10
ปี รัฐประหาร 57 - 10 ปี
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน “รังสิมันต์-ชลธิชา”
พาทัวร์ย้อนอดีตเหตุถูกจับหน้าหอศิลป์ หลังออกมาต้านรัฐประหาร
เมื่อวันที่
22 พ.ค. 2567 ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจัดนิทรรศการ “วิสามัญยุติธรรม” ในวาระครบรอบ 10
ปีรัฐประหาร 2557
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
การชุมนุมครบรอบหนึ่งปีรัฐประหาร เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
2558 นักกิจกรรมหลายกลุ่มรวมตัวกันบริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านการรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ
22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
(คสช.) ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ
การชุมนุมครั้งนั้นมีผู้ร่วมกิจกรรมราว 30 คนที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบ
ต่อมามีการออกหมายจับนักกิจกรรม 9 คนในความผิดฐานชุมนุมฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.
ฉบับที่ 3/2558 ในจำนวนดังกล่าวรวมถึงรังสิมันต์ขณะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และชลธิชาขณะเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รังสิมันต์และชลธิชาเล่าว่า
เหตุการณ์วันนั้นเปลี่ยนชีวิตของทั้งสองคน ทั้งที่การชุมนุมควรจบภายใน 15 นาทีตามที่วางแผนไว้
ไม่ควรมีใครถูกดำเนินคดี
แต่เพราะฝ่ายความมั่นคงมีความกังวลและอาจมีคำสั่งว่าจะไม่ปล่อยให้นักศึกษาแสดงออก
จึงเกิดการดำเนินคดีและการต่อสู้คดีตามมา ท้ายที่สุดเมื่อย้อนมองจากวันนี้
การใช้กำลังเข้าปราบปรามของฝ่ายความมั่นคงในวันนั้น เป็นความคิดที่ผิดพลาด
จากนั้นรังสิมันต์และชลธิชาได้นำชมนิทรรศการที่ไล่เรียงการชุมนุมของประชาชนตั้งแต่ช่วงปี
2557-2558
จนถึงปัจจุบัน โดยรังสิมันต์กล่าวว่า แม้การรัฐประหารผ่านมาแล้ว 10
ปี แต่เชื่อว่าประชาชนไม่ได้รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง
เพราะยังต้องอยู่กับปัญหาที่ระบอบ คสช. ทิ้งไว้ เช่น รัฐธรรมนูญ 2560 สว. ทุกวันนี้พรรคการเมืองที่สืบทอดจาก คสช. ก็ยังเป็นพรรครัฐบาล
จึงเป็นบทเรียนของสังคมว่าเราต้องช่วยกันทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย
เคารพต่อเสรีภาพการแสดงออก เคารพสิทธิมนุษยชน
เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงคุณค่าในเชิงการเมืองเท่านั้น แต่มีความหมายต่อทางเศรษฐกิจ
เพราะนักลงทุนก็อยากลงทุนในสังคมที่กฎหมายน่าเชื่อถือ ไม่มีการรัฐประหาร
ทั้งนี้
นิทรรศการ “วิสามัญยุติธรรม” จัดที่ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่วันที่ 21-26 พฤษภาคม 2567 เวลา
10.00 - 20.00 น.
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #10ปีรัฐประหาร57