เนื่องจากมีคนไม่น้อยที่คิดว่าสังคมไทยบัดนี้มีความเท่าเทียมกัน
ไม่มีชนชั้นสูง, ชนชั้นล่าง จึงอยากให้ข้อมูลประกอบความคิดเห็น
:
กลุ่มคนและชนชั้นในสังคมไทย สั้น ๆ ง่าย ๆ คือ
1.
สังคมไทยและสังคมโลกยังมีชนชั้นอยู่
2.
สังคมชนชั้นที่สำคัญคือชนชั้นทางเศรษฐกิจ
3.
กลุ่มชนชั้นส่วนล่างหรือมวลชนพื้นฐาน
มวลชนรากหญ้า ปัจจุบัน 40% ของสังคมไทยมีรายได้ต่ำกว่า 5,344 บาทต่อคน ต่อเดือน แต่ที่เป็นคนจนใต้เส้นยากจน 2,644บาท และเกือบ จนคือสูงกว่า 2,644 บาทประมาณ 3,173 บาทต่อคนต่อเดือน มีเกือบ 20% ของคนทั้งประเทศ
ตัวเลขโดยประมาณ
เราจึงมีคนชั้นกลางล่างและคนยากจน 40% ของประเทศ
คนชั้นกลางทั่วไปอีกประมาณ
30%
มีคนชั้นกลางบนอีกประมาณ
20%
และชนชั้นสูงหรือชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ,
การเมือง อีก 10%
ที่เป็นชนชั้นนำจริง
ๆ มีเพียง 1% ที่มีฐานะเศรษฐกิจ, รายได้, ทรัพย์สินสูงสุด
ภาวะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจึงถูกหยิบฉวยมาเป็นสาเหตุสำคัญของความขัดแย้งในสังคมไทยโดยฝ่ายอนุรักษ์นิยมจำนวนหนึ่ง และภาวะชนชั้นที่พูดกันก็มักหมายถึงฐานะทางเศรษฐกิจเป็นหลักนั่นเอง
คนรวยที่สุด 10% มีรายได้มากกว่าเป็น 35 เท่าของ คนจนที่สุด 10%
และเป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79% ของประเทศ
กลุ่มคนและชนชั้นกับการต่อสู้ทางการเมือง
1. กลุ่มคนชั้นนำและชนชั้นกลางบนจึงเป็นกำลังสำคัญของฝ่ายอนุรักษ์นิยมทางการเมืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ,
สังคม และฐานะผู้ปกครองทางการเมืองของตน
2. ความเข็มแข็งของชนชั้นนำและชนชั้นสูงฝ่ายอนุรักษ์นิยมทางการเมืองและสังคมได้ร่วมกับชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ
ทุนนิยม เป็นเครือข่ายที่สนับสนุนและอุปถัมภ์กลุ่มอนุรักษ์นิยมทางการเมือง และร่วมกับชนชั้นกลางบน ปัญญาชน
ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
และเพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคตไม่ให้ถูกบั่นทอนหรือแย่งชิงให้กับกลุ่มชนชั้นอื่น
อันได้แก่ มวลชนรากหญ้า, ชนชั้นกลางล่าง และผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังเติบโต
3. ฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้สถาปนาระบบเครือข่าย
มีรัฐข้าราชการ (Government
Sector), นายทุนใหญ่, ภาคเอกชน (Private Sector), NGO และมวลชนฝ่ายอนุรักษ์นิยม เพื่อสถาปนาอำนาจรัฐข้าราชการอนุรักษ์นิยมให้ยืนนานเหนืออำนาจประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแบบสากล
การต่อสู้ของฝ่ายประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนแท้จริงและให้ได้ความเท่าเทียมกัน จึงมีความจำเป็นต้องผนึกกำลังกลุ่มคนทุกชนชั้น
ทุกชนชาติ ทุกศาสนา ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐี, ปัญญาชน, คนยากจน ให้อำนาจเป็นของประชาชน และได้มาตรฐานของสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง
และสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสหประชาชาติ
ตามหลักการมวลชนพื้นฐานคนยากคนจนจึงเป็นด้านหลักของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเท่าเทียม
คนชั้นกลางก็เป็นกำลังหลักในการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและระบอบประชาธิปไตย
ชนชั้นนำและชนชั้นสูงทางเศรษฐกิจการเมืองสังคมก็ร่วมส่วนเป็นแนวหน้าของการต่อสู้ประชาชนได้ และอาจมีบทบาทแถวหน้าการต่อสู้ได้ถ้าได้รับการยอมรับนับถือในบทบาทนำทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม
แต่อาจมีความจำกัดทางชนชั้น (ตามทฤษฎี)
ในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม
เราจึงไม่อาจเรียกร้องคนทุกคน ทุกชนชั้น ทุกกลุ่มความเชื่อ ให้เป็นผู้อยู่แนวหน้าในทุกเรื่อง เขาอาจทำได้ดีในบางเรื่อง
การต่อสู้ของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในความจำกัดของแต่ละกลุ่มคน
แต่ละชนชั้น
ที่เคยมีวิถีชีวิตแบบไหนในสังคมไทย
ให้โอกาสแก่ผู้ร่วมชะตากรรมฝ่ายที่ถูกกระทำเมื่อสังคมยังไม่มีประชาธิปไตยและไม่มีความเท่าเทียมจริง จึงเรียกร้องความสามัคคีของประชาชนทุกชนชั้นทุกฝ่ายที่มีเป้าหมายร่วมกันให้ประเทศนี้ได้ประชาธิปไตยแท้จริง...ไม่ใช่จอมปลอม!
และได้หลักนิติธรรมพร้อมธรรมาภิบาลทางการเมืองการปกครอง
ธิดา
ถาวรเศรษฐ
8
ก.ย. 60