ยูดีดีนิวส์ : 8 มี.ค. 62 ในการทำ Facebook Live วันนี้ อ.ธิดาถือว่าเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สำหรับเหตุการณ์เมื่อวานในกรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ
ข้อวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีรายละเอียด 3 ประเด็นว่าเหตุใดจึงยุบพรรคไทยรักษาชาตินั้น มีสิ่งที่น่าสนใจและเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ อ.ธิดากล่าวว่า ดังนั้นวันนี้ดิฉันต้องการย้อนหลังเพื่อเป็นแง่คิดในการศึกษา ก็คือ "กติการัฐธรรมนูญเรื่องเจ้านายกับการเมืองไทย"
ในคำวินิจฉัยของศาลรธน. ท่านก็ได้อ้างไปถึงรธน.ฉบับ 2475 ซึ่งพูดถึงการที่บัญญัติว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าโดยกำหนดทรงดำรงอยู่เหนือการเมืองตามพระประสงค์ของรัชกาลที่ 7 และพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 7 ซึ่งอ.ธิดาก็ถือโอกาสเอาช่วงนี้ย้อนร้อยประวัติศาสตร์ว่าด้วยเรื่องกติการัฐธรรมนูญกับเรื่องของบทบาทเจ้านายกับการเมืองไทย
โดยครั้งนี้อ.ธิดาอ้างอิงจากหนังสือ "รัฐธรรมนูญ บทกฎหมายและเอกสารสำคัญทางการเมืองไทย" โดย ศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม พิมพ์ไว้เมื่อ 2519 โดยเรียบเรียงความเป็นของตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกจนกระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับ 2517
คือ รธน.2475 มี 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นฉบับที่ในหลวงรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงวงเล็บไว้ว่า "ชั่วคราว" ส่วนฉบับที่ 2 เป็นฉบับที่มีพระราชวินิจฉัย พูดตรง ๆ ว่าเป็นความยินยอมพร้อมใจ และเป็นรธน.ฉบับที่ประนีประนอมระหว่างคณะราษฎรกับในหลวงรัชกาลที่ 7 ซึ่งได้ใช้มานานถึง 10 กว่าปี
ในรธน.2475 ฉบับที่ 2 หน้า 114-115 กล่าวไว้ว่าในการอภิปรายในรัฐสภาพบว่ามีการอภิปรายกันอยู่ 3 ประการ
เรื่องที่ 1 เรื่องให้เจ้านายดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง คือในมาตรา 11 ซึ่งมีว่าพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง
ก็มีการอภิปรายกันมากในหมู่สมาชิกสภา แต่ผลที่สุดก็ตกลงตามที่คณะอนุกรรมการร่างมา เพราะถือว่าพระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพเหนือความที่จะถูกติเตียน ไม่ควรแก่ตำแหน่งการเมือง และในนี้ก็มีภาษาซึ่งทางศาลรธน.ได้ใช้ เช่น นอกจากจะถูกติเตียนแล้ว อีกเหตุหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่น ซึ่งตรงกับในหนังสือที่อ.ธิดาอ้างถึงก็คือ "...อีกประการหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่นในเมื่อเวลาไปทำการแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร เพราะเหตุนี้ ในขณะนั้นคือในหลวงรัชกาลที่ 7 ได้มีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 14 พ.ย. 2475 ถึงประธานคณะกรรมการราษฎรแสดงความเห็นชอบด้วย แต่อย่างไรก็ดี เจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปก็ทรงมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอยู่ หาได้ถูกตัดไปไม่
ถัดมาจนถึงรัฐธรรมนูญ 2489 ก็ได้มีการอภิปรายยกเลิก "สำหรับบทบัญญัติ ที่ให้พระบรมวงศานุวงศ์อยู่เหนือการเมือง (มาตรา 11) นั้น ทั้งสมาชิกประเภทที่ 1 และที่ 2 ส่วนมากก็พอใจที่จะให้ยกเลิกเสียไม่ต้องการให้คงไว้ จึงไม่ได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวด้วยเรื่องนี้เท่าใด
หมายความว่าที่บอกว่าให้อยู่เหนือการเมือง ไม่ให้เข้ามาลงสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้ามาเล่นการเมืองนั้นก็ให้ยกเลิก หมายความว่ารัฐสภาให้ยกเลิก นี่คือสิ่งที่อาจารย์ไพโรจน์ได้เขียนเอาไว้
อ.ธิดากล่าวต่อว่า เราจะเห็นว่าในการยุบพรรคก่อนหน้านี้ ศาลรธน.ได้มีการเขียนคำวินิจฉัยยาวมาก แต่ดิฉันก็ยอมรับว่าคำวินิจฉัยของศาลรธน.ในครั้งนี้เขียนแตกต่างไปจากที่ดิฉันได้ศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรธน.ฉบับก่อน ๆ มีลักษณะที่รัดกุม ไม่ยาว มีมุมของการพิจารณาในทัศนะที่เกี่ยวข้องกับในเรื่องนี้ เป็นมุมมองที่จะเรียกว่าเป็นอนุรักษ์นิยมทั้งหมดก็ไม่ได้
ที่น่าสนใจก็คือมาตรา 4 ในรธน. 60 บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
แต่เป็นมุมมองซึ่งอาจจะหมายถึงตามมาตรา 5 วรรค 2 ในรธน.60 ก็ได้ บัญญัติว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ซึ่งศาลรธน.ได้อธิบายประเพณีการปกครองประเทศไทย ซึ่งตัวดิฉันเองก็ยอมรับว่า...น่าสนใจ ท่านบอกว่า ...มีความแตกต่างจากการปกครองของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของรัฐอื่น ที่กษัตริย์ใช้อำนาจราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ (Apsolute Monarchy) ควบคุมการใช้อำนาจการเมืองผ่านการแต่งตั้งบรมวงศานุวงศ์ให้ดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร ดิฉันก็คิดเอาว่าไปคล้าย ๆ กับประเทศในตะวันออกกลางบางประเทศ
ซึ่งอันนี้ก็เป็นมุมมองที่น่าสนใจ เพราะปกติในคำวินิจฉัยของศาลรธน.ก็จะไม่มีภาษาอะไรแบบนี้ แต่เป็นภาษาทางวิชาการและการตีความระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
แต่ในขณะเดียวกันประเด็นของเรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ดิฉันอยากจะยกตัวอย่างในประเด็นที่สำคัญก็คือ สืบเนื่องจากการตีความกติการัฐธรรมนูญเรื่อง "เจ้านาย" กับ "การเมืองไทย" มองไปข้างหลังอย่างไร?
เมื่อศึกษาผ่านคำวินิจฉัยเราทราบว่ามุมที่ศาลรธน.มองนั้น มองในมุมพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในประเพณีการปกครองไทย ซึ่งคงไม่มีใครเห็นขัดแย้งในประเด็นนี้ เพียงแต่ระหว่างประเด็นนี้กับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งตามรธน.60 มาตรา 4 ตามที่กล่าวถึงข้างต้นและมาตรา 45 บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ จึงอยากฝากไว้ให้พิจารณาควบคู่กันไปด้วย...หรือเปล่า?
จากนั้นอ.ธิดาใช้บทความอ้างอิงจากโพสต์ทูเดย์ วันที่ 24 ก.พ. 62 เรื่อง "เมื่อรัฐธรรมนูญเปิดทาง พระบรมวงศานุวงศ์เข้าสู่การเมือง" โดย อภิวัจ สุปรีชาวุฒิพงศ์ และพาทุกท่านเหลียวหลังกลับในรธน. 2489 ในบทเฉพาะกาลมาตรา 90 และ 91 เกี่ยวกับคุณสมบัติของสมาชิกพฤฒสภาและส.ส. ระบุว่า ให้ยกเว้นข้อห้ามตามมาตรา 11 ของรธน. 2475 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง" แปลว่ารธน. 2489 ยกเลิก และหลังจากนั้นมาตรา 11 แบบรธน. 2475 ก็ไม่ได้ปรากฎอีกเลยในรธน.ต่อมาทุกฉบับ
พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้พูดเอาไว้ว่า "เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ ก็ย่อมจะมีการกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา เหตุผลที่ให้ในกรรมาธิการรัฐะรรมนูญนั้นก็คือ การที่ไม่มีมาตรา 11 ไว้ จะเป็นการทำให้เจ้านายทรงเล่นการเมือง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนไปสู่องค์พระมหากษัตริย์ได้"
อ.ธิดากล่าวว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ให้มีมาตรา 11 แต่พอหลังจากนั้นก็ไม่มีเหตุผลและหวั่นเกรงว่า "เจ้านาย" จะเล่นการเมือง นี่เป็นคนในพ.ศ. 2489 ที่ไม่กลัว "เจ้านาย" เล่นการเมือง
พล.ร.ต.ถวัลย์ ยังกล่าวไว้ว่า "การที่จะเอามาตรา 11 นี้ไว้เพื่อป้องกันพระเกียรติยศของเจ้านายก็คลายความสำคัญลงไป และก็เป็นความดำริของเจ้านายแต่ละองค์ที่จะทรงคิดเองว่าจะทรงเล่นการเมืองหรือไม่ เมื่อเล่นแล้วจะมีการกระทบกระเทือนประการใดก็เป็นไปตามวิธีทางการเมืองและเหตุผล"
ก็แปลว่าเขาเอาหลักสิทธิ เสรีภาพ มาเป็นหลักใหญ่ ไม่กลัวแบบ 2475 จะมีความขัดแย้งกระทบกระทั่งกันถ้าเจ้านายมาเล่นการเมือง
ประการสำคัญที่พล.ร.ต.ถวัลย์กล่าวก็คือ "หลักในเรื่องเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งไม่เป็นการสมควรที่จะเขียนบังคับเอาไว้ เพราะเหตุว่าบรรดาเจ้านายต่าง ๆ นั้นก็เป็นประชาชนชาวไทยเหมือนกัน คณะกรรมาธิการจึงเห็นว่าไม่สมควรที่จะมีบทบัญญัติในทำนองมาตรา 11 นี้ไว้ จะจำกัดไว้ในมาตราใดก็ตาม แต่เห็นว่าไม่สมควรไว้ในรธน.ใหม่นี้อีกต่อไป"
การยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าวทำให้ข้อห้ามพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอยู่แต่ในรธน.ฉบับ 2475 เพียงฉบับเดียวเท่านั้น
อ.ธิดาได้กล่าวถึง "เจ้านาย" ที่เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมืองหลังจากยกเลิกมาตรา 11
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณเลื่อนอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกพฤฒสภาชุดแรกเมื่อ พ.ค. 2489
ในรธน.2475 ฉบับที่ 2 หน้า 114-115 กล่าวไว้ว่าในการอภิปรายในรัฐสภาพบว่ามีการอภิปรายกันอยู่ 3 ประการ
เรื่องที่ 1 เรื่องให้เจ้านายดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง คือในมาตรา 11 ซึ่งมีว่าพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง
ก็มีการอภิปรายกันมากในหมู่สมาชิกสภา แต่ผลที่สุดก็ตกลงตามที่คณะอนุกรรมการร่างมา เพราะถือว่าพระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพเหนือความที่จะถูกติเตียน ไม่ควรแก่ตำแหน่งการเมือง และในนี้ก็มีภาษาซึ่งทางศาลรธน.ได้ใช้ เช่น นอกจากจะถูกติเตียนแล้ว อีกเหตุหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่น ซึ่งตรงกับในหนังสือที่อ.ธิดาอ้างถึงก็คือ "...อีกประการหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่นในเมื่อเวลาไปทำการแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร เพราะเหตุนี้ ในขณะนั้นคือในหลวงรัชกาลที่ 7 ได้มีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 14 พ.ย. 2475 ถึงประธานคณะกรรมการราษฎรแสดงความเห็นชอบด้วย แต่อย่างไรก็ดี เจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปก็ทรงมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอยู่ หาได้ถูกตัดไปไม่
ถัดมาจนถึงรัฐธรรมนูญ 2489 ก็ได้มีการอภิปรายยกเลิก "สำหรับบทบัญญัติ ที่ให้พระบรมวงศานุวงศ์อยู่เหนือการเมือง (มาตรา 11) นั้น ทั้งสมาชิกประเภทที่ 1 และที่ 2 ส่วนมากก็พอใจที่จะให้ยกเลิกเสียไม่ต้องการให้คงไว้ จึงไม่ได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวด้วยเรื่องนี้เท่าใด
หมายความว่าที่บอกว่าให้อยู่เหนือการเมือง ไม่ให้เข้ามาลงสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้ามาเล่นการเมืองนั้นก็ให้ยกเลิก หมายความว่ารัฐสภาให้ยกเลิก นี่คือสิ่งที่อาจารย์ไพโรจน์ได้เขียนเอาไว้
อ.ธิดากล่าวต่อว่า เราจะเห็นว่าในการยุบพรรคก่อนหน้านี้ ศาลรธน.ได้มีการเขียนคำวินิจฉัยยาวมาก แต่ดิฉันก็ยอมรับว่าคำวินิจฉัยของศาลรธน.ในครั้งนี้เขียนแตกต่างไปจากที่ดิฉันได้ศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรธน.ฉบับก่อน ๆ มีลักษณะที่รัดกุม ไม่ยาว มีมุมของการพิจารณาในทัศนะที่เกี่ยวข้องกับในเรื่องนี้ เป็นมุมมองที่จะเรียกว่าเป็นอนุรักษ์นิยมทั้งหมดก็ไม่ได้
ที่น่าสนใจก็คือมาตรา 4 ในรธน. 60 บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
แต่เป็นมุมมองซึ่งอาจจะหมายถึงตามมาตรา 5 วรรค 2 ในรธน.60 ก็ได้ บัญญัติว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ซึ่งศาลรธน.ได้อธิบายประเพณีการปกครองประเทศไทย ซึ่งตัวดิฉันเองก็ยอมรับว่า...น่าสนใจ ท่านบอกว่า ...มีความแตกต่างจากการปกครองของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของรัฐอื่น ที่กษัตริย์ใช้อำนาจราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ (Apsolute Monarchy) ควบคุมการใช้อำนาจการเมืองผ่านการแต่งตั้งบรมวงศานุวงศ์ให้ดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร ดิฉันก็คิดเอาว่าไปคล้าย ๆ กับประเทศในตะวันออกกลางบางประเทศ
ซึ่งอันนี้ก็เป็นมุมมองที่น่าสนใจ เพราะปกติในคำวินิจฉัยของศาลรธน.ก็จะไม่มีภาษาอะไรแบบนี้ แต่เป็นภาษาทางวิชาการและการตีความระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
แต่ในขณะเดียวกันประเด็นของเรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ดิฉันอยากจะยกตัวอย่างในประเด็นที่สำคัญก็คือ สืบเนื่องจากการตีความกติการัฐธรรมนูญเรื่อง "เจ้านาย" กับ "การเมืองไทย" มองไปข้างหลังอย่างไร?
เมื่อศึกษาผ่านคำวินิจฉัยเราทราบว่ามุมที่ศาลรธน.มองนั้น มองในมุมพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในประเพณีการปกครองไทย ซึ่งคงไม่มีใครเห็นขัดแย้งในประเด็นนี้ เพียงแต่ระหว่างประเด็นนี้กับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งตามรธน.60 มาตรา 4 ตามที่กล่าวถึงข้างต้นและมาตรา 45 บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ จึงอยากฝากไว้ให้พิจารณาควบคู่กันไปด้วย...หรือเปล่า?
จากนั้นอ.ธิดาใช้บทความอ้างอิงจากโพสต์ทูเดย์ วันที่ 24 ก.พ. 62 เรื่อง "เมื่อรัฐธรรมนูญเปิดทาง พระบรมวงศานุวงศ์เข้าสู่การเมือง" โดย อภิวัจ สุปรีชาวุฒิพงศ์ และพาทุกท่านเหลียวหลังกลับในรธน. 2489 ในบทเฉพาะกาลมาตรา 90 และ 91 เกี่ยวกับคุณสมบัติของสมาชิกพฤฒสภาและส.ส. ระบุว่า ให้ยกเว้นข้อห้ามตามมาตรา 11 ของรธน. 2475 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง" แปลว่ารธน. 2489 ยกเลิก และหลังจากนั้นมาตรา 11 แบบรธน. 2475 ก็ไม่ได้ปรากฎอีกเลยในรธน.ต่อมาทุกฉบับ
พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้พูดเอาไว้ว่า "เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ ก็ย่อมจะมีการกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา เหตุผลที่ให้ในกรรมาธิการรัฐะรรมนูญนั้นก็คือ การที่ไม่มีมาตรา 11 ไว้ จะเป็นการทำให้เจ้านายทรงเล่นการเมือง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนไปสู่องค์พระมหากษัตริย์ได้"
อ.ธิดากล่าวว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ให้มีมาตรา 11 แต่พอหลังจากนั้นก็ไม่มีเหตุผลและหวั่นเกรงว่า "เจ้านาย" จะเล่นการเมือง นี่เป็นคนในพ.ศ. 2489 ที่ไม่กลัว "เจ้านาย" เล่นการเมือง
พล.ร.ต.ถวัลย์ ยังกล่าวไว้ว่า "การที่จะเอามาตรา 11 นี้ไว้เพื่อป้องกันพระเกียรติยศของเจ้านายก็คลายความสำคัญลงไป และก็เป็นความดำริของเจ้านายแต่ละองค์ที่จะทรงคิดเองว่าจะทรงเล่นการเมืองหรือไม่ เมื่อเล่นแล้วจะมีการกระทบกระเทือนประการใดก็เป็นไปตามวิธีทางการเมืองและเหตุผล"
ก็แปลว่าเขาเอาหลักสิทธิ เสรีภาพ มาเป็นหลักใหญ่ ไม่กลัวแบบ 2475 จะมีความขัดแย้งกระทบกระทั่งกันถ้าเจ้านายมาเล่นการเมือง
ประการสำคัญที่พล.ร.ต.ถวัลย์กล่าวก็คือ "หลักในเรื่องเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งไม่เป็นการสมควรที่จะเขียนบังคับเอาไว้ เพราะเหตุว่าบรรดาเจ้านายต่าง ๆ นั้นก็เป็นประชาชนชาวไทยเหมือนกัน คณะกรรมาธิการจึงเห็นว่าไม่สมควรที่จะมีบทบัญญัติในทำนองมาตรา 11 นี้ไว้ จะจำกัดไว้ในมาตราใดก็ตาม แต่เห็นว่าไม่สมควรไว้ในรธน.ใหม่นี้อีกต่อไป"
การยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าวทำให้ข้อห้ามพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอยู่แต่ในรธน.ฉบับ 2475 เพียงฉบับเดียวเท่านั้น
อ.ธิดาได้กล่าวถึง "เจ้านาย" ที่เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมืองหลังจากยกเลิกมาตรา 11
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณเลื่อนอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกพฤฒสภาชุดแรกเมื่อ พ.ค. 2489
ต่อมา ม.จ.นิตยากร วรวรรณ ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.พระนครศรีอยุธยา และ ม.จ.นนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ ส.ส. ชลบุรี ได้รับแต่งตั้งเป็น รมช.ต่างประเทศในรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
หลัง รธน.2489 รธน.ฉบับต่อมาคือรธน.ฉบับชั่วคราวปี 2490 ในบทเฉพาะกาล มาตรา 97 บัญญัติให้ยกเว้นการห้ามตามมาตรา 11 รธน.2475 ด้วยเช่นกัน กล่าวได้ว่า รธน.2490 ซึ่งเป็นของอนุรักษ์นิยมก็ยกเว้นการห้าม พูดง่าย ๆ ว่าไม่ห้ามเจ้านายที่จะเข้ามาเล่นการเมือง
โดยพระบรมวงศานุวงศ์ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใต้รธน.ฉบับนี้ประกอบด้วย ม.จ.เฉลิมศรี จัทรทัต ม.จ.ชัชวลิต เกษมสันต์ ม.จ.วัฒยากร เกษมศรี พล.ท.ม.จ.เสรฐศิริ กฤดากร ม.จ.วิวัฒนไชย ไชยันต์ พล.ต.ม.จ.ปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ม.จ.ดิศานุวัตร ดิศกุล ม.จ.สฤษดิ์เดช ชยางกูร ม.จ.พรปรีชา กมลาศน์ และ ม.จ.อุปลีสาน ชุมพล ต่อมาเมื่อดำรงตำแหน่งครบ 3 ปี มีการจับสลากออกครึ่งหนึ่ง โดย ม.จ.วิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ ได้รับแต่งตั้งเพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง
ในส่วนของคณะรัฐมนตรี ม.จ.วิวัฒนไชย ไชยันต์ (ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณเลื่อนอิสริยยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย) ได้รับแต่งตั้งเป็น รมว.คลังต่อเนื่องในช่วงปี 2490-2494
และ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร เป็น รมว.เกษตราธิการ ช่วงปี 2490 - 2491
อ.ธิดากล่าวว่า หลังรัฐประหาร 2490 เรามีรธน.ใต้ตุ่ม ขนาดเป็น รธน.ใต้ตุ่มก็ยังอนุญาต "เจ้านาย" แล้วมาเล่นการเมืองกันเป็นแถวเลย
พล.ต.ม.จ.ปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล |
พล.ต.ม.จ.ปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล เป็นรมว.ต่างประเทศ ช่วงปี 2491-2492 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เป็น รมว.ต่างประเทศช่วงปี 2495-2500 และเป็นรองนายกฯ ช่วงปี 2502-2512
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ |
ท้ายบทความที่อ.ธิดาอ้างถึงนี้กล่าวว่า "จะเห็นได้ว่าการเข้าสู่การเมืองของเจ้านายราชสกุลมิได้เป็นไปโดยไร้หลักเกณฑ์ แต่เป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายอย่างเคร่งครัด แม้เหตุผลการบัญญัติตัวบทจะเป็นไปตามเหตุปัจจัยแห่งยุคสมัย ตามสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมืองที่เปลี่ยนแปลง แต่หลักปฏิบัติคือการยึดตามกฎหมาย เพื่อธำรงไว้ซึ่งประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งหลักสำคัญที่บัญญัติไว้ในช่วงเวลากว่า 80 ปีที่ผ่านมาโดยไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย นั่นคือ "พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"
อ.ธิดาจึงกล่าวสรุปว่า "นี่จึงเป็นการย้อนรอยประวัติศาสตร์กติการัฐธรรมนูญเรื่อง "เจ้านาย" กับ "การเมืองไทย" จะเห็นได้ว่ามีเพียงฉบับเดียวคือ 2475 หลังจากนั้นก็ยกเว้น ต่อให้เป็นรธน.ใต้ตุ่ม จนกระทั่งปัจจุบันรธน.เผด็จการ (หรือเปล่าก็ไม่รู้) ก็ไม่ได้พูดเรื่องนี้
ถ้าเราจะย้อนรอยประวัติศาสตร์ นอกจาก 2475 ดิฉันก็ย้อนมาถึงปัจจุบันว่าได้ยกเลิกไปแล้ว มีการอภิปรายกันมากตอน 2489 และที่บัญญัติตอน 2475 ก็คือไม่อยากให้เจ้านายเล่นการเมือง และในหลวงรัชกาลที่ 7 พระองค์ท่านก็ไม่อยากให้มีความขัดแย้ง แต่หลังจากนั้นไม่มีอันนี้แล้ว
และบทบาทของราชสกุลซึ่งแน่นอนก็อาจจะแตกต่างจากกรณีของพรรคไทยรักษาชาติ เพราะทูลกระหม่อมอุบลรัตน์ฯ ก็เรียกว่าอยู่ใกล้ชิดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพียงแต่ดิฉันต้องการต่อจิ๊กซอประวัติศาสตร์ให้ครบ ให้เห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ดำเนินมาจาก 2475 มาเป็นลำดับ
และในช่วงที่เจ้านายหรือราชสกุลได้มาดำรงตำแหน่งสำคัญจะมีมากในช่วงหลังการทำรัฐประหารด้วยซ้ำ หรือในช่วงที่มีทหารทำรัฐประหารและสืบทอดอำนาจ ยกตัวอย่าง พระองค์วรรณฯ อยู่มาตั้ง 15 ปี
ดังนั้นคำว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี้น่าสนใจมาก ในขณะนี้ศาลรธน.ก็ได้วินิจฉัยซึ่งก็น่าศึกษาว่าให้แยกระหว่างการปกครองกับในฐานะพระประมุข อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราก็ต้องเคารพ
แต่ในขณะเดียวกัน หมวดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ หลักตั้งแต่ 2489 เป็นต้นมาถูกชูขึ้นมาว่า "เจ้านาย" ก็น่าจะมีสิทธิเล่นการเมืองเหมือนกับประชาชนไทยทั่วไป ถ้าตอนนี้เราจะมีหลักใหม่ ดิฉันก็คิดว่าก็เป็นวาระที่ต้องแลกเปลี่ยนและดูว่าวิถีทางใดดีที่สุด
แต่สำหรับดิฉันปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเกิดขึ้นจากการที่ว่า เมื่อคนจำนวนหนึ่งมองไปว่าระบอบประชาธิปไตยจะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ไม่พึงประสงค์ ก็เลยทำให้ระบอบประชาธิปไตยเป็นหมันไป หรือการที่มีบางคนกล่าวหาโดยอ้างถึงสถาบัน เป็นการใช้สถาบันเข้ามาสู่การขัดแย้ง ถ้าพูดแล้วเราก็ต้องไปพูดให้มันจบด้วยเพราะดิฉันก็ไม่เห็นด้วยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่เวลาพูดต้องพูดให้ครบ ว่าเรื่องของเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ในทศวรรษนี้เป็นทศวรรษที่มีการใช้สถาบันอ้างในฐานะตัวเองจงรักภักดี แล้วคนอื่นมันกลายเป็นไม่จงรักภักดีจนกระทั่งกลายเป็นเรื่องล้มเจ้า ผังล้มเจ้าก็เป็นผังโกหกมดเท็จทั้งสิ้น ตรงนั้นเป็นเรื่องที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมต้องไปสำรวจตัวเองด้วยว่า ในคณะของตัวเองที่ไม่ชื่นชมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ถามว่าถ้าจะมีปัญหากับสถาบัน...ใครเป็นคนทำ ดิฉันอยากฝากถาม? อ.ธิดากล่าว