จากใจอดีตผู้พิพากษาศาลสูง ถึงศาลในวันนี้ : สมลักษณ์ จัดกระบวนพล (
อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และอดีตกรรมการ ป.ป.ช.)
[มองสังคม-กฎหมาย และความยุติธรรม]
ถอดจากคลิป
: มติชนสุดสัปดาห์
เมื่อสังคมเกิดคำถามกับ
“กระบวนการยุติธกรรม” ต้องทำอย่างไร? ในวันที่เกิดวิกฤตศรัทธา
มีวิธีการที่จะทำให้คนเขาอยู่ในความสงบ
เขายอมรับ เฉพาะตอนนี้นะก็จะมีศาลยุติธรรมด้วย ศาลนี่แหละ คืออาจารย์จะบอกอย่างนี้
ทหารที่เขาออกมาปฏิวัติรัฐประหาร เขาไม่ได้ดูกฎหมาย เพราะฉะนั้นจะไปโทษเขา 100% ว่าเขาออกมาทำให้บ้านเมืองยุ่งเหยิงและไม่เคารพต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ออกมาล้มล้าง มันก็บอกไม่ถนัด ต้องว่านักกฎหมายด้วย ไปเป็นเครื่องมือให้เขาทำไม
อาจารย์ว่าจนกระทั่งแนวบรรทัดฐานศาลฎีกาที่บอกว่า หัวหน้าคณะรัฐประหารทำสำเร็จ
คำสั่งเป็นกฎหมาย
อาจารย์เขียนบทความบอกว่าท่านอ้างมาตรามาซิคะ
มีมาตราไหน ไม่มี!
พูดไปเฉย ๆ แล้วก็บอกว่าก็มันเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เป็นรัฏฐาธิปัตย์ได้ยังไง?
คนทำผิดมาตรา 113
มาตรา
113 มีอนุ 1-2-3 ถ้าทำความผิดอย่างนี้ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
มีเท่านั้นเอง นักข่าวถามอาจารย์ว่าถ้าเขาทำแล้วเอาเขาไปติดคุก แล้วบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร?
อาจารย์ก็บอกว่าบ้านเมืองไม่เป็นไงหรอก คุณติดคุกไปเถอะ นักการเมืองเขาทำได้
ในการเลือกใครมาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ
ถ้าที่ท่านทำ
ท่านคิดว่าช่วยเหลือประเทศที่กำลังยุ่ง มีสองฝ่ายมาแย่งอำนาจกัน
แล้วท่านเอาทหารออกมาทำหน้าที่ แล้วท่านเคารพกฎหมายโดยยอมรับผิดว่าการกระทำเป็นกบฏ
แล้วเขาจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมไม่ได้! ต้องประชาชนผู้เสียหายจากการกระทำของท่านที่เอาทหารออกมา
เอารถถังออกมา มาทำให้เกิดความเสียหาย คนที่ได้รับความเสียหายคือประชาชนทั้งประเทศ
เขาต้องเป็นคนยกโทษให้ท่าน ไม่ใช่ท่านมาออกกฎหมายนิรโทษกรรมตัวเอง แล้วมาตั้งตัวเองเป็นตำแหน่งโน้นตำแหน่งนี้
เป็นนายกฯ อะไรต่าง ๆ ไม่ใช่!
อาจารย์พูดบ่อย
ๆ ยกตัวอย่างว่า คุณเดินไปที่คนแน่น ๆ คุณเหยียบเท้าคนเต็มที่ ใครเป็นคนยกโทษให้คน
คุณต้องขอโทษเขาใช่มั้ย คุณทำความเสียหายให้เขา คนที่ถูกเหยียบเขาก็บอกว่า
ไม่เป็นไรค่ะ แต่ไม่ใช่คุณบอกว่า เออ!
ไม่เป็นไรนะเนี่ยเดินไม่ดีเอาเท้ามาให้เราเหยียบ
นี่คือคนที่ทำการปฏิวัติรัฐประหารแล้วมาออกกฎหมายนิรโทษกรรมตัวเองคือทำอย่างนี้!
มันผิดหลักไปเลย ทำไม่ได้ค่ะ
แล้วศาลก็กลับเถอะค่ะ
กลับแนวบรรทัดฐาน ลงโทษ แล้วถ้าเขาทำดี มันไม่ใช่ไม่มีนะคะ แต่ก่อนนี้จอมพล ป.
ให้ญี่ปุ่นนำกำลังขึ้นมาประเทศไทยทางตอนใต้ จอมพล ป. บอกไม่ให้ขึ้นไม่ได้
คนไทยจะตายเยอะ เพราะตอนนั้นญี่ปุ่นมีอาวุธ จอมพล ป. ยอมติดคุก 159 วันค่ะ
เพราะอันนี้ก็ถือว่าเป็นอาชญากรสงคราม เขาให้ส่งตัวจอมพล ป. ไปที่เยอรมันหรืออะไรไม่รู้เพื่อจะได้ดำเนินคดี
แต่เราบอกไม่ได้เดี๋ยวเราลงโทษกันเองถ้าเขาผิดจริง
แล้วออกกฎหมายพ.ร.บ.อาชญากรสงคราม พอออกมาเสร็จแล้วเขาพิจารณากันก็เห็นว่าจอมพล ป.
ไม่ให้ขึ้นไม่ได้เพราะคนไทยจะตายเยอะ ผู้พิพากษาก็ตีความบอกว่าพ.ร.บ.นิรโทษกรรมออกมาภายหลัง
เป็นโทษแก่จำเลย เพราะฉะนั้นใช้กฎหมายย้อนหลังไม่ได้ จอมพล ป. จึงออกจากคุกมา
นั่นคือวิถีทางที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น
ศาลนี่กลับเถอะค่ะ กลับแนวบรรทัดฐาน คือวิธีการกลับแนวบรรทัดฐานบางคนไม่รู้
คือต้องมีคณะ มีคนฎีกามา แล้วเขาจ่ายสำนวนมา มีคณะใดคณะหนึ่งเขียนกลับว่าให้ประหารชีวิต
ถ้าอย่างนี้กองผู้ช่วยก็จะมาคัดค้านบอกว่าเราไม่เคยลงโทษเลย
อย่างนี้ไม่ได้ให้แก้ไข ถ้าอาจารย์เป็นเจ้าของสำนวนอาจารย์จะบอกว่าไม่แก้
เอาเข้าที่ประชุมใหญ่ แล้วไปถกทะเลาะกันโต้กันในที่ประชุมใหญ่เหมือนประชุมสภา
ถ้าเสียงข้างไหนชนะก็ออกตามแนวนั้น
อาจารย์จะดูซิว่ามีผู้พิพากษาคนไหนมาเถียงอาจารย์ว่าอย่างนี้ให้เขาไป
เขามาช่วยประเทศชาติ แล้วอาจารย์อยากฟังว่าคณะไหนที่จะคิดว่าการกบฏนี่เป็นการถูกต้อง
ไม่ต้องถูกลงโทษ แล้วคำสั่งของหัวหน้าปฏิวัติเป็นกฎหมาย มันไม่ใช่! แต่ตอนนี้เราไม่ได้เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาเสียแล้ว
เราก็เลยไม่รู้จะทำยังไง
นอกจากจะมีส.ส.รุ่นใหม่
ๆ เขาค่อนข้างจะใจกล้าหน่อย เขามีวิธีการที่จะออกกฎหมายคุ้มครองศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่โดยที่ไม่มีอันตราย
เพราะอาจารย์เคยพูดกับท่านผู้พิพากษาศาลฎีกาผู้ใหญ่ ๆ บางคนบอกว่า “ศาลก็กลัวตายเหมือนกันนะท่าน”
อาจารย์มองคำว่า
“นิติสงคราม” ว่าอย่างไร?
มันเพลียใจ
แล้วก็เครียด คืออาจารย์อยู่บ้านไม่ใช่ว่าไม่ดู อาจารย์ดูข่าวการเมือง
คือนักข่าวก็จะบอกว่ากรรมการป.ป.ช.บางทีเขาก็เป็นลูกน้องคนนั้นคนนี้
คนนี้เป็นหน้าห้องคนนั้นมาก่อน อาจารย์จะบอกว่า “ใครจะอุปถัมภ์ใคร ใครจะหนุนใคร
เมื่อท่านมาเป็นกรรมการป.ป.ช. ท่านมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ถ้าคนที่มีบุญคุณกับท่านทำผิดกฎหมาย
ท่านต้องตรวจสอบทันที ท่านเว้นไม่ได้ ท่านใช้อำนาจหน้าที่ของท่านโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างมีอุดมการณ์
ไม่ต้องไปกลัว ท่านอย่ากลัว”
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ท่านคิดว่าเขาเคยดีกับเรา
แล้วก็ทำอะไรให้มันบิดผันในหน้าที่ไป ท่านอยู่ไม่ได้ สังคมเขาไม่ยอมรับ
อาจารย์จะพูดอย่างนี้ ตลอดเวลาที่อาจารย์เป็นกรรมการป.ป.ช. อาจารย์ยืนยัน
ไม่มีนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลคนไหนมายุ่งกับอาจารย์เลย ไม่เคยมี
มาขอก็ไม่เคยมี มาขู่ก็ไม่เคยมี
คือคนที่มาขู่
มาขอ คือมันบกพร่องในความนับถือในกระบวนการยุติธรรม คือทุกอย่างมันเสื่อมเยอะจนกระทั่งอาจารย์รู้สึกว่าจะไปว่าฝ่ายเขาที่มาขออะไรเนี่ย
หรือศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดี อันนี้สมมุตินะ เขามาขอแล้วมีการพูดคุย
ถ้าเขาจะมาขอผู้พิพากษาใครก็ตาม
เขาต้องมีการสืบมาก่อนว่าผู้พิพากษาคนนี้มีอะไรมั้ยที่จะพูดกันได้
ถ้าเขารู้ว่าท่านทำหน้าที่ของท่านไปโดยตรง ขอไม่ได้! เขาไม่มาหรอกค่ะ
เพราะฉะนั้นท่านต้องทำหน้าที่ของท่านให้เขาเห็นว่าท่านมีเหตุมีผล
และการทำหน้าที่ของท่านในครั้งนี้
อาจารย์ขอท่านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกท่านนะคะ อย่ากลัวเลยค่ะว่าจะมีคนมาทำร้ายท่าน
สังคมเขาเป็นกำแพงให้ท่าน ท่านวินิจฉัย ท่านให้ความเห็นไปโดยสุจริตมีเหตุมีผลและให้สังคมเขายอมรับได้
ท่านอย่าไปเห็นแก่ผู้มีอำนาจ อำนาจไม่อยู่กับใครนาน มันไปค่ะ
เพราะฉะนั้นท่านรักษาความถูกต้อง ความบริสุทธิ์ยุติธรรมไว้ ท่านจะอยู่ได้
และท่านจะอยู่ได้ตลอดชีวิต ไม่ใช่อยู่เฉพาะการดำรงตำแหน่ง
คนบางคนอาจารย์มีความรู้สึกว่าเขากลับ
“ขาว” เป็น “ดำ” เขาทำได้อย่างไร? เขาอยู่กับคนที่ขาว แล้วอยู่ ๆ ก็กลับมาอยู่กับฝ่ายดำ
โดยมาพูดอะไรที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายดำ เขาเป็นอะไร
เขาเป็นคนที่ไม่มีอุดมการณ์ใช่มั้ย? เขาถึงเป็นอย่างนั้นได้ อาจารย์ก็ได้คิดอยู่อย่างเดียวว่า
นักกฎหมายพวกนี้เป็นพวกไม่มีอุดมการณ์ มันเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ
เพื่อประโยชน์ของตัวเอง เพื่อประโยชน์แก่พวกพ้องของตัวที่มีอำนาจ
พวกนี้จะมีอันตรายอย่างยิ่ง ต้องระวังตัว
การดูนักกฎหมายที่มาให้ความเห็นที่มันไม่ถูกและเป็นประโยชน์โดยที่ไม่ได้อิงความเป็นธรรมเลย
เมื่อบ้านเมืองอยู่ในระบอบการปกครองปกติแล้ว อย่านำมาใช้นะคะ ต้องตัดเขาทิ้งไปเลย
ให้เขาอยู่บ้านเลี้ยงหลาน
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #กระบวนการยุติธรรม #ศาลฎีกา #ปปช