เปิดหนังสือ
132 รายชื่อกลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ยื่นต่อประธานรัฐสภา
ขอให้พิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 โดยเร็ว
เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนคัดค้าน
ม.272
409
ชั้น 3 อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
ซ.โรหิตสุข
ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 5
เขตห้วยขวาง
กทม. 10320
วันที่
6 กันยายน 2565
เรื่อง
ขอให้พิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 โดยเร็ว แบบสามวาระรวด
เรียน
ประธานรัฐธรรมนูญ
เนื่องด้วยวันที่
6-7 กันยายน พ.ศ. 2565 มีระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในประเด็นสำคัญ คือ
การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...)
พุทธศักราช .... ที่เสนอโดยการเข้าชื่อกันของประชาชน
ซึ่งเป็นข้อเสนอให้ยกเลิกมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560
หรือการตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ในการลงมติเลือกบุคลให้เป็นนายกรัฐมนตรี
เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนตามที่มีรายชื่อข้างท้ายนี้เห็นว่า อำนาจที่มากเป็น “พิเศษ”
ของสมาชิกวุฒิสภาที่มีที่มาแบบ “พิเศษ” นั้น
ได้เป็นปัจจัยสำคัญทำให้รัฐสภาแห่งนี้ไม่ได้รับการเชื่อถือยอมรับ
และทำให้รัฐบาลที่มาจากเสียงสนับสนุนของสมาชิกวุฒิสภาขาดความชอบธรม
ขาดการยึดโยงกับประชาชน
อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในปัจจุบัน
เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนคัดค้าน
ม.272 ตามที่มีรายชื่อข้างท้ายนี้เล็งเห็นว่า ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติทำรัฐประหารเมื่อปีพ.ศ.
2557 ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศไปไว้ในมือคนกลุ่มเดียว
และยังไม่คืนอำนาจให้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง
แต่ยังคงยึดกุมอำนาจไว้ด้วยกลไกหลากหลายในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
รวมไปถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประกาศและคำสั่งของ คสช.
และองค์กรอีกมากมายที่ถูกแต่งตั้งขึ้น
ทั้งนี้เครื่องมือที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดจากผลพวงเหล่านั้นคือ
อำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรี
อันเป็นปัจจัยที่กำลังนำไปสู่การสืบทอดอำนาจของคนกลุ่มเดิมต่อไป อย่างไรก็ตาม
กลไกที่จะคืนอำนาจให้ประชาชนได้ที่สำคัญที่สุด คือ “การจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่บริสุทธิ์โปร่งใสและเป็นธรรมโดยเร็ว”
ซึ่งการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้
จะไม่มีทางเป็นธรรมและไม่เป็นที่ยอมรับจากประชาชนได้หากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ยังคงมีอำนาจ “เหนือประชาชน”
ที่ยังสามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไปและรัฐบาลชุดต่อไปได้
พวกเราจึงมีความเห็นร่วมกันว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในอนาคตนั้นจะต้องมีที่มาจากระบบประชาธิปไตยที่ยึดโยงกับประชาชน
เราจึงเสนอให้ที่ประชุมรัฐสภาเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นต่อแนวทางดังกล่าว
โดยจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกอำนาจพิเศษของสมาชิกวุฒิสภาตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
มาตรา 272 ซึ่งถือว่าอำนาจดังกล่าวคือเรื่องสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน
เพื่อเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้หายไปในที่สุด
ในช่วงเวลาที่อายุของรัฐสภานี้กำลังจะหมดลง
และมีข้อเสนอจากประชาชนให้ยกเลิกมาตรา 272 บรรจุอยู่ในระเบียบวาระแล้ว
เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนฯ
จึงขอให้ที่ประชุมร่วมของรัฐสภานำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาโดยเร็ว
และเนื่องจากเป็นข้อเสนอให้แก้ไขเพียงการ “ตัด” ข้อความออกห้าบรรทัด
ไม่มีการเพิ่มข้อความใดเข้ามาใหม่ และไม่ได้มีถ้อยคำที่ต้องพิจารณาลงรายละเอียด
ไม่กระทบกับมาตราอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญ
และไม่เคยมีเหตุผลใดที่ชอบธรรมจะเห็นคัดค้านเป็นอย่างอื่นได้
จึงขอให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาลงมติเห็นชอบ “สามวาระรวด” ภายในวันที่ 7
กันยายน 2565 เพื่อไม่ให้เป็นการ “ยืดเยื้อ” ออกไปโดยไม่จำเป็น
และอาจทำให้เรื่องสำคัญนี้พิจารณาไม่เสร็จก่อนที่อายุของรัฐสภาชุดนี้จะหมดลงและจัดการเลือกตั้งใหม่
นั่นหมายความว่า “สังคมไทยจะยิ่งตีบตันและไม่สามารถสร้างทางออกได้อย่างแท้จริง”
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
รายชื่อกลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนที่ร่วมกันคัดค้าน
ม.272
1.
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
2.
โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ilaw)
3.
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (Enlaw)
4.
สภาประชาชนภาคใต้
5.
ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN)
6.
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
7.
มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (มพน.)
8.
สำนักข่าว LANNER
9.
มูลนิธิสื่อประชราธรรม
10.
สโมสานักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่
11.
บานสวนดอก
12.
ชมรมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13.
ลำพูนปลดแอก
14.
ชาติพันธุ์ปลดแอก
15.
กลุ่ม R25
16.
Lanna
Project
17. กลุ่มเฝ้าระวังอมก๋อย
18.
พรรควิฬาร์
19.
พิราบขาวเพื่อมวลชน
20.
KNACK
21. NU-Movement
22.
ทะลุ มช.
23.
สิทธิของคนพิการในการพัฒนาประชาธิปไตย
24.
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
25.
คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35
26.
สถาบันสังคมประชาธิปไตย
27.
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (ypd)
28.
กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย
29. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre
Foundation CRC)
30.
สมาคมคนฮักถิ่น
31.
เครือข่ายสวัสดิการชุมชนภาคอีสาน
32.
เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ
33.
สภากลางองค์กรปฏิรูปจังหวัดอำนาจเจริญ
34.
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
35.
กลุ่มนอนไบนารีแห่งประเทศไทย
36.
ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove)
37.
โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
38.
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
39.
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
40. กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ (คัดค้านเหมืองโปแตชและ
โรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ชัยภูมิ)
41. กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (คัดค้านเหมืองทองคำ ต.เขา
หลวง อ.วังสะพุง จ.เลย)
42. กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส (คัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช
อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร)
43. กลุ่มรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมือง
หินทราย ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร)
44. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได (คัดค้านการทำ
เหมืองหิน ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำพู)
45. กลุ่มรักษ์บ้านแหง (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองถ่านหิน
ลิกไนต์ ต.บ้างแหง อ.งาว จ.ลำปาง)
46. กลุ่มคนเหล่าไฮงามไม่เอาเหมืองแร่ (คัดค้านการขอประทานบัตร
ทำเหมืองทรายแก้ว ต.เหล่าไฮงาม อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์)
47. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา (คัดค้านการทำเหมือง
หินปูน ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา)
48. กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด (คัดค้านการทำเหมืองแร่โปแตช)
อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
49.
สมัชชาคนจน
50.
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
51.
กลุ่มสุรินทร์เสวนา
52.
เครือข่ายองค์กรชุมชน จ.บุรีรัมย์
53.
เครือข่ายป้องกันและต่อการทุจริต จ.บุรีรัมย์
54.
เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน จ.บุรีรัมย์
55.
สมาคมน้ำตาเทียน
56.
สถาบันสร้างเสริมการจัดการทรัพยากรชุมชน
57.
สมัชชาประชาชนคนเหนือล่าง
58. คณะกรรมการปะสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน
(กป.อพช.อีสาน)
59.
โครงการปฏิบัติการเพื่อสิทธิคนจน
60.
กลุ่มเพื่อนคนไร้บ้าน จ.ขอนแก่น
61.
เฟมินิสต์ปลาแดก
62.
LANDERS
63.
ทะลุ มข.
64.
ดาวดิน
65.
คณะที่ลาบสูง
66.
กอผือรื้อเผด็จการ
67.
ขบวนการอีสานใหม่
68.
โคราชมูฟเมนต์
69.
คณะอุบลปลดแอก
70.
ดึงดิน
71.
คบเพลิง
72.
ภาคีนักเรียน KKC
73.
ราษฎรชัยภูมิ
74.
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
75.
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม P-move
76.
วงสะเวินใจ
77.
ขอนแก่นพอกันที
78.
อุดรพอกันที
79.
กลุ่มปฏิบัติการชุมชนเมืองอีสาน
80.
เครือข่ายเสียงเยาวชน จ.ขอนแก่น
81.
แดนดินถิ่นขบถ
82.
Move High
83.
แนวร่วมนิสิต มมส. เพื่อประชาธิปไตย
84.
เครือข่าย MSU
Pride
85.
ลานไก่หลง
86.
กลุ่มจุลภาพ
87.
กลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ
88.
เครือข่ายความหลากหลายทางเพศอีสาน (IGDN)
89. กลุ่มรักษ์ลำคอหงส์ (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมือโปแตช
อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา)
90.
เครือข่ายชายฝั่งทะเลบูรภา ๕ จังหวัดภาคตะวันออก
91.
เครือข่ายคนไร้บ้านจังหวัดระยอง
92.
เครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าดันน้ำระยอง-ประเสร์
93. คณะกรรมกาประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคตะวันตก
(กป.อพช.ตะวันออก)
94.
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผญ.วิบูลย์ เข็มเฉลิม
95.
ศูนย์ประสานงานสถาบันธรรมชาติพัฒนา (ภาคตะวันออก)
96.
สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
97.
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ข้างป่ากลุ่มฟันน้ำนม
98.
กลุ่มรักษ์เขาชะเมา
99.
สมาคมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดชลบุรี
100.
สมาคมเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา
101.
ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรี
102.
ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดระยอง (ศปจ.ระยอง)
103.
ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศชุมชนภาคตะวันออก
104.
กลุ่มรักษ์องครักษ์ นครนายก
105.
สหภาพคนทำงาน
106.
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
107.
มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย
108.
ทนายความนักสิทธิมนุษยชน
109.
ขบวนประชาชน 5 ภาค
110.
มูลนิธิอันดามัน
111.
มูลนิธิป่า - ทะเล เพื่อชีวิต
112.
มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
113.
สหภาพไรเดอร์
114.
พรรคโดมปฏิวัติ
115.
กลุ่มทะลุวัง
116.
เครือข่ายคนไร้บ้าน จ.ขอนแก่น
117.
สมาคมผู้บริภาค จ.ขอนแก่น
118.
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้
119.
เครือข่ายทรัพยากรชายแดนใต้
120.
สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
121.
เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
122.
We
Volunteer
123.
ศิลปะปลดแอก
124.
เฟมินิสต์ปลดแอก
125.
สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่
126.
กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy
127.
Restoration
Group (DRG)
128.
กลุ่มทะลุฟ้า
129.
Supporter
Thailand (SPT)
130. แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
131.
คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
132.
Secure
Ranger
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ตัดอำนาจสวเลือกนายก