้วยกันได้! ยกเว้นคนที่ไม่อยากเลือกตั้ง ไม่อยากให้มีระบอบประชาธิปไตย กลับมองการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งเป็นเรื่องไม่เป็นมงคล
อ.ธิดาได้แสดงความคิดเห็นว่า ในฝ่ายประชาธิปไตยต้องระมัดระวังให้ผู้ร่วมชุมนุมและแกนนำต้องอยู่ในกฎหมายของพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ อย่าให้มีใครตกไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่อยากให้เกิดความวุ่นวายและจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น
แต่ด้านหลักคือฝ่ายที่ไม่ต้องการระบอบประชาธิปไตย ในการที่ต้องการปราบปราม จัดการ หรือสร้างเรื่องวุ่นวายขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องแนะนำและไม่ให้สองฝ่ายต้องเผชิญหน้ากัน หลีกเลี่ยงการเกิดปัญหา
6 ต.ค. 19 เป็นบทเรียนแรกที่มีการเอาม็อบมาชนม็อบ ทำให้เกิดความรุนแรงจริง มีกลุ่มพิทักษ์จักรี กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง และลูกเสือชาวบ้าน บุกเข้าไปในม.ธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นก็ไม่มีการเกิด "ม็อบชนม็อบ" อีก มีแต่การสร้างม็อบขึ้นมาแต่ยังไม่ได้มีการเผชิญหน้า
อ.ธิดาถามว่า มีม็อบมาแล้วอย่างไร? จะมีรัฐประหารอีกไหม? หรือว่าจะยกเลิกการเลือกตั้ง คิดว่าไม่ได้แล้วนะ ประชาชนอยู่ในความเรียบร้อยมาจะ 5 ปีแล้ว คงจะไม่ไหวแล้วถ้าจะเป็นพล็อตแบบเดิมอีก
อ.ธิดาเห็นด้วยกับแถลงการณ์ของคุณโบว์ ณัฏฐา ที่บอกว่า "กกต.กับรัฐบาลแถลงสอดรับกันว่าจะประกาศวันเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.และร่นวันประกาศผลให้ทัน 9 พ.ค. เพื่อกำจัดความเสี่ยงที่การเลือกตั้งจะขัดรธน.และกลายเป็นโมฆะ"
แปลว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้งเขาก็ถอยแล้วนะจาก 24 ก.พ. เขาก็เรียกร้องให้เป็น 10 มี.ค. แต่ตอนนี้เขาตกลงกันที่ 24 มี.ค. ถ้าดูตามนี้ก็เหมือนกับว่า 24 มี.ค.ก็ได้ แต่ที่สำคัญคืออย่าให้เกิน 150 วัน (9 พ.ค.) ที่จะประกาศผลการเลือกตั้ง เขากังวลว่าจะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ อ.ธิดามองว่านี่เป็นการนำเสนอของพลเมืองที่รับผิดชอบต่อประเทศชาติไม่ให้เกิดความเสียหาย ไม่ให้ขัดกับรธน. ไม่ใช่เรื่องก่อกวนที่จำเป็นจะต้องมีม็อบมาเผชิญหน้าแต่อย่างใด!
อ.ธิดาหวังว่า พล็อตที่เอาคนออกมาอย่าให้บานปลายนะ เพราะมันจะดีกว่าทั้งคสช. ดีกว่าทั้งกับผบ.ทบ. ดีกว่าทั้งกับประเทศ
ไม่เห็นจะดีกับใครเลยถ้าคิดว่าจะเอาม็อบมาชนม็อบแล้วสร้างเรื่องว่าต้องการปราบปรามเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย สำหรับอ.ธิดาคิดว่า 5 ปีแล้ว ถ้าอยากจะอยู่ต่อก็ทำตามรธน. มันจะ win win ทั้งหมด