วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) ติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนพี่น้องสมัชชาคนจน

 


สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) ติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนพี่น้องสมัชชาคนจน 


วันนี้ (23 ตุลาคม 2566) เวลา 16.00 น. นายดิป มาการ์ เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนและหัวหน้าทีมประเทศไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ UNHCR  ลงพื้นที่ชุมนุมของพี่น้องสมัชชาคนจน บริเวณถนนลูกหลวง ข้างกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตลอดการชุมนุมเจรจาแก้ไขปัญหาร่วม 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา


โดยมีนายไพฑูลย์ สร้อยสด เลขาธิการสมัชชาคนจน ได้พูดถึงข้อกังวลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในช่วงการชุมนุมที่ผ่านมา โดยเฉพาะพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจนับตั้งแต่วันแรกที่มีการสกัดกั้นการเข้าพื้นที่ชุมนุมเจรจาแก้ไขปัญหา ทั้ง ๆ ที่ได้มีการแจ้งการชุมนุมไว้แล้ว ร่วมทั้งพฤติกรรมการคุกคามทางเพศโดยการถ่ายรูปผู้หญิงที่กำลังอาบน้ำในช่วงการชุมนุม 3 วันแรกซึ่งตำรวจเข้ามาใช้รถห้องน้ำร่วมกับชาวบ้าน


อีกทั้งการประกาศห้ามชุมนุมในระยะ 50 เมตรจากทำเนียบรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่ อยู่ห่างและเราได้มีการแจ้งการชุมนุมอย่างเป็นทางการจนเราต้องวัดระยะห่างให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดู


รวมทั้งในการเดินขบวนไปเจรจาแก้ไขปัญหาตามนัดหมายกับผู้แทนรัฐบาลพวกเราก็ถูกตำรวจปิดกั้นทุกครั้งที่เราเดินทางไปเจรจา ทางเราจึงยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.)  และเสนอให้ยกเลิก พรบ.ชุมนุม เพราะตำรวจผลักดันกฎหมายนี้แต่กลับเป็นผู้ละเมิดกฎหมายนี้เสียเอง


ในส่วนของการเจรจาแก้ไขปัญหากับรัฐบาลถึงวันนี้ เรามีเรื่องเจรจาที่ยังไม่ได้ข้อยุติอีกประมาณ 5-7 เรื่อง  โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้แทนรัฐบาล ทางสมัชชาคนจนจึงได้ยื่นข้อเสนอพร้อมกรอบการเจรจราการแก้ไขปัญหาระหว่างสมัชชาคนจนกับรัฐบาล เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 โดยภายหลังการเปิดเจราเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม นั้น นับว่าผลการเจรจาเป็นที่ยอมรับได้ในระดับหนึ่ง และมีการเจรจาอย่างต่อเนื่องตามรายกรณีปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังพบว่ามีปัญหาที่ไม่สามารถเจราจาได้ คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงแรงงานที่ยังไม่สามารถเจรจาและไม่ได้รับความรับมือเท่าที่ควรเหมือนกระทรวงอื่นๆ โดยนัดหมายดำเนินการเจราจาต่อในวันที่ 24 ตุลาที่จะถึงนี้ 


คุณบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าในการเจรจาการแก้ไขปัญหาในกรณีปัญหาที่ยังติดขัดและไม่ได้รับความร่วมมือคือ กระทรวงทรัพยากรฯ และกระทรวงแรงงานที่ยังไม่มีความก้าวหน้าเพราะกระทรวงแรงงานเหมือนไม่มีตัวตนในการเจรจรา หรือกรณีเขื่อนราศีไศล หรือกรณีอื่นๆแม้ว่าจะผ่านไปแล้ว แต่เราก็ยังไม่มั่นใจว่าผลการเจรรจาเหล่านั้นจะบรรลุผล เพราะที่ผ่านมาเราเองก็ไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง ส่วนกรณีป่าไม้ที่ดินก็เป็นการเอาที่ดินของชาวบ้านไปทำคาร์บอนเครดิตให้เราปลูกต้นไม้ให้รัฐบาลเอาไปขาย เมื่อครบกำหนดขายก็จะให้เราออกจากที่ดิน แล้วเราจะไปอยู่ตรงไหน การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศที่ไม่เป็นธรรม  ส่วนปัญหาด้านเกษตรก็เป็นการละเมิดสิทธิเกษตร เราจึงเสนอให้รัฐยอมรับและผลักดันปฏิญญาสิทธิเกษตรกรและบุคคลอื่นผู้อยู่ในชนบท ซึ่ง UN พึ่งรับรองไป จึงอยากฝากไปยัง UN ให้ช่วยผลักดันไปยังรัฐบาลเช่นกัน


หลังจากฟังรายงานจากตัวแทนสมัชชาคนจน นายดิป มาการ์ เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนและหัวหน้าทีมประเทศไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กล่าว ขอบคุณสมัชชาคนจนและยินดีผลักดันปฏิญญาสิทธิเกษตรกร ซึ่งไทยได้ลงนามในกฎหมายระหว่างประเทศที่ตรงกับการเรียกร้องของสมัชชาคนจนพอดี ประเทศไทยมีแผนปฏิบัติการเรื่องเศรฐกิจและมนุษยชน ซึ่งเป็นกรอบที่เราจะทำงานร่วมกันได้ สิ่งที่สมัชชาคนจนทำอยู่ตอนนี้เป็นเรื่องที่เราอยากให้สมัชชาคนจนช่วยแนะนำเพื่อให้พวกเราได้ร่วมกันผลักดันและสร้างความร่วมมือไปด้วยกัน 


ผู้แทน UNHCR กล่าวต่อว่า ถ้าหลังจากนี้ยินดีและพร้อมลงพื้นที่ไปเยี่ยมพี่น้องสมัชชาคนจนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ


ทั้งนี้คุณบารมี ชัยรัตน์ ได้กล่าวขอบคุณ UNHCR ที่จะนำข้อกังวลของสมัชชาคนจนไปร่วมผลักดัน พร้อมทั้งกล่าวสำทับอีกว่า “เราก็ต้องการกลับบ้านทุกวัน เพราะข้าวในนาก็ตั้งท้องรอเก็บเกี่ยว แต่การเจรจราก็ยังไม่ได้รับข้อยุติ”


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #สมัชชาคนจน