“ก้าวไกล” แถลงจับตานโยบายแรงงาน ชี้ค่าแรงขั้นต่ำ 400 ส่อแววไม่เกิดภายในสิ้นปีนี้ ทวงสัญญา 600 บาทภายในปี
2570 จะทำได้หรือไม่ ฝากสภาเร่งพิจารณา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานที่ก้าวไกลเสนอ ปรับนิยามลูกจ้าง-นายจ้าง
ครอบคลุมทุกรูปแบบการจ้างงาน
วันที่
10 พฤศจิกายน 2566 ที่อาคารอนาคตใหม่ สหัสวัต คุ้มคง
สส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล แถลงข่าว Policy Watch จับตานโยบายรัฐบาลในส่วนของกระทรวงแรงงานหลายด้าน
รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทภายในปี 2570
ว่าในคำแถลงนโยบายกระทรวงแรงงาน โดย พิพัฒน์ รัชกิจประการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ภายใต้หลักคิด “ทักษะดี มีงานทำ หลักประกันสังคมเด่น
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” รมว.แรงงาน ไม่มีการกล่าวถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
แต่ได้ให้สัมภาษณ์ว่ากระทรวงแรงงานมีมติปรับขึ้นค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 54
สาขาอาชีพ จากทั้งหมด 129 สาขาอาชีพ
โดยจะมีผลภายใน 90 วันหลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ทว่าเมื่อวันที่
6 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา รมว.แรงงาน
กลับให้ข่าวว่าจะมีการประชุมเพื่อขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างแน่นอน แต่อาจไม่ใช่ 400
บาททั่วประเทศ เพราะฐานของค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน
ซึ่งการให้ข่าวสองครั้งไม่เหมือนกันเช่นนี้ ชัดเจนว่าเป็นการยอมรับของ
รมว.แรงงานเองว่าภายในสิ้นปีนี้ จะยังไม่เห็นค่าแรง 400 บาทแน่
ๆ และคำถามที่ตามมาคือจะต้องใช้เวลาอีกกี่ปีถึงจะได้ค่าแรง 600 บาทตามที่รับปากไว้
“อย่าลืมว่านโยบายหลักนโยบายหนึ่งตอนที่หาเสียงคือค่าแรง 600 บาทภายในปี 2570 แต่การแถลงนโยบายที่ผ่านมาของนายกรัฐมนตรีและ
รมว.แรงงาน ผมยังไม่เห็นแววเลยว่าจะไปสู่ค่าแรง 600 บาทได้อย่างไร
แล้วท่านบอกว่าให้รอข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้
เพื่อที่จะมีการประชุมไตรภาคีในเดือนหน้าซึ่งก็เป็นเดือนสิ้นปีแล้ว สรุป 400
บาทในปีนี้จะไม่ได้แล้วใช่หรือไม่” สหัสวัตกล่าว
สหัสวัตยังแถลงในช่วงท้าย
ว่าพรรคก้าวไกลมีคำถามถึง รมว.แรงงาน คือ 1) สรุปว่าจะมีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำใหม่หรือไม่
2) หากรัฐบาลประกาศว่าค่าแรงจะอิงตามมาตรฐานฝีมือ
จะถือว่าเป็นค่าแรงขั้นต่ำได้หรือไม่ 3) ตามที่นายกรัฐมนตรีเคยประกาศว่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้ได้ภายในวันที่
1 มกราคม 2567 จะทำตามนั้นหรือไม่อย่างไร
และ 4) คณะกรรมการไตรภาคีจะพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำเริ่มต้น 400
บาทหรือไม่และจะพิจารณาเมื่อไร?
สหัสวัตยังกล่าวถึงแผนการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงแรงงานในปีงบประมาณ
2567 โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน 2 ระยะ
ที่จะทำภายใน 100 วัน และระยะ 6 เดือนถึง
1 ปี โดยเรื่องที่น่าสนใจคือนโยบาย “Quick win” 100 วันของ รมว.แรงงาน ที่จะมีการนำเสนอร่าง
พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ ให้ ครม.
พิจารณาเห็นชอบนำเสนอเข้าสู่สภาต่อไป
ซึ่งแม้พรรคก้าวไกลจะเห็นด้วยที่ต้องมีการพิจารณาคุ้มครองแรงงานอิสระ
แต่พรรคก้าวไกลไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะตามร่างฯ ดังกล่าว
ผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องลงทะเบียนก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ
อีกทั้งนายจ้างตามร่างฯ นี้ยังนิยามไว้เพียงในส่วนของธุรกิจแพลตฟอร์มเท่านั้น
โดยไม่ได้มีสถานะการเป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมาย
ทำให้สถานะและความรับผิดชอบของนายจ้างยังต่างจากนายจ้างทั่วไปหรือแทบจะไม่มีเลย
สหัสวัตกล่าวต่อไป
ว่าการให้ความคุ้มครองตามร่างฯ ดังกล่าวยังมีปัญหาที่การแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ส่วนสาขาอาชีพ
คือ “ผู้ประกอบอาชีพอิสระ” และ “ผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระ”
ทั้งที่มีลักษณะที่คล้ายกัน โดยผู้ประกอบการอาชีพกึ่งอิสระตาม พ.ร.บ. นี้
ที่จริงแล้วมีความสัมพันธ์เป็นนายจ้างกับลูกจ้างอย่างชัดเจนและควรจะต้องได้รับความคุ้มครองแบบแรงงานทั่วไปมากกว่า
นอกจากนี้
ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นไปในทางส่งเสริม
แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือการคุ้มครองเรื่องค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ไม่มีการกำหนดอยู่ใน
พ.ร.บ. ฉบับนี้เลย และยังมีอีกประเด็นที่เป็นปัญหา
คือการตั้งกองทุนส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระแยกขึ้นมาอีกกองทุนหนึ่ง
แทนที่จะรวมแรงงานกลุ่มนี้ไปอยู่ในกองทุนประกันสังคม
ขยายและเพิ่มสิทธิของผู้ประกันตนมาตรา 40 แทน
โดยที่ร่างฯ
ดังกล่าวยังกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ
และคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและคุ้มครองแรงงงานอิสระ
ซึ่งนอกจากมีหน้าที่ที่ทับซ้อนกันแล้วยังมีที่มาที่มีปัญหาด้วย
กล่าวคือคณะกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ มีที่มาเกือบทั้งหมดจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรี
มีผู้แทนของแรงงานอิสระเพียง 4 คน จาก 21 คน
ส่วนคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด
ดังนั้น
พรรคก้าวไกลจึงเสนอว่าควรมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และ ร่าง
พ.ร.บ.สหภาพแรงงาน ที่พรรคก้าวไกลได้ยื่นเข้าสภาไปแล้ว โดยเฉพาะ
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ที่มีข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรมที่จะพัฒนาสวัสดิภาพแรงงานและแก้ปัญหาข้างต้น
โดยหวังว่าจะได้เสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาล ผ่านกฎหมายฉบับนี้โดยเร็วต่อไป
สาระสำคัญของร่างฯ นี้คือ
1)
เพิ่มวันหยุดจาก 1 วันต่อสัปดาห์เป็น 2
วันต่อสัปดาห์
2)
เพิ่มวันลาพักร้อนเป็น 10 วัน
3)
เพิ่มวันลาคลอดเป็น 180 วัน
4)
ในสถานที่ทำงานต้องมีห้องให้นมบุตร และ
5)
แก้ไขนิยามของลูกจ้างและนายจ้างเพื่อให้สอดคล้องและครอบคลุมกับแรงงานทุกกลุ่ม
ทั้งในระบบ นอกระบบ ข้าราชการ และแรงงานรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
สหัสวัตยังกล่าวต่อไปถึงนโยบายระยะ
6 เดือนถึง 1 ปี ในการพัฒนาศักยภาพแรงงานชั้นสูงเพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน
โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซีและเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ซึ่งสหัสวัตระบุว่าในพื้นที่อีอีซีที่ตนเป็นผู้แทนอยู่ด้วยนั้น
ในความเป็นจริงมีประเด็นที่ควรพิจารณามากกว่าเรื่องของค่าแรง
นั่นคือปัญหาสภาพการจ้างงานในปัจจุบัน ที่มีการเพิ่มสัดส่วนการจ้างงานแบบเหมาช่วง
(Sub-contract) เป็นจำนวนมาก
หลายสถานประกอบการเลิกจ้างพนักงานประจำแล้วจ้างพนักงานซับคอนแทร็คเข้าไปแทนที่
ซึ่งเป็นรูปแบบการจ้างงานที่ไม่มีความมั่นคงใดๆ
สวัสดิการเทียบเท่าพนักงานประจำไม่ได้ และโอกาสถูกเลิกจ้างก็ง่ายมาก
อีกทั้งพื้นที่อีอีซี ยังมีปัญหาการนำเข้าแรงงานผิดกฎหมาย
จากนโยบายการกระตุ้นให้นายทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากประเทศจีน
เข้ามาลงทุนในอีอีซี และให้แรงงานมาทำงานในสายการผลิต
ซึ่งควรเป็นส่วนที่สงวนให้คนไทย
ต่อมาในนโยบายระยะ
6 เดือนถึง 1 ปี คือเรื่องการอัพสกิลและรีสกิล
สหัสวัตระบุว่าแม้การผลิตหลักสูตร การตั้งศูนย์การทดสอบ
และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานต่างๆ เป็นสิ่งที่ดี
แต่นโยบายดังกล่าวยังขาดตัวชี้วัดความสำเร็จ
อีกทั้งการอัพสกิลและรีสกิลยังเป็นไปไม่ได้เลยตราบที่แรงงานยังต้องทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ บางวันหลายสิบชั่วโมง เพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ
ไม่มีเวลาพักผ่อนและยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการสมัครและการเดินทางไปเรียนหลักสูตรเหล่านี้ด้วย
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ก้าวไกล #นโยบายแรงงาน