สัมภาษณ์หมดเปลือก อดีต-ปัจจุบัน "ธิดา ถาวรเศรษฐ" หญิงแกร่งฝ่ายประชาธิปไตย!!!
ยูดีดีนิวส์
: 11 ธ.ค. 62 สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันยังคงเป็นการต่อสู้ของประชาชนเพื่อให้มีสิทธิ
เสรีภาพ และความเสมอภาค ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
กับผู้ปกครองที่เป็นอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม
หวาดกลัวประชาชนจะช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์ไป จึงยังไม่ยอมคืนอำนาจ
นอกจากนี้ยังพยายามทุกวิถีทางในการขจัดขวากหนาม
ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือประชาชนผู้ที่เห็นต่าง
ในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่ผ่านมา
เรามักจะได้ยินชื่อ “ธิดา ถาวรเศรษฐ” และเห็นบทบาทสำคัญ ๆ
โดยเฉพาะในฐานะอดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.
แม้แต่การวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นตามสื่อจากปรากฏการณ์สู่ธาตุแท้
ทั้งทางการเมือง, เศรษฐกิจ และสังคม
ผู้สื่อข่าวยูดีดีนิวส์ได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์อ.ธิดา
เพื่อนำประวัติส่วนตัวและเรื่องราวต่าง ๆ มาเผยแพร่ให้ตรงความจริงจากตัว อ.ธิดา
เอง
อยากให้เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวทั้งก่อนและหลังเป็นประธาน นปช. เพราะยังมีข้อสงสัยในข้อมูลหลายประการที่ไม่มีข้อมูลชัดเจนและน่าเชื่อถือ กลับมีข้อมูลของฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมือง เช่น ของผู้จัดการ เป็นต้น
อยากให้เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวทั้งก่อนและหลังเป็นประธาน นปช. เพราะยังมีข้อสงสัยในข้อมูลหลายประการที่ไม่มีข้อมูลชัดเจนและน่าเชื่อถือ กลับมีข้อมูลของฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมือง เช่น ของผู้จัดการ เป็นต้น
ดิฉันยินดีที่จะเปิดเผยเรื่องราวต่าง
ๆ ทั้งอดีต ปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อมูลตามความจริง
เพราะไม่อยากให้ประวัติของตนเองและองค์กรประชาชนถูกบิดเบือน ใส่สี
จากผู้มีแนวคิดการเมืองเป็นปฏิปักษ์กัน
เดิมดิฉันมิได้คิดจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
เพราะคิดว่าไม่จำเป็น ให้คนตัดสินจากการกระทำในปัจจุบัน แต่ในที่สุดก็พบว่า
ความขัดแย้งในสังคมไทยนั้นขยายตัวรุนแรง และมีการใช้ทุกวิธี ทุกรูปแบบ เพื่อทำลาย
เพื่อดิสเครดิตฝ่ายที่เห็นต่าง และจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ให้คนในอนาคตเข้าใจผิด ๆ
อย่าประมาทนะ เพราะทำให้นายกฯ เชื่อว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตจริง ๆ เป็นต้น
ดิฉันมีบทบาทนำในช่วงระยะเวลานานพอควรของ
นปช. และคนเสื้อแดง แม้ปัจจุบันก็ยังแสดงทัศนะผ่านทางเฟสบุ๊คไลฟ์, ยูทูป, ไลน์ ฯลฯ
เพื่อสื่อสารกับมวลชนผู้รักประชาธิปไตย ทั้งในฐานะประธาน นปช. 3 ปี
และในฐานที่ปรึกษา นปช. ก่อนหน้านั้นและหลังจากเป็นประธาน เรื่องราวของดิฉันจึงจำเป็นต้องมีการบอกเล่าให้ตรงความจริง
เพื่อให้คนตัดสินเอาเองทั้งปัจจุบันและอนาคต
อาจารย์ช่วยเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติชีวิตส่วนตัวให้ฟังหน่อยค่ะ
ดิฉันเกิดที่
ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ ต.ตลาด อ.เมือง
จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา-มารดา: นายบัญชา ถาวรเศรษฐ, นางยิหวา สุทธิสุวรรณ
(สกุลเดิม)
การศึกษา : ประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมือง
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมสาธิต
ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร
ปริญญาตรี เภสัชศาสตร์บัณฑิต
ม.แพทย์ศาสตร์
ปริญญาโท จุลชีววิทยา
ม.มหิดล
ภาพ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ สวมครุยปริญญาโท ม.มหิดล ถ่ายกับคุณพ่อ |
ชีวิตส่วนตัว : สมรสกับ นพ.เหวง โตจิราการ
มีบุตร 2 คน
- น.ส. มัชฌิมา
โตจิราการ
- นพ.สลักธรรม
โตจิราการ
ครอบครัวดิฉันมีน้องอีก
5 คน และลูกทั้ง 2 คนของดิฉันเข้าใจบทบาทการเมืองดี
เพราะทุกคนไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร
แม้น้องบางคนจะเป็นแฟนคลับนักการเมืองแตกต่างกัน
หลังจบการศึกษาปริญญาโทแล้ว อาจารย์ประกอบอาชีพอะไรบ้างคะ?
อ.ธิดา : - เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ภาควิชาจุลชีววิทยา
อ.ธิดา : - เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ภาควิชาจุลชีววิทยา
- ทำธุรกิจนำเข้า
ขายส่ง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่
- ซื้ออสังหาริมทรัพย์
เป็นทรัพย์สินและขายตามความ
เหมาะสม
ไม่เคยมีอาชีพเป็นนายหน้าค้าที่ดินตามที่
“ผู้จัดการ” เขียนไว้ในวิกิพีเดีย
- มีคลีนิคของครอบครัวเป็นสหคลีนิคที่คุณหมอเหวงดูแล
เคยอ่านเจอในสื่อบางฉบับเขาบอกว่า
ในครอบครัวของอาจารย์และน้อง ๆ ร่วมบิดามารดามีความขัดแย้งกัน
ข้อนี้ความเป็นจริงเป็นอย่างไรคะ?
ไม่มี...โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ “ผู้จัดการ”
อ้างว่า บุตรสาวชื่อ น.ส. มัชฌิมา ไม่เห็นด้วยกับการทำงานการเมืองก็ไม่จริง
แม้เขาจะมีปัญหากับเพื่อนฝูงที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยมบ้างก็ตาม
ก็เป็นเรื่องปกติของสังคมไทยที่มีความแตกแยกขัดแย้งครั้งใหญ่
การทำงานด้านวิชาการ
1)
เป็นอาจารย์ฝึกหัดที่ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์
ม.เชียงใหม่
2)
เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์
ม.มหิดล
3)
ทำงานวิจัยด้านการต้านยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย
วิจัยอบรมในการตรวจสอบฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคของยาปฏิชีวนะให้ได้
มาตรฐานสากลและได้ผลที่น่าเชื่อถือ ที่ยุคแรกช่วง พ.ศ.
2513-
2515 การตรวจสอบใน
ห้องปฏิบัติการที่ยังไม่ได้มาตรฐานสากล
4)
ส่วนที่ได้รับทุนและทำงานวิจัยเป็นคณะในเรื่องอื่น ๆ (2516-
2519)
4.1 การวิจัยเรื่อง
“สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย”
4.2 การวิจัยภาคสนามเรื่อง
“พฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน
ไทย”
4.3 เขียนตำราจุลชีววิทยาภาษาไทยสำหรับนักศึกษาทาง
วิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชศาสตร์
วิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชศาสตร์
ภาพ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ เป็นอาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา ม.มหิดล |
การทำงานด้านสังคม ก่อน พ.ศ. 2519
1)
เป็นอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาและชาวค่าย มหาวิทยาลัย มหิดล
2)
เป็นที่ปรึกษาและประสานงานนักศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2517
แล้วชีวิตทางการเมืองหลัง 6 ตุลาคม 2519
เป็นอย่างไรบ้างคะ
1)
เข้าร่วมขบวนการต่อสู้ของประชาชนกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทย (พคท.) หลัง 6 ตุลาคม 2519
2)
เข้าเป็นสมาชิกพรรคและเป็นอดีตกรรมการกลางสำรองและอดีต
กรรมการกลางของ พคท. สมัชชาที่ 4
3)
จากป่าคืนเมืองโดยเปิดเผยในปี พ.ศ. 2526 กลับมาเป็นอาจารย์
ม.มหิดล ในตำแหน่งเดิมของภาควิชาจุลชีววิทยา
4)
ร่วมขับเคลื่อนเหตุการณ์ “พฤษภา 2535” ใน “กลุ่มสมาพันธ์
ประชาธิปไตย” และต่อมาเป็นกรรมการมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย
5)
ลาออกจากม.มหิดลในปี 2530 ทำธุรกิจส่วนตัว (ขายส่ง
อุปกรณ์อิเลคโทรนิค,โทรศัพท์เคลื่อนที่) ไม่ได้เป็นนายหน้าขาย
ที่ดินตามที่
“ผู้จัดการ” รายงานข่าวและอยู่ในวิกิมีเดีย
ไม่เคยมี
อาชีพนายหน้าค้าขายที่ดินใด ๆ
โดยเหตุนี้....
6)
จึงก่อตั้ง “ชมรมนักธุรกิจประชาธิปไตย” ทำงานเป็นอดีตประธาน
ชมรมนักธุรกิจประชาธิปไตยอยู่ระยะหนึ่ง จึงหารือให้ยกเลิก
ชมรมฯ
นี้ แต่ต่อมายังมีคณะที่ใช้ชื่อชมรมนี้เป็นกลุ่มใหม่ หลังจาก
มีการนำชื่อไปประท้วงขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตั้งแต่
ยุคนายกฯ พล.อ.ชวลิต
ยงใจยุทธ
ชีวิตการเมืองยุคใหม่ หลังรัฐประหาร 2549 อาจารย์มีบทบาทอะไรในองค์กร
นปช. บ้างคะ?
1)
ในปี 2549 (รุ่นสนามหลวง) เข้าร่วมกลุ่มแนวร่วมต่อต้าน
รัฐประหารกับคณะบุคคลจากสมาพันธ์ประชาธิปไตยจำนวนหนึ่ง
อาทิ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม, นพ.สันต์ หัตถีรัตน์, นพ.เหวง โตจิ
ราการ
ขณะที่แกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตยจำนวนหนึ่งไป
สนับสนุน พธม. และสนับสนุนการทำรัฐประหาร
ก่อตั้งชมรมสตรีประชาธิปไตยที่ต่อมาเข้าร่วมกับ
นปก., นปช.
เป็นกำลังในการเดินสันติวิธี
2) ร่วมพัฒนากลุ่มต่าง ๆ เป็น นปก. บทบาทดิฉันไม่ใช่ผู้ปราศรัยบน
เวที
แต่ร่วมประชุมขับเคลื่อน แสดงความคิดเห็นและหลักการใน
การก่อรูปขบวนการแนวร่วมที่เป็นองค์กร
มีการนำรวมหมู่และหลัก
ปฏิบัติ เสมือนเป็นนักวิชาการของผู้ปฏิบัติงาน
3)
เป็นฝ่ายวิชาการในการร่างหลักนโยบาย ยุทธศาสตร์ และ
โครงสร้าง นปช.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำโรงเรียนการเมือง
ประชาธิปไตยของ นปช. ทั่วประเทศ
โดยเป็นวิทยากรหลักในการ
บรรยายแนวทางนโยบาย, ยุทธศาสตร์ของ นปช. และพัฒนาการ
ของสังคมไทย
เป็นประธาน นปช. เมื่อ 1 ธันวาคม 2553 เนื่องจากขณะนั้นแกนนำส่วนใหญ่อยู่ในเรือนจำ |
4)
เป็นประธาน นปช. ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2553 จนถึง กุมภาพันธ์ 2557
โดยผู้รับตำแหน่งต่อมาคือ จตุพร พรหมพันธุ์
5)
ห้วงเวลาการเป็นประธาน นปช. ประกาศภารกิจ 4 ประการ ที่เคย
ให้สัมภาษณ์ในประชาไท คือ
1.
การรณรงค์ปล่อยตัวคนเสื้อแดงและแกนนำ นปช. รวมทั้งการ
ประกันตัว
2.
การเยียวยาและต่อสู้คดีช่วยเหลือผู้ถูกกระทำและถูกจับกุม
คุมขัง
3.
ทวงถามความยุติธรรมและความจริงให้กับคนที่ตาย คนที่ถูก
จับกุมคุมขังโดยมิชอบ
4. ขับเคลื่อนองค์กร
นปช. ด้วยองค์ความรู้ (รร.นปช.) และการ
ต่อสู้สันติวิธีและขยายการจัดตั้งผู้ประสานงาน นปช.
ภารกิจทั่วไปจึงมีทั้งพยายามช่วยผู้ประสบชะตากรรมต่าง
ๆ และลงหลักปักฐานขบวนการ นปช. ให้มั่นคง แม้จะผ่านมรสุมร้ายในปี 2552-2553
ก็ตาม แกนนำติดอยู่ในเรือนจำ และเข้าออกศาล-เรือนจำเกือบหมด มีบางส่วนที่หลบหนีไปต่างประเทศ
เหลือดิฉันกับเพื่อน ๆ อีกไม่กี่คน
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ยังทำต่อเนื่องตั้งแต่ตอนที่เป็นประธาน
นปช. มาจนถึงปัจจุบัน
ก. งานสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
นปช. กับคนต่างประเทศ ทั้งสื่อ, องค์กรต่าง ๆ
และทูตานุทูตจากประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ จนถึงปัจจุบัน (น้อยลงตามบทบาท นปช.
และตัวดิฉันเอง)
ข. การทำสื่อของ นปช.
เช่น ทวิตเตอร์, บล็อก ในชื่อ Udd Red และ UDD news และเริ่มทำ
Facebook Page ของประธาน นปช. ตั้งแต่ปี 2554
มี Page ของ UDD news
Youtube : UDD News Thailand
Line
: UDD News Thailand
ปัจจุบันจึงมีทั้ง เฟสบุ๊ค, ทวิตเตอร์, Website, ยูทูป
(ซึ่งเพิ่งเริ่มใหม่)
ค. การทำมวลชนสัมพันธ์ สำนักข่าว
ยูดีดีนิวส์ - UDD news แม้ปรากฏการณ์รูปการต่อสู้ของ นปช.
และคนเสื้อแดงจะลดระดับลง แต่เป็นการต่อสู้ในนามพรรคการเมืองมากขึ้น
การนำเสนอข่าวของภาคประชาชนและแกนนำทั้งในการต่อสู้คดีความ การถูกจับกุมคุมขังก็ยังเป็นข่าวนำของ
ยูดีดีนิวส์ - UDD news เสมอในทุกช่องทาง
ง. มีหนังสือรวมบทความ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ (12 ก.ค. 54 – 4 มิ.ย. 55) ISBN 978-616-3055-88-0
ง. มีหนังสือรวมบทความ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ (12 ก.ค. 54 – 4 มิ.ย. 55) ISBN 978-616-3055-88-0
ในฐานะอดีตประธานนปช.
มีกิจกรรมใดที่คิดว่าทำไม่สำเร็จและน่าเสียดาย?
เรื่องแรกก็คือ
การรวบรวมรายชื่อประชาชนร่วมแสนคนเพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
เราได้รายชื่อที่ผ่านการตรวจสอบแล้วกว่า 70,000 รายชื่อ โดยคร่าว ๆ
คือขอให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง 100 คน ให้งานร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากความขัดแย้งระหว่าง
2 พรรคใหญ่ โดยให้จำนวน สสร. แต่ละจังหวัดขึ้นกับจำนวนประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ เราได้ร่าง
พ.ร.บ. การแก้ไขรัฐธรรมนูญในนามประชาชนอย่างสมบูรณ์
ไป
ๆ มา ๆ ก็เหมือนที่พรรคฝ่ายค้านปัจจุบันเสนอ แต่ตอนนั้นพรรคเพื่อไทยไม่เอาแบบของ
นปช. แม้เราจะพยายามประสานงานติดต่อไปแล้ว
เพราะเราเล็งเห็นแล้วว่าความขัดแย้งมันจะทำให้ข้อเสนอแบบพรรคเพื่อไทยที่ตั้งกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญนั้นไปไม่รอด
น่าเสียดายว่าถ้าตกลงแบบของ
นปช. ในวันนั้นคงไม่มีวันนี้ (ที่พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยถูกจัดการโดยการรัฐประหารได้ง่าย
ๆ)
อีกเรื่องที่ทำไม่สำเร็จและน่าเสียดายก็คือเรื่อง
ICC เราได้พยายามประสานถึง ICC สำนักงานใหญ่
และนำเสนอเอกสารพร้อมนักวิชาการ
แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศไม่ยอมเซ็นอนุญาตให้ ICC ทำงานเฉพาะกิจ กรณีปี 2553 เท่านั้น (นี่ก็เป็นอีกประเด็นที่การทำรัฐประหารง่ายเกินไป)
เรื่องสำคัญสุดท้ายอันเป็นชนวนให้ฝ่ายต่อต้านขยายตัวสร้างม็อบใหญ่จุดติดคือเรื่อง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
เราเสนอ
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมที่ให้ประชาชนทุกฝ่าย ยกเว้นแกนนำสำคัญทั้ง 2 ข้าง แต่ทางพรรคเพื่อไทยเสนอเป็น
พ.ร.บ. โดยนายวรชัย เหมะ และคณะ ส.ส. เริ่มต้นก็มีเนื้อหาเหมือน พ.ร.ก. ของ นปช.
แต่ตอนวาระหลัง ๆ มีการเปลี่ยนเป็นนิรโทษกรรมหมด (สุดซอย)
ความจริงดิฉันก็เข้าใจว่าทำไมทางพรรคเพื่อไทยเสนอเช่นนั้น
แต่ดิฉันมองเห็นความขัดแย้งในสังคมไทยนั้นรุนแรง ไม่อาจประนีประนอมได้ ดังนั้นอะไรที่เป็นเหตุให้มีการก่อศึกสงครามรอบใหม่อันจะทำให้การณ์ที่เสนอไม่สำเร็จเราก็หลีกเลี่ยงเหตุปัจจัยนั้น
โดยแกนนำเวลานั้นเห็นพ้องกันหมดว่าไม่เอานิรโทษกรรมสุดซอยตามที่ได้ประกาศตั้งแต่แรก
สุดท้าย
กปปส. และกลุ่มอำนาจนิยมจารีตนิยมก็ใช้เป็นชนวนสำคัญในการขยายม็อบใหญ่โต
แม้คุณยิ่งลักษณ์จะถอน พ.ร.บ. ออกแล้วก็ตาม ก็ไม่ยอมหยุด
ดังนั้นเรื่องก็อยู่ที่เขาจะหาเรื่องให้ได้ แม้ไม่ชอบธรรม
แม้ไม่ใช่เรื่องจริงก็ตาม เพราะพรรคเพื่อไทย, ดร.ทักษิณ ชินวัตร และผู้สนับสนุน
เช่น คนเสื้อแดง, นปช. คือเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในการทำลายล้าง มาบัดนี้
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ใหม่คือคุณธนาธร และพรรคอนาคตใหม่
แต่เป้าหมายยุทธศาสตร์เดิมก็ไม่ได้ยกเลิก
ดังนั้น
ชะตากรรมของเราและประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีเรื่องเลวร้ายถ้าไม่ได้พลิกข้างให้ฝ่ายประชาชนมีอำนาจได้
ตัวดิฉันเองมาถึงวันนี้คงไม่ใช่ตัวเอกแห่งการนำพาประชาชน
แต่ก็อยู่บนถนนที่ทอดยาวไปสู่อนาคต
ดิฉันหวังให้ประชาชนและคนรุ่นใหม่ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของเราและคนยุคก่อน
ที่ต้องการสังคมไทยในระบอบประชาธิปไตยแท้จริง ประชาชนมีเสรีภาพ มีความเสมอภาค
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุติธรรมต้องเท่าเทียมกันทั่วหน้า ถ้าฝ่ายจารีตนิยมอำนาจนิยมไม่ยินยอมปรับตัว
คืนอำนาจให้ประชาชนก็น่าเป็นห่วงว่า การต่อสู้ระหว่าง “เก่า” กับ “ใหม่” จะทวีความรุนแรงกระทั่งเกิดความเสียหายหนักหน่วง.