ยูดีดีนิวส์ : 13 มี.ค. 62 อันเนื่องมาจากวาทกรรมของคำว่า "การสืบทอดอำนาจ" วันนี้ อ.ธิดา จึงได้มาสนทนากับท่านผู้ชมโดยได้กล่าวถึงการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ไปออกรายการดีเบตของ The Standard ซึ่งนายอภิสิทธิ์ได้ย้ำจุดยืนชัดเจนว่า ตนไม่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคที่ถูกนายทักษิณ ชินวัตรครอบงำ
ในรายการเดียวกัน เมื่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จี้ถามว่าแล้วคุณจะร่วมกับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ แต่นายอภิสิทธิ์ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ชัดเจน แต่ตีความได้ว่าถ้า พปชร. ไม่สืบทอดอำนาจก็สามารถร่วมกันได้ นั่นแปลความหมายของคำว่า "สืบทอดอำนาจ" ของนายอภิสิทธิ์ก็คือ "ไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์"
อ.ธิดาจึงตั้งคำถามนายอภิสิทธิ์ว่า "คุณเข้าใจคำว่าสืบทอดอำนาจเป็นแบบไหนกัน?"
อ.ธิดากล่าวว่า ในประเทศไทย ภาษาไทย คำว่าสืบทอดอำนาจเราใช้กับการสืบทอดอำนาจที่มาจากการทำรัฐประหารที่ไม่ได้มาจากประชาชน และดูเหมือนกับว่าพล.อ.ประยุทธ์ก็จะเข้าในในแบบเดียวกันกับนายอภิสิทธิ์ หรืออย่างไร?
เพราะพล.อ.ประยุทธ์บอกว่า แล้วทีพรรคการเมือง หัวหน้าพรรค ไม่สืบทอดอำนาจหรืออย่างไร? ซัดการเมืองก็หวังสืบทอดอำนาจ มีพรรคการเมืองไหนไม่อยากเป็นรัฐบาลบ้าง? อย่าลืมว่าผมเป็นนายกฯ ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวออกมาผมก็เป็นกบฎซิครับ
พล.อ.ประยุทธ์อ้างความชอบธรรมในฐานะที่เป็นนายกฯ จากรัฐธรรมนูญชั่วคราว ความหมายของคำว่า "การสืบทอดอำนาจ" อ.ธิดาอธิบายความว่า ความจริงมันก็เหมือนกันแหละ เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวก็ท่านเขียนเอง ท่านอาจจะคิดว่าไม่เป็นกบฎเพราะมีรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่คนที่ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้เขาก็อาจจะยังคิดว่าท่านเป็นกบฎอยู่ก็ได้!
เพราะว่าท่านเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวอันได้มากจากการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจ แล้วมีความพยายามที่จะเป็นนายกฯ ต่อ แม้จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ คือเป็นนายกฯ มาแล้วจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แล้วก็อยากเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญใหม่ อย่างนี้แหละ ความหมายของการสืบทอดอำนาจก็คือ จากการเป็นนายกฯ จากการทำรัฐประหารหรือยึดอำนาจ
คำว่าการสืบทอดอำนาจนั้น ดูเหมือนว่านายอภิสิทธิ์จะเข้าใจคล้าย ๆ กันกับพล.อ.ประยุทธ์หรือเปล่า? ก็คือเข้าใจว่า คำว่าสืบทอดอำนาจก็คือการยอมรับตัวพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ซึ่งอ.ธิดาตั้งคำถามว่า แล้วผลพวงของการทำรัฐประหารทั้งปวง นายอภิสิทธิ์มองไม่เห็นหรืออย่างไร? ว่านี่คือปัญหา
แล้วพปชร.คือใคร ก็คือพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร ตัวนายกฯ ก็มาเป็นแคนดิเดต ตัวรัฐมนตรีก็ออกมาเป็นหัวหน้าพรรค ถามว่าพปชร.เป็นผลพวงการสืบทอดอำนาจ ใช่หรือเปล่า? เป็นเครื่องมือกลไกในการสืบทอดอำนาจ ใช่หรือเปล่า?
พปชร.เอาชื่อนโยบายของรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจมาเป็นชื่อพรรค คือประชารัฐ เอาบัตรสวัสดิการคนจนมาโฆษณา ทั้งหมดนี้ถ้านายอภิสิทธิ์ร่วมมือกับพปชร.จะเป็นการสืบทอดอำนาจไหม?
ดังนั้นดิฉันคิดว่าทั้งสองท่านนี้มีปัญหา นายอภิสิทธิ์มีปัญหากับวาทกรรม "การสืบทอดอำนาจ" ซึ่งในทัศนะ อ.ธิดา ก็คือการที่จะเป็นนายกฯ ของพล.อ.ประยุทธ์ เพราะนายอภิสิทธิ์เล็งเห็นแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรจะได้ส.ส.ประมาณ 100 เพราะเคยพูดไว้ว่าถ้าได้ต่ำกว่า 100 จะลาออก
ตรงนี้มีความหมาย เพราะถ้าได้ส.ส.ต่ำกว่า 100 โอกาสที่นายอภิสิทธิ์จะเป็นนายกฯ ก็คงไม่มี แสดงว่าพปชร.อาจจะได้เสียงเยอะกว่า ซึ่งนายอภิสิทธิ์ก็พร้อมจะบาย ลาออกจากหัวหน้าพรรคตามที่เคยพูด ก็แปลว่าประชาธิปัตย์ก็พร้อมจะร่วมงานกับพปชร.ได้ โดยมีพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ใช่หรือไม่?
ทัศนะของอ.ธิดามองว่าถ้านายอภิสิทธิ์พูดแต่เพียงไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์ แล้วยอมรับพปชร. แปลว่านายอภิสิทธิ์ไม่ได้ปฏิเสธการสืบทอดอำนาจ เพราะพปชร. คือกลไกการสืบทอดอำนาจของคสช.และพล.อ.ประยุทธ์
นี่คือผลพวงของการทำรัฐประหาร และจะเป็นเครื่องมือในการรักษาผลพวงของการทำรัฐประหารทั้งปวง!!!
จริง ๆ แล้ว ประชาธิปัตย์กำลังแข่งกับตัวเองว่าจะสูญเสียคนที่จะสนับสนุนให้กับพรรคการเมืองใหม่ ๆ ไปเท่าไหร่ ดังนั้นจึงออกมาในลักษณะแทงกั๊ก ตอนนี้บอกว่าไม่กั๊ก ไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ แต่ไปตีความว่าการสืบทอดอำนาจนั้นก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อปฏิเสธ พล.อ.ประยุทธ์ ก็เท่ากับปฏิเสธการสืบทอดอำนาจ
นี่คือวาทกรรม ซึ่งไม่มีความหมายอะไรเลย แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ปฏิเสธการสืบอำนาจจริงคุณจะร่วมกับพปชร.ไม่ได้!!!
ส่วนวาทกรรมของพล.อ.ประยุทธ์ที่พูดว่าใคร ๆ ก็ต้องการการสืบทอดอำนาจ พรรคการเมืองต่าง ๆ ต้องการ ขอโทษ...คำว่าสืบทอดอำนาจในประเทศนี้ในภาษาไทยเขาไม่ได้ใช้กับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเขามาจากการเลือกตั้ง ประชาชนเป็นคนตัดสิน
แต่คำว่าสืบทอดอำนาจเขาใจกับผู้ที่มาทำงานการเมืองโดยมีที่มาจากการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากประชาชนไว้ในมือ เขียนกฎหมายขึ้นมาใหม่ แล้วก็สร้างพรรคการเมืองเพื่อตกแต่งให้ดูเป็นกลไกในระบอบประชาธิปไตย แล้วพยายามที่จะใช้กลไกเหล่านี้เพื่อเข้ามาสู่สนามการแข่งขันที่ตัวเองได้เปรียบ
ดิฉันคิดว่าวาทกรรมของสองคนนี้ แกล้งทำเป็นไม่รู้หรือเปล่าว่า คำว่าสืบทอดอำนาจนั้นหมายความว่าอย่างไร? ท่านกำลังสร้างวาทกรรมที่ทำให้คนสับสน ดังนั้นในฐานะฝ่ายประชาชนดิฉันอยากเรียนต่อพี่น้องว่า ดิฉันรู้ว่าพี่น้องไม่หลงกลหรอก และชื่นชมคุณธนาธรในการตอบโต้นายอภิสิทธิ์
ในรายการเดียวกัน เมื่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จี้ถามว่าแล้วคุณจะร่วมกับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ แต่นายอภิสิทธิ์ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ชัดเจน แต่ตีความได้ว่าถ้า พปชร. ไม่สืบทอดอำนาจก็สามารถร่วมกันได้ นั่นแปลความหมายของคำว่า "สืบทอดอำนาจ" ของนายอภิสิทธิ์ก็คือ "ไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์"
อ.ธิดาจึงตั้งคำถามนายอภิสิทธิ์ว่า "คุณเข้าใจคำว่าสืบทอดอำนาจเป็นแบบไหนกัน?"
อ.ธิดากล่าวว่า ในประเทศไทย ภาษาไทย คำว่าสืบทอดอำนาจเราใช้กับการสืบทอดอำนาจที่มาจากการทำรัฐประหารที่ไม่ได้มาจากประชาชน และดูเหมือนกับว่าพล.อ.ประยุทธ์ก็จะเข้าในในแบบเดียวกันกับนายอภิสิทธิ์ หรืออย่างไร?
เพราะพล.อ.ประยุทธ์บอกว่า แล้วทีพรรคการเมือง หัวหน้าพรรค ไม่สืบทอดอำนาจหรืออย่างไร? ซัดการเมืองก็หวังสืบทอดอำนาจ มีพรรคการเมืองไหนไม่อยากเป็นรัฐบาลบ้าง? อย่าลืมว่าผมเป็นนายกฯ ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวออกมาผมก็เป็นกบฎซิครับ
พล.อ.ประยุทธ์อ้างความชอบธรรมในฐานะที่เป็นนายกฯ จากรัฐธรรมนูญชั่วคราว ความหมายของคำว่า "การสืบทอดอำนาจ" อ.ธิดาอธิบายความว่า ความจริงมันก็เหมือนกันแหละ เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวก็ท่านเขียนเอง ท่านอาจจะคิดว่าไม่เป็นกบฎเพราะมีรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่คนที่ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้เขาก็อาจจะยังคิดว่าท่านเป็นกบฎอยู่ก็ได้!
เพราะว่าท่านเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวอันได้มากจากการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจ แล้วมีความพยายามที่จะเป็นนายกฯ ต่อ แม้จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ คือเป็นนายกฯ มาแล้วจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แล้วก็อยากเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญใหม่ อย่างนี้แหละ ความหมายของการสืบทอดอำนาจก็คือ จากการเป็นนายกฯ จากการทำรัฐประหารหรือยึดอำนาจ
คำว่าการสืบทอดอำนาจนั้น ดูเหมือนว่านายอภิสิทธิ์จะเข้าใจคล้าย ๆ กันกับพล.อ.ประยุทธ์หรือเปล่า? ก็คือเข้าใจว่า คำว่าสืบทอดอำนาจก็คือการยอมรับตัวพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ซึ่งอ.ธิดาตั้งคำถามว่า แล้วผลพวงของการทำรัฐประหารทั้งปวง นายอภิสิทธิ์มองไม่เห็นหรืออย่างไร? ว่านี่คือปัญหา
แล้วพปชร.คือใคร ก็คือพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร ตัวนายกฯ ก็มาเป็นแคนดิเดต ตัวรัฐมนตรีก็ออกมาเป็นหัวหน้าพรรค ถามว่าพปชร.เป็นผลพวงการสืบทอดอำนาจ ใช่หรือเปล่า? เป็นเครื่องมือกลไกในการสืบทอดอำนาจ ใช่หรือเปล่า?
พปชร.เอาชื่อนโยบายของรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจมาเป็นชื่อพรรค คือประชารัฐ เอาบัตรสวัสดิการคนจนมาโฆษณา ทั้งหมดนี้ถ้านายอภิสิทธิ์ร่วมมือกับพปชร.จะเป็นการสืบทอดอำนาจไหม?
ดังนั้นดิฉันคิดว่าทั้งสองท่านนี้มีปัญหา นายอภิสิทธิ์มีปัญหากับวาทกรรม "การสืบทอดอำนาจ" ซึ่งในทัศนะ อ.ธิดา ก็คือการที่จะเป็นนายกฯ ของพล.อ.ประยุทธ์ เพราะนายอภิสิทธิ์เล็งเห็นแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรจะได้ส.ส.ประมาณ 100 เพราะเคยพูดไว้ว่าถ้าได้ต่ำกว่า 100 จะลาออก
ตรงนี้มีความหมาย เพราะถ้าได้ส.ส.ต่ำกว่า 100 โอกาสที่นายอภิสิทธิ์จะเป็นนายกฯ ก็คงไม่มี แสดงว่าพปชร.อาจจะได้เสียงเยอะกว่า ซึ่งนายอภิสิทธิ์ก็พร้อมจะบาย ลาออกจากหัวหน้าพรรคตามที่เคยพูด ก็แปลว่าประชาธิปัตย์ก็พร้อมจะร่วมงานกับพปชร.ได้ โดยมีพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ใช่หรือไม่?
ทัศนะของอ.ธิดามองว่าถ้านายอภิสิทธิ์พูดแต่เพียงไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์ แล้วยอมรับพปชร. แปลว่านายอภิสิทธิ์ไม่ได้ปฏิเสธการสืบทอดอำนาจ เพราะพปชร. คือกลไกการสืบทอดอำนาจของคสช.และพล.อ.ประยุทธ์
นี่คือผลพวงของการทำรัฐประหาร และจะเป็นเครื่องมือในการรักษาผลพวงของการทำรัฐประหารทั้งปวง!!!
จริง ๆ แล้ว ประชาธิปัตย์กำลังแข่งกับตัวเองว่าจะสูญเสียคนที่จะสนับสนุนให้กับพรรคการเมืองใหม่ ๆ ไปเท่าไหร่ ดังนั้นจึงออกมาในลักษณะแทงกั๊ก ตอนนี้บอกว่าไม่กั๊ก ไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ แต่ไปตีความว่าการสืบทอดอำนาจนั้นก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อปฏิเสธ พล.อ.ประยุทธ์ ก็เท่ากับปฏิเสธการสืบทอดอำนาจ
นี่คือวาทกรรม ซึ่งไม่มีความหมายอะไรเลย แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ปฏิเสธการสืบอำนาจจริงคุณจะร่วมกับพปชร.ไม่ได้!!!
ส่วนวาทกรรมของพล.อ.ประยุทธ์ที่พูดว่าใคร ๆ ก็ต้องการการสืบทอดอำนาจ พรรคการเมืองต่าง ๆ ต้องการ ขอโทษ...คำว่าสืบทอดอำนาจในประเทศนี้ในภาษาไทยเขาไม่ได้ใช้กับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเขามาจากการเลือกตั้ง ประชาชนเป็นคนตัดสิน
แต่คำว่าสืบทอดอำนาจเขาใจกับผู้ที่มาทำงานการเมืองโดยมีที่มาจากการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากประชาชนไว้ในมือ เขียนกฎหมายขึ้นมาใหม่ แล้วก็สร้างพรรคการเมืองเพื่อตกแต่งให้ดูเป็นกลไกในระบอบประชาธิปไตย แล้วพยายามที่จะใช้กลไกเหล่านี้เพื่อเข้ามาสู่สนามการแข่งขันที่ตัวเองได้เปรียบ
ดิฉันคิดว่าวาทกรรมของสองคนนี้ แกล้งทำเป็นไม่รู้หรือเปล่าว่า คำว่าสืบทอดอำนาจนั้นหมายความว่าอย่างไร? ท่านกำลังสร้างวาทกรรมที่ทำให้คนสับสน ดังนั้นในฐานะฝ่ายประชาชนดิฉันอยากเรียนต่อพี่น้องว่า ดิฉันรู้ว่าพี่น้องไม่หลงกลหรอก และชื่นชมคุณธนาธรในการตอบโต้นายอภิสิทธิ์