ธิดา ถาวรเศรษฐ : 19
กันยายน 2566 ยุติสงครามกับระบอบทักษิณ แต่ไม่ใช่เป็นการยุติสงครามกับประชาชน
[ถอดจาก Facebook Live อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ เมื่อวันที่
18 กันยายน 2566]
เนื่องจาก
19 กันยายน ก็เป็นวันพรุ่งนี้ มันเป็นอะไรที่เราไม่พูดถึงไม่ได้ แต่เราจะไม่ใช่รำลึกเพียงแต่ว่ามีอะไรเกิดขึ้น
แต่ว่าที่น่าสังเกตสำหรัยบ 19 กันยา ปีนี้ตามที่เราตั้งหัวข้อ ก็คือ
“19
กันยา 66 ประหนึ่งว่ายุติสงครามกับระบอบทักษิณ
แต่ว่าไม่ใช่เป็นการยุติสงครามกับประชาชน”
ถามว่าใครเป็นผู้ยุติสงคราม
นั่นก็คือเครือข่ายจารีตอำนาจนิยม เพราะ 19 กันยา 2549
เป็นวันที่เขาประกาศสงครามกับสิ่งที่เขาเรียกว่า “ระบอบทักษิณ”
ก็ประกาศสงครามอย่างแบบที่ไม่ได้ทำมาก่อนเลย คือครั้งสุดท้ายในการทำสงครามแบบเต็มที่เต็มรูปแบบก็คือเป็นการประกาศสงครามกับ
พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ในช่วงสงครามเย็น แล้ว พคท.
จากที่ไม่ได้ต่อสู้ด้วยอาวุธ ก็มาต่อสู้ด้วยอาวุธในยุคจอมพลสฤษดิ์
แต่นั่นเป็นสงครามที่ต่อสู้ทั้งทฤษฎี ต่อสู้ทั้งด้วยอาวุธ เป็นสงครามที่มีการหลั่งเลือด!
แล้วก็มันเป็นเรื่องของในยุคสงครามเย็นด้วย ดังนั้นมันจึงเป็นทั้งสงครามภายใน, สงครามภายนอก
และเป็นสงครามที่หลั่งเลือด
จากนั้นก็ดูประหนึ่งว่าเครือข่ายจารีตอำนาจนิยมซึ่งได้รับการหนุนจากฝ่ายในตอนนั้นต้องถือว่าสหรัฐฯ
คือโลกเสรี ก็มีพละกำลังอำนาจมาจนตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็มาเกิดเหตุการณ์ 14ตุลา16,
6ตุลา19 ซึ่ง 6ตุลา19 ก็เป็นสงครามหลั่งเลือดฝ่ายเดียวเหมือนกัน
แบบเดียวกับคนเสื้อแดง ก็คือประชาชนไม่ได้มีอาวุธอะไร อย่างมากก็มีปืนพกสัก 1 หรือ
2 กระบอก อันนั้นก็เป็นสงครามหลั่งเลือดกับปัญญาชน โดยเครือข่ายจารีตอำนาจนิยมเช่นกัน
แต่ว่ามันยังอยู่ในช่วงยุคสงครามเย็น
ผ่านมาจนกระทั่ง
ดิฉันจะผ่าน 2535 ไป เพราะ 2535 มีลักษณะพิเศษแบบเดียวกับ 2516
จะมาพูดในปัญหาว่าจารีตนิยม อำนาจนิยม ทำสงครามกับประชาชนได้มีมายาวนานตั้งแต่ประวัติศาสตร์
แต่ว่าถ้าเป็นสงครามกับพรรคการเมืองหรือกับบุคคล ก็คือชุดแรกที่สำคัญคือคณะราษฎร
2475 มาจนกระทั่งถึง พคท. กลุ่มปัญญาชนในปี 2519 แล้วก็มาอีกทีก็คือ 19 กันยายน
2549 ที่ประกาศสงครามกับสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ”
คือทั้งคุณทักษิณและพรรคไทยรักไทย เครือข่ายของคุณทักษิณทั้งหมด ดังนั้น
มันมีความหมายในเชิงประวัติศาสตร์ว่า เครือข่ายจารีตอำนาจนิยม ครั้งนี้ทำสงครามกับนายทุนและพรรคการเมืองนายทุนที่ได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ
2540 ซึ่งเป็นผลิตผลของการต่อสู้ของประชาชนในปี 2535
เพื่อจะทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง
แต่พรรคการเมืองเข้มแข็งแทนที่จะได้เป็นพรรคประชาธิปัตย์ ก็กลายเป็นพรรคไทยรักไทย
ถามว่าทำไมต้องทำสงครามกับพรรคไทยรักไทยและสิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณ
?
เพราะน่ากลัวมากสำหรับกลุ่มอำนาจเก่า
ท่านผู้ชมและท่านผู้ฟังลองดูนะคะว่าเมื่อตอน 2544 พรรคไทยรักไทย
เลือกตั้งครั้งแรกได้ที่นั่งรวม 248 ที่นั่ง คิดเป็น 49.6%
ครึ่งหนึ่งเลยของผู้ที่มาออกเสียง เป็นสส.เขต 200 ที่นั่ง แล้วก็สส.บัญชีรายชื่อ
48 ที่นั่ง ถามว่าครั้งแรกยังมากกว่าครั้งสุดท้ายนี้ อันนี้ใช้บัตร 2
ใบเหมือนกันนะ คือเลือกตั้งครั้งแรกได้ 248 ที่นั่ง มันช็อกเลยค่ะ ช็อกฝ่ายอำนาจนิยมเลย
ในขณะที่ประชาธิปัตย์ สส.เขตได้ 97 ที่นั่ง สส.บัญชีรายชื่อได้ 31 ที่นั่ง
แล้วถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นก็คือ 49.6% ก็แปลว่าครึ่งหนึ่งเลย
ถามว่าช็อกฝ่ายจารีตอำนาจนิยมมั้ย? เพราะว่ารัฐธรรมนูญ 2540 นั้น
ตอนร่างถึงแม้ว่าจะดูเป็นรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้า แต่เอาเข้าจริง คุณอานันท์
ปันยารชุน ซึ่งเป็นโต้โผใหญ่
หรือแม้กระทั่งที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญก็มีฝ่ายอนุรักษ์นิยมอยู่เป็นจำนวนมาก
เขาก็ไม่ได้คิดว่าจะมีพรรคอะไรที่จะมาทาบประชาธิปัตย์ได้
ประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งครองอำนาจมา ซึ่งมีที่นั่งมายาวนาน
เมื่อตอน 2516 ก็ได้เป็นรัฐบาล ดังนั้น ไม่มีใครคิดว่าไทยรักไทยได้เช่นนั้น
แล้วแถมเมื่อตอน
2548 ไทยรักไทยได้ที่นั่งแบ่งเขต 310 ที่นั่ง บัญชีรายชื่อได้ 67 รวมแล้ว 377
ที่นั่ง จาก 500 ช็อกมั้ย? ยิ่งช็อกหนักเข้าไปอีก แล้วประชาธิปัตย์รวมแล้วได้ 96
ที่นั่ง เป็นการพ่ายแพ้อย่างหมดรูป คือสมัยที่สองของคุณทักษิณ
นี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงต้องมีการประกาศสงคราม 19 กันยายน 2549
เพราะฝั่งจารีตอำนาจนิยมไม่สามารถที่จะให้นายทุน
พรรคการเมืองของนายทุนแบบคุณทักษิณ ชินวัตร มีอำนาจยาวนาน แล้วดูจะไปเหมือน
ลีกวนยู (สิงคโปร์) เขาก็เกรงว่าพรรคไทยรักไทยจับทางถูกว่าจะทำอย่างไรประชาชนจึงจะสนับสนุน
แล้วก็เลยให้ชื่อเป็น “ประชานิยม” แล้วก็ไปเรียกเป็น “ทุนสามานย์”
ดังนั้น
ก็เป็นการประกาศสงครามสำหรับคุณทักษิณและพรรค แล้วเขาใช้คำว่า “ระบอบทักษิณ” เพราะว่าประหนึ่งว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่คุณทักษิณ
เพราะฉะนั้นการประกาศสงคราม 2549 คือการทำรัฐประหาร
จึงเป็นสิ่งทีเกิดขึ้นในยุคใหม่ แล้วก็มามีดาบสองในปี 2557 ตอนจัดการคุณยิ่งลักษณ์
คือพูดง่าย ๆ ว่าดาบแรกไม่สำเร็จ มีรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่สำเร็จ
เพราะว่ากลายเป็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมีมวลชนคนเสื้อแดงที่ไม่ใช่พรรคไทยรักไทย
และดังที่ดิฉันได้บอกว่ามวลชนคนเสื้อแดงที่เกิดขึ้น แน่นอนมีส่วนหนึ่งเป็น FC
เพื่อไทย แต่ส่วนหนึ่งมันเกิดมาจากการต่อต้านรัฐประหาร 2549 เพราะมันเป็นสงครามกับฝ่ายที่ต้องการให้อำนาจประชาชนเป็นใหญ่
พออำนาจประชาชนเป็นใหญ่ พรรคไทยรักไทยได้ตั้ง 377 ที่นั่ง
แบบนี้สำหรับจารีตอำนาจนิยมถือว่ามันไม่ได้แล้ว แบบนี้พวกเขาไม่มีอนาคตเลย
คุณทักษิณและพรรคไทยรักไทยจะมีโอกาสครองอำนาจแบบพรรคการเมืองเช่นพรรคของลีกวนยูในสิงคโปร์
อย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น
การทำรัฐประหารปี 2557 เพราะมันได้เกิด 2 สิ่งขึ้นมา ทั้งพรรคเข้มแข็ง
ประชาชนเข็มแข็ง นั่นก็คือเกิดคนเสื้อแดง แล้วพบว่าการปราบคนเสื้อแดงในปี 2553
นั้น อันนี้ในทัศนะดิฉันก็คือเป็นสงครามกับประชาชนเลยนะ แบบหลั่งเลือดเลยนะ ยังแก้ไม่ตกนะ
แล้วในขณะเดียวกันปรากฏว่าการเลือกตั้งปี 2554 คุณยิ่งลักษณ์ก็ได้ประมาณ 15
ล้านเสียง คิดแล้วก็ประมาณ 45% นั่นขนาดว่าประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลอยู่นะ
แล้วเพิ่งปราบคนเสื้อแดงมาหยก ๆ นะ คนเสื้อแดงถูกจับเข้าคุก ถูกฆ่าตาย
เป็นสงครามกับประชาชนแบบหลั่งเลือด สงครามกับคุณทักษิณและพรรคไทยรักไทยถึงไม่หลั่งเลือด
แต่ว่าเป็นสงครามที่จัดการอย่างแบบในความคิดของประชาชนโดยทั่วไปคือมันไม่เป็นธรรม
ไม่ว่าเป็นการตั้งข้อหาหรือการพิจารณาจนมากระทั่งบัดนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้นี่ก็คือเหตุผลที่ดิฉันพูดว่าทำไมต้องทำปี
2549 แล้วทำไมต้องมาทำดาบสองในปี 2557
และนี่คือสิ่งที่ทำให้เราต้องมาพูดว่าแล้วจริง ๆ สงครามมันยุติแล้วยัง?
ดูเหมือนกับว่าคุณทักษิณกลับมา
ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือพรรคเพื่อไทยได้ข้ามขั้วมาอยู่กับฝั่งจารีตนิยม
บางคนก็ถามว่าสีเสื้อสลาย สลายสีเสื้อสลายขั้วแล้วยัง?
ครั้งที่แล้วดิฉันได้บอกว่าข้ามขั้ว คือสลายเฉพาะขั้วพรรค แต่ไม่ใช่ประชาชน
แต่วันนี้ดิฉันจะเพิ่มเติมในเชิงหลักการให้เห็นว่า 19 กันยายน 2549
ประกาศสงครามกับสิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณ แล้วตอนปี 2553 นั้น
ประกาศสงครามกับประชาชนแบบหลั่งเลือด แล้วมาตอนนี้ปี 2566 ยุติแล้วยัง?
ดูเหมือนว่ามันเป็นการยุติสงครามกับสิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณ
แต่นี่คือสิ่งที่ยืนยันที่ดิฉันอยากพูดในหัวข้อที่ว่า
แล้วสงครามกับประชาชนยุติแล้วหรือยัง?
ในทัศนะดิฉันนะ
ท่านอาจจะเห็นด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้
แต่ดิฉันถือว่าสงครามกับประชาชนระหว่างฝ่ายจารีตอำนาจนิยมที่ต้องการรักษาอำนาจตัวเอง
กับประชาชนที่ต้องการอำนาจประชาชนเป็นจริงในระบอบประชาธิปไตยยังดำรงอยู่ แต่สำหรับพรรคการเมือง
อาจจะบอกว่ายุติชั่วคราว หรือยุติถาวร ก็คือการข้ามขั้วไปแล้วถาวร
อันนี้ในทางยุทธศาสตร์ ดิฉันเข้าใจว่ามันเป็นสิ่งที่ฝ่ายจารีตอำนาจนิยมมักจะทำ
ถามว่าเคยทำมาก่อนมั้ย? ในสมัยคณะราษฎร ตอนที่จอมพล ป. มาทำรัฐประหาร 2490
แล้วร่วมมือกับฝ่ายจารีตนิยม อันนั้นก็เป็นการแบ่งแยกคณะราษฎร แบ่งแยกจอมพล ป.
ออกจากอาจารย์ปรีดี แล้วหลังจากนั้นผ่านมาอีกประมาณ 10 ปี
ก็ได้มีขุนทหารที่เหมาะสมกว่า นั่นก็คือจอมพลสฤษดิ์ ก็จัดการจอมพล ป. เพราะจอมพล
ป. แม้นมาสามัคคีกับฝั่งจารีต แต่ว่ามันยังเข้ากันไม่ได้ เนื้อแท้ของจอมพล ป. นั้นยังเป็นคณะราษฎรอยู่
แต่ว่ามีลักษณะที่ว่าเป็นชาตินิยม แล้วก็มีลักษณะเป็นขุนทหารมากกว่า
ดังนั้นก็ไม่ได้ขึ้นต่อฝ่ายจารีตนิยมอย่างสมบูรณ์
ถามว่าเคยทำมั้ย?
ในกรณีที่เอาคนที่เคยเป็นศัตรูมาเป็นมิตร ครั้งนี้ต้องบอกได้เลยว่า
กรณีคุณทักษิณคือศัตรูตัวเอ้ที่เขาต้องประกาศสงครามตั้งแต่ 2549
ท่านผู้ชมลองคิดดูว่ามันยาวนานแค่ไหน? แล้วจากศัตรูมาเป็นมิตรเพราะอะไร?
ประการแรกก็คือผลของการเลือกตั้ง
เราจะเห็นว่าในครั้งนี้ สิ่งที่พรรคเพื่อไทย ครั้งแรกไทยรักไทยเขายังได้สส.เขต 200
ที่นั่ง จากพรรคที่เรียกว่าไม่ได้เกิดเลยนะ แต่ครั้งนี้ได้ไม่ถึง รวมแล้วก็ได้ 141 ที่นั่ง
แปลว่าอะไร? แปลว่าเพื่อไทยได้ขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วก็ลงมาต่ำ
แล้วมีโอกาสจะต่ำต่อไป ถามว่าเพราะอะไร? เพราะว่าโหวตเตอร์ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่
หรือเป็นคนที่ทนไม่ได้กับกลยุทธ์จารีตอำนาจนิยมที่อยู่นานเกินไป จนกระทั่งเกิดความเสียหาย
เพราะจารีตนิยม ความคิดมันไม่สามารถที่จะยกระดับประเทศ ประชาชน
ให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ เพราะว่าลักษณะของจารีตนิยมจะทำให้ทุกอย่างหยุดนิ่ง
ย้อนไปหาอดีต มันไม่เหมือนกับฝ่ายเสรีนิยมที่จะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
และมีอิสรภาพ มีเสรีภาพ ที่จะช่วยกันผลักดันประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า ซึ่งนั่นหมายถึงอำนาจประชาชนต้องมากขึ้น
อำนาจจารีตนิยมและอำนาจนิยมต้องลดลง นี่เป็นเรื่องที่ว่ามันจำเป็นจะต้องเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น
พรรคเพื่อไทยได้ผ่านจุดที่ประมาณเกือบ 19 ล้านเสียง
แล้วกลายเป็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือพรรคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น “อนาคตใหม่” ซึ่งเริ่มต้นด้วย
6 ล้านกว่าเสียง แล้วก็มาจนปัจจุบันไม่มีใครคิดว่าจะได้เสียงถึง 151 ที่นั่ง
ซึ่งจริง ๆ ก็คือผู้หนุนพรรคเพื่อไทยเหลือ 10 ล้าน ผู้หนุนก้าวไกลกลายเป็น 14 ล้าน
ดังนั้น เสียงอาจจะน้อยกว่ากัน 10 ที่นั่ง แต่คนที่หนุนมากกว่ากันคือ 4 ล้าน นี่ก็เป็นอะไรที่ช็อกฝ่ายจารีตอำนาจนิยม
แบบเดียวกับที่ไทยรักไทยเคยช็อกเขามาแล้ว
เพราะฉะนั้น
กลยุทธ์เอาศัตรูมาเป็นมิตร เพราะมีศัตรูตัวใหม่ที่น่ากลัวว่า มันจึงเป็นเรื่อง win-win ในทัศนะของเขา
คือคนที่สนับสนุนเพื่อไทยก็ดีใจว่าเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล
ฝ่ายที่สนับสนุนจารีตอำนาจนิยมหรือผู้วางแผนก็ถือว่าเพื่อไทยได้มาเป็นรัฐบาล
แล้วก็ได้มาค้ำจุนอำนาจของฝ่ายจารีตนิยม ยังสามารถอยู่ต่อเนื่องได้
ไม่ต่างกับสิ่งที่ภูมิใจไทย หรือพรรคชาติไทยพัฒนา หรือประชาธิปัตย์ได้ทำในรอบที่แล้ว
เราจะเห็นว่ากลยุทธ์ทางการเมืองในการรักษาอำนาจของฝั่งจารีตอำนาจนิยมไทยทำได้หลายอย่าง
มีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจว่าพลิกแพลง ยึดหยุ่น
ใครจะไปคิดว่าพรรคเพื่อไทยจะมาจับมือกับสองลุง ขนาดหัวหน้าพรรคก็ไม่คิด จนกระทั่งต้องกลายเป็นเสียสัจจะวาจามาแล้ว
คนจำนวนมากก็ไม่คิด อาจารย์ธิดาก็ไม่คิด ที่ไม่คิดก็คือไม่อยากจะคิด
แต่ถามว่าไว้ใจจารีตอำนาจนิยมไหม? ก็คิดว่าเขาก็เก่งนะ ก็คือสามารถที่จะปรับได้
ยกตัวอย่างเช่น การลดลงของประชาธิปัตย์
ทำให้เขาแน่ใจว่าประชาธิปัตย์ไม่สามารถเป็นพรรคการเมืองสำคัญของฝั่งอนุรักษ์นิยมได้อีกต่อไป
มีแต่จะล่มสลาย เขาก็ต้องหาพรรคถือธงใหม่
พรรคถือธงใหม่ตอนแรกก็คิดว่าโอเคพรรคของคุณประยุทธ์กับประวิตร
ในการเลือกตั้งครั้งนี้มันจะเป็นตัวพิสูจน์ว่าที่ครองอำนาจมา 9 ปี
สามารถทำให้คนชื่นชมได้ไหม และสามารถที่จะถือธงนำแทนประชาธิปัตย์ได้มั้ย
ผลการเลือกตั้งปี 66 แสดงว่ามันไม่ได้
ฝั่งพรรคเหล่านี้ รัฐบาลเดิม มันได้เหลืออยู่ 20 กว่าเปอร์เซ็นเท่านั้นของคนที่มาโหวต
เพราะฉะนั้น กลยุทธ์อย่างเดียวก็คือต้องแบ่งแยก แล้วก็ดึงพรรคเพื่อไทยมา
ซึ่งในทัศนะของพรรคเพื่อไทยเขาก็ถือว่าเขา win ก็เรียกว่า win-win ทั้งคู่ ดังที่ดิฉันของว่ามันก็เป็นเกม
ครั้งที่แล้วเราได้พูดว่าเหมือนแบบการร่วมกันของแนช เป็นแนชโมเดล (nash
equilibrium) ที่ว่าก็คือต่างคนต่างก็ถอย เพื่อไทยก็ต้องถอย
รวมไทยสร้างชาติหรือพลังประชารัฐก็ต้องถอย แต่ว่าก็สามารถมีจุดร่วมกันได้ เพราะฉะนั้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ พรรคเพื่อไทยก็จะต้องถูกกระทำ เช่น
ทำไมตอนนั้นบอกยกเลิกเกณฑ์ทหาร แล้วทำไมตอนนี้บอกว่าไม่ได้ยกเลิก หมอชลน่านก็ถูกถามว่าทำไมตอนนั้นคุณบอกว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2 ปี แล้วหลังจากนั้นก็จะยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ แต่ตอนนี้บอกไม่ได้พูด ความจริงบอกเขาไปตรง
ๆ ดีกว่า บอกว่าผมตอนนั้น โอเค หาเสียงก็ได้ หาเสียงในฐานะพรรคฝ่ายประชาธิปไตย
อันนี้ตรง ๆ ก็ต้องพูดตามกองเชียร์ฝ่ายประชาธิปไตยเพราะหวังว่าจะได้คะแนน
ก็ต้องพูดตรง ๆ ถ้าไม่พูดว่าหวังจะได้คะแนน ก็กลัวจะเสียคะแนน
ก็คือโหวตเตอร์มีอยู่แล้ว กลัวจะเสียโหวตเตอร์ไปให้พรรคก้าวไกล พูดตรง ๆ
อย่างนั้นก็ได้ แล้วตอนนี้ต้องการให้พรรคก้าวไกลอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายค้าน
แล้วโหวตรับรองนายกฯ ก็ต้องทำ MOU อีกอย่าง
ก็คือยุบสภาทันทีที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ MOU ใหม่ 8 ข้อ
แรงทั้งนั้นเลย แต่นั้นมันเงื่อนไขหนึ่ง แต่ตอนนี้คุณมาอยู่ฟากจารีตนิยม
อำนาจนิยมแล้ว คนละสถานการณ์ อยู่ในบริบทใหม่ บอกตรง ๆ เลย เพราะว่าคุณจะโดนจับผิดอีกเยอะ
บอกตรง ๆ เลย ถามว่าเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญสำคัญไหม? สำคัญมาก
เพราะว่าการวางกลยุทธ์ในครั้งที่แล้วที่อยู่ในอำนาจ 9 ปีนั้น
ตัวแม่บทของกฎหมายที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญ มันเป็นรัฐธรรมนูญของจารีตอำนาจนิยม
ต่อให้ไม่มีบทเฉพาะกาลก็ตาม มันก็ยังเป็นรัฐธรรมนูญจารีตอำนาจนิยม เช่น
คุณจะตั้งคำถามวุฒิสมาชิกจะทำยังไง แล้วตอนนี้ก็บอกไปแล้วว่าหมวด 1 หมวด 2
ไม่ให้แตะ ดังนั้น จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็จบแล้ว สสร.
มาจากการเลือกตั้งหรือเปล่า? ยังไม่รู้ หรือว่าจะแก้ไขบางมาตรา การที่คุณไม่แก้ไขหมวด
1 หมวด 2 ก็เท่ากับว่าไม่ได้แก้ทั้งฉบับ นี่ยกตัวอย่างเป็นต้น
ดังนั้น
มันต้องเข้าใจความจริงว่าเมื่อในสถานะปัจจุบัน คุณยุติสงครามระหว่างจารีตนิยม
อำนาจนิยม กับพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณ พูดง่าย ๆ ว่ามาเป็นพวกเดียวกันในรัฐบาล
ถึงแม้ว่าพรรคเพื่อไทยอาจจะไม่ใช่ขวาสุดโต่ง ไม่ใช่จารีตนิยมสุดโต่ง
ไม่ใช่อำนาจนิยมสุดโต่ง ก็จะอยู่กลาง ๆ ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม
ในการขับเคลื่อนนโยบาย การขับเคลื่อนการทำงาน แปลว่าอะไร แปลว่าคุณก็ต้องทำตามที่
เสียงจารีตนิยมอำนาจนิยมในรัฐบาลก็มากกว่า อำนาจอย่างอื่นของจารีตนิยมอำนาจนิยมยังดำรงอยู่
เพราะว่าเพื่อไทยมาเป็นเสาค้ำยัน ได้แบ่งโหวตเตอร์มาส่วนหนึ่งมาสนับสนุนแล้ว
ดังนั้นผลผลิตของรัฐบาลนี้ต้องเป็นสิ่งที่จารีตอำนาจนิยมอนุญาตเท่านั้นถึงจะทำได้
ถ้าเขาไม่อนุญาต พรรคเพื่อไทยก็ทำไม่ได้ และพร้อมจะยุบสภามั้ย? ไม่พร้อม!
ต้องการทำงานเพื่อที่จะเรียกคะแนนเสียงโหวตเตอร์คืน
อันนี้เราเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เพื่อไทยพยายามจะทำ
และการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งจะบอกว่าผมทำตามสัญญา
แต่ทำตามสัญญาจะมีปัญหาว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่
ที่จริงคุณหมอชลน่านก็ไม่ต้องบอกเลยว่าผมไม่เคยพูด เพราะว่าตอนนี้ดิจิตอลฟุตพริ้นคุณไปพูดอะไรไว้ที่ไหนเขาก็เอามาได้
ก็บอกตรง ๆ ว่ามันคนละสถานการณ์ ตอนนั้นผมเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ พูดอย่างนั้นก็ได้
แต่บอกไม่เคยพูดมันไม่ดีหรอก เราเป็นคนฟัง รู้ว่าพูดไม่เหมือนกัน
แต่ดิฉันพยายามจะเข้าใจว่ามันคนละสถานการณ์ ก็อย่างที่เคยบอกว่าไม่เห็นด้วยหรอก
เพราะว่าทำให้สถานภาพของจารีตอำนาจนิยมยังรักษาอำนาจอยู่
ยังไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชน
ในประเด็นที่ว่ายุติสงครามหรือเปล่า?
ให้ท่านผู้ชมท่านผู้ฟังพิจารณาเองว่า จารีตอำนาจนิยมเขายุติสงครามกับคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยหรือยัง
ดิฉันว่ามันยังไม่จบนะ เหมือนในกรณีของในยุคก่อนที่จอมพล ป. มาร่วมมือกัน
มันอยู่ที่ว่าจะร่วมกันได้สนิทมั้ย แล้วก็พูดตรง ๆ
ว่าขึ้นต่อจารีตอำนาจนิยมโดยสมบูรณ์หรือเปล่า แข็งข้อมั้ย?
ทำอะไรที่ฝั่งจารีตอำนาจนิยมไม่เห็นด้วยหรือเปล่า? อันนั้นก็จะเป็นตัวกำหนด
เพราะฉะนั้น ตรงนี้บางคนอาจจะบอกว่ามันยุติแล้ว มีพวกสีเหลือง สีแดง
มาจับมือกันเป็นกองเชียร์ว่าสลายสี ของคุณหมอวรงค์ก็สลายสีเลย อันนั้นก็สุดขั้วเลย
สลายขั้ว สลายสีเสื้อ
แต่ในขณะเดียวกันเราก็จะเห็นคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่ออกมาเผาเสื้อแล้วก็ไม่พอใจ
ก็แสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายและมีเฉดดังที่ดิฉันบอก เพราะว่า 2549
มันเป็นการทำรัฐประหารในยุคใหม่ ในสองทศวรรษใหม่ และมาลงดาบสองด้วย 2557
เพราะฉะนั้นคนเสื้อแดงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านรัฐประหาร
แล้วก็ต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับที่สืบทอดอำนาจก็เป็นคนเสื้อแดงแบบหนึ่ง
คนเสื้อแดงที่ติดตามพรรค เป็นกองเชียร์พรรค ก็เป็นแบบหนึ่ง แล้วก็มีเสื้อแดงเงียบ
ไม่พูดอะไร แต่เวลาโหวตก็โหวตตามที่ตัวเองคิด เขาจะเงียบ ๆ ไม่ออกมาโวยวาย
แต่ผลโหวตมันแสดงให้เห็นว่าคนที่เคยสนับสนุนมีการเปลี่ยนใจ
อย่างเช่นกรณีของคุณยิ่งลักษณ์
เพื่อไทยเคยได้ประมาณ 45%
ของโหวตเตอร์ในปี 2554 ครั้งนี้ปี 2566 เหลือ 27% ของโหวตเตอร์ ดิฉันไม่เอาปี 2562 มาคิดเพราะใช้บัตรใบเดียว
ในขณะที่สูญเสียโหวตเตอร์ให้กับก้าวไกลเป็นจำนวนมาก ซึ่งก้าวไกลแน่นอนอาจจะได้ทั้งจากคนเสื้อแดง
อาจจะได้จากแม้กระทั่งคนเสื้อเหลืองส่วนหนึ่งก็ได้ โดยเฉพาะ young
generation ได้หมด เพราะฉะนั้นภาพในเวลานี้ดิฉันอยากจะให้มองอย่างไม่ตัดตอนประวัติศาสตร์
ก็คือ ต้องแยกระหว่างการต่อสู้ของจารีตอำนาจนิยมกับเฉพาะตัวและพรรคคุณทักษิณ กับ สงครามระหว่างจารีตอำนาจนิยมกับประชาชน
ซึ่งมีมาตั้งแต่ 2475 ยาวนานจนถึงปัจจุบัน เราตัดตอนประวัติศาสตร์ไม่ได้
และสงครามกับประชาชนนั้น โดยเฉพาะคนเสื้อแดงเป็นสงครามหลั่งเลือด เราไม่มีอาวุธ
เราไม่ใช่พคท.ที่ประกาศการต่อสู้ด้วยอาวุธ เขาก็พยายามจะหาชายชุดดำ หาก็ไม่ได้
พอทำรัฐประหารตอนปี 2557 ก็พยายามทำคดีชายชุดดำ ทำคดีวางเพลิงเผาอะไรต่าง ๆ
นี่พูดตรง ๆ ว่าฝ่ายจารีตอำนาจนิยมมันทำทุกอย่างแล้วในช่วงตั้งแต่ปี 2549
มาจนถึงปัจจุบัน ทำจนเรียกว่าหมดทุกกลยุทธ์ และกลยุทธ์สุดท้ายก็คือ “เอาศัตรูมาเป็นมิตร”
นี่แหละ! คือตอนนี้แหละ! ก็คือเอาพรรคเพื่อไทยมาอยู่ฝั่งของจารีตอำนาจนิยม
นี่เป็นกลยุทธ์สุดยอดเลยนะ
พรรคการเมือง
พรรคก้าวไกลก็ต้องมีกลยุทธ์ของพรรคก้าวไกล หรือยุทธศาสตร์ของพรรคก้าวไกล
ดิฉันคิดว่าเขาก็ไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือนอะไรมาก อันนี้พูดอย่างคนนอกนะ ดิฉันไม่มีสัมพันธ์อันใดกับพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล
พรรคเพื่อไทยยังมีความรู้จักเป็นเพื่อนกันบ้าง บางคนก็ร่วมต่อสู้ด้วยกัน
แต่พรรคก้าวไกลนี่มันไม่รู้รุ่นลูกรุ่นหลานแล้ว แล้วก็ไม่ได้มีอะไรสัมพันธ์เลย
แต่เข้าใจว่ายุทธศาสตร์ของเขาก็คือเขาต้องการผ่านการเลือกตั้ง 2 รอบก่อน
แล้วรอบที่ 3 เขาจะได้เป็นรัฐบาล เขาไม่ได้ผิดหวังมาก
แต่คนที่ผิดหวังมากคือประชาชนที่เลือกกันอย่างถล่มทลาย
สำหรับพรรคก้าวไกลอาจจะเกือบจะเป็นแลนด์สไลด์
แต่ว่าเมื่อคะแนนเอาเพื่อไทยบวกก้าวไกลอาจถือว่าแลนด์สไลด์
แต่พรรคใดพรรคหนึ่งไม่ใช่แลนด์สไลด์
เพราะฉะนั้นกลยุทธ์ของการที่ยุติสงครามกับพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณ
จึงเป็นกลยุทธ์สุดยอดของฝั่งจารีตอำนาจนิยมในปัจจุบัน
เพื่อแบ่งโหวตเตอร์และลดสัดส่วนของฝ่ายประชาชนที่เป็นปฏิปักษ์กับอำนาจนิยมแล้วก็จารีตนิยมลงไป
ก็คือ ถูกกล่อมเกลาในฐานะเป็นแฟนคลับของพรรคเพื่อไทย โอเค หยวน ๆ บางคนก็บอกยอม
สลายสีเสื้อได้ แต่ดิฉันมองว่าสถานการณ์มันจะคัดกรองคน เหมือน 14ตุลา16 Activist
14ตุลา คนคิดว่าโอ้โหก้าวหน้ามาก จนกระทั่งผ่านเวลามาถึง 6ตุลา19 มาจนถึงปัจจุบัน
สถานการณ์มันจะคัดกรองว่าได้ที่ว่าก้าวหน้านั้น ก้าวหน้าจริงไหม?
ไม่ต้องมานั่งถามว่าทำไมประชาชนไม่ค่อยพูดถึง 14ตุลา16 คนรุ่นใหม่กระโดดไปคณะราษฎร
2475 แล้วกระโดดมา 6ตุลา19 ต้องดูตัวเอง เพราะสถานการณ์มันจะบ่งชี้คัดกรองจุดยืนของนักต่อสู้
ลักษณะพิเศษของจารีตนิยมไทย
มันทำให้ประเทศไทยซึ่งไม่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศอื่น จารีตนิยม อำนาจนิยมไทย
มีพลังเพิ่มจากสงครามเย็นด้วย
และจากการเปลี่ยนแปลงในยุคคณะราษฎรซึ่งมีลักษณะประนีประนอม การเปลี่ยนแปลงของเราในปี
2475 นี่อีกไม่นานจะ 100 ปีแล้วนะ มีลักษณะประนีประนอม มีลักษณะชนชั้นด้วย
เพราะว่าผู้ก่อการจะเป็นขุนนางขุนศึกต้น ๆ ทั้งนั้น
แล้วก็ยังไม่ได้มีทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพชี้นำ
ยังเป็นการผสมผสานแล้วก็ยืดหยุ่น แต่ว่าทุกการเปลี่ยนแปลงทุกการต่อสู้ประชาชนมันต้องมีจุดอ่อนทั้งสิ้น
อันนั้นก็คือลักษณะพิเศษของจารีตนิยมไทยที่เข้มแข็ง ลักษณะพิเศษที่ไม่มีการเป็นอาณานิคม
ภาคประชาชนก็ไม่ได้เข้มแข็งในการต่อสู้กับจักรวรรดินิยมหรือผู้ล่าเมืองขึ้น
แต่จารีตนิยมกลับทำให้เข้มแข็งโดยผ่านสงครามเย็น
แล้วก็จากการที่ปัญญาชนไทย
ปัญญาชนไทยที่สำคัญไม่ได้เป็นปัญญาชนที่เปลี่ยนจุดยืนมาอยู่กับชาวบ้าน หรือไพร่
หรือมวลชน ยังมีลักษณะเป็นปัญญาชนขุนนาง รัฐวิสาหกิจหรือกรรมกรก็มีลักษณะเป็นขุนนาง
การต่อสู้ของประชาชนคนเสื้อแดงจึงยากลำบาก โดดเดี่ยว ไม่หนำซ้ำก็ยังต้องถูกดึง
ถูกชักจูงโดยผลประโยชน์ เพราะว่ามันมีการคู่ขนานไปกับพรรคการเมือง
แต่เราจะตัดตอนประวัติศาสตร์ไม่ได้
อย่างไรก็ตามดิฉันก็อยากจะฝากไว้ว่า
การต่อสู้ของประชาชนนั้นยาวนานมา ดิฉันอยากให้ไปดู แลไปข้างหน้ากับธิดา ถาวรเศรษฐ EP.100 ของปีที่แล้ว
ที่ดิฉันได้พูดย้อนหลังถึงเหตุการณ์ 19 กันยา อยากฝากให้ไปดู
เพราะว่าดิฉันจะไม่พูดซ้ำ แต่เพียงแต่มาพูดว่า 19 กันยา ปีนี้
มันยุติสงครามแล้วยัง สลายสีเสื้อหมดแล้วยัง ยุติการต่อสู้ของประชาชน
ประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจารีตอำนาจนิยมแล้วหรือยัง ดิฉันบอกได้ว่ายัง! แต่อาจจะยุติกับคุณทักษิณหรือพรรคเพื่อไทย ซึ่งดิฉันก็เห็นใจและก็เข้าใจในฐานะที่เขาถูกกระทำมานาน
แต่จุดยืนของเราต้องอยู่ฝ่ายประชาชน
มาถึงตอนนี้ดิฉันไม่อยากให้ประชาชน
โดยเฉพาะคนเสื้อแดง แล้วก็ประชาชนทั่วไป และรวมทั้งคนรุ่นใหม่สับสนว่า
สงครามระหว่างฝั่งจารีตนิยมอำนาจนิยมกับประชาชนนั้นมันจบแล้ว
ในทัศนะดิฉันมันไม่ใช่! ตราบใดที่ระบอบประชาธิปไตย อำนาจยังไม่ได้อยู่ในมือประชาชน ยังอยู่ในมือของชนชั้นนำ
จารีตอำนาจนิยมหรือคนส่วนน้อยที่ผนึกกำลัง ไม่ว่าจะเป็นนายทุนผูกขาด
ไม่ว่าจะเป็นจารีตนิยมสุดขั้ว แล้วก็ฝั่งอำนาจนิยม ซึ่งรวมกันกระทำการยึดอำนาจประเทศไทยมายาวนานแล้ว
มาพบกับการต่อสู้ของประชาชนที่เข้มแข็งหลังเหตุการณ์การเลือกตั้ง
แล้วก็การต่อสู้ของเยาวชนตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ดิฉันคิดว่าผลการเลือกตั้ง
ผลการเกิดของพรรคใหม่ ผลการที่มีการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่
จึงทำให้ต้องยุติสงครามกับคุณทักษิณและพรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย
แต่
19กันยา66 ไม่ได้ยุติสงครามกับประชาชน
สงครามที่ประกาศเอาไว้มันยุติแต่กับระบอบทักษิณเท่านั้นค่ะ