ภาคีเครือข่ายสหภาพแรงงาน
เข้ายื่นหนังสือต่อ กมธ.แรงงาน เรียกร้องให้รัฐฯ
จับกุมกลุ่มอันธพาลที่สร้างความเสียหายกับขบวน Car Mob จ.ชลบุรี
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ที่ผ่านมา
วันที่
7 ก.ย. 2565 ที่อาคารรัฐสภา สหภาพแรงงาน ร่วมกับภาคีเครือข่าย และนักกิจกรรมทางสังคม
นำโดย นายสนธยา วงษ์ศรีแก้ว
เรียกร้องให้รัฐบาลจับกุมอันธพาลและผู้สั่งการทำร้ายแรงงาน
กรณีกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
ถูกจู่โจมทำร้ายโดยกลุ่มผู้ไม่หวังดีระหว่างกิจกรรม Car Mob จังหวัดชลบุรีเมื่อวันที่
28 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยยื่นหนังสือต่อ นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล
ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน
สืบเนื่องจากวันที่
28 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ได้จัดขบวน Car Mob
เพื่อรณรงค์ปัญหาที่ได้รับผลกระทบของแรงงานในปัจจุบัน โดยควบรวมประเด็นวาระ
8 ปี ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีข้อสำคัญเช่น
นำเอาร่างปรับปรุง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
ปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่แยกกลุ่มและไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
โดยมีเป้าหมายคือเป็นบ้านของนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
ขณะที่ขบวน
Car Mob ได้เคลื่อนขบวนไปตามเส้นทาง นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตาม
คอยสั่งรวมถึงการสั่งให้ปลดป้ายข้อความที่เกี่ยวข้องกับ พล.อ.ประยุทธ์
เมื่อขบวนเคลื่อนมาถึงบริเวณอ่างศิลา มีกลุ่มชายฉกรรจ์ขับขี่จักรยานยนต์
ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน มีคนนั่งซ้อนท้ายกว่า 100 คน พร้อมอาวุธครบมือเช่น ไม้กอล์ฟ
ไม้เบสบอล ไม้หน้าสาม และก้อนหิน ปาใส่รถที่กำลังวิ่งในขบวนได้รับความเสียหาย 5
คัน ทำให้ไม่สามารถไปต่อได้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ติดตามขบวนไม่ดูแลช่วยเหลืออะไรเลยเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
นายรังสิมันต์
กล่าวว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเหตุการณ์นี้ ทราบตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุขึ้น
และมีโอกาสไปที่สถานีตำรวจภูธรแสนสุข
ซึ่งทางผู้กำกับได้รับปากว่าจะดำเนินการอย่างเต็มที่
แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับการชี้แจงเพิ่มเติมใด ๆ
"ยืนยันว่า
กรรมธิการกฎหมายไม่นิ่งนอนใจ และจะนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาอย่างเร็วที่สุด
เบื้องต้นจะเชิญผู้ร้องเรียนมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม
รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย" นายรังสิมันต์ กล่าว
สำหรับรายละเอียดหนังสือเรียกร้องดังกล่าวมีข้อความ
ดังนี้
วันที่
7 กันยายน 2565
สหภาพแรงงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและนักกิจกรรมทางสังคม
เรียกร้องให้รัฐจับกุมอันธพาลและผู้สั่งการทำร้ายแรงงาน
"กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก" ได้จัดขบวนคาร์ม็อบเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2565 เพื่อรณรงค์ปัญหาต่าง ๆ
ที่ได้รับผลกระทบของแรงงานในปัจจุบันควบประเด็นวาระ 8 ปี
ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีข้อสำคัญเช่น
นำเอาร่างปรับปรุง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่แยกกลุ่มและไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
การที่รัฐปล่อยให้กลุ่มทุนปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคโดยไม่มีการควบคุมราคาสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนและผู้ใช้แรงงานอย่างมากมายมหาศาล
เป็นต้น โดยขบวนนี้มีเส้นทาง มาบยางพร-บ่อวิน-บางแสน-ชลบุรี มีเป้าหมายคือบ้านของนายสุชาติ
ชมกลิ่น
รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน (ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ)
ผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้แรงงาน เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ขณะที่ขบวนคาร์ม็อบได้เคลื่อนขบวนไปตามเส้นทางดังกล่าว
นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ดำรวจติดตามคอยสั่งการ
และรวมถึงการสั่งให้ปลดป้ายข้อความที่เกี่ยวข้องกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ทั้งหมด เมื่อขบวนเคลื่อนมาถึงอ่างศิลา
มีกลุ่มชายฉกรรจ์ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน
และมีคนนั่งซ้อนท้ายพร้อมอาวุธครบมือ เช่น ไม้กอล์ฟ ไม้เบสบอล ไม้หน้าสาม
มุ่งเข้ามามีเจตนาทำร้ายร่างกาย และทำลายทรัพย์สินของขบวนแรงงานที่เข้าร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบ
การกระทำของกลุ่มชายกรรจ์ถือว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจ ในเวลากลางวันต่อหน้าสื่อมวลชนและสาธารณชนจำนวนมาก
ผลคือระหว่างทางไปนหนังสือคัดค้น ร่างปรับปรุง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ฉบับกฤษฎีกา
มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบบาดเจ็บหลายราย และมีรถยนต์ได้รับความเสียหายหลายน
นอกจากนี้ยังมีรถประชาชนทั่วไปที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนของแรงงาน
ที่จอดอยู่ข้างทางในที่เกิดเหตุได้รับความเสียหายไปด้วยหลายน โดยเจ้าหน้าที่ดำรวจที่ติดตามขบวนไม่ดูแลช่วยเหลืออะไร
เลยเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
สภาองค์การแรงงาน
สหพันธ์แรงงาน สหภาพแรงงาน และกลุ่มเครือข่ายภาคีต่าง ๆ เห็นว่าเหตุการณ์ที่ผู้ใช้แรงงานออกมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานเป็นสิทธิ์ที่ประชาชนทุก
1 คนสามารถทำได้โดยทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
แต่กลับมีกลุ่มคนที่มีพฤดิกรรมเลวร้าย ป่าเถื่อน ทำตัวเป็นอันธพาล ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง
เสอนได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอิทธิพล หรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความปลอดภัยของประชาชนฉันท์นั้น
การไม่จับกุมหรือเตะถ่วงในการดำเนินคดีผู้กระทำความผิดดังกล่าว
อาจทำให้ตั้งข้อสงสัยได้ว่าการทำงานของดำรวจท้องถิ่นนั้นไม่เที่ยงตรง
ไม่โปร่งใสอย่างไรหรือไม่
เราไม่อาจทนต่อพฤติกรรมป่าเถื่อนเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน
เฉกเช่นนี้ได้ จึงขอประณามกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งที่เป็นผู้ก่อเหตุ
และผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และขอเรียกร้องให้รัฐบาล ตรวจสอบเครือข่ายผู้มีอำนาจในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีว่ามีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำของกลุ่มอันธพาลการเมืองหรือไม่
และสั่งการให้ ผบช. ภ.2 จังหวัดชลบุรี และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อกมาแสดงความรับผิดชอบ และเร่งดิดตามผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดี
และแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
ด้วยความสมานฉันท์กับพี่น้องกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
ลงนามประชาชนผู้ใช้แรงงาน
1.
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ (ส.พ.ท.)
2.
กลุ่มคนงาน Try Arm
3.
สหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ กรุ๊ป
4.
สหภาพแรงงานไทยฟูโกกุ
5.
สหพันธ์แรงงานกระดาษ และการพิมพ์
6.
เครือข่ายกรรมกรแดง เพื่อประชาธิปไตย
7.
"ชมรมคนงานสูงอายุ" อากร ภูวสุทร : ผู้ประสานงาน
8.
เครือข่ายแรงงาน ชลบุรี - ระยอง
9.
กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี และใกล้เคียง
10.
กลุ่มสหภาพแรงงานปู่เจ้าสมิงพรายและใกล้เคียง
11. คุณศรัญ หวังรวมกลาง กลุ่มคนงานกิจการปั่น - ทอ แห่ง
ประเทศไทย
12.
กลุ่มกรรมาชีพ เพื่อประชาธิปไตย
13.
คุณศิริชัย สิริวัฒน์
14.
คุณภวิศ ผาสุข ประธานสหภาพแรงงานวัฒนไพศาล
15.
สอบต.วสุ แดงสูงเนิน
16.คุณพงษ์ศักดิ์ โพธิ์ศรี
17.
สหภาพแรงงานโอชาก้า
18.
คุณสุริยาภรณ์ กอไม้กลาง แรงงานนอกระบบ
19.
สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แห่งประเทศไทย
20.
สหภาพแรงงานมอลลิเก้ เฮลแคร์
21.
คุณจุฑาภา กิ่งมิ่งแฮ เครือข่ายแรงงาน เขต 6
อุดรธานี
22.
องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย (อรป.)
23.
คุณบุญสม ทาวิจิตร กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี และใกล้เคียง
24.
คณะกรรมการรณรงค์ เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
25.
ทะลุฟ้า
26.
สหภาพคนทำงาน
27.
ศิลปะปลดแอก
28.
กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG.)
29.
สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่
30.
พิราบขาวเพื่อมวลชน ลำปาง
31.
คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)
32. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
(กป.อพช.เหนือ)
33.
คุณอาทิตย์ สิมมา ประธานสิ่งแวดล้อม ลำน้ำพอง
34.
คุณอภิวัตร์ อินอ่อน เครือข่ายแรงงานภาคอีสาน
35.
สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
36.
สหภาพแรงงานโยโกฮามสัมพันธ์
37.
เครือข่ายประชาชนผู้รักประชาธิปไตยภาคตะวันออก
38.
สหถาพแรงงานฟูรูกาวา ยูนิค ไทยแลนด์
39.
สหภาพแรงงานฮันอิล ฟอร์จิ้ง ไทยแลนด์
40.
สหภาพแรงงานรากแก้วสัมพันธ์
41.
นางสาวนันท์นภัส พึ่งหิน
42.
นายสราวุธ ประพิณ
43.
นางสาวแพรวา สุขใหม่
44.
นางสาวอมลวรรณ อุ่นใจศรี
45.
นางสาวสุนิตา กาญวิธี
46.
นายปฏิพัทธ์ ใบสนธิ์
47.
นายคมสรร สุขพรม
48.
นายวรากร ส้มทอง
49.
สหภาพเเรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย
50.
นางสาวบานชื่น นาคเสม
51.
นางสาวธนพร พุทธวงค์
52. สหภาพแรงงานไทยโอกว่า
53.
นายอิศเรส แว่นจันทร์
54.
นายชิงชัย ว่องไว
55.
นายวีระ ผลน้ำอ้อม
56.
นายสหัสวัต คุ้มคง
57.
สหภาพแรงงานโอกุระสัมพันธ์
58.
สหภาพแรงงานทาคาตะสัมพันธ์
59.
มูลนิธิเพื่อนหญิง
60.
เครือข่ายแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา
61. นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่ง
ประเทศไทย (LCT.)
62.
สหภาพไรเดอร์
63.
สหภาพแรงงานโอวายที
64.
คุณวิทยา สุทธิดา
65.
คุณอนุรักษ์ สุกร
66.
คุณสุชาติ เปิ่นวงศ์
67.
สหภาพแรงงานอาซาคาว่า ประเทศไทย
68.
เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We
Fair)
69.
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move)
70.
Secure Ranger
71.
นางสาวยุพิน อิ่มดำ เอราวันสิ่งทอ
72.
นายสนธยา วงษ์ศรีแก้ว กลุ่มเครือข่ายแรงงาน สมุทรปราการ
73.
สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย (CUT)
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์