วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ต้องยืนหยัดอำนาจของประชาชน : ธิดา ถาวรเศรษฐ ใน โลกวันนี้วันสุข 21 พ.ค. 59


"ธิดา ถาวรเศรษฐ"ประธานที่ปรึกษากลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) วิพากษ์การเมืองไทยท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างฝ่ายอำมาตยาธิปไตย กับฝ่ายประชาธิปไตย เตือนหากการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่โปร่งใส รัฐบาลและ คสช. จะถูกมองว่าไม่มีความชอบธรรม

สถานการณ์การเมืองขณะนี้

สถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในสถานะซึ่งขั้วที่มีความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนกับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนคณะรัฐประหารมีลักษณะที่ขึงตึงมาก การไม่สนับสนุนหรือสนับสนุนคณะรัฐประหารทับซ้อนกับความขัดแย้งเดิมๆ ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างฝั่งที่ต้องการประชาธิปไตยที่ถือว่าอำนาจที่ต้องการประชาธิปไตยที่ถือว่าอำนาจเป็นของประชาชน กับฝ่ายที่บอกว่าให้รอก่อน อำนาจยังไม่ควรเป็นของประชาชน ควรเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งเป็นความขัดแย้งเดิม คือความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมหรือสายที่เราเรียกว่า อำมาตยาธิปไตย 
นี่แหละ ขัดแย้งกับสายที่ต้องการประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน การทำรัฐประหารทำให้เกิดความขัดแย้งทับซ้อน คือ ในฝ่ายอำมาตยาธิปไตยในขณะนี้ก็มีความขัดแย้งกันระดับหนึ่ง แปลว่าความขัดแย้งหลักกับความขัดแย้งรองปะทุขึ้นมาในลักษณะที่สูงมาก

ฝั่งที่เป็นเอกภาพคือฝั่งที่เป็นแนวทางประชาธิปไตยแบบอำนาจประชาชน แต่ฝั่งอำนาจที่ไม่ใช่ฝั่งประชาชนนั้นมีความขัดแย้งที่ไม่ เป็นเอกภาพสักเท่าไร ซึ่งสะท้อนว่าไม่ว่าจะเป็นการเขียนรัฐธรรมนูญหรือการดำเนินนโยบายต่างๆ เราจะพบว่ามีความขัดแย้งกันอยู่ ไม่ลงตัว

ดังนั้น ภาวะขณะนี้เป็นภาวะที่มีความขัดแย้งหลักและความขัดแย้งรองสูงมาก ในฝ่ายประชาธิปไตยมีความเอกภาพที่ว่า เมื่อมาถึงขั้นมีประชามติก็ต้องการให้ทำ ไม่ต้องการให้เลิก แล้วก็ต้องการให้คนออกมาใช้สิทธิเต็มที่ แต่ฝ่ายประชาธิปไตยที่มีเอกภาพก็ ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ ส่วนจะมากหรือ น้อย จะชนะหรือแพ้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่มีความเป็นเอกภาพ

ส่วนฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะพบว่าบางพวกก็ไม่ต้องการให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่ออายุ มีอำนาจอยู่นานขึ้น พูดตรงๆว่า เป็นความขัดแย้งกันเอง คือเขาคิดว่า คสช. ควรลงจากอำนาจ แล้วให้ คณะอื่นหรือฝ่ายพลเรือน หรือกระทั่ง พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องการจะเข้า พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องการจะเข้า มาบริหารประเทศเช่นกัน

เพราะฉะนั้นปัญหานี้ถือเป็นความขัดแย้งภายในในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่มีอยู่สูงเหมือนกัน แต่ฝ่ายประชาธิปไตยจะนั่งรอให้พวกนี้ทะเลาะกันไม่ได้ เพราะในที่สุดเขาจะประนีประนอมกันระดับหนึ่งและมีความร่วมมือกัน เพราะเขามองว่าปฏิปักษ์คือ "ทุนสามานย์" นั่นแหละ มองเป็นศัตรูตัวร้าย พูดง่ายๆว่าถึง จะไม่ชอบกัน แต่มีศัตรูร่วมกัน

ในขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยที่เดินหน้ามาจนถึงขั้นนี้ก็ถือว่ามีแนวทางค่อนข้างเป็นเอกภาพ มีความแข็งแรงพอสมควร มีความสุขุมพอสมควร เพราะสิ่งที่ไม่ชอบคือปฏิเสธการทำรัฐประหาร ปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุรักษ์นิยม แต่จังหวะก้าวที่จะเดินเป็นอย่างไรอันนี้เป็นเรื่องสำคัญ จะไม่ให้ไปในทิศทางที่ยอมจำนนหรือในทิศทางที่สุ่มเสี่ยงเสียหาย  อันนี้ต้องประเมินประชาชนให้ชัดเจน

ในส่วนของ คสช. นั้น ดิฉันมองว่าเขาพยายามยึดความได้เปรียบให้มากที่สุด นั่นคือเรื่องรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประโยชน์กับอำนาจทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมและ คสช. รวมทั้งนโยบาย เช่น เรื่องการจัดสรรผู้นำท้องถิ่น คือเขากล้าทำในสิ่งที่น่ากลัวมาก เช่น ให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด เป็นความกล้าหาญมาก พูดง่ายๆว่าเปิดหน้าหมดเลยว่าต้องการอะไร แม้กระทั่งปัญหาผู้นำท้องถิ่น อะไร แม้กระทั่งปัญหาผู้นำท้องถิ่น ซึ่งปรกติต้องมีการเลือกตั้ง แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าจะมีการสรรหา โดยอ้างว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งหรืออะไรก็ตาม คือต้องให้อำนาจอยู่ในมืออย่างน้อย 5 ปี ซึ่งอาจยาว 8 ปี 10 ปี 20 ปี แต่กระแสต่อต้านจากสังคมโลกก็สูงมาก จะเห็นว่าประเทศยักษ์ใหญ่บางประเทศเริ่มถอยห่างจาก คสช. ซึ่งมีเหตุผลของมัน บางอย่างเราก็ยังไม่อยากจะพูดตอนนี้ สถานการณ์ในต่างประเทศ ประเทศยักษ์ใหญ่ฝ่ายเสรีประชาธิปไตยเขารังเกียจแน่นอน

แม้กระทั่งฝ่ายที่ไม่ใช่เสรีประชาธิปไตยก็มีท่าทีไม่เหมือนเดิม เรียกว่าไม่มีเวลาที่หวานชื่นสำหรับ คสช. พูดง่ายๆคือ ต้องการรวบรัดอำนาจในการใช้กฎหมายโดยผ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะถึงเวลาที่ทหารต้องวางมือ แต่ยังสามารถใช้รัฐธรรมนูญมารักษาอำนาจต่อจากปืนได้ คือปืนใช้นานมากไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างกฎหมายในรัฐธรรมนูญให้รักษาอำนาจต่อไป เรียกว่าเปิดหน้าเต็มที่

ขณะนี้เรียกว่าเป็นความขัดแย้ง ที่เปิดหน้าเต็มที่เลย โดย คสช. ก็ไม่ รู้สึกกระดาก ไม่รู้สึกเหนียมอายที่จะ ต้องทำแบบหลบๆซ่อนๆ เอากันตรงๆเลย ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยเท่า ที่ดูตอนนี้ก็ถือว่ายังเหมาะสมถูก ต้อง การทำประชามติก็ยืนยันชัดเจนว่าเราจำเป็นจะต้องเรียกร้องปัญหาสิทธิเสรีภาพควบคู่กันไป ทั้งต่อสังคมโลกและสังคมไทยในขอบเขตที่ เหมาะสม  แต่ไม่ใช่ในลักษณะการ ยอมจำนน ในขณะนี้อย่างน้อยที่สุด การพยายามพูดถึงเหตุผลและหลักการก็เป็นอาวุธสำคัญคือ 1.ช่วยทำให้ไม่ผิดกฎหมาย และเป็นกฎหมาย ของเขา 2.สามารถดึงคนที่ยังมีความ ไม่ชัดเจนหรืออยู่ตรงกลางให้ยอม รับได้ในท่วงทำนองที่อาจไม่แข็งกร้าว จนเกินไป ซึ่งมีข้อดีที่ว่า เราดึงคนกลางๆ แม้กระทั่งฝั่งเขาเองให้มาอยู่กับเราได้จำนวนหนึ่ง ไม่ใช่ต้องมาเป็นคนเสื้อแดง แต่อย่างน้อยที่สุดทำให้เขาเป็นฝ่ายรักประชาธิปไตยและไม่สนับสนุนการใช้อาวุธหรือการทำรัฐประหาร

เรียกว่าเป็นยุทธวิธีการใช้หลักการ เหตุผล และความสุขุมให้เป็นประโยชน์ แต่ไม่ใช่ลักษณะการยอมจำนน คือต้องต่อสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ล้มเลิกการต่อสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องให้กำลังใจฝ่ายพวกเราให้ยืนหยัดตรงนี้ เพราะว่าล้มเลิกประชามติไม่ได้ แต่ จะจัดการอย่างไรให้เหมาะสม ปี 2560 เขาก็บอกแล้วว่าต้องมีการเลือกตั้ง เพราะหมดเวลาที่จะยืดเวลาของคณะรัฐประหารออกไปแล้ว เขาไปสัญญากับประเทศต่างๆ

การกดดันจากประเทศต่างๆและยูเอ็นถือเป็นฟางเส้นสุดท้ายแล้ว ในปี 2560 ดิฉันคิดว่า คสช. ยังไงก็ต้องรักษาคำพูดเรื่องให้มีการเลือกตั้งแน่ แต่ปัญหาคือจะชิงความได้เปรียบ ถ้าไม่ผ่านประชามติจะเขียนรัฐธรรมนูญอย่างไร ในทัศนคติของดิฉันคิดว่า การไม่ผ่านรัฐธรรมนูญนี้มีความหมายต่อความชอบธรรมของ คสช. อย่างมาก ไม่ได้หมายความเฉพาะ ตัวรัฐธรรมนูญอย่างเดียว คสช. จึงไม่ให้คนออกมาแสดงความคิดเห็น อ้างตัวเองเป็นคนกลาง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ประชามติผ่านหรือไม่ผ่าน ความชอบธรรมของ คสช. ก็ไม่มี

คสช. ตั้งความหวังรัฐธรรมนูญสูงมาก

เขาพยายามใช้ทุกยุทธวิธี แม้กระทั่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ยิ่งน่าเกลียดมาก เพราะคุณเป็นคนร่าง ถ้าคุณเชื่อว่าดี ทำไมต้องไปอาศัยกลไกรัฐทั้งหลายเพื่อทำให้ร่างของคุณผ่าน ถ้าคิดว่าคุณเป็นเบอร์หนึ่งแล้วจะไปกลัวอะไรกับคนอื่น คุณต้องเปิดให้คนอื่นสามารถแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่คุณยัง ต้องไปแอบข้างหลัง คสช. ต้องไปยืมกลไกกระทรวงมหาดไทย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องให้พวกนักศึกษาวิชาทหาร (รด.) หรือพวกอาสาสมัคร (อสม.) (รด.) หรือพวกอาสาสมัคร (อสม.) คือใช้กลไกรัฐทั้งหลายมาเพื่อเชียร์ ไม่อายเลยหรือ

ถ้าเก่งขนาดนี้ ถ้าแน่จริง ทำไมไม่ชกตัวต่อตัวในฐานะนักวิชาการต่อนักวิชาการ คุณไม่ยอมให้อีกข้างหนึ่งขึ้นเวที ให้อยู่ข้างล่าง แล้วรอบตัว คุณมีอาวุธเต็มไปหมด ตัวเองเป็น ผู้เขียน เป็นทั้งคู่ต่อสู้ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นในความคิดของดิฉันคือ กรธ. ได้เปิดเผยตัวตนตัวเองว่า นอกจาก ทำตามคำสั่งและทำตามร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว ยังไม่มีจิตวิญญาณของนักวิชาการหรือนักกฎหมายแม้แต่น้อย จึงต้องแอบอยู่ข้างหลัง เสร็จแล้วให้คนอื่นป้องกันและสู้แทน รวมทั้งไม่ยอมให้คนอื่นมาสู้กับตัวเอง ไม่ยอมให้ขึ้นเวทีด้วย เรียกว่าไม่ยอมดวลกับคนอื่นเลย

ในทรรศนะของดิฉันคิดว่าบ้านเมืองเราในขณะนี้มันวิปลาส ไม่ได้หมายความว่าชนชั้นนำอนุรักษ์จะเป็นขุนศึกขุนนางอย่างเดียว แต่นักวิชาการก็เป็นนักวิชาการขุนนางที่แอบอยู่หลังขุนศึกด้วย จึงทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย เสียหาย ไม่มีความเป็นปัญญาชนที่แท้จริง

ห่วงความโปร่งใสการทำประชามติ

เป็นห่วงแน่นอน สิ่งที่เราต้องพิจารณาอย่างหนึ่งคือ เขาใช้คำว่า "ปราบโกง" เป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง ใช้คำขวัญนี้โฆษณา ตามความหมายนี้คุณผิดแล้ว คุณบอกว่าเป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง ปราบจริงหรือไม่ แล้วโกง มีกี่แบบ คนที่โกงหมายถึงเป็นรัฐบาลมาใช้นโยบาย รัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้งใช้นโยบายเพื่อผลประโยชน์ทับซ้อน โกงหมายถึงการเอาอำนาจเงินเข้ามาจัดการ แต่ขอโทษ โกงนี่ ไม่ได้หมายถึงอำนาจเงินอย่างเดียว การใช้กลไกอำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองก็ถือว่าโกงเหมือนกัน

ความหมายว่าการทำประชามติรัฐธรรมนูญปราบโกง แต่เรากำลังจะพูดถึงการโกงประชามติโดยใช้กลไกอำนาจรัฐ เป็นการโกงที่เลวร้าย ซึ่งประชาชนต้องช่วยกันสอดส่องการใช้กลไกรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหรือคำพูด ถ้าพูดว่ารับเถอะจะได้มีการเลือกตั้งเร็วๆหรืออะไรก็ตาม คำพูด การกระทำ และตัวอักษรที่บ่งชี้ว่าต้องการให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนต้องตรวจสอบ เพราะคือการโกงในการทำประชามติแบบหนึ่ง

แบบที่ 2 คือการโกงประชามติโดยการเปลี่ยนหีบเลย โยนหีบทิ้งหรือเปลี่ยนหีบใหม่ หรือกลเม็ดกลยุทธ์ให้ประชามติผ่านให้ได้ เพราะต้องการให้ผ่าน ถ้าผ่านแล้วใครได้ประโยชน์ ให้ประชาชนยอมรับในสิ่งที่ คสช. ยึดอำนาจ ซึ่งประชาชนก็ได้รัฐธรรมนูญประมาณอย่างนั้น หรืออาจมีการใช้กลไกอำนาจรัฐอื่นๆ เช่น ขู่จะย้ายข้าราชการถ้าจังหวัดไหนไม่ได้ผลตามเป้า หรือมีการขู่ลอยๆ อะไรอย่างนี้

แม้กระทั่งการจัดสรรสมาชิกท้องถิ่นใหม่ ตรงนี้ก็ส่อว่ามีความผิดปรกติแล้ว คุณทำไปทำไม มีเหตุผลอะไร เกี่ยวข้องกับปัญหาประชามติและการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหรือไม่

การโกงอย่าไปหมายความเพียงนักการเมืองโกง กลไกรัฐของกลุ่มอำมาตย์หรือสายอนุรักษ์นิยม หรือสายการทำรัฐประหารทั้งหลายที่เข้ามาควบคุม ไม่มีผลประโยชน์จริง หรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าจะปราบต้อง ปราบทุกฝ่าย ไม่ใช่เฉพาะนักการเมืองและพรรคการเมืองอย่างเดียว ประชาชนต้องช่วยกัน

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า คสช. จะต้องพยายามผลักดันให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับคุณมีชัยผ่านให้ได้ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง และแสดงความชอบ ธรรมต่อชาวโลกว่าประชาชนชอบผม ชอบร่างรัฐธรรมนูญของผม ซึ่งการตอบชอบร่างรัฐธรรมนูญของผม ซึ่งการตอบรับก็ทำให้อ้างว่าจะอยู่ในอำนาจต่อไป อาจจะเป็น 10 ปี โดยที่คนอื่นไม่กล้าโต้แย้ง ถามว่านี่ใช่ผลประโยชน์หรือไม่

ฝากอะไรผู้รักประชาธิปไตย

ขอให้ประชาชนผู้มีใจรักประชาธิปไตยยืนหยัดจิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อให้ได้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ตรวจสอบรัฐธรรมนูญว่าเป็นของประชาชนหรือเปล่า ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนจึงจะเรียกได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ถ้าอำนาจอธิปไตยไม่ใช่ของประชาชนก็ต้องไม่เห็นด้วย เพราะประชาชนพร้อมแล้วสำหรับ การปกครองระบอบประชาธิปไตย ความมุ่งมั่นต้องมีอยู่ แม้เราอาจมีปัญหากันบ้างในระหว่างการเดินทาง แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ล้มเลิกไม่ได้ คือต้องเดินหน้าต่อไป และต้องให้ คนมาร่วมทางกับเราให้มากที่สุด เราต้องระมัดระวังพวกลัทธิยอมจำนน หรือพวกสุ่มเสี่ยงจนไม่มีสติ การ โดดเดี่ยวตัวเองแล้วไม่คำนึงถึงคน ส่วนมากจะทำให้เราไม่ประสบผลสำเร็จ

ต้องต่อสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง
ไม่ล้มเลิกการต่อสู้
ในสิ่งที่ถูกต้อง ตรงนี้สำคัญมาก
ที่ต้องให้กำลังใจฝ่ายประชาธิปไตย
ให้ยืนหยัดตรงนี้ ล้มเลิกประชามติไม่ได้