นายกฯ
เผย ครม.เคาะเยียวยาพื้นที่น้ำท่วมใต้ ครัวเรือนละ 9,000บาท เพิ่มอีก16จังหวัดวงเงิน 5 พันล้านบาท ขยายกรอบงบภัยพิบัติจาก 20 ล้านเพิ่มเป็น 50 ล้านบาท
วันที่
3 ธันวาคม 2567 เวลา12.11 น.
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า
วันนี้มีเรื่องใหญ่ ๆ หลายเรื่องคือปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้เป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล
ครม.ได้รับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยมีการเพิ่มกรอบเงินทดรองของจังหวัดจากเดิม 20
ล้านบาทขยายเพิ่มเป็น 50
ล้านบาทในจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเป็นจังหวัดที่รับผลกระทบภัยพิบัติ 6 จังหวัด ได้แก่นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, ยะลา, ปัตตานีและนราธิวาส
นอกจากนี้ครม.
ยังได้เห็นชอบอนุมัติการใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 เพิ่มเติมในกรอบของงบประมาณตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการจ่ายเงินที่ให้มีการปรับในกรณี
ที่อยู่อาศัยประจำพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วันและทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายหรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่า
7 วันให้ความช่วยเหลืออัตราเดียวกันทุกครัวเรือน
ให้ครัวเรือนละ 9,000 บาทจากเดิมใน 57 จังหวัด
เพิ่มเติมอีก 16 จังหวัด
รวมถึงจังหวัดในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วย เป็นจำนวนเงิน 5,000 ล้านบาทจนถึงสิ้นปีพ.ศ 2567 โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อไป
ทั้งนี้
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการ ในที่ประชุม ครม. ดังนี้
1.
เรื่องน้ำท่วมภาคใต้
-
แม้สถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้จะเริ่มคลี่คลาย
แต่ยังไม่กลับเข้าสู่สภาวะปกติในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี
ยังมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าและประปา
-
ประกอบกับศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ได้ประกาศแจ้งเตือนว่าตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม
จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย
ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่
-
เพื่อให้การบริหารสถานการณ์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขอให้คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ที่มีท่านรองนายกฯ และ
รมว.มหาดไทย เป็นประธานรับดำเนินงานต่อเนื่องจาก ศปช. ต่อไป โดยให้ท่านรองนายกฯ
ภูมิธรรม เป็นที่ปรึกษาของประธาน
เร่งปฏิบัติหน้าที่และใช้กลไกตามกฎหมายในการบริหาร
ระดมความร่วมมือของรัฐและเอกชนเร่งแก้ไขสถานการณ์ภัยพิบัติโดยเร็ว
ตลอดจนขอให้เร่งสำรวจ และรายงานความเสียหาย
รวมทั้งแนวทางการฟื้นฟูให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว
2.
เรื่องการค้าการลงทุน
-
จากการที่นายกรัฐมนตรีได้พบกับนักลงทุน
ทั้งในช่วงที่เดินทางไปต่างประเทศ และการพบกับสมาคมการค้าและภาคธุรกิจต่าง ๆ
ทำให้เห็นถึงโอกาสของประเทศไทยที่จะดึงดูดนักลงทุน
ภายใต้สถานการณ์ที่มีความเสี่ยงจากภูมิรัฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (GEOPOLITICS)
โดยเฉพาะนโยบายทางการค้าของประธานาธิบดี ทรัมป์
ที่เร่งให้บริษัทจำเป็นต้องเร่งปรับตัวและปรับแผนในการลงทุนในภูมิภาค ASEAN
-
ขณะเดียวกัน ก็ได้รับฟังถึงความท้าทายและข้อจำกัดต่าง ๆ
ที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข จึงได้ฝากเรื่องที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน 4 เรื่อง เพื่อช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนี้
1)
การพัฒนาพื้นที่สำหรับรองรับการลงทุน
โดยเฉพาะการจัดสรรและพัฒนาที่ดินให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่
2)
ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
โดยบริษัทรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายต้องการพลังงานหมุนเวียนสะอาด (Direct
PPA)
3)
มาตรการรองรับ Global Minimum Tax ซึ่งจำเป็นต้องออกกฎหมายให้ทันการบังคับใช้ในปี
2568
ทั้งในส่วนของการจัดเก็บภาษีขั้นต่ำและมาตรการด้านสิทธิประโยชน์
4)
การแก้ไขกฎระเบียบอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการประกอบธุรกิจหรือ Ease
of Doing Business เช่น
การผ่อนปรนเงื่อนไขการจ้างงานชาวต่างชาติของกระทรวงแรงงาน
โดยเฉพาะในกลุ่มบุคลากรทักษะสูง โดยมอบหมายให้ BOI จัดทำรายละเอียดมาตรการ
ผ่านรองนายกฯ พิชัย เพื่อมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
3.
การปราบปรามยางเถื่อนผิดกฎหมาย เนื่องจากที่ผ่านมา
รัฐบาลได้มีมาตรการโครงการสินเชื่อชะลอการขายยาง
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางในตลาด
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาการลักลอบนำยางเถื่อนเข้ามาจากต่างประเทศตามแนวชายแดน
ทำให้ราคายางในประเทศต่ำลง จึงสั่งการให้กระทรวงกลาโหม หน่วยงานความมั่นคง
เร่งปราบปรามปัญหาการลักลอบการนำเข้ายางเถื่อนจากต่างประเทศอย่างเร่งด่วน
ตลอดจนขอให้กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
มีมาตรการที่เข้มงวดในพิธีศุลกากรตามแนวชายแดน
เพื่อไม่ให้เกิดการลักลอบยางเถื่อนเข้า และออกจากประเทศ โดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #นายกแพทองธาร #ประชุมครม #น้ำท่วม67 #น้ำท่วมภาคใต้