ศาลอาญา
พิพากษายกฟ้อง “ชำนาญ-ปุณิกา” คดีพยายามฆ่าจนท.(ทหาร) ถูกกล่าวหาเป็น “ชายชุดดำ”
ก่อเหตุยิงต่อสู้ทหารที่เข้าสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงคืน 10 เม.ย.53
ที่แยกคอกวัว ศาลชี้พยานฝ่ายโจทก์มีพิรุธ-ไม่เห็นหน้าผู้ก่อเหตุ
ทั้งสองขอบคุณที่ให้ความเป็นธรรม
วันนี้
(1 ตุลาคม 2567) ที่ห้องพิจารณาคดี 807 ศาลอาญา รัชดาภิเษก อ่านคำพิพากษาในคดี “ชายชุดดำ”
ร่วมกันก่อเหตุยิงต่อสู้กับทหารที่เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ
หรือ นปช. บริเวณ 4 แยกคอกวัวคืนวันที่ 10 เม.ย.2553
คดีนี้อัยการฟ้อง
2 คนได้แก่ ชำนาญ ภาคีฉาย หรือเล็ก จำเลยที่ 1 และ
ปุณิกา ชูศรี หรืออร จำเลยที่ 2 ด้วยข้อหาข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
สำนักข่าวประชาไทได้
สรุปคำพิพากษาของศาลได้ว่าพยานของฝ่ายโจทก์หลายปากที่อ้างว่าอยู่ในที่เกิดมีพิรุธเช่นพยานตำรวจที่อ้างว่าเห็นจำเลยที่
1 พร้อมกับอาวุธสงครามและเปิดหมวกที่คลุมใบหน้าไว้และแต่ไม่ถ่ายภาพอาวุธที่จำเลยกับพวกถือไว้อยู่เลยทั้งที่สามารถทำได้โดยง่าย
และพยานบุคคลทั่วไปที่เคยให้การกับพนักงานสอบสวนไว้ตอนปี 2553 อ้างว่าเห็นกลุ่มผู้ก่อเหตุใส่หมวกปิดบังใบหน้ายืนประกอบอาวุธอยู่ในบริเวณใกล้จุดเกิดเหตุไม่ทราบว่าเป็นใคร
แต่เมื่อถูกพนักงานสอบสวนเรียกไปให้การอีก 2 ครั้งในปี 2560
และ 2561 กลับเบิกความว่ากลุ่มชายดังกล่าวได้ถอดหน้ากากออกศาลเห็นว่าพยานปากนี้ให้การขัดแย้งกัน
นอกจากนั้นพยานทหารอย่าง
ชัยวัฒน์ ตะเพียรทอง
ที่เบิกความว่าขณะที่หน่วยทหารในถนนตะนาวกำลังกลับถอนกำลังออกจากถนนตะนาวตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาตนเห็นรถตู้สีขาวขับฝ่าเข้ามาและผู้ก่อเหตุยังเปิดกระจกรถมาและถอดหมวกไอ้โม่งที่คลุมหน้าอยู่ออกและตะโกนด่าทหารนั้น
ศาลก็ยังเห็นว่าในถนนเส้นนั้นมีหน่วยทหารที่กำลังถอนกำลังอยู่แต่ผู้ก่อเหตุยังขับรถเข้าไปทั้งที่เสี่ยงต่อการถูกจับกุมแล้วผู้ก่อเหตุที่ใส่หมวกไอ้โม่งปิดใบหน้าก็เพื่อปกปิดตัวตนจากบุคคลอื่นและเจ้าหน้าที่ทำให้คำให้การของพยานทหารปากนี้มีพิรุธเช่นกัน
พล.ท.ชิษณุพงศ์
รอดศิริ เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีเนื่องจาก พล.ต.วิจารณ์ จดแตง มาแจ้งกับตนเมื่อ 4 ส.ค.2558
ว่าจับผู้ก่อเหตุได้
เบิกความในฐานะอยู่ในเหตุการณ์แต่พบว่าขณะเกิดเหตุไม่ได้เห็นใบหน้าของคนร้ายเนื่องจากปิดบังใบหน้าและเมื่อพยานเห็นคนร้ายใช้อาวุธยิงแล้วก็หมอบลงด้วยพยานย่อมไม่เห็นตัวผู้ก่อเหตุจึงเชื่อว่าจำหน้าคนร้ายไม่ได้การอ้างอว่าเห็นจำเลยที่
1 จึงไม่น่าเชื่อถือ
ส่วนพยานของโจทก์ร่วม
รณฤทธิ์ สุวิชชา
ที่เบิกความรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อเหตุว่าได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมก่อเหตุการณ์ในคืนวันที่
10 เม.ย.2553 และได้พบกับผู้ร่วมก่อเหตุคนอื่น ๆ
รวมถึงจำเลยในคดีนี้ก่อนเดินทางไปที่เกิดเหตุแล้วร่วมกันนำอาวุธไปใช้ยิงใส่ทหารในถนนตะนาวและขึ้นรถตู้หลบหนีและตนได้ให้การไว้หลังจากถูกจับกุมเมื่อ
8 ก.ย.2557 ขณะถูกควบคุมตัวอยู่ในกองพันทหารสื่อสารที่
1 และต่อมาพยานได้ให้การไว้กับพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษไว้เมื่อปี
2560
แต่รณฤทธิ์ตอบคามทนายความจำเลยด้วยว่า
หลังจากตนถูกคุมตัวในค่ายทหารและถูกย้ายไปคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพแล้วตนก็ได้ร้องขอความเป็นธรรมกับพนักงานสอบสวนพร้อมกับมีทนายความเข้ามาช่วยเหลือได้บอกกับทนายความว่าที่เคยให้การไว้กับทหารนั้นไม่เป็นความจริงและเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาก็ให้การปฏิเสธ
ศาลเห็นว่าคำให้การของพยานปากนี้ไม่อยู่กับร่องกับรอย
ดังนั้นจึงเหลือเพียงพล.อ.วิจารณ์
จดแตง
ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเบิกความว่าหลังจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกตนได้ใช้อำนาจดังกล่าวพาตัวผู้ต้องสงสัยมาสอบสวนคือ
กิตติศักดิ์ สุ่มศรี หรืออ้วน ปรีชา อยู่เย็น รณฤทธิ์ และชำนาญ
จำเลยในคดีนี้และได้ทำบันทึกคำให้การรายละเอียดการก่อเหตุไว้
อย่างไรก็ตามศาลเห็นว่าพยานปากนี้เป็นเพียงพยานบอกเล่าเท่านั้นจึงห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา
226 (3)
ศาลจึงพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองคนเพราะเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาล้วนแต่มีพิรุธ
และจำเลยทั้งสองคนในคดีก็ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด
จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำความผิดตามคำฟ้อง
อย่างไรก็ตาม
ก่อนหน้านี้จำเลยทั้งสองสู้คดี จนศาลยกฟ้องทั้ง 3 ศาล
ในข้อหาครอบครองอาวุธ และถูกฟ้องในคดีนี้ที่พิพากษาในวันนี้เป็นคดีสอง
โดย
ปุณิกา กล่าวกับ ยูดีดีนิวส์ ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า
คดีที่พิพากษาวันนี้รู้สึกดีกว่าคดีแรก(ครอบครองอาวุธ)
เพราะคดีที่แล้วถึงแม้ยกฟ้อง(ทั้ง 3 ศาล) แต่ยังมีข้อสงสัย
ทำให้ติดคุกฟรี คดีนี้ไม่ได้ติดคุกและไม่มีข้อค้างคา และยกฟ้องในวันนี้
ทำให้รู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรม
ข้อมูลคดี
: ประชาไท